เกาะเทรนด์ EdTech ไทยในปี 2022 กับสองผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาจาก AIS Academy | Techsauce

เกาะเทรนด์ EdTech ไทยในปี 2022 กับสองผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาจาก AIS Academy

ทุกวันนี้ Education Technology (EdTech) กลายมาเป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญที่ไม่อาจมองข้าม เพราะเรื่องของการ Reskill และ Upskill รวมไปถึง Lifelong Learning คือเทรนด์ใหม่แห่งการเรียนรู้ที่ผู้คนจะหันมาปรับใช้ ไม่ใช่แค่ในฝั่งของนักเรียน นักศึกษา แต่รวมไปถึงพนักงานบริษัท และผู้นำองค์กรที่ต้องพร้อมจะเรียนรู้อย่างไม่สิ้นสุด เพราะยุคนี้มีความรู้เกิดขึ้นใหม่ในทุกวันและทุกคนต้องพร้อมปรับตัวเพื่อจะเรียนรู้อยู่เสมอ 

ยิ่งสถานการณ์ COVID-19 ที่ผู้คนใช้เวลาส่วนใหญ่กันที่บ้าน ทำให้เกิดกระแสการเรียนออนไลน์ตั้งแต่เด็กเล็กไปจนถึงผู้ใหญ่มากขึ้น วันนี้ Techsauce จึงอยากจะชวนทุกคนมาฟังความเห็นกับสองผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ในแวดวง EdTech จาก AIS  ดร. ปรง ธาระวานิช Head of AIS Academy และ ดร. สุพจน์ ศรีนุตพงษ์ Head of Technical Knowledge Management Section, ถึงมุมมองต่อทิศทางของการศึกษาในปี 2022 มาดูกันว่าเทคโนโลยีจะเข้ามาพลิกโฉมการศึกษาอย่างไรบ้าง

เทรนด์โลกการศึกษาในปี 2022 จะเป็นอย่างไร

ดร. สุพจน์ ศรีนุตพงษ์ เล่าว่า จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้การเรียนต่อจากนี้ก็จะต่อเนื่องมาจากแบบเดิมที่ผู้คนเรียนออนไลน์กัน เรียกว่าผู้คนยอมรับในการเรียนรูปแบบออนไลน์มากขึ้น ถัดมาก็จะเป็นในเรื่องของตัวแพลตฟอร์ม อย่าง MOOC (Massive Open Online Course) แหล่งเรียนออนไลน์เปิดเสรี ที่เราอาจได้เห็นในแวดวงการศึกษาอย่างมหาวิทยาลัยของไทยเป็นส่วนมาก ซึ่ง Edtech จะเข้ามาช่วยเสริมในภาพกว้างเหล่านี้  ในขณะที่ฝั่งของ content ต่าง ๆ ก็มีเนื้อหาที่กระชับกว่าเดิม คุณภาพสูงขึ้น เนื่องจากผู้ผลิตเนื้อหาการเรียนได้เรียนรู้และศึกษาวิธีการสร้างจากการสอนรูปแบบอื่น ๆ มาสู่แบบออนไลน์และ virtual อีกสิ่งที่เกิดขึ้นคือ digital library ที่มีการผสมผสาน E-book และสื่อการเรียนรู้แบบอิเล็กทรอนิกส์เข้าไป รวมไปถึงรูปแบบการเรียนรู้แบบ remote หรือการเรียนรู้ทางไกล เป็นเสมือนตัวเลือกให้ผู้ปกครองและเด็กที่บางคนอาจสะดวกเรียนที่บ้านหรือมาที่ห้องเรียนก็ได้ 

