Digital Startup Ecosystem Builder บทบาทสำคัญกับภารกิจพาไทยสู่โลก

Digital Startup Ecosystem Builder บทบาทสำคัญกับภารกิจพาไทยสู่โลก

ทำความรู้จัก Digital Startup Ecosystem Builder ผู้สร้าง Ecosystem เพื่อผลักดัน Startup และนวัตกรรมของไทยเพื่อพร้อมก้าวสู่ระดับโลก

ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคปัจจุบัน นอกจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว การทำงานร่วมกันเป็น Ecosystem ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมเป้าหมายด้านการพัฒนาประเทศ ซึ่งประเทศไทย มีกลุ่มคนผู้ทำหน้าที่สร้าง Ecosystem เพื่อส่งเสริมการพัฒนาประเทศผ่าน Digital Startup จนเกิดเป็น Digital Startup Ecosystem นั่นเอง

ในวันนี้เราจะมาทำความรู้จัก Digital Startup Ecosystem Builder ซึ่งประกอบด้วย depa, Techsauce, Hubba, Techstar และ Investible ตั้งแต่แนวคิดตั้งต้น วิธีดำเนินการ ไปจนถึงเป้าหมายในอนาคตผ่านเนื้อหาของ Infographic จากงาน Digital Thailand Big Bang 2018 กัน

ภาพ Infographic Digital Startup Ecosystem จากงาน Digital Thailand Big Bang 2018

ตั้งต้นด้วยภาพใหญ่ นโยบาย Thailand 4.0

เพื่อยกระดับภาพรวมทั้งหมดประเทศไทย จึงมีการวางแผนนโยบาย Thailand 4.0 ที่มุ่งเป้าปลดล็อกจากประเทศ “เศรษฐกิจการเกษตรและอุตสาหกรรม” เป็น “ประเทศขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม” ซึ่งแผนงานนี้มุ่งเป้าทั้งหมด 3 ด้าน ได้แก่

  • ด้านความมั่งคั่ง - เพิ่ม GDP เพื่อหลุดออกจาก “กับดักรายได้ปานกลาง”
  • ด้านความยั่งยืน - พัฒนาเทคโนโลยีด้วยฝีมือชาวไทยเพื่อการใช้งานอย่างยั่งยืน
  • ด้านสวัสดิภาพ - ส่งเสริมคุณค่าของมนุษย์เพื่อสังคมที่น่าอยู่

เพื่อบรรลุเป้าหมายทั้งหมดนี้ จำเป็นต้องเกิดความร่วมมือกันระหว่าง “ภาครัฐ” และ “ภาคเอกชน” ซึ่งภาคเอกชนนั้นครอบคลุมตั้งแต่ Corporate, SME และ Startup

ส่งต่อยัง depa ผู้ผลักดันด้วยนโยบาย

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) เป็นหนึ่งในผู้รับนโยบาย Thailand 4.0 โดยใช้เทคโนโลยีเพื่อผลักดันเป้าหมายดังกล่าวให้เกิดขึ้น จึงมอบหมายให้สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) เป็นหน่วยงานริเริ่มค้นหาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ

ซึ่ง depa ได้เล็งเห็นว่าประเทศไทยสามารถไปสู่เป้าหมายดังกล่าวด้วยการผลักดัน “กลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัล” จึงได้แบ่งเป้าหมายการสนับสนุนออกเป็น 3 แกนหลัก ได้แก่

