[เรื่องราวพิเศษจาก Google Launchpad Accelerator] Startup ไทยพร้อมหรือยังกับการก้าวข้ามขีดจำกัด | Techsauce

[เรื่องราวพิเศษจาก Google Launchpad Accelerator] Startup ไทยพร้อมหรือยังกับการก้าวข้ามขีดจำกัด

คุณคิดอย่างไรกับทุกที่บนท้องถนนของกรุงเทพฯ เบื่อที่จะทำงานตามตารางการทำงานของบริษัทหรือไม่? ทำไมถึงไม่เริ่มทำ startup และก็ทำเงินเป็นล้านๆล่ะ? เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆในอาเซียน Startup ในประเทศไทยเติบโตอย่างมาก หากฝันที่จะเป็น Uber และ Airbnb รายต่อไป ดังเห็นได้จากจำนวนของ startups ที่เกิดขึ้นมาจาก co-working spaces โดยในปี 2017 รัฐบาลไทยคาดว่าจำนวน startups ที่จดทะเบียนจะเพิ่มขึ้นเป็น 1,500 จาก 700 บริษัท ซึ่งในปี 2016 เงินทุนจากการจัดหาเงินทุนสำหรับ startups สูงถึง 86 ล้านดอลลาร์หรือ 2.93 พันล้านบาทจากแหล่งต่างๆ โดยเพิ่มขึ้นถึง 150% จากปี 2015 เลยทีเดียว

แต่แล้วทำไมประเทศไทยยังดูเหมือนถูกบดบังจากประเทศเพื่อนบ้านในขณะที่ก็ได้รับความสนใจจาก Venture Capitalists และ VCs? Thye Yeow Bok Google Developer Relations Program Manager ของ google ให้ความเห็นว่า "ชาวต่างชาติยังไม่มั่นใจในประเทศไทยมากนัก" ประเทศไทยยังคงต้องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเนื่องจากยังคงมีช่องว่างทางเทคนิคระหว่างเมืองหลวงคือ กรุงเทพฯ กับประเทศอื่นๆ  นักลงทุนกำลังมองหา Startup ที่ไม่ได้อยู่แค่ในตลาดท้องถิ่น หรือประสบความสำเร็จในการ Exit เช่น Startup ของเวียดนามที่ต้องการขยายธุรกิจไปในต่างประเทศและอินโดนีเซียโดยอาศัยความต้องการจากประชากร 261.1 ล้านคน ในขณะที่ประชากรไทยมีเพียง 68.86 ล้านคนและคนไทยยังคงอยู่แค่ในบ้านของตัวเอง

Roy Glasberg ผู้ก่อตั้งและผู้จัดการทั่วไปของ Google Global Accelerator and Google AI programs for startups กล่าวว่า “ประเทศไทยต้องการระบบนิเวศที่ดีกว่านี้” เมื่อพูดถึง Bootcamp ของ Launchpad Accelerator Class 4 ที่ Google’s Developers Launchpad space ในซานฟรานซิสโก Glasberg กล่าวว่า นี่เป็นเหตุผลว่าทำไม startups ไทย กับคนอื่นๆ เผชิญกับปัญหาแบบเดียวกันในตลาดเกิดใหม่ จึงได้รับเลือกให้เข้าร่วม Google’s latest workshop เพื่อพัฒนาตัวเองและระบบนิเวศของพวกเขา

สิ่งที่ระบบนิเวศของ Startup ไทยต้องมี

Glasberg กล่าวว่าประเทศไทยมีศักยภาพ เพียงแต่ยังต้องการผู้บุกเบิกในการออกจากประเทศเพื่อสร้างระบบนิเวศที่ดีในการสร้างการเติบโต และให้มีระบบนิเวศที่ถูกต้อง เขากล่าวสิ่งที่อาณาจักรนี้ต้องการ

1. Exits

Glasberg กล่าวว่า มีกรณีศึกษามากมายในประเทศไทยที่บริษัทต่างๆ เปลี่ยนจากการนำเสนอ PowerPoint ไปสู่การทำกำไรได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตามสิ่งที่จำเป็นจริงๆ คือ 2-3 ผู้นำที่จะทำลายข้อจำกัดและสร้างบริษัทขนาดใหญ่หรือหาทางออกขนาดใหญ่เพื่อกำหนดเส้นทางให้คนอื่นทำตาม ประเทศไทยยังห่างไกลจากระบบนิเวศอย่างเช่น San Francisco และ Tel Aviv