ดร. ปรง ธาระวานิช เสริมว่า ต้องอย่าลืมว่า one size does not fit all แล้วคือหนึ่งหลักสูตรการเรียนไม่ได้ตอบโจทย์ทั้งหมดอีกต่อไปแล้ว เพราะแต่ละบุคคลก็มีความต้องการต่างออกไป ต่อจากนี้จะเกิดการเรียนผสมผสานอย่างเห็นได้ชัด ไม่ใช่ว่าห้องเรียนจะหายไป แต่วิธีการจะต่างออกไป อย่างการที่เนื้อหาการเรียนกระชับขึ้นก็มีเหตุผล 2 ประการหลัก ๆ คือ คนมีโฟกัสที่สั้นลง อยากใช้ระยะเวลาเร็ว ๆ ในการศึกษาแต่ละสิ่ง อีกเหตุผลคือเนื้อหาสาระความรู้เปลียนแปลงตลอด ถ้าเป็นแบบก่อนจะมีการวางเนื้อหาหลักสูตรแบบระยะยาว ปัจจุบันนี้เนื้อหาควรทันเหตุการณ์ง่ายต่อการปรับเปลี่ยน และทำความเข้าใจ ตอนนี้หลาย ๆ ผู้ผลิตเนื้อหาการเรียนให้ความสำคัญกับผู้เรียนยิ่งขึ้น โดยมองว่าผู้เรียนเป็นจุดศูนย์กลาง ซึ่งเน้นแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่ผ่านมาเราคุ้นชินกับการเรียนจบเป็นตอน ๆ แบบ ประถม มัธยม มหาวิทยาลัย แต่ว่าเทรนด์สมัยใหม่ที่มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ทำให้เกิด Lifelong Learning

บทบาทของ e-Learning ต่อจากนี้

การเรียนจะปรับเป็นแบบผสมผสานคือมีทั้งแบบไปเรียนที่สถาบันการศึกษาและแบบออนไลน์ ในขณะที่เนื้อหาและบทเรียนก็จะมีความกระชับ สามารถประกอบเข้ากับบทเรียนอื่น ๆ ได้ง่าย หรือถ้าไม่รวมเข้ากับชิ้นส่วนอื่น ก็ยังสามารถที่จะทำความเข้าใจได้ง่ายและจบในตอนเดียว หากเทียบกับรูปแบบเดิม ๆ ที่จะต้องออกแบบเนื้อหาทีเดียวตั้งแต่ต้นจนจบเป็นระยะเวลาการเรียนยาวหลายชั่วโมง ในขณะที่วิธีการรูปแบบใหม่นี้อาจจะถูกย่อยเพียงไม่กี่นาที และยังสามารถดึงไปใช้ร่วมกับการเรียนในคอร์สอื่น ๆ ได้ด้วย และยังส่วนที่น่าสนใจอีกก็คือ mobile learning เนื่องจากมีการใช้โทรศัพท์มือถือมากขึ้น อาจมีการออกแบบเพื่อให้สอดคล้องกับการใช้งานในหน้าจอแนวตั้งเหมือนอย่างแพลตฟอร์ม TikTok 

จากการเข้ามาของ e-Learning ทำให้เกิดคำถามในเรื่องของการประเมินต่าง ๆ ในส่วนนี้ทั้งสองท่านได้เสริมว่า การประเมินผลการเรียนก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญโดยมีความเข้มข้นแตกต่างกันไป เช่น วัดความเข้าใจที่อาจมีจำนวนข้อไม่มาก วัดผลการเรียนที่ใช้การสลับข้อหรือมีการเปิดกล้องสอบ หรือแม้กระทั่งสอบเพื่อนำไปประกอบอาชีพซึ่งหลัง ๆ เริ่มมีเครื่องมือในการตรวจสอบว่าเป็นประกาศนียบัตรของจริงหรือไม่ ทั้งหมดนี้ล้วนต้องมีการคิดค้นวิธีการสร้างแบบทดสอบต่าง ๆ ตามความเหมาะสม 