  • ผลักดันภาคการเกษตรของไทยด้วยเทคโนโลยี “Agriculture Technology” เพิ่มรายได้และพัฒนาความเป็นอยู่ของเกษตรกรตอบโจทย์นโยบาย Thailand 4.0 รวมถึงเพิ่มคุณภาพผลผลิตที่สอดรับนโยบายด้านเศรษฐกิจอย่างครัวของโลกหรือ “Kitchen of the World”
  • สนับสนุนอุตสาหกรรมแวดล้อม “Agriculture Technology” เพื่อให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างครบวงจรเป็น Ecosystem โดยมองการสนับสนุนไปยังภาคธุรกิจเหล่านี้
    • Service เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับงานบริการทั้งหมด เช่น บริการทางการเงิน บริการธุรการ ไปจนถึงบริการด้านข้อมูล
    • Logistic การขนส่งเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับสินค้าเกษตรซึ่งเทคโนโลยีมีส่วนช่วยยกระดับขั้นตอนนี้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีต้นทุนต่ำลง
    • E-Commerce เพื่อให้สินค้าเกษตรข้าถึงลูกค้าได้ง่ายขึ้น E-Commerce จึงเป็นปัจจัยที่ไม่อาจมองข้ามได้ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงลูกค้าแบบบุคคลหรือธุรกิจ อีกทั้งยังมีเครื่องมือที่ช่วยให้การค้าขายราบรื่นขึ้นมากมาย
    • Retail การจัดการหน้าร้านที่ดีย่อมส่งผลถึงสัดส่วนกำไรของทั้งระบบ Supply Chain ซึ่งเทคโนโลยีด้านการค้าปลีก (Retail Tech) มีผลต่อภาคการเกษตรแน่นอน
    • Internet of Things เทคโนโลยีเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างสิ่งของนี้จะช่วยอำนวยความสะดวกแก่เกษตรกร นำไปสู่ทั้งประสิทธิภาพการผลิตที่ดีขึ้น และยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร
  • สนับสนุนเทคโนโลยีที่สอดรับกับแนวคิด Smart City ด้วยขนาดเมืองและเทคโนโลยีทำให้ไทยตั้งเป้าจะเป็น Smart City Hub of Southeast Asia เพื่อให้แนวคิดนี้เป็นจริงจึงมีการสนับสนุนให้พัฒนาธุรกิจที่เกี่ยวข้องดังนี้
    • Internet of Things เทคโนโลยีนี้มีส่วนสำคัญมากกับระบบของเมือง ซึ่งต้องพึ่งพาการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างสิ่งของเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ
    • Big Data ว่าด้วยศาสตร์การจัดการข้อมูลมหาศาลเพื่อให้กิจกรรมในเมืองดำเนินไปได้อย่างราบรื่น รวมถึงวิเคราะห์ข้อมูลที่สะท้อนถึงสภาพความเป็นอยู่เพื่อจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ทั้งหมดนี้คือเป้าหมายที่ depa ต้องผลักดันให้เกิดขึ้น ซึ่งวิธีผลักดันที่ดีที่สุดคือการร่วมมือ (Collaboration) กับภาคเอกชนเพื่อสร้าง “Innovation Ecosystem” ให้เกิดขึ้นในประเทศไทย

Innovation Ecosystem ที่ลงมือทำ “ด้วยกัน”

ด้วยเหตุผลข้างต้น depa จึงจับมือกับ Hubba, Techsauce, Techstar และ Investible มาร่วมกันเป็น Innovation Ecosystem Builder ผ่าน 2 โปรแกรมสำคัญ ได้แก่

  • depa Accelerator x Techsauce โครงการ Accelerator เน้นสร้าง Startup ที่มีศักยภาพ ปรับปรุงการทำงาน เพิ่มการเข้าถึงตลาด และยกระดับมาตรฐานด้านเทคโนโลยีของประเทศไทยสู่มาตรฐานสากล
  • “Startup Battleground” Hackathon powered by depa, Hubba and Techstar โครงการ Hackathon ที่จัดขึ้นในงาน Digital Thailand Big Bang เน้นหาไอเดียเพื่อ 10 อุตสาหกรรม S-Curve ของประเทศ ได้แก่
    1. เทคโนโลยีด้านการท่องเที่ยว (Travel Tech)
    2. เทคโนโลยีด้านอาหาร (Food Tech)
    3. เทคโนโลยีด้านเกษตรกรรม (Agri Tech)
    4. ซอฟต์แวร์ในรูปแบบบริการ (Software as a Service หรือ SaaS)
    5. เทคโนโลยีด้านการอยู่อาศัย (Living Tech)
    6. เทคโนโลยีด้านการศึกษา (EdTech)
    7. เทคโนโลยีสีเขียว (Green Tech)
    8. เทคโนโลยีด้านทรัพยากรมนุษย์ (HR Tech)
    9. เทคโนโลยีด้านอีคอมเมิร์ซ (e-Commerce)
    10. เทคโนโลยีด้านสุขภาพ (Health Tech)

