ecommerceIQ เผย ธุรกิจ Online Grocery ต้องพึ่งความต้องการของลูกค้ามากกว่าอัตราการใช้สมาร์ทโฟนเพื่อเติบโต | Techsauce

ecommerceIQ เผย ธุรกิจ Online Grocery ต้องพึ่งความต้องการของลูกค้ามากกว่าอัตราการใช้สมาร์ทโฟนเพื่อเติบโต

อัตราการใช้งานสมาร์ทโฟนมักถูกมองว่าเป็นปัจจัยในการขับเคลื่นการเติบโตของการค้าปลีกออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศจีนและกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

แต่ผลสำรวจ “Nielsen: What’s Next in Ecommerce 2017” จากบริษัทนีลเส็น เผยว่าการที่ผู้คนใช้สมาร์ทโฟนมากขึ้นไม่ได้แสดงถึงความต้องการต่อกลุ่มสินค้า FMCG หรือ online grocery ที่มากขึ้นแต่อย่างใด ความสัมพันธ์ระหว่างการซื้อของสดออนไลน์กับอัตราการใช้งานสมาร์โฟนนั้นเป็นเรื่องยากที่จะคาดเดาและเหตุผลของแต่ละตลาดก็ไม่เหมือนกันอีกด้วย

การใช้งานของการซื้อของสดออนไลน์ในประเทศสิงคโปร์มีอัตราที่ต่ำกว่าในประเทศฝรั่งเศส ถึงแม้จะมีอัตราการใช้งานของสมาร์ทโฟนที่สูงกว่า แหล่งที่มา: นีลเส็น

การเปิดตัวบริการซื้อของสดออนไลน์ของห้างค้าปลีก อย่าง เทสโก้ ออนไลน์ (Tesco online) ที่ประเทศอังกฤษในปี 2539 ได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการจับจ่ายของคนทั้งประเทศ และในปัจจุบัน ผู้บริโภคชาวอังกฤษจึงคุ้นเคยกับการซื้อของสดออนไลน์ไปแล้ว 

ในขณะที่ประเทศสิงคโปร์ การไปห้างเพื่อซื้อสินค้ากลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของชาวสิงคโปร์ เนื่องจากห้างสรรพสินค้าที่ประเทศสิงคโปร์มักตั้งอยู่ในทำเลที่สะดวกและมีผู้คนเดินผ่านตลอดเวลา เช่น ใกล้สถานีรถไฟ

การซื้อสินค้าในห้างยังถูกมองว่าเป็นกิจกรรมสำหรับการพักผ่อนอีกอย่างหนึ่ง และยังคงเป็นที่นิยมแม้ว่าอัตราการใช้งานของสมาร์ทโฟนจะสูงมากในประเทศสิงคโปร์ก็ตาม ซึ่งกรณีนี้เกิดขึ้นกับประเทศอื่นๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เหมือนกัน  

ดังนั้น การค้าปลีกของภูมิภาคนี้จึงจะโตตามอีคอมเมิร์ซ ไม่ใช่อัตราใช้งานสมาร์ทโฟน ซึ่งแตกต่างจากประเทศทางตะวันตก

สมาร์ทโฟนและการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตส่งผลแก่การเติบโตของอุตสาหกรรมการซื้อของสดออนไลน์เพียงแค่ 40% เท่านั้น

ผลกระทบต่อธุรกิจ FMCG

แม้ว่าอีคอมเมิร์ซจะมีส่วนสนับสนุนการเติบโตของยอดขายในอุตสาหกรรมการค้าปลีกทั่วโลกเพียง 10% แต่หลังจากที่การคาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซจะมีอัตราการเติบโตรวมกันถึง 20% (CAGR) ภายในปี 2563 พร้อมกลายเป็นตลาดที่มีมูลค่าสูงถึง สี่ล้านล้านเหรียญสหรัฐ อุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซจึงจะมีอัตราการเติบโตที่สูงกว่ากลุ่มสินค้า FMCG ที่ถูกคาดการณ์ว่าจะโต 4$ (CAGR) 

รายงานจากบริษัทนีลเส็นยังเผยว่า ในอีกสี่ปีข้างหน้า ขนาดของการค้าปลีกแบบอีคอมเมิร์ซจะสามารถทัดเทียมกับตลาดกลุ่มสินค้า FMCG ทั่วโลกได้ แน่นอนว่าเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มสินค้าแฟชั่นและไอทีแล้ว กลุ่ม FMCG ยังคงน้อยกว่า แต่มันมีความเป็นไปได้ที่พฤติกรรมของผู้บริโภคจะเปลี่ยนแปลงไป และธุรกิจในกลุ่ม FMCG จะอยู่เฉยไม่ได้อีกแล้ว  

ข่าวการร่วมมือกันระหว่าง Danone และ Lazada ทำให้เห็นว่ามีบริษัทกลุ่มสินค้า FMCG ที่เห็นความสำคัญของช่องทางการขายสินค้าออนไลน์ในการเป็นกลยุทธที่จะขยายธุรกิจมากขึ้น ซึ่งรวมถึงเนสท์เล่และยูนิลีเวอร์ที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

RELATED ARTICLE

Responsive image

ธ.ก.ส. เดินหน้า ‘New Gen Hug บ้านเกิด Season 2’ เฟ้นหาเกษตรกรรุ่นใหม่ เศรษฐกิจชุมชนยั่งยืน

ธ.ก.ส. เดินหน้า ‘New Gen Hug บ้านเกิด Season 2’ เฟ้นหาเกษตรกรต้นแบบ สร้างแรงบันดาลใจ ยกระดับเศรษฐกิจชุมชน บนหน้าจอทีวี...

Responsive image

‘ตัวพ่อ’ วงการเทค 2023 ผู้สร้างปรากฏการณ์ ดราม่า และโอกาส

ในปีนี้ Techsauce ได้รวม 3 ตัวพ่อแห่งวงการเทคโนโลยี 2023 ที่มีบทบาท อิทธิพล และสร้างดราม่า มากที่สุดแห่งปี !...

Responsive image

เปิดตัว “ออร์บิกซ์” (orbix) กระดานเทรดสินทรัพย์ดิจิทัล ตั้งเป้าสู่ผู้นำด้านบริการสินทรัพย์ดิจิทัล

ออร์บิกซ์ เทรด เปิดตัว “orbix” แพลตฟอร์มซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล รองรับความต้องการของนักลงทุนที่เพิ่มขึ้น เข้าถึงบริการที่ตอบโจทย์การใช้งานและปลอดภัย...