'จอยลดา' ได้ยินชื่อนี้ครั้งแรก ตอนที่เพื่อนกลุ่มแฟนคลับนักร้องเกาหลีมาเล่าให้ฟังว่า ช่วงนี้มีแอปที่กำลังดังมากและเป็นเทรนด์ใน Twitter ด้วยวิธีการนำเสนอนิยาย หรือ 'แฟนฟิค' ในรูปแบบใหม่ มีหน้าตาเหมือนอ่านแชทใน LINE ไม่ใช้การบรรยายเนื้อเรื่องเหมือนนิยายทั่วไป ได้ฟังก็มีความมึนงง ผสมสงสัยว่าแล้วมันจะเล่าให้เป็นเรื่องราวได้อย่างไร แถมยังทำให้ทุกคนติดหนึบกับการอ่าน 'จอย' ข้ามวันข้ามคืน เหมือนติดซีรี่ย์เลยก็ว่าได้
เมื่อศึกษาให้ลึกลงไป จึงทราบว่า แอป 'จอยลดา' พัฒนาโดย Ookbee แพลตฟอร์ม E-Book ที่ทุกคนรู้จักกันดีอยู่แล้ว Techsauce จึงไม่พลาดที่จะนัด คุณหมู ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ หรือ คุณหมู Ookbee มานั่งพูดคุยถึงที่มาของ Business model และไอเดียในการสร้างแอปพลิเคชันที่ตอบโจทย์กลุ่ม Millennial อย่างจอยลดา และทิศทางของแอปต่อจากนี้
ก่อนหน้านี้ เราทำแพลตฟอร์มให้คนมาเขียนนิยายอยู่แล้ว และ Concept ของการทำ UGC (User Generated Content) คือ ต้องทำให้คนเขียน Content ได้ง่ายที่สุด อย่างเช่นใน IG มันง่าย เพราะแค่ถ่ายรูป ซึ่งพอการสร้าง Content ง่ายก็ยิ่งมีคนทำเยอะ ยิ่งมีคนทำเยอะ ก็จะมีคนเข้ามาอยู่ใน ecosystem เยอะ เมื่อก่อนเรามีทั้งการ์ตูน เพลง และนิยาย ซึ่งการเขียนนิยายถือว่าง่ายที่สุดแล้ว เพราะไม่ต้องวาดรูปหรือแต่งเพลง และเพื่อให้ตอบโจทย์เด็กรุ่นใหม่ที่ไม่ชอบเขียนอะไรยาวๆ การทำเป็นรูปแบบแชท ที่เขาคุ้นเคยอยู่ทุกวัน ก็จะทำออกมาได้ง่ายกว่าเดิม
พอเรามีไอเดียนี้อยู่ ก็ไปดูว่ามันมีผลิตภัณฑ์แบบนี้อยู่บนโลกไหม ก็เห็นพวก Web Story Tech ซึ่งมีรูปแบบแชทอยู่หลายอัน อย่างที่ ญี่ปุ่นก็มีให้ capture หน้าจอและทำออกมาเป็นรูป เราจึงเริ่มเขียนเป็นจอยขึ้นมา
เพราะเราเป็นบริษัทไทย เราก็พยายามคิดว่าทำยังไงให้มีความเป็นไทยแต่สามารถพิมพ์เป็นชื่อภาษาอังกฤษได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งการตั้งชื่อสมัยนี้ก็อยากที่จะให้ไม่เหมือนที่อื่น โดยซีรีย์ที่ทำก็พยายามจะทำให้เป็นชื่อคน ยกตัวอย่างนิยายที่ชื่อธัญวลัย ซึ่งเมื่อ launch ออกไปต่างชาติก็สามารถอ่านได้
