มารู้จักตลาดการจ้างงาน ของวงการเทคโนโลยีในประเทศจีนกันเถอะ | Techsauce

มารู้จักตลาดการจ้างงาน ของวงการเทคโนโลยีในประเทศจีนกันเถอะ

จีน ที่ช่วงนี้มีข่าวใหญ่ในวงการเทคโนโลยีออกมาอย่างต่อเนื่อง และการเติบโตของเศรษฐกิจซึ่งคือประมาณ 6.5 เปอร์เซ็นในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา ส่วนสำคัญในการเติบโตทางเศรษฐกิจนี้ก็มาจากภาคอุตสาหกรรมเทคโนโลยี เหมือนกับที่เกิดขึ้นในซิลิคอนแวลลีย์ กลุ่มบริษัท China’s BAT ที่ประกอบไปด้วย Baidu, Alibaba, Tencent นอกจากนี้ภาพของ Startup ที่บูมขึ้นมา กลายเป็นปัจจัยสำคัญของการเติบโตนี้

00chinaabroad02-master675

ที่มาภาพ: nytimes.com

Harvard Business Review ได้ระบุว่าตลาดทรัพยากรมนุษย์คิดเป็นสัดส่วน 11-15 เปอร์เซ็นของอัตราการเจริญเติบโตจีดีพีของประเทศจีน การขาดแคลนบุคลากรที่มีศักยภาพอย่างเพียงพอในตลาดแรงงานยังคงเป็นปัญหาใหญ่ และข้อนี้ยังส่งผลให้เกิดปัญหาอัตราการลาออกจากงานสูง (high turnover)  เพราะบริษัทต่างๆ พยายามจะซื้อและแย่งตัวคนเก่งๆ กัน ซึ่งสำหรับบริษัท Startup ในประเทศจีน ก็มีโอกาสได้รับเงินเดือนสูงขึ้นถึง 20-30 เปอร์เซ็นเมื่อเทียบกับบริษัททั่วไป อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยอื่นๆ เบื้องหลังปรากฏการณ์นี้อยู่ที่ทำให้เราต้องมาวิเคราะห์กันให้ลึกขึ้น

การอพยพของเหล่า Talents

การย้ายไปทำงานในเมืองใหญ่ของกลุ่มทาเล้นท์หรือกลุ่มผู้มีความสามารถสูง เป็นปรากฏการณ์ที่มีให้เห็นจนชินตาในปัจจุบัน และเป็นเทรนด์ที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศจีนในหลายปีที่ผ่านมา แต่ที่น่าตกใจก็คือ เราเริ่มจะได้เห็นการไหลออกไปจากเมืองใหญ่ๆ ระดับชั้นหนึ่งของจีน (เช่น ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ เซินเจิ้น) เนื่องจากค่าครองชีพและมาตรฐานการใช้ชีวิตที่สูงขึ้นกลายเป็นปัญหาของแรงงานที่อายุยังน้อย (เหมือนกับที่กำลังเริ่มเกิดขึ้นในซิลิคอนวัลลีย์เช่นกัน)

หากเราลองใช้ปักกิ่งเป็นตัวอย่าง ที่ไม่ใช่แค่เป็นเมืองหลวงของจีน แต่ยังเป็นศูนย์กลางของระบบอินเทอร์เน็ตที่ดีที่สุด ค่าเช่าอพาร์ทเม้นขนาด 1 ห้องนอน ในแถบชานเมืองของปักกิ่งอยู่ที่ประมาณ 2,300-5,000 หยวน (หรือ 12,000-27,000 บาท) ถ้าอยู่ในตัวเมืองจะราคาประมาณ 5,000-9,000 หยวน (คิดเป็น 27,000-46,000 บาท) นอกจากนั้นราคาบ้านและค่าเช่าเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละปีเพิ่มขึ้นถึง 16 เปอร์เซ็น และ 12 เปอร์เซ็นตามลำดับ ถึงแม้ถ้าเทียบราคาค่าเช่าจะดูไม่สูงเท่าซิลิคอนวัลลีย์ แต่ถ้าคิดจากรายได้ในประเทศจีนอาจจะถือว่ายังไม่พอปากท้องเท่าไหร่นัก

