สัมภาษณ์พิเศษ "กรวัฒน์ เจียรวนนท์" CEO แห่ง Eko กับก้าวต่อไปหลังจากได้ Series A | Techsauce

สัมภาษณ์พิเศษ "กรวัฒน์ เจียรวนนท์" CEO แห่ง Eko กับก้าวต่อไปหลังจากได้ Series A

วันนี้เรามีบทสัมภาษณ์พิเศษของคุณกรวัฒน์ เจียรวนนท์ CEO และ founder Eko ซึ่งเป็น Startups สายเลือดไทยที่เพิ่งจะระดมทุนได้กว่า 5.7 ล้านเหรียญสหรัฐใน Series A คุณกรวัฒน์ เจียรวนนท์ เป็นทายาทตระกูลดังในเครือเจริญโภคภัณฑ์และเป็นลูกชายของคุณศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) คุณกรวัฒน์ หรือ ภู ไม่ได้มีแค่ดีกรีตระกูลดังแต่ยังพกเอาความสามารถมากมายที่จะมาแบ่งปันให้พวกเราได้ฟังกัน

12082951_1024817440886066_1178995535_o

ช่วยแนะนำเกี่ยวกับตัวบริษัทหน่อยครับ

ตอนแแรกเราเริ่มเป็น mobile messaging app เริ่มทำจริงๆปลายปี 2010 ตอนนั้นผมก็อายุประมาน 15-16 เราพยายามที่จะเปิดตัวผลิตภัณฑ์อยู่หลายครั้งแต่ก็ไม่สำเร็จเพราะด้วยตลาดที่แข่งขันกันสูงมาก ในปี 2012 ตอนที่ผมเรียนอยู่นิวเจอร์ซี่ ผมได้ไปสมัครเข้าโครงการ Accelerate Incubator ที่ Princeton ซึ่งเงินทุนก้อนแรกที่ได้รับก็ไม่ได้เยอะมากราวๆ 20,000 เหรียญสหรัฐ แต่สิ่งสำคัญคือผมได้เรียนรู้เกี่ยวกับ Startups และแนวคิดของซิลิคอนวัลเลย์มากยิ่งขึ้น

มีหลายคนบอกว่าแอปของเรามีโอกาสที่จะเติบโตและเป็นที่ต้องการอย่างสูงสำหรับบริษัทใหญ่ๆ เพราะบริษัทใหญ่ๆอย่าง Microsoft และ IBM ก็ไม่ได้มีโปรแกรมที่ให้พนักงานได้คุยกัน ไม่ว่าจะด้วยเรื่องงานหรือส่วนตัวก็ดี พนักงานเหล่านี้จึงหันไปใช้ Line และ Whatsapp กัน  นี้จึงเป็นโอกาสที่เรามองเห็นว่าแอปของเราสามารถที่จะตอบสนองความต้องการด้านนี้ เพราะเราสามารถให้ความปลอดภัยและรวดเร็วในการส่งข้อความ Line และ Whatsapp ไม่ได้ถูกสร้างเพื่อไว้ใช้งานในบริษัท

การใช้แพลตฟอร์มที่เป็นทางการอย่างเช่นบัญชีอีเมลที่บริษัทให้มาติดต่องาน จะแสดงให้เห็นถึงความเป็นมืออาชีพ หลายๆบริษัทเริ่มเล็งเห็นแล้วว่าโทรศัพท์สมาร์ทโฟนจะมีบทบาทอย่างมากในอนาคต โดยพิสูจน์จากตัวเลขผู้ใช้งาน LINE และ WhatsApp ที่มีอยู่หลายล้านบัญชีทั่วโลก

ปลายปี 2013 เราก็ปล่อยตัวเบต้าออกมา แต่ก็ยังไม่มีบริษัทมาใช้งานแอปของเรามาก เพราะบริษัทเหล่านี้ย่อมมีความคาดหวังที่สูงและแตกต่างกันออกไป เราจึงต้องศึกษาไปเรื่อยๆ สิ่งหนึ่งที่เราได้เรียนรู้ก็คือบริษัทใหญ่ๆไม่ต้องการเครื่องมือที่ทำได้อย่างสองอย่าง พวกเขาต้องการเครื่องมือที่ครอบจักรวาลนั้นเอง จนมาต้นปี 2015 เราพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ต้องการของตลาดส่วนใหญ่ สุดท้ายแล้วเรามองผลิตภัณฑ์ของเราว่าเป็น Digital Headquarter ซึ่งเราหลายๆอย่างเข้าด้วยกันไม่ใช่แค่การสื่อสาร ความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ของเราก็คือ