กลุ่มเป้าหมายตอนแรกคือคนที่เขียนนิยาย แต่หลังๆ ก็เริ่มเห็นมีแฟนฟิค อยู่ประมาณ 35% ซึ่งคือกลุ่มแฟนคลับนักร้อง ที่นำตัวละครในชีวิตจริงมาเขียนเป็นเรื่องราว แล้วแฟนคลับกลุ่มนี้ก็เยอะขึ้นเรื่อยๆ เวลาเขาเขียน เขาก็จะนำไปพูดต่อบน Twitter ทำให้คนรู้จักแอปเรามากขึ้นไปด้วย
แต่ก็ไม่ได้เป็นแฟนฟิคทั้งหมด เพราะยังมี นิยายรัก 25% นิยาย Y นิยายผีอยู่ด้วย ซึ่งกลุ่มที่อ่านจอยมากที่สุด คือกลุ่มวัยรุ่นอายุไม่เกิน 25 ปี ช่วงเวลาที่มีคนเข้าดูเยอะที่สุดคือช่วงปิดเทอม ซึ่งมียอดคลิ๊กประมาณ วันละ 1,000 ล้านครั้ง และจะค่อยๆ ลดลงตอนเปิดเทอม
วิธีการเล่าเรื่องมันง่ายกว่าเดิม เช่น เด็กที่ไม่เคยเขียนนิยายมาก่อน แต่อยากจะลองเขียนดู ก็สามารถเขียนเป็นคำสนทนาได้ง่ายขึ้น แต่การจะเล่าให้สนุกมันก็ยากขึ้นไปด้วย ฉะนั้นคนที่จะเขียนก็ต้องเก่งด้วย
ตอนนี้หาจากค่าโฆษณา วิธีการคือมี 2 อย่าง คือมีโฆษณาแทรกขึ้นมาระหว่างดู ซึ่งโฆษณาที่แทรกขึ้นมาก็ได้เงินจากสปอนเซอร์ แต่ถ้าไม่อยากให้มีโฆษณาคั่น ก็จะให้เติมเงิน 35 บาท เพื่อปิดโฆษณา 1 เดือน
สรุปคือมีรายได้ 2 อย่างคือรายได้จากค่าโฆษณาและจากค่าปิดโฆษณา แต่ท้ายที่สุดเราก็คงต้องมีการเก็บเงิน เพื่อนักเขียนที่ต้องการรายได้
ต้องมองว่าในโลกของจอยลดา ตอนนี้ที่มีคนเขียนอยู่ 350,000 คน คนที่เขียนแล้วมีคนอ่านเยอะๆ ก็ต้องมีการได้รางวัลตอบแทน เพื่อให้เขาทำเป็นอาชีพได้ หมายความว่า ถ้าสามารถเก็บเงินจากแฟนๆ ที่อ่านได้ ผมเชื่อว่าเขาสามารถหารายได้หลายแสนบาทต่อเดือนสำหรับคนที่เขียนเรื่องดังๆ
ตอนนี้ก็มีคนได้รายได้แล้วบ้างแล้ว แต่น้อย เพราะเราหารจำนวนการอ่านกับค่าโฆษณาที่มีตอนนี้ ลองคิดดูว่า เรามีคนในระบบ 350,000 คน ถ้าจ่ายวันละ 1 บาท ก็ 350,000 บาทแล้ว ดังนั้น ท้ายที่สุดก็คงต้องให้แฟนคลับ สนับสนุนกันเองด้วย แต่ตอนนี้ เราก็ค่อยๆ ทดลองไปทีละขั้น
มันเป็น Fan based เพราะเมื่อเขาเขียนก็จะมีคนมาอ่าน มีคนมาคอมเมนต์ ไลค์ พูดคุยและติดตาม มันเหมือนการโพสต์ใน IG โดยไม่ต้องมีคนมาจ่ายเงินเรา เรายังรู้สึกดีที่มีคนมาไลค์หรือคอมเมนต์