2. Mentorship

หากคุณมีทางออกแล้ว ผู้ที่มีประสบการณ์เพื่อไปสู่เส้นทางแห่งความสำเร็จสามารถเพิ่มระดับการให้คำปรึกษาในประเทศไทยได้ เหมือนกับสถานการณ์ไก่และไข่ คุณไม่สามารถมีระบบนิเวศที่ดีได้ หากปราศจากการได้รับคำปรึกษาที่ดี

3. การลงทุน

ในประเทศไทย มีการลงทุนในช่วง early stage เป็นจำนวนมาก นั่นเป็นเพราะมันเป็นเรื่องที่ง่าย ต่อไปการระดมทุนด้วยเช็คจำนวนเงิน 3-5 ล้านดอลลาร์ ยังคงจำเป็นสำหรับบริษัท

4. ความสัมพันธ์กับรัฐบาล

Glasberg กล่าวว่า ประเทศอาเจนตินา ถือเป็นกรณีศึกษาที่ดีของการได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล ที่นั่นการเปิดบริษัทใหม่ใช้เวลาเพียง 24 ชั่วโมง มันคือการนำนักลงทุนและ community ทั้งหมดเข้าด้วยกันเพื่อสร้างระบบนิเวศที่มั่นคง "ในที่สุดคุณจะไม่พบผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจใดๆ ในโลกที่จะไม่บอกกับคุณว่าถ้าคุณต้องการงานและการเติบโตที่มากขึ้น สิ่งเหล่านั้นล้วนมาจาก startup ทั้งสิ้น"

เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว Google จึงได้เลือก startups ของไทยเพื่อเข้าร่วม Launchpad Accelerator Class 4 ซึ่งเป็นช่วงที่สี่ของ workshop ซึ่งได้เริ่มดำเนินการมาแล้ว 2 ปี สำหรับทุกๆ ชั้นเรียน มี แอปพลิเคชันกว่า 4,000 แอปฯ  โดยครั้งนี้มีประมาณ 33 บริษัทได้รับการคัดเลือกจาก 14 ทวีป ซึ่งแต่ละบริษัทมีเป้าหมายในการแก้ปัญหาที่มีความเฉพาะเจาะจงในประเทศของตน  อย่างไรก็ตาม startup ต้องแสดงให้เห็นว่าพวกเขาสามารถดำเนินการกับผลิตภัณฑ์หรือบริการของตนได้ พวกเขามีทีมที่เหมาะสม พร้อมรับฟัง และในที่สุด Google ก็สามารถช่วยพวกเขาได้ โดย Startups ต้องผ่านเวที product challenge ที่พวกเขาจะได้พิสูจน์ว่าสามารถตอบสนองความต้องการของผู้คนได้ ตามที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาแอนดรอยด์ของ Google คุณ Ran Nachmany กล่าวว่า มี startup กว่า 90% ล้มเหลว! และเมื่อพวกเขาได้ผ่านเวทีที่สำคัญ เข้าสู่ตลาด มีการ Scale และการเงิน นั่นหมายความว่าพวกเขาพร้อมแล้วสำหรับ Launchpad Accelerator

แต่ละคนได้รับเงินทุนสนับสนุนฟรี 50,000 ดอลลาร์และสามารถเข้าถึงที่ปรึกษาได้มากกว่า 130 คน โดยครึ่งหนึ่งเป็นผู้ให้คำปรึกษาจากทั่วโลก เช่น Uber, Lyft และ Pinterest โดยโปรแกรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ startups ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการของตนเอง ประการที่สอง เพื่อให้ startups เข้าถึงที่คำปรึกษาในการให้คำแนะนำเพื่อนำไปปรับใช้ ประการสุดท้าย เพื่อสนับสนุนนักลงทุนจากทั่วโลกด้วยการทำให้พวกเขาตระหนักว่าไม่ใช่แค่การมอบเช็ค แต่เป็นการให้เครื่องมือที่เหมาะสมและการสนับสนุน startups นักลงทุนที่ได้รับเชิญจะได้พบกับนักลงทุนใน Silicon Valley เพื่อเรียนรู้จากประสบการณ์ของพวกเขา