ก้าวต่อไป พาไทยสู่ “Global Scale”

depa, Hubba, Techsauce, Techstar และ Investible ยังมีก้าวต่อไปร่วมกันที่ใหญ่กว่าเดิม โดยต้องการยกระดับบทบาทให้เป็น Innovation Ecosystem Builder ในระดับ “Global Scale” ด้วยหน้าที่ “เชื่อมประสาน” ระหว่าง Startup ไทยกับ Ecosystem ในที่ต่างๆ ของโลก ผ่านเครือข่ายความร่วมมือที่มีตั้งแต่ World-Class Tech Company จนถึง Enterprise ชั้นนำในแต่ละอุตสาหกรรม ซึ่งไม่เพียงแต่ Connect ถึงแต่ยังนำความรู้ ทักษะ และนวัตกรรมมาเป็นเครื่องมือผ่านโปรแกรม Accelerator และ Hackathon ในอนาคต ให้ Startup ไทยพร้อมก้าวสู่ Global Scale ได้ง่ายขึ้น

Techsauce Global Summit 2018 กลายเป็นงาน International Tech Conference ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป้าหมายต่อไปของ Techsauce คือการผลักดันให้ TSGS กลายเป็นงาน International Tech Conference ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย นับเป็นการให้คนไทยได้สัมผัสกับ Tech Conference ที่มีเนื้อหาระดับ International พร้อมกับเป็นประตูระหว่างไทยกับ Ecosystem ต่างประเทศด้วย

การยกระดับเป็น “Global Innovation Ecosystem Builder” จะช่วยให้ Startup กลายเป็นกลไกสำคัญที่ขับเคลื่อนนโยบาย Thailand 4.0 การมี Ecosystem ที่เชื่อมต่อไปยังระดับโลกไม่เพียงแต่ช่วยนำนวัตกรรมเข้ามาเท่านั้น แต่ยังช่วยพา Startup และ SME ไทยไปยังตลาดระดับโลกได้ด้วย ทำให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจอันนำไปสู่การหลุดกับดักรายได้ปานกลาง พร้อมกับเกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ในการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เกิดผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง ปรับปรุงคุณภาพชีวิตในสังคม ซึ่งตอบโจทย์เป้าหมายด้านความมั่งคั่ง ด้านความยั่งยืน และสวัสดิภาพ อันเป็นแกนกลางของ Thailand 4.0 นั่นเอง

สามารถดูภาพขยายได้ ที่ Link นี้

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจาะเบื้องหลังดีล Zipevent และ Link Station Group สู่การขยายธุรกิจอีเวนต์ในภูมิภาค SEA

การเข้าซื้อกิจการระหว่าง Zipevent แพลตฟอร์มจัดการอีเวนต์และจำหน่ายบัตรออนไลน์ในประเทศไทย กับ Link Station Group บริษัทญี่ปุ่นผู้เชี่ยวชาญด้านระบบจำหน่ายบัตร (Ticketing System) ถือเ...

Responsive image

KBank x Orbix Technology x StraitsX สาธิตการชำระเงินข้ามพรมแดนด้วยบล็อกเชนที่ SG FinTech Festival 2024

ธนาคารกสิกรไทยร่วมกับ Orbix Technology และ StraitsX เปิดตัวนวัตกรรมชำระเงินข้ามพรมแดนด้วย e-Money on Blockchain ในงาน Singapore FinTech Festival 2024 ชูศักยภาพฟินเทคไทยบนเวทีโลก...

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...