ข้อดีของ Eko มีอะไรบ้าง

  1. เราให้ลูกค้าได้สามารถปรับแต่งตัวแอปอย่างมีอิสระเช่น โลโก้ ไอคอนหรือแม้กระทั้งชื่อของ เปรียบเสมือนเป็นแอปของบริษัทตัวเอง
  2. ในแง่ของหลังบ้านเราสามารถให้การควบคุมได้อย่างเต็มที่เช่น admin control panel บริษัทสามารถควบคุมข้อมูลที่ผ่านทางผู้ใช้งานไม่ว่าจะเป็นกลุ่มหรือตัวบุคคล
  3. เราให้ความปลอดภัยที่แน่นหนาสำหรับธนาคารใหญ่ๆที่ต้องการส่งข้อมูลสำคัญของลูกค้า ร่วมไปถึงการดึงกลับข้อมูลที่เราส่งออกไปและไม่ต้องการให้คนอื่นรู้ เราสามารถลบข้อความดังกล่าวและข้อความนั้นจะถูกลบออกไปจากมือถือของทุกคนที่เราส่งออกไปอีกด้วย

กลุ่มเป้าหมายคือใคร

เราตั้งเป้าหมายไว้ที่บริษัทใหญ่ๆ แม้ว่าการเข้าถึงบริษัทพวกจะเป็นไปได้ยากก็ตาม ในตอนแรกๆ มีบริษัทในอเมริกาที่เชื่อมโยงกับบริษัทเงินทุนอย่าง TigerLabs ที่ใช้ Eko อยู่แล้ว เราเลยลองไปเสนอให้ทางบริษัททรู ทางบริษัทจึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของระบบป้องกันที่ดี พอทรูเริ่มใช้งาน Eko ทุกอย่างก็ดูเหมือนจะง่ายขึ้นเพราะบริษัทต่างประเทศเห็นว่า Eko ประสบความสำเร็จในการร่วมงานกับบริษัทใหญ่ในประเทศไทย พวกเขาจึงเริ่มให้ความสนใจกับเรา ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการทำ partnership กับบริษัทใหญ่ๆ ที่มีแบรนด์อยู่แล้ว

วางแผนอนาคตข้างหน้าไว้อย่างไร

ภายใน 3-5 ปีข้างหน้า เราต้องการที่จะสร้างแพลตฟอร์มที่ไม่ใช่เพียงแค่ mobile communication แต่เป็น mobile platform สำหรับบริษัทใหญ่ๆ

มองตลาดในประเทศไหนเอาไว้บ้าง

ยุโรปก็เป็นตลาดที่สำคัญกับเราเหมือนกัน ตอนนี้เรายังไม่มองสหรัฐเพราะว่ามีการแข่งขันที่สูงมาก เหนือสิ่งอื่นใด เรามองไปที่ตลาดในจีนเป็นหลัก เพราะถ้าเราเจาะตลาดในจีนได้เราจะไปไหนในโลกก็ย่อมได้ จีนจะเป็นฐานที่ใหญ่พอให้เราต่อกรกับบริษัทใหญ่ๆ

มอง Startups ไทยเป็นอย่างไร

ผมไม่ได้วิจารณ์ใครเป็นเฉพาะนะครับ แต่สิ่งที่ผมเห็นของ Startups ไทยก็คือพวกเขาจะใช้คำว่า We are the "x" of Thailand เรียกแทนตัวเอง ยกตัวอย่าง We are the Uber/Airbnb of Thailand สำหรับผมก็เราไปวางกรอบเอาไว้แค่นี้ เราก็จะอยู่แค่ตรงนี้ ถ้าเราไม่ตั้งเป้าหมายที่ใหญ่ เราก็จะเป็นเหมือนซิลิคอนวัลเลย์ไม่ได้

สำหรับ Eko ความฝันของผมก็คือ เราจะเป็น technology provider กับ innovators ในระดับโลก ในวันนี้ผลิตภัณฑ์ของเราสามารถจะต่อกรกับซิลิคอนวัลเลย์ในทุกตลาดได้เลย ผมอยากให้ทั่วโลกมองว่า Eko คือบริษัทของคนไทยที่เป็น technology innovators

ผมคิดว่าคนไทยมีศักยภาพสูงที่จะไปรุกตลาดต่างประเทศได้ มีหลายปัจจัยที่ทำให้ประเทศไทยพัฒนาได้ไกลเพราะเราเป็นประเทศที่มี mobile centric ที่สุด อย่างเช่น Line Whatsapp Instagram ก็มาฮิตที่เมืองไทยก่อนจะขยายไปทั่วโลก

