ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มโอกาสทางการแข่งขันของธุรกิจ | Techsauce

ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มโอกาสทางการแข่งขันของธุรกิจ

ภาษีเป็นสิ่งที่ภาคธุรกิจและประชาชนทุกคนเข้าใจดี ถึงความจำเป็นในการนำเงินรายได้จากภาษีไปใช้ในการพัฒนาประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญของเราทุกคนและทุกองค์กรธุรกิจ แต่เราจะดำเนินการด้านภาษีอย่างไร ให้ไม่เป็นภาระในการดำเนินงานและเกิดประโยชน์สูงสุด ที่ผ่านมาการชำระภาษีมีขั้นตอนที่ซับซ้อน แต่ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ ทำให้การให้บริการของหน่วยงานของรัฐมีความสะดวกสบายมากขึ้น กรมสรรพากรคืออีกหนึ่งองค์กรที่ได้เล็งเห็นประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีเพื่อเข้ามาสนับสนุนระบบการทำงานให้ดียิ่งขึ้น ไม่เพียงแต่อำนวยความสะดวกกับบุคลากรในองค์กรเพียงอย่างเดียว แต่รวมไปถึงการช่วยเพิ่มความสะดวกให้กับประชาชนทุกคนและผู้ประกอบการทุกภาคส่วน 

ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-TAX Invoice คือหนึ่งในช่องทางที่ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ภาคธุรกิจในการออกใบกำกับภาษีในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ทดแทนที่เป็นกระดาษแบบเดิม ทำให้การออกใบกำกับภาษีเป็นเรื่องที่ง่ายยิ่งขึ้น ประหยัดทรัพยากรมากขึ้น และตอบรับกับความรวดเร็วของโลกทุกวันนี้ บริษัท เออาร์ไอพี จำกัด (มหาชน) ผู้สร้างสรรค์สิ่งพิมพ์และผู้ผลิตเนื้อหาด้านธุรกิจ และไอที และผู้เชี่ยวชาญด้านจัดงานประชุม สัมมนาแบบครบวงจร จึงได้จัดงาน “THE THAILAND e-TAX SYMPOSIUM 2019” โดยความร่วมมือของกรมสรรพากร และสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ EDTA กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้ความรู้และตอบคำถามในเรื่องของใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อส่งเสริมให้ภาคธุรกิจทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างครบวงจร ในการเพิ่มศักยภาพในการทำงาน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการนำประเทศไทยสู่เศรษฐกิจดิจิทัลอย่างสมบูรณ์แบบ

เริ่มต้นงานที่ Session: e-TAX Talk: Integrating electronic tax service to enhance business advantage โดยมี คุณขนิษฐา สหเมธาพัฒน์ ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร กรมสรรพากร มากล่าวถึงภาพรวมของยุคเทคโนโลยี 4.0 และการปรับใช้เทคโนโลยีให้เข้ากับการทำงานในหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งกรมสรรพากรได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง เพื่อผลักดันเศรษฐกิจไทยให้ก้าวสู่ระดับโลก 

คุณสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ EDTA กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เผยว่าที่ผ่านมาได้มีการร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการตรวจรับรองระบบสารสนเทศของผู้ให้บริการนำส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และผู้ให้บริการจัดทำเอกสารอิเล็กทรอนิกส์กับกรมสรรพากร เพื่อให้ ETDA ทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบระบบสารสนเทศของผู้ให้บริการนำส่งข้อมูล e-TAX invoice & e-Receipt ซึ่งทั้งหมดนี้จะช่วยเพิ่มความโปร่งใส และการทำงานอย่างเป็นระบบให้กับกรมสรรพากร ที่ผ่านมาพบว่าหลายประเทศได้มีการผลักดัน e-TAX Invoice มากขึ้นและคาดว่าภายในปี 2025-2030 จะมีการเติบโตของ e-TAX Invoice ที่ขึ้นไปอยู่บน Cloud กว่า 70% ในขณะที่ความปลอดภัยของข้อมูลยังคงเป็นเรื่องที่จะต้องพัฒนากันต่อไปในอนาคต 

ต่อด้วยการร่วมถกประเด็น e-TAX ในหัวข้อ “Unleash the power of e-TAX, Enhancing the business advantage in the digital world ผ่าโลกภาษีอิเล็กทรอนิกส์เครื่องมือสร้างความได้เปรียบสู่โลกดิจิทัลสำหรับองค์กร”  โดยคุณนดารัตน์ ป้อมตรี Head of Business Process Improvement SCG, คุณกึกก้อง รักเผ่าพันธุ์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และคุณวุฒินนท์ ตรีศรีศักดิ์ ผู้อำนวยการอาวุโสแผนกภาษีอากร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) และมีคุณถนอม เกตุเอม เพจ TaxBugnoms และกูรูทางด้านภาษี ดำเนินรายการ

