Mac มีไวรัสไหม จำเป็นต้องลงแอนตี้ไวรัสหรือไม่ ?

ผู้ใช้แมคหลายรายอาจจะเคยได้ยินมาว่าบนแมคไม่มีไวรัส ไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมแอนตี้ไวรัส แต่ความเชื่อนี้เป็นการบอกเล่าที่ถูกต้องหรือไม่ ถ้าใช้ mac OS แล้วยังจำเป็นต้องลงแอนตี้ไวรัสไหม เราจะมาหาคำตอบกัน

Mac

บน Mac มีไวรัสไหม?

เริ่มต้นด้วยความเชื่อผิด ๆ ที่ว่าแมคไม่มีไวรัสกันก่อน ความจริงแล้วบนแมคก็มีไวรัสไม่ต่างจากวินโดวส์หรือระบบปฏิบัติการอื่น ก่อนหน้านี้เมื่อแมคยังมีส่วนแบ่งการตลาดไม่มาก จึงไม่ได้เป็นเป้าการโจมตีจากแฮ็กเกอร์ แต่ในปัจจุบันที่ส่วนแบ่งการตลาดของแมคมีมากขึ้น จำนวนมัลแวร์ก็ได้เพิ่มจำนวนขึ้นตาม

ความจริงแล้วมีตัวเลขที่น่าสนใจจาก Malwarebytes ผู้ผลิตซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัส รายงาน State of Malware ปี 2020 เปิดเผยว่าในปี 2019 มีการตรวจพบมัลแวร์และโปรแกรมไม่พึงประสงค์อื่น ๆ บนแมคเฉลี่ยแล้ว 11 ตัวต่อหนึ่งเครื่อง เปรียบเทียบกับวินโดวส์ที่น้อยกว่าเกือบเท่าตัวที่ 5.8

Macอัตราส่วนการตรวจพบมัลแวร์บนวินโดวส์และแมค ปี 2019ทั้งนี้ตัวเลขจำนวนครั้งที่ตรวจพบกลับลดลงถึงร้อยละ 38 ในปี 2020 อ้างอิงจากรายงาน State of Malware ของปี 2021 อย่างไรก็ดีในรายงานปี 2021 ไม่ได้เทียบสัดส่วนการตรวจพบต่อหนึ่งเครื่องเอาไว้ แต่ให้เป็นตัวเลขจำนวนครั้งแทน

Mac ในปี 2019 ภัยที่พบเจอมากที่สุดคือ adware (โปรแกรมที่มุ่งแสดงโฆษณา) ชื่อ NewTab โดยมีการตรวจพบเกือบ 30 ล้านครั้ง แม้อาจจะดูไม่อันตรายแต่ก็สามารถสร้างความรำคาญและทำให้ประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ด้อยลงได้ แต่เมื่อเทียบเป็นสัดส่วนระหว่าง adware และโปรแกรมไม่พึงประสงค์ (PUP) แล้ว PUP ยังมีสัดส่วนมากกว่า

ในปี 2020 ตัวเลขไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากนัก มีการตรวจพบโปรแกรมไม่พึงประสงค์คิดเป็นร้อยละ 76 และ adware คิดเป็นร้อยละ 22

Mac

โดยส่วนมากแล้วมัลแวร์ทั้งหลายจะเข้าสู่คอมพิวเตอร์ได้ด้วยการหลอกให้ผู้ใช้ติดตั้งโปรแกรมและเปิดมันขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นการใช้ข้อความหลอกล่อ หรือออกแบบเว็บไซต์ให้แสดงหน้าต่างเหมือนกับป๊อปอัพของระบบปฏิบัติการ เป็นต้น จะมีเพียงส่วนน้อยที่ใช้การโจมตีที่ช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการโดยตรง

รายงานเดียวกันจาก Malwarebytes เปิดเผยว่ามัลแวร์บนแมคทุกตัวที่ตรวจพบในปี 2019 ถูกติดตั้งด้วยวิธีการหลอกล่อทั้งสิ้น ยกเว้นเพียงเหตุการณ์ที่ Coinbase และเว็บคริปโตอีกหลายเว็บที่มีการใช้ช่องโหว่ Zero Day ของเบราว์เซอร์ Firefox

Mac จำเป็นต้องลงแอนตี้ไวรัสหรือไม่?

หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าความจริงแล้ว macOS ก็มาพร้อมกับระบบป้องกันมัลแวร์ในตัวอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น Gatekeeper, Notarization และ XProtect โดยระบบทั้งสามทำงานร่วมกันเพื่อป้องกันการได้รับมัลแวร์ และป้องกันไม่ให้มัลแวร์ทำงานเมื่อได้รับเข้ามาสู่ในเครื่องแล้ว

หากนักพัฒนาต้องการให้ผู้ใช้ดาวน์โหลดโปรแกรมของตนจากนอก App Store ได้ จะต้องส่งโปรแกรมไปสแกนความปลอดภัยที่ Notarization บริการสแกนมัลแวร์ของ Apple แล้วฝังใบรับรองไปพร้อมกับโปรแกรม

เมื่อผู้ใช้ดาวน์โหลดโปรแกรมดังกล่าวมา ระบบ Gatekeeper ก็จะทำการสแกนว่าโปรแกรมนั้นมีใบรับรองจาก Notarization หรือไม่ ก่อนจะอนุญาตให้ทำงานได้ในเครื่อง

ในด่านที่สอง แอนตี้ไวรัสที่ชื่อ XProtect จะคอยทำงานอยู่เบื้องหลังอย่างเงียบ ๆ (คล้ายกับที่ Windows ก็มี Windows Defender ติดมาพร้อมระบบปฏิบัติการ) XProtect จะมีการอัปเดตฐานข้อมูลมัลแวร์จาก Apple อยู่สม่ำเสมอ และคอยตรวจหามัลแวร์เมื่อผู้ใช้เปิดโปรแกรมใด ๆ ขึ้นมาในครั้งแรก เมื่อไฟล์โปรแกรมมีการเปลี่ยนแปลง และเมื่อฐานข้อมูลมัลแวร์ถูกอัปเดต

เมื่อ XProtect ตรวจพบมัลแวร์ ก็จะระงับไม่ให้โปรแกรมทำงาน และแจ้งเตือนผู้ใช้ให้ลบโปรแกรมดังกล่าวออกจากเครื่อง

นอกจากนี้ macOS ยังมี Malware Removal Tool ที่จะลบมัลแวร์ออกจากเครื่องโดยอัตโนมัติเมื่อตรวจพบ โดยจะทำงานสแกนหามัลแวร์ทุกครั้งที่ผู้ใช้เข้าสู่ระบบหรือเปิดเครื่อง

จากข้อมูลเหล่านี้คงพอสรุปได้ว่าไม่มีความจำเป็นต้องติดตั้งแอนตี้ไวรัสบนแมคแต่อย่างใด เนื่องจากในแมคมีระบบจัดการกับมัลแวร์ในตัวอยู่แล้ว ขณะเดียวกันการติดตั้งแอนตี้ไวรัสก็สามารถเพิ่มความมั่นใจขึ้นได้อีกระดับจากด่านป้องกันที่เพิ่มเข้ามาอีกชั้นนั่นเอง

ทั้งนี้สิ่งที่สำคัญไม่แพ้ระบบป้องกันทั้งหลายคือการลดความเสี่ยงในการเผชิญกับมัลแวร์ ด้วยการตรวจสอบเว็บไซต์ที่เข้าชมว่าเป็นเว็บไซต์ที่ปลอดภัย เป็นเว็บไซต์จริงไม่ใช่เว็บปลอม ไม่ดาวน์โหลดโปรแกรมที่ไม่รู้จัก และไม่ใช้โปรแกรมเถื่อน เป็นต้น

แหล่งข้อมูล: Malwarebytes (1, 2), Apple

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ERNIE X1 คืออะไร ? โมเดล AI ที่ออกมาเพื่อโค่น DeepSeek R1

เปรียบเทียบ ERNIE X1 กับ GPT-4.5 ใครเหนือกว่า? วิเคราะห์ความสามารถ AI เชิงตรรกะที่แข่งขันกับ OpenAI และ DeepSeek...

Responsive image

เมื่อ AI กับมนุษย์ต่างก็หลอน ความจริงที่เราต้องตรวจสอบ

AI และมนุษย์ต่างก็สามารถ "หลอน" ได้—AI สร้างข้อมูลผิดพลาดอย่างมั่นใจ ขณะที่มนุษย์มีอคติและความทรงจำบิดเบือน สำรวจความจริงที่เราต้องตรวจสอบ...

Responsive image

PFS กับ 30 ปีแห่งนวัตกรรมอาหาร และก้าวต่อไปในยุค Future Food

PFS (บริษัท พรีเซิร์ฟ ฟู๊ด สเปเชียลตี้ จำกัด) จัดงานฉลองครบรอบ 30 ปี PFS's 30 Years: SYNERGY OF SUCCESS เผยวิสัยทัศน์ และนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนของอุตสาหกรรมอาหารไทย พร้อมจัดเสวนา...