เรื่องลิขสิทธิ์ เป็นของผู้เขียน เราก็ทำงานร่วมกันกับเจ้าของลิขสิทธิ์ และแบ่งกำไรให้เขา นี่แค่เป็นช่วงทดลอง เพราะนิยายสามารถรวมเล่มขายได้ แต่ถ้าเป็นรูปแบบแชท จะสามารถรวมเล่มขายได้ไหม ก็ต้องทดลองดู ซึ่งก็มีคนซื้อนะ แต่ในระยะยาวเราไม่ได้คิดว่าของพวกนี้จะต้องกลับมาเป็นกระดาษ แต่เป็นเพียงแค่การสนับสนุน หรือเป็นของสะสมมากกว่า
จอยจะไม่ไปทางนิยายที่เป็นตัวหนังสือ จะออกไปแนวโลกจินตนาการมากกว่า ตอนนี้เรามี virtual IG Facebook อยู่ข้างใน อีกหน่อยในอนาคต เราอาจจะพูดคุยกับตัวละครได้ เหมือน Chatbot และความเป็นตัวตนของตัวละครก็จะมากขึ้น แน่นอนว่าวันหนึ่งมี AR, VR เราก็จะทำแพลตฟอร์มที่มันเป็นโลกเสมือน ไม่ได้ไปในแนวทางที่เป็นตัวหนังสือ ซึ่งในส่วนนั้น Ookbee กับผลิตภัณฑ์อื่นๆ ก็ทำอยู่แล้ว แต่ว่าจอยจะไปในแนวที่จริงมากขึ้นเรื่อยๆ
เรามีไปเริ่มในอินโดนีเซียได้ประมาณ 1 เดือน ซึ่งตอนนี้มีคนเข้ามาคลิ๊กอ่านวันละ 10 ล้านครั้ง และมีนักเขียนประมาณ 7,000 คน คนอ่านประมาณ 1 แสนคนแล้ว ซึ่งเราคิดว่าจะค่อยๆ เติบโตไป เป้าหมายของเราในเดือนหน้า คือจะขยายไปที่เกาหลี จีน ญี่ปุ่น ลาว
ที่เลือกไปที่อินโดก่อนเพราะมองว่าเป็นประเทศที่ใหญ่อันดับต้นๆ ในภูมิภาค และมองว่าเป็นตลาดที่ใหญ่กว่าเรา ต้องลองดูว่ามันเป็นอย่างไร แต่เมื่อมีคนอ่าน คนใช้ เราก็เริ่มรู้สึกว่าไม่เฉพาะเมืองไทยที่มันมีแบบนี้ เปิดเข้าไปภายในก็หน้าตาเหมือนกัน ต่างกันแค่ภาษาเท่านั้น
เราเรียนรู้ว่าเนื้อหาในปัจจุบันมันต้องโดนย่อยให้สั้นลง ถูกลง เร็วขึ้น คนไม่มีเวลาอ่าน E-Book ทั้งเล่ม คนมีเวลาน้อย โลกความรู้ก็อยู่บนอินเทอร์เน็ตและฟรี ฉะนั้นจะไปทำให้คนมาจ่ายเงินกับเรื่องซีเรียสมันก็จะยาก เช่น เขียนหนังสือเรื่อง digital marketing มีการโปรโมทว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญและมีคนมาซื้อหนังสือ แต่ในขณะเดียวกันก็มีอยู่ในอินเทอร์เน็ตและฟรีด้วย ซึ่งเนื้อหากลุ่มนี้ก็ทำได้ยาก แต่พวกนิยายมันสนุก
ซึ่งโมเดลธุรกิจตอนนี้ก็เป็นค่าโฆษณา ต้องดูว่าเราอยากจะได้เงินจากตัวธุรกิจอย่างไร ยกตัวอย่าง ถ้าเราทำเว็บข่าวคนอ่านก็ระดับหนึ่ง ถ้าทำเว็บ Entertain ก็จะอีกระดับหนึ่ง เพราะฉะนั้นช่วงแรกที่เราอยากจะได้คนเข้ามาเยอะ ก็ต้องเป็นบันเทิง จนถึงจุดที่เราได้คนกลุ่มนี้มาก่อน แล้วค่อยๆ ขยายไป ซึ่ง Ookbee เราเคยทำหนังสือ E-book อยู่แล้วก็มีทั้งบันเทิงและไม่บันเทิง ก็เหมือนธุรกิจทีวีที่จะมีข่าวบันเทิงเข้ามาแทรก