การปรับองค์กรเข้าสู่ระบบ e-TAX

คุณนดารัตน์ กล่าวว่า สำหรับ SCG การปรับเปลี่ยนเข้ามาสู่ e-TAX เป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายให้บริษัทได้เป็นจำนวนมากไม่ว่าจะเป็น ค่าเช่าพื้นที่ ค่าคนส่งเอกสาร ค่ากระดาษ และลดความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้จากการกระทำของมนุษย์ ซึ่งระบบ e-TAX ได้เข้ามาช่วยให้เรานำเอาทรัพยากรบุคคลไปทำงานในด้านอื่นๆ ได้ ที่ผ่านมาทาง SCG ได้เริ่มลงทุนในระบบการจัดการออนไลน์อยู่แล้ว จึงทำให้เราเอา e-TAX เข้ามาเชื่อมต่อกับระบบเดิมได้ง่ายขึ้น 

ในส่วนของคุณกึกก้อง มองว่า e-TAX ได้เข้ามาช่วยลดกระบวนการที่ไม่จำเป็นออกไปได้ ทำให้ระบบการทำงานรวดเร็วยิ่งขึ้น นอกจากนี้ธนาคารเองยังเข้ามาช่วยให้ลูกค้าทำงานสะดวกขึ้น เพราะเป็นผู้ช่วยจัดเก็บเอกสารให้ สำหรับด้านการลงุทนถึงแม้จะสูงแต่ก็เป็นการช่วยต่อยอดให้ธนาคารสามารถผันตัวเข้าสู่ผู้ให้บริการในการจัดการภาษีได้อีกด้วย 

คุณวุฒินนท์ เล่าว่านอกเหนือจากความประหยัดของทรัพยากรแล้ว การเพิ่มความสะดวกให้ลูกค้าก็คืออีกหนึ่งประเด็นที่ dtac ให้ความสนใจ นอกจากลดการใช้กระดาษแล้วยังนำมาซึ่งสภาพแวดล้อมที่ดียิ่งขึ้น ถึงแม้จะมีค่าลงทุนที่สูง แต่ก็คุ้มค่ากับผลระยะยาว โดยแต่ละองค์กรต้องทำความเข้าใจว่าการปรับเปลี่ยนเข้าสู่ระบบ e-TAX ไม่ได้ต้องลงทุนแค่ในเรื่องของอุปกรณ์เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงสภาพแวดล้อมโดยรอบที่ต้องเชื่อมต่อเข้าหากับระบบได้ 

การปรับคนในองค์กรให้พร้อมกับระบบใหม่ 

 คุณวุฒินนท์ เผยว่า สำหรับ dtac จำเป็นต้องใช้ระยะเวลา และในขณะเดียวกันก็ได้รับความร่วมมือจากกรมสรรพากรในการให้ความรู้ถึงกระบวนการปรับเปลี่ยนต่างๆ ให้การทำงานเป็นไปอย่างง่ายยิ่งขึ้น

ทางฝั่งของธนาคารกรุงเทพถือว่าได้รับผลตอบรับดีมากจากพนักงาน แต่ก็ยังคงต้องทำงานร่วมกับลูกค้ารายใหญ่ที่มีสาขาจำนวนมากเช่นกัน เพื่อร่วมหาแนวทางแก้ไข 

ในส่วนของ SCG ได้พัฒนากระบวนการมาโดยตลอด เพื่อให้การทำงานต่างๆ สอดคล้องกันและยังมีการเดินสายไปชี้แจงการปรับเปลี่ยนกับลูกค้ากว่า 500 ราย ซึ่งปัจจุบันก็ยังคงดำเนินการอยู่ 

อีกหนึ่งในหัวข้อที่น่าสนใจคือ “How to leverage e-Tax invoice in the era of digital trade and finance" ขับเคลื่อนองค์กรต่อยอดการทำระบบ e-tax invoice สู่โลกการเงินและการค้าแบบดิจิทัล โดย คุณพิรดา อิงค์ธเนศ Assistant to CEO, บริษัท ดาต้าวันเอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ให้บริการด้าน ICT แบบครบวงจรให้กับหลากหลายอุตสาหกรรม 