สำหรับ startups เอง เงินไม่ใช่สิ่งที่พวกเขาขาดแคลน แต่เป็นที่ปรึกษา โดย Startup แต่ละรายจะถูกมอบหมายให้ตั้ง OKRs, วัตถุประสงค์และผลลัพท์ซึ่งคล้ายกับการตั้ง KPI ทั่วไป แต่เป็นเวอร์ชันของ Google ในอันดับแรกต้องตั้งวัตถุประสงค์และผลลัพธ์ที่สามารถวัดได้ซึ่งจะช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ ทั้งหมดนี้ควรจะสรุปและสามารถวัดได้ ตัวอย่างเช่น นั่นไม่ได้หมายความว่าคุณต้องทำให้แอปฯ ของคุณให้ดูเจ๋ง แต่หมายความว่าคุณต้องเพิ่มผู้ใช้ 40%  โดย startup แต่ละรายจะได้รับคำปรึกษาเป็นเวลา 6 เดือนในประเทศของตนเอง และเมื่อจบหลักสูตรก็จะบรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

ผลของโปรแกรมจนถึงขนาดนี้คือมี 78 บริษัทที่ได้ผ่าน โดย 2 ล้มเหลวและ 3 ได้รับการสนับสนุน หนึ่งในนั้นเพิ่งได้รับการสนับสนุนจาก Glassdoor บริษัทสามารถระดมทุนได้ 220 ล้านดอลลาร์หลังจากสำเร็จการศึกษาโดยมีรายได้เพิ่มขึ้นกว่า 1,000 เปอร์เซ็นต์ เห็นได้ชัดเจนว่า Google ไม่ได้มีมีวัตถุประสงค์ที่ในการเข้าซื้อกิจการ แต่ Google เพียงแค่แชร์ Value และ know-how เท่านั้น และเป็นที่ทราบดีว่า Google มีทรัพยากรจำนวนมากที่สามารถนำเสนอแก่ Startup เช่น cloud service และความคืบหน้าในการสร้างปัญญาประดิษฐ์และ mind learning

ในชั้นเรียนคราวนี้มีการพัฒนาจาก feedback ของ startups ที่ผ่านมา เมื่อมีการร้องขอ Google จึงได้จัดหาแผนกทรัพยากรบุคคลเพื่อช่วยให้ Startup เรียนรู้วิธีการจ้างและการรักษาความสามารถ

ที่ปรึกษาหลักที่มีอยู่ เช่น Ran Makaay รองประธานของ Lyft มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์การทำงานกับ Facebook และ Lyft ซึ่งเป็นคู่แข่งที่แท้จริงของ Uber ในธุรกิจเครือข่ายการขนส่ง ในการพูดคุยของเขา Makaay แนะนำให้ Startup ให้ความสำคัญกับการจัดลำดับความสำคัญในสิ่งที่ต้องทำและการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาแหล่งในการเจริญเติบโตที่แท้จริง  "คุณต้องดำเนินการอย่างรวดเร็ว เลือกสิ่งที่ถูกต้องและดำเนินการให้ถูกต้อง" Makaay กล่าว

ตามรอยของ Skootar และ Wongnai คราวนี้คือ Piggipo และ QueQ แอปฯ บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ปัญหาทั่วๆ ไปในประเทศไทย หนึ่งในจุดมุ่งหมายนั้นเพื่อช่วยให้คนไทยพ้นจากหนี้และอีกจุดมุ่งหมายคือช่วยคนไทยไม่ต้องเสียเวลาในการรอคิว

Piggipo เป็นแอปพลิเคชันมือถือมีจุดประสงค์ที่ต้องการช่วยให้คนไทยสามารถจัดการและตรวจสอบการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตได้อย่างง่ายดายและมีประสิทธิภาพด้วยการใช้บัตรเครดิตทั้งหมดในแอปพลิเคชันเดียว บริการนี้เริ่มเมื่อสามปีที่แล้ว เกิดจากการที่คุณสุพิชญา สูรพันธุ์ CEO ของ Piggipo เรียนจบก็พบว่าตัวเองเป็นหนี้บัตรเครดิต จากนั้นเขาก็เริ่มสอนตัวเองเพื่อสร้างแอปพลิเคชันพื้นฐานและได้รวบรวมสมาชิกจำนวนหนึ่ง และพวกเขาสามารถสร้างฐานผู้ใช้ 300,000 รายและทำงานร่วมกับ DTAC accelerator โดยได้ระดมทุนครั้งแรกจำนวน 5 ล้านบาท ซึ่ง OKRs ของพวกเขาที่ตั้งไว้คือการเพิ่มผู้ใช้เป็น 600,000 ถือว่าเป็นสองเท่า, การเพิ่มรายได้เป็นสองเท่าต่อเดือนและสุดท้ายเป็นการระดมทุนใน Series A ราว 2-15 ล้านดอลลาร์

ในขณะเดียวกันนั่นเองก็ได้เกิด QueQ ขึ้น เริ่มจากคุณรังสรรค์ พรมประสิทธิ์ CEO ของบริษัท QueQ ซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ในวงการซอฟต์แวร์มาเกือบ 10 ปี เขารู้สึกผิดหวังกับการที่ต้องเข้าแถวเพื่อทำธุรกรรมทางการเงินทุกๆ สิ้นเดือน เขาจึงตัดสินใจที่จะสร้างแอปฯ เพื่อช่วยประหยัดเวลาในการรอ จากนั้นเขาก็ค้นพบว่ามันมีประโยชน์มากกับร้านอาหารที่มีผู้มาใช้บริการจำนวนมาก ภายใน 3 ปี QueQ เติบโตอย่างรวดเร็วผ่านเครือข่ายร้านอาหารซึ่งมีผู้ใช้บริการมากกว่า 700,000 รายโดยไม่จำเป็นต้องโฆษณาใดๆ แต่ต้องผ่านตู้ที่ให้บริการจองคิว ณ หน้าร้าน ที่ทางร้านได้เช่าไว้ พวกเขาตั้ง OKRs ไว้ว่าจะขยายไปยังต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่นหรือสหรัฐอเมริกา โดยการใช้ข้อมูลภายในฐานข้อมูลของพวกเขาเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้บริโภคและขยายการให้บริการในการสั่งอาหารล่วงหน้าเพื่อนำเสนอบริการจัดส่ง ซึ่งให้บริการโดย Food Panda.

ทั้งสองเห็นด้วยว่าสิ่งที่ดีที่สุดที่พวกเขาได้รับจาก Launchpad Accelerator คือการให้คำปรึกษาที่เหมาะสม โดยการเรียนรู้จากความสำเร็จและความล้มเหลวของธุรกิจที่คล้ายคลึงกันทั้งจากประเทศอื่นๆ และจาก Silicon Valley ทำให้สายตาของพวกเขาได้เปิดกว้างสู่ความเป็นไปได้ที่ไม่รู้จบ

นี่เป็นสิ่งที่ Google ต้องการเพื่อสร้างเครือข่าย ไม่เพียงแต่จะเป็นประโยชน์แก่ startups เท่านั้น แต่ยังรวมถึงเครือข่ายของ Google ด้วยเช่นกัน การขยายเทคโนโลยีใหม่ๆ ในระบบ AI (Artificial Intelligence) (AI) และ Machine Learning (ML) ล่าสุดได้มีเปิดตัวโครงการ ได้แก่ Google Developers Launchpad Studio สตูดิโอบริการเต็มรูปแบบที่ให้การสนับสนุนทางด้านเทคนิค, ผลิตภัณฑ์และให้การสนับสนุนการลงทุนแก่ Startup ทางด้าน AI และ ML

สำหรับทั้ง Piggipo และ QueQ เอง พวกเขาไม่ได้สูญเสียความเชื่อมั่นในระบบนิเวศของไทย แต่พวกเขาทุ่มเทให้กับมันอย่างเต็มที่เพื่อที่จะทลายกำแพงและประสบความสำเร็จในการ exit (ขายกิจการ)ให้จงได้ ตามที่ Glasberg ของ Google ได้กล่าวว่า Startup ในตลาดเกิดใหม่ไม่ควรจำลองตัวเองเหมือนกับ Silicon Valley เนื่องจากยังมีกฎเกณฑ์ที่แตกต่างกัน  ทำให้ Startup ของไทยทั้งสองเริ่มตระหนักถึงเรื่องนี้และวางแผนที่จะปรับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากที่ปรึกษาและนำคำแนะนำนั้นมาปรับใช้ในการทำงานของพวกเขา  ใครจะรู้ได้ว่าบางที Unicorns อาจจะหลบอยู่ในทุ่งข้าวของประเทศไทยก็เป็นได้

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...

Responsive image

นวัตกรรมใหม่ จะสร้างโอกาส หรือเข้ามา Disrupt ธุรกิจแบบเดิมๆ ? ส่องความเห็นจาก CEO ชั้นนำในยุคนวัตกรรม

อนาคตกำลังมาถึงเร็วขึ้นเรื่อยๆ นวัตกรรมใหม่ๆ ผุดขึ้นมากมาย และกำลังเปลี่ยนโฉมธุรกิจทั่วโลกอย่างรวดเร็ว แต่คำถามสำคัญคือ นวัตกรรมอะไรบ้างที่กำลังขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงนี้? ใครคือผ...