ในความเป็นจริงเราอ่านเยอะอยู่แล้ว แต่เพียงแค่ไม่ได้อ่านเป็นเล่ม ซึ่งตัวเลข 8 บรรทัดก็ไม่รู้ว่ามาจากไหน มันเป็นไปได้อย่างไร เราเปิด Facebook มาก็อ่านไปหลายบรรทัดแล้ว แต่คนที่ทำตัวเลขนี้มาอาจจะอ้างอิงจากการอ่านหนังสือเรียนก็ได้
มันอยู่ที่ว่าเรื่องที่เขาสนใจจะอ่านมันคือเรื่องอะไร ซึ่งถ้าเป็นเรื่องที่เขาสนใจก็อ่านเยอะอยู่แล้ว เพราะเราก็ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นอันดับต้นๆ ของโลก แต่ละรูปแบบก็พัฒนาไปตามความชอบของแต่ละคน เพราะบางคนก็อาจจะชอบดูวิดีโอมากกว่า
ผมว่ามีอยู่ 2 อย่างคือ อย่างบน Facebook เรามีตัวตนอย่างชัดเจน เวลาโพสต์รูป โพสต์เหตุการณ์ชีวิต มีเพื่อนที่รู้จักมาคอมเมนต์กัน แต่ใน Twitter มันคือการที่พูดอะไรออกไปก็ได้ เหมือนว่าเราอยากจะบ่นหรือโพสต์รูปดาราอะไรก็ได้ทั้งวัน ซึ่งเราไม่สามารถที่จะทำบน Facebook ได้ทั้งวัน ชื่อโปรไฟล์ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นรูปเขาก็ได้ มันเหมือนเป็นโลกที่เขาเอาไว้บ่นมากกว่า เพราะฉะนั้นก็จะมีคนที่ชอบในการเล่น twitter มากกว่า
ท้ายที่สุดก็ต้อง exit แต่ Ookbee ก็ระดมทุนมาเยอะ เพราะฉะนั้นเราก็ยังไม่จำเป็นต้องทำตอนนี้ แต่ท้ายที่สุดก็ต้อง IPO เพราะมีนักลงทุน ก็ต้องให้เขาได้ exit อาจจะอีก 2-3 ปีข้างหน้า ในความเป็นจริงที่เราทำอย่างนี้ คนข้างนอกก็ยังไม่รู้ว่าเป็นเรา เราก็พยายามต่อจิ๊กซอว์ไปเรื่อยๆ ประกอบให้มันเป็นชิ้นใหญ่ๆ มากๆ อันหนึ่ง
ผมว่ามันเริ่มจากการทำความเข้าใจ เนื่องจากจอยลดามันเกิดจากการเปลี่ยนรูปแบบของการอ่าน การเขียน ที่ต่างจากเดิม สิ่งที่ทำให้จอยลดาแตกต่างคือการทำความเข้าใจว่าสิ่งนี้มันมีความเป็นไปได้ ไม่ต้องอ่านเป็นตัวหนังสือที่เป็นบรรยายเพียงอย่างเดียว ซึ่งมันทำให้ประสบการณ์แบบนี้หาจากที่อื่นไม่ได้ ทำให้คนที่ไม่เคยลองอ่านแบบนี้ได้มาอ่านกัน เป้าหมายของเราคือทำอย่างไรให้คนเขียนมาเป็นคนอ่าน และคนอ่านเพิ่มขึ้นกลับมาเป็นคนเขียน อันนี้คือ Secret sauce ของเรา
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด