ต้องยอมรับว่าการเข้ามาของเทคโนโลยีดิจิทัลได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบธุรกิจหลายอย่าง ที่เห็นได้ชัดก็ไม่พ้นธุรกิจ E-Commerce ที่เบ่งบานขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา การเติบโตของธุรกิจออนไลน์อันน่าเร้าใจนี้ ทำให้หลายคนอาจลืมไปว่าเทคโนโลยียังเปิดโอกาสให้กับคนอีกกลุ่มหนึ่งด้วย ซึ่งก็คือผู้ประกอบการ SME ที่เน้นบริการหน้าร้าน แม้บางร้านจะมีบริการส่งสินค้าบ้างแต่หลายร้านยังคงยึดเสน่ห์ของการให้บริการเต็มรูปแบบที่ร้านของตัวเองเพื่อส่งมอบประสบการณ์เฉพาะตัวของแต่ละร้าน
ด้วยเหตุผลดังกล่าว ทำให้ SME หลายรายไม่ได้รับรูปแบบของ E-Commerce มาใช้ขยายธุรกิจ แต่ก็มองหาโอกาสจากการเข้ามาของเทคโนโลยีอยู่เสมอ พวกเขาต้องการสิ่งที่เรียกว่า Digital Commerce Ecosystem ที่ตอบโจทย์ความต้องการของทั้งผู้ประกอบการและลูกค้าในแบบที่ SME คาดหวัง
นอกจากเสน่ห์ที่เกริ่นไปข้างต้นแล้ว ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า SME เป็นผู้ประกอบการที่ผลักดันเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยข้อมูลจากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ของปี 2018 เผยว่า SME มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประมาณ 6.5 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 42.4 เปอร์เซ็นต์ของประเทศ และจากข้อมูลของในปี 2017 ระบุว่า SME ทำให้เกิดการจ้างงานมากถึง 12.1 ล้านตำแหน่ง
ด้วยมูลค่าทางเศรษฐกิจและผลกระทบทางสังคมที่สูง SME จึงเป็นกลุ่มธุรกิจที่ต้องได้รับการสนับสนุนให้เติบโตอย่างมั่นคง ซึ่งในปัจจุบัน พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนมาพึ่งพาบริการบน Digital Platform มากขึ้น โดยเฉพาะการค้นหาบริการต่างๆ ที่ SME ส่งมอบได้ด้วยคุณภาพที่สูง ตั้งแต่ร้านอาหาร ร้านขายสินค้าอุปโภคบริโภค และบริการในชีวิตประจำวันอื่นๆ จึงจำเป็นต้องมีผู้ผลักดันให้ SME ก้าวเข้าสู่สายตาผู้บริโภคบน Digital Platform เพื่อส่งเสริมการดำเนินธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
ธนาคารไทยพาณิชย์หรือ SCB นับเป็นธนาคารแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยตอนนี้ที่พัฒนาความร่วมมือกับ Google บริษัทไอทียักษ์ใหญ่ระดับโลก เพื่อให้ SME ในไทย Digitise ตัวเองได้ง่ายขึ้นผ่าน Platform “Google My Business” ที่นำความได้เปรียบสู่ SME
SCB และ Google เล็งเห็นว่า SME ส่วนใหญ่ในประเทศกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ ไม่ใช่ธุรกิจออนไลน์หรือ E-Commerce และต้องพึ่งพาการส่งมอบบริการทางหน้าร้าน แต่กระนั้น ก็จำเป็นต้องอาศัยความได้เปรียบจาก Digital Platform ซึ่งสามารถนำเสนอข้อมูลต่างๆ ได้ การ Digitising SME ผ่าน Google My Business จึงสร้างความได้เปรียบให้กับ SME ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้
อย่างที่ทราบกันว่า Google My Business เป็น Digital Platform ที่เปิดให้บริการทั่วโลก การที่บริษัท Google ในประเทศไทยจะ Partner กับบริษัทเพื่อผลักดัน Platform นี้เป็นการเฉพาะ ย่อมเป็นความร่วมมือที่น่าสนใจไม่น้อย ซึ่งการจับมือระหว่างบริษัท Google กับธนาคารไทยพาณิชย์ถือเป็น Partnership ที่ส่งสัญญาณการเติบโตของเศรษฐกิจไทยที่โดดเด่นในระดับภูมิภาค ซึ่งการเติบโตครั้งนี้มี Digital เป็น Infrastructure ใหม่ เกิดเป็น “Digital Commerce Platform”
ดร.อารักษ์ สุธีวงศ์ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า “จริงๆ แล้ว Platform นี้มีให้บริการที่ประเทศต่างๆ อยู่แล้ว แต่หากถามถึงความสำเร็จ ก็ต้องบอกว่าความร่วมมือของบริษัท Google และ SCB ในประเทศไทยส่งให้ Platform มีการขยายตัวหรือ Scalability ที่ชัดเจนมากอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเทียบกับเพื่อนบ้านในภูมิภาค ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการมี System ที่แข็งแรงของ SCB จึงช่วยให้ผลักดัน Platform นี้สู่ผู้ประกอบการได้ง่ายขึ้น”
ทั้งนี้ SCB ได้ดำเนินการนำ SME เข้ามาใช้งานในระบบ Google My Business ไปแล้ว 85,000 ร้านค้า โดยตั้งเป้าให้ได้ 100,000 รายภายในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2019 และตั้งเป้ามีร้านค้า 1,000,000 รายภายในสินปี 2021
ผู้ประกอบการหลายคนคงรู้ว่า Google My Business เป็น Platform ที่เปิดให้ใช้งานฟรีอยู่แล้ว จึงสงสัยว่าการที่บริษัท Google จับมือกับ SCB เพื่อผลักดัน Platform นี้ ทำไมผู้ประกอบการต้องสนใจ และจะได้อะไรเพิ่มเติมบ้าง
แน่นอนว่าความร่วมมือนี้จะยังเปิดให้เจ้าของธุรกิจและผู้ประกอบการทุกคนยังคงใช้งาน Google My Business โดยไม่มีค่าใช้จ่าย รวมถึงคุณสมบัติทั้งข้อมูลของร้านค้า การปรากฎในหน้า Google Search และการระบุตำแหน่งของร้านค้าบน Google Maps จะยังคงอยู่และเป็นไปตามมาตรฐานของระบบ Google แต่การร่วมมือกับ SCB จะช่วยให้ผู้ที่ต้องการใช้บริการ Google My Business ได้รับบริการที่สะดวกมากกว่า ดังนี้
ทั้งหมดนี้ คงช่วยให้ผู้ประกอบการเห็นภาพว่าทำไม SME จึงควรใช้ประโยชน์จาก Digital Commerce Ecosystem ที่เกิดขึ้นโดยธนาคารไทยพาณิชย์และ Google My Business ซึ่งผู้ประกอบการที่สนใจสามารถดูรายละเอียดการสมัครได้ที่ https://link.scb/2BJyDnG
#ปักแล้วรวย #SCBSME #GoogleMyBusinessWithSCB
ขอขอบคุณข้อมูลจาก สสว.
บทความนี้เป็น Advertorial
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด