อนาคตของ Smartwatch จะเป็นอย่างไร? เรื่องราวอวสานของ Pebble บอกอะไรกับเรา | Techsauce

อนาคตของ Smartwatch จะเป็นอย่างไร? เรื่องราวอวสานของ Pebble บอกอะไรกับเรา

ข่าวลือเป็นเรื่องจริง เมื่อ Fitbit ซื้อ Pebble เป็นที่เรียบร้อยแล้ว มันเป็นจุดสิ้นสุดของยุค Pebble เมื่อทางบริษัทประกาศว่าไม่ได้ผลิตหรือขายผลิตภัณฑ์ใหม่แล้ว Fitbit ได้ซื้อ “บุคลากรที่สำคัญและสินทรัพย์ทางปัญญา” แต่ไม่ได้นำตัวผลิตภัณฑ์ของ Pebble มาด้วย ...ยุคของ Pebble ได้สิ้นสุดลงแล้ว

ภาพการประกาศยุติการขายของ Pebble จาก Twitter

ย้อนไปในปี 2012 บริษัท Pebble ได้เปิดโครงการผ่านเว็บระดมทุน Kickstarter เพื่อขอเงินสนับสนุน ซึ่งตอนนั้นมียอดจอง Smartwatch เป็นจำนวนมาก เพราะ Smartwatch ถือเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ดูก้าวล้ำมากพอสมควร ทำให้มีนักลงทุนสนใจมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่ง Pebble ก็ได้มีการออกผลิตภัณฑ์ใหม่มาเรื่อยๆทุกๆ ปี ต่อมาในปี 2016 กลับมีนักลงทุนสนใจน้อยกว่าที่คาดไว้ จนต้องเปิดโครงการ Kickstarter อีกครั้ง สำหรับ Pebble 2, Time 2, และ Core แต่เงินระดมทุนที่หาได้ก็ยังน้อยกว่าครั้งแรก Pebble เริ่มประสบปัญหาสภาวะหนี้สิน และเริ่มปลดพนักงานออกบางส่วนจนกระทั่งตัดสินใจปิดตัวลง ผลิตภัณฑ์ที่เปิดจองจำเป็นต้องคืนเงินให้กับผู้จองสินค้า ส่วนสินค้าที่ถูกส่งไปยังผู้รับแล้วยังคงใช้งานได้ไม่มีผลกระทบใดๆ

ภาพ Pebble 2, Time 2 และ Core จาก Kickstarter

การซื้อขายสินทรัพย์ระหว่าง Fitbit และ Pebble เป็นที่เรียบร้อยแล้วตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคมที่ผ่านมา มีแนวโน้มว่า Fitbit จะให้ความสำคัญกับการพัฒนาโปรแกรมของบุคคลที่สามเพื่อนำมาใช้กับผลิตภัณฑ์ของตัวเองมากกว่าการนำเทคโนโลยีจาก Pebble มาใช้ มีโอกาสน้อยมากที่เราจะได้เห็นผลิตภัณฑ์ที่ออกมาใหม่ แต่ยังคงใช้ระบบปฏิบัติการของ Pebble อยู่ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่าเสียดายมาก เพราะดูเหมือนระบบปฏิบัติการของ Pebble จะดูเหมาะสมสำหรับผลิตภัณฑ์ของ Fitbit เลยทีเดียว แต่อาจจะมีแนวโน้มว่าเราจะได้เห็นไอเดียบางส่วนจาก Pebble ไปผสมผสานรวมอยู่ในผลิตภัณฑ์ของ Fitbit แม้จะมีโอกาสน้อยมากก็ตาม

ตามรายงานของสำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า “ในสัปดาห์ที่ผ่านมา Fitbit เริ่มโอนย้ายพนักงานประมาณร้อยละ 40 ของ Pebble ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวิศวกรซอฟต์แวร์ ส่วนน้อยมากที่นักออกแบบ Interface และตัวผลิตภัณฑ์ พนักงานบางคนที่ไม่ได้รับข้อเสนอที่จะได้รับการว่าจ้างต่อ”

นอกจากนี้ Fitbit จะปิดสำนักงาน Pebble และยังไม่ตัดสินใจว่าจะยังคงใช้แบรนด์ Pebble ต่อไปหรือไม่ ยังคงมีความเป็นไปได้ว่าชื่อ Pebble จะอยู่ในรูปแบบของผลิตภัณฑ์ใหม่ของ Fitbit

แรงกดดันในภาพรวม

ไม่ใช่เพียงแต่ Pebble เท่านั้นที่เผชิญปัญหา ในเดือนตุลาคม IDC ได้พบว่าอัตราการส่งสินค้า Smartwatch ได้ลดลงถึง 51.6 เปอร์เซ็นต์ในไตรมาศที่สามของปี 2016 เปรียบเทียบกับไตรมาศเดียวกันในปีก่อนหน้า

แม้แต่ Apple Watch ซึ่งเป็นเบอร์หนึ่ง ก็ประสบปัญหาอัตราการส่งสินค้าลดลง 71.6 เปอร์เซ็นต์ จากปีที่แล้วถึงปีนี้

Jitesh Ubrani ซึ่งเป็น Senior research analyst ของ IDC กล่าวว่า "นี่คือหลักฐานที่บอกว่า Smartwatch ไม่ใช่สำหรับทุกคน"

ผู้ใช้ทอดทิ้งอุปกรณ์

ในช่วงต้นเดือนธันวาคมนี้เอง Gartner ได้เผยแพร่รายงานการศึกษาเกี่ยวกับคนที่ใช้อุปกรณ์ Smartwatches และ Tracking devices ต่างๆ รายงานพบว่ามีผู้ใช้จำนวนมากที่สุดท้ายแล้วก็เก็บ Devices ทิ้งไว้ในลิ้นชัก แทนที่จะอยู่บนข้อมือ

"อัตราการทอดทิ้ง Smartwatch อยู่ที่ 29 เปอร์เซ็นต์  Fitness trackers อยู่ที่ 30 เปอร์เซ็นต์ เหตุผลหลักคือผู้ใช้ไม่พบประโยชน์แท้จริงจากมัน พวกเขาจึงเบื่อและเลิกใช้ไป" Gartner รายงาน

"การที่ผู้ใช้เลิกใช้อุปกรณ์เป็นปัญหาร้ายแรงที่สุดในอุตสาหกรรมนี้ อัตราการเลิกใช้สูงมากเมื่อเทียบกับอัตราการใช้งาน เพื่อที่จะสามารถทำให้น่าดึงดูดเพียงพอ อุปกรณ์ Wearables ต่างๆ จะต้องมองหา Value proposition ที่แตกต่าง ที่ Smartphone ไม่สามารถมอบให้ได้ และ Gamification กับการ Engagement เป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับอุปกรณ์เหล่านี้" Gartner แนะนำ


Pebble ซึ่งเป็นบริษัทแรกๆ ที่ทำให้โลกต้องตื่นตะลึงเกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยี Smartwatch ก็ได้เดินทางมาถึงตอนจบ อย่างไรก็ตาม ก็ต้องจับตามองกันต่อไปว่าบริษัทยักษ์ใหญ่ ผู้นำด้านเทคโนโลยี Smartwatch ในตอนนี้อย่าง Fitbit รวมถึงเจ้าอื่นๆ จะสร้างผลิตภัณฑ์ออกมาในรูปแบบที่จะทำให้ผู้ใช้ฮือฮากันอีกครั้งได้หรือไม่ (หนึ่งในทีมงาน Techsauce เอง ก็เก็บ Smartwatch ในลิ้นชักเช่นกัน)

เรียบเรียงจากที่มา: thenextweb.com และ afr.com

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ท่องเที่ยวไทยมีดี แต่ SME ยังไม่พร้อม ?

ธุรกิจท่องเที่ยวจะปรับตัวยังไง เมื่อเจอความท้าทายรุมล้อม ไม่ว่าจะเป็นการปรับใช้เทคโนโลยีในธุรกิจ การรับมือธุรกิจจีนที่เข้ามารุกตลาด และการสร้างบริการท่องเที่ยวให้ตอบโจทย์นักเดินทาง...

Responsive image

อินโดนีเซีย เปิดรับเทคโนโลยีอย่างไร เพื่อสร้างเศรษฐกิจยุคใหม่ ถอดบทเรียนจากงาน Bali International Airshow

อินโดนีเซีย กลายเป็นประเทศเนื้อหอมที่บิ๊กเทคฯ ต่างประเทศแห่เข้าไปลงทุนมากมาย ซึ่งหากนับแค่ช่วงครึ่งแรกของปี 2023 เพียงปีเดียวอินโดนีเซียสามารถสร้างมูลค่าถึง 34,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ...

Responsive image

รู้จัก “Phygital” การตลาดยุคใหม่แห่งอนาคต ผ่านเทคโนโลยี Immersive Experience ของ Translucia

Techsauce จึงอยากพาไปทำความรู้จักกับเทคโนโลยี ‘โลกเสมือน’ ผ่านหนึ่งในผู้เล่นคนสำคัญอย่าง Translucia บริษัทเทคโนโลยีที่พัฒนา Immersive Experience ซึ่งเป็นแนวคิดที่จะเปลี่ยนวิธีการเ...