ตัวอย่างเช่นบริษัท Baidu ในปักกิ่ง จ่ายเงินเดือนเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ 106,000-136,000 หยวนต่อปี (570,000-710,000 บาทต่อปี) ถ้าเปรียบเทียบแบบเนื้อต่อเนื้อกับในอเมริกา จะเห็นว่าเท่ากับค่าเช่าประมาณ 133,000-230,000 ต่อรายได้ 3,500,000 ต่อปี เลยทีเดียว จึงไม่น่าแปลกใจว่ากลุ่มคนอายุน้อยจะใช้ชีวิตในเมืองใหญ่เช่นนี้ได้ยาก

ในความเป็นจริง มีกลุ่มคนรุ่นใหม่ไฟแรงมากมายหลั่งไหลเข้าไปในเมืองใหญ่ระดับเฟิร์สคลาสเพื่อแสวงหาโอกาสในการทำงาน แต่สุดท้ายก็กลับไปเมืองบ้านเกิดแล้วหาทางเลือกอื่นๆ แทน กลายเป็นว่าเมืองใหญ่ๆอันดับ 2 หรือ 3 ระดับรองลงมาได้ประโยชน์จากกลุ่มทาเล้นท์เหล่านี้แทน บริษัทเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพเหล่านั้นก็เห็นจุดนี้เป็นข้อได้เปรียบในเชิงของความคุ้มค่าของรายจ่ายและกำไร เมื่อเทียบกับการอยู่ในเมืองใหญ่อย่างปักกิ่ง หรือเซี่ยงไฮ้

ระดับขั้นการจ้างงานและค่าตอบแทน

บริษัทเทคโนโลยีต่างๆ มีลำดับขั้นและวิธีพิจารณาการเลื่อนตำแหน่งของตัวเองต่างกันไป มีรหัสตัวอักษรและเลขหลายรูปแบบที่มีความหมายต่างกันสำหรับประเมินขั้นของพนักงานแต่ละคน ตารางด้านล่างแสดงให้เห็นถึงความเหมือนต่างในแต่ละขั้นในกลุ่มบริษัท  Chinese BAT tech เทียบกับบางบริษัทยักษ์ใหญ่ใน U.S.

u-s-internet-giants-internal-levels

ระบบขั้นต่างๆ ของบริษัทเทคโนโลยีเน็ตยักใหญ่แห่งสหรัฐอเมริกา

chinese-internet-giants-internal-levels

ระบบขั้นต่างๆ ของบริษัทเทคโนโลยีเน็ตยักใหญ่ในจีน

หมายเหตุ: บางบริษัทยังมีแทร็กงานสายบริหารเพิ่มเติมนอกเหนือจากแค่ลำดับขั้นของพนักงานแต่ละกลุ่ม หรืออาจยังมีลำดับขั้นถึงระดับบุคคลแตกต่างกันไปนอกเหนือจากตารางด้านบนเช่นกัน

กลุ่มทาเล้นท์จะเริ่มปรับเปลี่ยนหรือย้ายงานเมื่อเข้าสู่ช่วงการทำงานขั้นกลาง (mid-level) เช่น Baidu ในช่วงขั้นระหว่าง T4 ถึง T7 หรือ Microsoft ในขั้น 62 ถึง 65 กลุ่มคนในขั้นเหล่านี้ยังมีส่วนช่วยเพิ่มเพดานค่าตอบแทนโดยเฉลี่ยของตลาดอีกด้วย ถ้าพนักงานย้ายจากบริษัทต่างชาติเช่น Microsoft Google หรือ Amazon มายังบริษัทของจีนเอง พนักงานเหล่านั้นอาจมีอำนาจต่อรองตำแหน่งที่สูงขึ้นได้ถึง 2 ขั้น รวมไปถึงค่าตอบแทนด้วย แต่ในทางกลับกันบริษัทอเมริกาหลายๆ แห่งยังมีขีดจำกัดของลำดับขั้นในองค์กร และค่าตอบแทนของบริษัทจีนเองก็ไม่ได้ถูกเปิดเผยมากนักเนื่องจากมีความหลากหลายแตกต่างกันไปตามแต่ละกรณี

เรื่องน่ารู้สำหรับชาวตะวันตกที่สนใจโอกาสในประเทศจีนคือ ค่าตอบแทนสำหรับชาวต่างชาติ (expatriate package) พบหาได้ยาก ไม่ใช่เรื่องที่บริษัทในจีนให้เป็นพิเศษมากนัก ค่าตอบแทนเท่ากับคนท้องถิ่นกลายเป็นเรื่องที่ยอมรับได้โดยทั่วไปถึงแม้ชาวต่างชาติเหล่านั้นจะต้องแลกกลับการย้ายมาทำงานในต่างถิ่นก็ตาม

สำหรับข้อมูลเชิงลึก สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ China Draws Executives from Silicon Valley.

ตลาดงาน

จากสถานการณ์ข้างต้นที่เล่ามาที่หมด มีเคล็ดลับบางข้อสำหรับผู้ที่เป็นนายจ้าง เนื่องจากอัตราการลาออกในจีนเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ แม้จะเทียบกับซิลิคอนแวลีย์ มีคนเปลี่ยนงานทุกๆ ปีหรือสองปี โดยเฉพาะกลุ่มคนเก่งๆ ที่เป็นทาเล้นท์

นอกเหนือจากเรื่องเงินเดือน ชื่อเสียงของบริษัทเองก็ถือเป็นเรื่องสำคัญในการต่อรอง และมีแนวโน้มว่าตำแหน่งที่สูงกว่าในบริษัทจีนอาจเทียบได้กับตำแหน่งปกติของบริษัทต่างชาติในจีน เช่น ตำแหน่ง Senior Manager ของ Amazon อาจเทียบเท่ากับ Director ใน Baidu นี่คือสิ่งสำคัญที่ต้องเรียนรู้เวลาจ้างงานหรือทำธุรกิจกับบริษัทจากจีน

ตารางด้านล่างคือเว็บ/แอปออนไลน์ยอดนิยมที่ไว้ใช้จ้างงานในจีน เพื่อให้ได้ข้อมูลและคนที่เหมาะสมกับเนื้องาน บางเว็บไซต์ใช้ระบบการหาคนของตัวเองเสริมเข้าไปด้วย เช่น ใช้บริษัทที่ปรึกษาด้านการจ้างงาน (hiring consultancy) เพราะอาจมีกรณีที่ผู้สมัครยอดนิยมอาจโดนซ่อนอยู่ในเว็บไซต์แม้ทางบริษัทจะลงทะเบียนเป็นสมาชิกกับเว็บหาคนนั้นๆ แล้วก็ตาม

recruiting-tools-in-china

คำแนะนำทิ้งท้าย

ข้อมูลที่เราเห็นกันวันนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีในประเทศจีนเท่านั้น แต่ตลาดทรัพยากรบุคคลในจีนยังคงเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอยู่เสมอ สถิติและเทรนด์ต่างๆ อาจจะเปลี่ยนไปในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า และต้องทำความเข้าใจความท้าทาย หรือปัญหาใหม่ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับบริษัทในจีน จึงจะสามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตต่อไป ความสามารถในการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วกลายเป็นสิ่งสำคัญที่จะก้าวหน้าต่อไปในตลาดงานนี้ได้

ที่มา: Techcrunch

 

นอกจากนี้กลุ่มคนงานสายไอทีของที่จีน ยังขึ้นชื่อเรื่องการทำงานถวายหัวอย่างหนัก กิน-อยู่ในออฟฟิศเป็นเรื่องปกติ และมีรายงานข่าวเรื่องนี้ออกมาบ่อยๆ

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...