คำแนะนำถึงการเติบโตในระดับโลก

การที่เราจะเติบโตในระดับโลก เราต้องมีทักษะและความสามารถที่สูง ณ ตอนนี้ต้องยอมรับว่ายังไม่มีคนนอกซิลิคอนวัลเลย์ ที่มีความสามารถพอจะต่อกรกับพวกเขาได้ เพราะซิลิคอนวัลเลย์ดึงเอาคนเก่งๆ ไปหมดแล้ว เราจึงต้องทำแบบพวกเขาบ้าง เราได้ CTO จากอเมริกาที่มีความสามารถสูง เคยไปทำงานกับ NASA หลังจากนั้นเราก็หาคนไทยที่มีทักษะสูงๆและค่อยสอนพวกเขาเหล่านั้นให้คิดเหมือนซิลิคอนวัลเลย์

จำเป็นไหมที่ Startups ต้องออกไปโตเมืองนอก

ไม่จำเป็นครับ จริงๆ แล้วเราควรเกิดในเมืองไทยก่อนและเราจึงจะสามารถมองทิศทางในอนาคตได้

ทำอย่างไรให้คนหันมารู้จัก Eko

ทางที่ดีเราควรจะต้องไปร่วมมือกับบริษัทใหญ่ๆ ที่มีชื่อเสียงแล้ว บริษัทของเราก็จะดูน่าเชื่อถือ อีกอย่างก็คือการเลือก VC และ Angel เพราะพวกเขาเนี้ยแหละจะค่อยช่วยเหลือเราในการเติบโตก็ดีหรือไม่ว่าจะค่อยให้คำแนะนำในการเข้าไปตีตลาดไปประเทศอื่นๆ

ในเมื่อเราเป็นลูกหลานของตระกูลดัง มีความกดดันไหม

มักจะมีคำพูดสำหรับคนจีนบอกว่า คนรุ่น 1 ริเริ่มธุรกิจ คนรุ่น 2 สร้างมันขึ้นมาส่วนคนรุ่น 3 ไม่ทำงานเอาแต่ใช่เงิน คุณพ่อผมบอกว่าเพื่อที่บริษัทจะอยู่รอด เราต้องปลูกฝัง spirit of entrepreneurship ไว้ในทุกๆ รุ่น ครอบครัวผมจึงมีนโยบายให้ออกไปทำเอง เรียนรู้เอง ทุกๆคนในตระกูลต้องออกไปลำบากเรียนรู้ที่จะสร้างทุกอย่างขึ้นจากไม่มีอะไร ผมได้แรงบันดาลใจจากการเห็นคุณพ่อและคุณปู่ทำงานหนักมาตั้งแต่เด็ก ถ้าผมไม่มีคำแนะนำจากคุณพ่อ ไม่มีทางที่ Eko จะมาถึงทุกวันนี้ได้ พ่อแม่ผมสอนว่าเงินทุกอย่างที่เรามี ทุกอย่างสามารถหายไปได้ในพริบตา แต่ที่ยังมีอยู่คือความรู้และประสบการณ์


สิ่งที่เราได้หลังจากพูดคุยจะเห็นได้ว่า มุมมองของ CEO แห่ง Eko นั้นไม่ธรรมดาเลย ทั้งทางเรื่องธุรกิจและการพัฒนา และมองว่าไม่ใช่แค่การทำแอปให้สามารถใช้งานได้เท่านั้น การหา partner ที่จะเอามาช่วยให้ธุรกิจของเขาและของเราสามารถดำเนินต่อไปได้ partner ดีก็มีชัยไปด้วยกันครับ

สำหรับใครที่อยากเรียนรู้ประสบการณ์ตรงของ Startup ไทยในสหรัฐฯ คุณกรวัฒน์ จะมาแบ่งปันรายละเอียดให้เรากันในงาน Start it Up Conf. 2015 ด้วย ใครสนใจรีบสมัครด่วน!

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...

Responsive image

GAC รถแห่งเมืองกวางโจว ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ | Tech for Biz EP. 30

แบรนด์รถยนต์ที่เป็นความภูมิใจของคนกวางโจว สู่ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ คลิปนี้ Tech for Biz จะพาไปรู้จัก GAC ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีนอีกเจ้าที่กำลังบุกตลาดเมืองไทย...

Responsive image

เปิดดีล NVIDIA ปี 2024 ในอาเซียนไปร่วมมือใครมาบ้าง ?

NVIDIA ขยายอิทธิพลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปี 2024 ด้วยการลงทุน AI Centers และการพัฒนาระบบ AI ร่วมกับพันธมิตรในอินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม และไทย ขับเคลื่อนภูมิภาคสู่การเป็นศูนย์...