e-Learning กับการเรียนภาคปฏิบัติ

ในการเรียนต่าง ๆ ก็ต้องมีการปฏิบัติด้วยเพื่อให้การเรียนมีประสิทธิภาพสูง แต่ด้วยสถานการณ์ COVID-19 ที่ผ่านมา ทำให้ e-Learning เข้ามามีบทบาทอย่างมากในการเรียน หลายคนจึงมีความกังวลว่า e-Learning อาจจะไม่สามารถเติมเต็มในด้านการปฏิบัติได้ ดร. ปรง ธาระวานิช มองว่า เนื้อหาทุกวันนี้ถูกแบ่งเป็นชิ้นส่วนย่อย ๆ ขึ้นอยู่กับผู้ออกแบบ ปกติจะเป็นการเรียนยาว ๆ แล้วค่อยฝึกงาน แต่การเรียนแบบ e-Learning มีการแบ่งซอยย่อย ประยุกต์ใช้เพื่อให้ประสบความสำเร็จ กลับมาเรียนใหม่ นำไปใช้ จะวนแบบนี้ เพราะฉะนั้นการเรียนก็อาจไม่ใช่ e-Learning อย่างเดียวแต่คือการเรียน ต่อด้วยการค้นคว้าและนำไปใช้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับผู้ออกแบบว่าจะออกแบบแบบไหน 

ในส่วนของ ดร. สุพจน์ ศรีนุตพงษ์ กล่าวว่า แน่นอนว่าองค์ความรู้ที่ต้องเน้นปฏิบัติ e-Learning อาจจะทดแทนไม่ได้ครบถ้วน แต่ว่าก็มีเรื่องของสื่อที่สร้างมาให้เหมาะสมกับการปฏิบัติ อย่าง การเรียนรำไทย โยคะ เปียโน ซึ่งเราไม่เคยคิดว่าเรียนได้ แต่ตอนนี้ก็มีการปรับเพื่อให้ปฏิบัติได้และยังมี session ให้ดูซ้ำด้วย อีกสิ่งที่จะเกิดเพิ่มมาก็คือ SPOC (Small Private Online Course) แต่ละสถาบันจะมีการสร้างคลาสเรียนภายในเท่านั้น และพอเริ่มมีเนื้อหาจำนวนมากขึ้นก็เริ่มอยากเปิดให้คนรับรู้มากขึ้นทำให้เกิด MOOC นั่นเอง 

การเข้ามามีบทบาทของ Gamification of learning / VR/ AR และ Metaverse ในการเรียน 

อย่างที่เราทราบกันดีว่าในช่วงหลังนี้ Gamification of learning / VR/ AR และ Metavers กำลังเป็นกระแสที่หลายคนพูดถึง บ้างว่าจะเข้ามาพลิกโฉมในหลากหลายวงการ ในวงการการศึกษาเองก็เช่นกันที่อาจมีการปรับใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งในส่วนนี้ ดร. สุพจน์ ศรีนุตพงษ์ ให้ความเห็นว่า ที่ผ่านมาปัญหาที่เราเจอก็คือ เรื่องของการมีส่วนร่วมในห้องเรียน อย่างการปิดไมค์ ปิดกล้อง เราไม่มีทางรู้เลยว่าใครเป็นอย่างไรบ้าง กำลังฟังอยู่หรือไม่ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็น Gamification of learning / VR/ AR และ Metaverse ส่วนต่าง ๆ เหล่านี้จะเข้ามาเสริมเติมในเรื่องของการมีส่วนร่วม เนื้อหาสาระแบบเดิมคงมีอยู่เป็นแกนหลักอยู่แล้ว แต่สิ่งเหล่านี้จะเข้ามาช่วยเสริมให้การเรียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น จาก 2D เทคโนโลยีเริ่มปรับมาสู่ 3D การประยุกต์ใช้เพิ่งเริ่มต้นขึ้น รวมถึงยังต้องมีอุปกรณ์เสริมด้วยอาจจะยังไม่ได้สะดวกในการเอามาปรับใช้เลยในเร็ว ๆ นี้ เบื้องต้นนั้นภาพที่เห็นก็คือโลกเสมือนที่สร้างความน่าสนใจในการเรียน อย่างการปล่อยผู้เรียนเข้าไปอยู่ในพื้นที่แล้วเลือกสถานีที่ตัวเองสนใจเอง 

