โรงเรียนในประเทศเดนมาร์กนำเรื่อง 'ความเห็นอกเห็นใจ' เข้าไปในชั้นเรียน | Techsauce

โรงเรียนในประเทศเดนมาร์กนำเรื่อง 'ความเห็นอกเห็นใจ' เข้าไปในชั้นเรียน

โรงเรียนในประเทศเดนมาร์กนำเรื่อง 'ความเห็นอกเห็นใจ' หรือ Empathy เข้าไปในชั้นเรียนของเด็กอายุตั้งแต่ 6 - 16 ปี โดยจะเป็นคลาสเล็กๆ ใช้เวลาเพียง 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

รายงานความสุขโลก (The World Happiness Report) ขององค์การสหประชาชาติ ที่ได้จัดทำแบบสำรวจตั้งแต่ปี 2012 จาก 155 ประเทศทั่วโลก ทำการจัดอันดับตามความสุขของผู้อยู่อาศัยในประเทศนั้นๆ ประเทศเดนมาร์กถูกจัดให้เป็นประเทศที่ประชาชนมีความสุขที่สุด และอยู่ในอันดับไม่เคยต่ำกว่า 3 ในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา ปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น ก็คือการนำชั่วโมงเรียนเรื่อง 'การเอาใจใส่และความเห็นอกเห็นใจ' เข้าไปบรรจุในโรงเรียน

การที่เด็กรู้จักเอาใจใส่และเข้าใจผู้อื่นทำให้พวกเขามีการโฟกัสและมุ่งเน้นที่เป้าหมายมากขึ้น โดยนักเรียนที่เข้าใจเรื่องนี้จะช่วยพวกเขาในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ดีขึ้น ซึ่งจะนำไปความสำเร็จในชีวิตในภายหลัง นอกจากนี้ ยังเป็นการป้องกันเรื่องความรุนแรงอย่างการกลั่นแกล้ง (Bullying) ในโรงเรียนอีกด้วย

โดยคลาสเรียนนี้มีชื่อเรียกว่า Klassens tid เด็กๆ จะได้แสดงแชร์ปัญหาที่พวกเขาเจอ ทั้งจากในโรงเรียนหรือในชีวิตประจำวัน กับเพื่อนร่วมชั้น รวมทั้งคุณครู ทั้งหมดก็จะช่วยกันหาหนทางในการแก้ปัญหา ซึ่งในการที่จะแก้ปัญหาได้ ก็ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของการฟังและการทำความเข้าใจอย่างมาก ซึ่งนี่ก็จะช่วยให้นักเรียนมีความเอาใจใส่ต่อผู้อื่นมากขึ้น ถ้าหากไม่มีเรื่องอะไรมาแชร์ พวกเขาก็จะใช้เวลาของชั่วโมงนั้นในการผ่อนคลายแทน

ชาวเดนมาร์กให้ความสำคัญในเรื่องความเป็นอยู่ที่ดีเป็นอย่างมาก และจะเห็นได้ว่าเทรนด์นี้ก็ได้แพร่กระจายไปยังประเทศอื่นๆ ทั่วโลก

นอกจากนี้ยังมีเรื่อง 'ความเป็นฮุกกะ' (Hygge) ในภาษาเดนมาร์กที่แปลว่า ความอบอุ่น ความสบาย มิตรภาพ และการสร้างบรรยากาศที่เป็นกันเองในที่ๆ ทุกคนได้รับการต้อนรับ ซึ่งฮุกกะ เป็นแนวคิดที่คนเดนมาร์กทุกชนชั้นยึดถือปฏิบัติมาอย่างยาวนาน

ข้อมูลที่น่าสนใจจากหนังสือ The Danish Way of Parenting: What the Happiest People in the World Know About Raising Confident, Capable Kids พบว่า การทำงานเป็นทีม มีส่วนช่วยในการพัฒนาเรื่องความเอาใจใส่ในเด็กนักเรียนเป็นอย่างมาก

กว่า 60% ของการเรียนในเดนมาร์กมาจากการทำงานเป็นทีม พวกเขาทำงานเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยไม่มีการเอาชนะผู้อื่นเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว

เด็กๆ เรียนรู้วิธีทำงานร่วมกัน แทนที่จะพยายามเอาชนะคนที่ไม่ได้เก่งหรือมีพรสวรรค์เหมือนตนเอง ซึ่งนี่ยังทำให้เดนมาร์กถูกยกให้เป็นหนึ่งในสถานที่ที่ทำงานที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในยุโรป

แน่นอนว่ายังมีการแข่งขันอยู่ แต่จะเด็กๆ จะสอนให้แข่งกับตัวเอง โดยโรงเรียนจะไม่มีการให้รางวัลที่ส่งเสริมการแข่งขันที่ไม่จำเป็น แต่จะเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนได้โฟกัสและพัฒนาทักษะของตนเองมากกว่า

นอกจากนี้ในโรงเรียนยังมีการฝึกการเรียนรู้ร่วมกัน นักเรียนที่มีจุดแข็งและจุดอ่อนต่างกันในแต่ละวิชาจะทำงานร่วมกันในแต่ละวิชา สิ่งนี้ทำให้พวกเขาได้รับความช่วยเหลือและพัฒนาในด้านที่อ่อนแอ และสนับสนุนให้ทำการปรับปรุงและพัฒนาจุดแข็งต่อไป การเรียนรู้ร่วมกันสอนให้เด็กรู้ว่า "ความสำเร็จนั้นไม่สามารถทำได้โดยลำพัง และการทำงานร่วมกับผู้อื่นจะให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า"

เพราะเมื่อเราอธิบายสิ่งที่เราเข้าใจให้ผู้อื่นได้ฟัง ก็จะทำให้เราสามารถจำข้อมูลนั้นได้ดีกว่าการเรียนรู้เพียงลำพัง และเมื่อเราอธิบายออกไป เราจะต้องพิจารณาว่าคนที่รับฟังได้รับข้อมูลนั้นอย่างไร ซึ่งสิ่งนี้ก็เป็นการสนับสนุนให้เกิดเรื่องความให้เห็นอกเห็นใจเช่นกัน

ที่มา: In Denmark, Empathy Is Taught To Students Aged 6 To 16

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...