คุณพิรดา ได้มาพูดถึงการทำงานของระบบ e-TAX invoice โดยกล่าวว่า e-TAX invoice เริ่มเกิดขึ้นในช่วง 2 ปีก่อน เพื่อเข้ามาช่วยยกระดับธุรกิจและพัฒนาระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการช่วยในการเก็บข้อมูลต่างๆ และนำมาวิเคราะห์ต่อยอดได้ โดยการทำ e-TAX invoice จะช่วยให้การทำธุรกิจของไทยเป็นไปตามมาตรฐานโลก ส่งผลการทำธุรกิจระหว่างประเทศให้เป็นไปอย่างง่ายขึ้น 

ที่ผ่านมานั้นพบว่า ประเทศไทยมีอันดับความยากง่ายในการประกอบธุรกิจอยู่ที่ 49 และได้ขยับสูงขึ้นสู่ตำแหน่งที่ 21 ในระยะเวลา 5 ปี ซึ่ง e-TAX invoice ก็เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันเศรษฐกิจของประเทศให้มีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้นเช่นกัน 

คุณพิรดา เสริมว่า หน่วยงานรัฐเองก็ได้เข้ามาช่วยปรับปรุงระบบเพื่อสร้างความสะดวก อย่าง National e-Payment โดยมีองค์กรที่เป็นผู้ขับเคลื่อนหลักก็คือ กรมสรรพากร ไม่ว่าจะป็นการออกกฏหมายรองรับ จัดการให้ความรู้กับธุรกิจ อีกทั้งยังมีการเพิ่มช่องทางการยื่นภาษีเพื่อความสะดวกให้ผู้ประกอบการ 

ที่ผ่านมามากกว่า 50% ของเอสเอ็มอี มักโดนปฏิเสธด้วยเหตุผลทาง eKYC และเอกสารจำเป็นบางประเภท e-TAX จึงสามารถเข้ามาช่วยให้มีการจัดการที่ง่ายขึ้นได้และสากลมากขึ้น ดังนั้นเอสเอ็มอี ควรเริ่มต้นเข้าระบบ e-TAX เพื่อพาตัวเองก้าวสู่ความเป็นสากลมากยิ่งขึ้น ที่ผ่านมากลุ่มธนาคารได้ให้ความสนใจกับ e-TAX อย่างมาก ซึ่งนี่จะช่วยให้เราจะได้เห็นผู้ประกอบการ เข้าถึงการค้าระหว่างประเทศได้ง่ายขึ้นภายใน 2-5 ปี   

ปัจจัยหลักที่องค์กรส่วนใหญ่ยังไม่เข้ามาในระบบ e-TAX invoice 

บริษัทส่วนใหญ่อาจยังไม่ได้มองว่าการทำ e-TAX invoice เป็นการพัฒนาธุรกิจ แต่มองไปในเรื่องของการทำเพื่อมาตราฐานเทคนิค ทำให้ไม่เห็นความคุ้มค่าในการลงทุนเพิ่มเติม แต่จริงๆ แล้วควรมีการวิเคราะห์อย่างเต็มรูปแบบ เพื่อมาต่อยอดองค์กรและอุดช่องโหว่ขององค์กรว่า e-TAX มาตอบโจทย์ใดได้บ้าง 

อีกหนึ่งอย่างคือองค์กรอาจจะไม่ได้มองถึงประโยชน์ระยะยาว ว่าการจัดเตรียมข้อมูลที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์นั้นสามารถนำไปต่อยอดได้อีกมากมาย อย่างการนำเอาข้อมูลไปใช้ร่วมกับ ecosystem และพันธมิตร 

ทำอย่างไรให้มีคนเข้ามาใช้ e-TAX ให้มากขึ้น 

  • มีการทดลองใช้งานให้กับผู้สนใจ 

  • ทำให้เป็นเรื่องง่ายที่สุด ที่ไม่จำเป็นว่าคุณต้องเข้าใจเฉพาะในเรื่องเทคนิคเท่านั้น 

  • การช่วยลูกค้าในการเตรียม Data การทำ Testing available แบบ Sandbox 

ปัจจุบันนี้บริษัท ดาต้าวันเอเชีย กำลังพยายามขยายในเรื่องของ SAD Models และ Data Conversion, Data validation, Data signing ซึ่งตรงตามมาตราฐานของสรรพากร พร้อมมีการดูแลข้อมูลให้ลูกค้า โดยสามารถระบุช่วงเวลาที่ต้องการให้เก็บข้อมูลได้อีกด้วย  

เรื่องของการประหยัดค่าใช้จ่ายคงเป็นประเด็นหลักอย่างแน่นอน แต่ความน่าสนใจของ e-TAX ที่แท้จริงนั้นคือเรื่องของประสิทธิภาพการทำงานและระบบภายในกลุ่มงานบัญชี และประโยชน์ขั้นต่อไปคือความสามารถในการใช้ข้อมูลมาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้ากับผู้ผลิตซึ่งนี่ช่วยลดความเสี่ยงทางการค้า สุดท้ายมองว่าเมื่อข้อมูลมีมาตรฐาน จะทำให้เป็นประโยชน์ต่อการทำการค้าระหว่างประเทศ 

คาดว่าในอนาคตจะมีการใช้งานเพิ่มขึ้น เพราะบริษัทใหญ่ๆ กำลังจะเริ่มนำไปก่อน ดังนั้นจึงมีผู้เล่นรายย่อยเป็นผู้ตาม ในขณะเดียวกันกรมสรรพากรก็ได้ออกมาตราการใหม่ๆ เพื่อมาดึงเหล่าเอสเอ็มอีให้เข้าไปในระบบ ในปัจจุบันภาครัฐเริ่มมีการเชื่อมข้อมูลกันแล้ว และกรมสรรพากรยังพยายามที่จะเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ใช้งาน e-TAX มากยิ่งขึ้น คุณพิรดา กล่าว 

ต่อกันที่ช่วงบ่ายกับเสวนา “How to maximize the business profits with e-TAX เจาะกลยุทธ์การใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อธุรกิจ" โดยคุณสุภิดา บรรเทาทุกข์ รักษาการนักวิชาการสรรพากรเชี่ยวชาญ กองบริหารการเสียภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์กรมสรรพากร, คุณอนันต์ สิริแสงทักษิณ กรรมการและประธานคณะกรรมการวิชาชีพบัญชีด้านการบัญชีภาษีอากร สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์, คุณวิวัฒน์พร ไกรศรี ผู้เชี่ยวชาญ Software ทางด้านภาษีอิเล็กทรอนิกส์ภายในประเทศตัวแทนผู้บริหารจาก ATSI และคุณกฤษฎา ชุตินธร ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท โฟลว์แอคเคาท์ จำกัด โดยมี คุณอิสรีย์ บงกขสถิตย์ ผู้ดำเนินรายการ Good Morning ASEAN เป็นผู้ดำเนินรายการ 

ใน Session นี้พูดถึงความร่วมมือระหว่าง ETDA และกรมสรรพากรในการดำเนินการจัดทำระบบ e-TAX อีกทั้งยังมีการเสนอความเห็นของสภาวิชาชีพบัญชีฯ ในการพยายามจะพัฒนาบุคลากรให้ก้าวทันยุคสมัย เปลี่ยนจากแค่การทำเอกสารแต่สามารถเข้าสู่การวิเคราะห์ได้และปรับตัวเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสู่ระบบดิจิทัล 

ปิดท้ายด้วยการบรรยายโดย คุณสมศักดิ์ อนันทวัฒน์ ผู้อำนวยการกองมาตรฐานการกำกับและตรวจสอบภาษีกรมสรรพากร ในหัวข้อ “Agility, Efficiency & Reliability with eTAX: รวดเร็วปลอดภัยมั่นใจไปกับใบกำกับภาษี” โดยหัวข้อนี้เน้นไปที่การใช้งานระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ในองค์กร จากการทำงานในรูปแบบกระดาษมาตลอด ซึ่งทำให้เกิดความซับซ้อนยุ่งยาก สู่การทำงานผ่านระบบออนไลน์ที่จะช่วยให้มีความสะดวกมากยิ่งขึ้นกับพนักงานบัญชี ทั้งในเรื่องการจัดเก็บข้อมูล และง่ายต่อการประเมินการตรวจสอบของกรมสรรพากร ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อบริษัททั้งใหญ่และเล็ก  

นี่คือสรุปเนื้อหาทั้งหมดที่เกิดขึ้นในงาน THE THAILAND e-TAX SYMPOSIUM 2019 ที่ครบทุกมุม ทั้งผู้ประกอบการ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน e-TAX นับว่าจะเข้ามาช่วยส่งเสริมการทำธุกิจให้เติบโตยิ่งขึ้นซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจไทยเติบโตไปอีกขั้น


บทความนี้เป็น Advertorial 



ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...