สำหรับเทคโนโลยีในการเรียนนั้น การปรับใช้ของแต่ละองค์กรก็ไม่เหมือนกัน ถ้าในสถานที่ ที่ผู้สอนผู้เรียนมีความพร้อม การเข้ามาของ AR/VR นี้ก็จะช่วยได้มาก ในขณะที่บางที่เรียนออนไลน์ปกติก็ถือว่าเพียงพอแล้ว สุดท้ายแล้วไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีรูปแบบใดก็ตามสิ่งสำคัญที่ต้องมีอยู่เสมอคือการของ การมีปฏิสัมพันธ์ของผู้เรียนและผู้สอน ดร. ปรง ธาระวานิช เสริม 

และนี่คือเทรนด์การศึกษาที่จะเกิดขึ้นในปีหน้า ซึ่งเราจะได้เห็นการขยับขยายของ e-Learning อย่างมากขึ้นแน่นอนทั้งในสถาบันการศึกษาและองค์กร ถึงแม้ปัจจุบัน e-Learning อาจจะยังไม่สามารถตอบโจทย์การเรียนรู้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ แต่ก็เป็นช่องทางที่สะดวกและง่ายต่อการได้รับความรู้ ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้ก็กำลังจะมีหลายอุปกรณ์และเครื่องมือเทคโนโลยีมากมายที่จะเข้ามาช่วยส่งเสริมให้การเรียนรู้ออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 

สำหรับผู้ที่สนใจสนใจจะเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ สามารถติดตาม AIS Academy ได้ โดยล่าสุด ได้มี LearnDi & ReadDi’ แพลตฟอร์มเพื่อการศึกษาในยุคดิจิทัล ที่พร้อมสนับสนุนและให้บริการแก่ทุกองค์กรและผู้ที่สนใจ ตอบโจทย์ชีวิตยุคดิจิทัลเรียนรู้ง่าย ๆ ได้สะดวกทุกที่ สนใจสอบถามข้อมูลได้ที่ https://www.aisacademy.com/ 


บทความนี้เป็น Advertorial 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ท่องเที่ยวไทยมีดี แต่ SME ยังไม่พร้อม ?

ธุรกิจท่องเที่ยวจะปรับตัวยังไง เมื่อเจอความท้าทายรุมล้อม ไม่ว่าจะเป็นการปรับใช้เทคโนโลยีในธุรกิจ การรับมือธุรกิจจีนที่เข้ามารุกตลาด และการสร้างบริการท่องเที่ยวให้ตอบโจทย์นักเดินทาง...

Responsive image

อินโดนีเซีย เปิดรับเทคโนโลยีอย่างไร เพื่อสร้างเศรษฐกิจยุคใหม่ ถอดบทเรียนจากงาน Bali International Airshow

อินโดนีเซีย กลายเป็นประเทศเนื้อหอมที่บิ๊กเทคฯ ต่างประเทศแห่เข้าไปลงทุนมากมาย ซึ่งหากนับแค่ช่วงครึ่งแรกของปี 2023 เพียงปีเดียวอินโดนีเซียสามารถสร้างมูลค่าถึง 34,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ...

Responsive image

รู้จัก “Phygital” การตลาดยุคใหม่แห่งอนาคต ผ่านเทคโนโลยี Immersive Experience ของ Translucia

Techsauce จึงอยากพาไปทำความรู้จักกับเทคโนโลยี ‘โลกเสมือน’ ผ่านหนึ่งในผู้เล่นคนสำคัญอย่าง Translucia บริษัทเทคโนโลยีที่พัฒนา Immersive Experience ซึ่งเป็นแนวคิดที่จะเปลี่ยนวิธีการเ...