สัมภาษณ์พิเศษ Robert Zepeda เจ้าพ่อ Gamification แห่ง Playbasis | Techsauce

สัมภาษณ์พิเศษ Robert Zepeda เจ้าพ่อ Gamification แห่ง Playbasis

12669975_10153474156206298_749117217_o

Gamification คำนี้หลายคนในแวดวงไอทีน่าจะพอรู้จักกันบ้างไม่มากก็น้อย เป็นการนำแนวคิดของเกมมาประยุกต์ใช้ในบริการของคุณ มีการวางกลไกของเกมภายใน อาทิเช่น การกำหนดกิจกรรมให้ทำ มีการนำเสนอแต้ม, leader boards, levels, badge ต่างๆ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาในการกระตุ้นและดึงความสนใจให้คนมาใช้บริการอย่างต่อเนื่องแบบติดหนึบ บ้านเรามี Startup ด้าน Enterprise Solution ที่พัฒนาแพลตฟอร์มนี้โดยตรง ใช่แล้ว! ไม่ใช่ใครอื่น บริษัทที่ว่าคือ Playbasis ซึ่งปีที่ผ่านมาเขาได้รับเงินทุนสนับสนุนจาก Invent ไปกว่า 1.54 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เลยทีเดียววันนี้เราจะไปพูดคุยกับ Robert Zepeda  CEO และผู้ก่อตั้ง Playbasis เพื่อไขข้อข้องใจเกี่ยวกับ gamification ว่ามีความสำคัญและจำเป็นแค่ไหน ถ้าเรากำลังพูดถึงการพัฒนาการใช้สมาร์ทโฟนในยุคปัจจุบัน

12695436_10153474156546298_1386879935_o

ช่วยแนะนำ Playbasis กันก่อน

Playbasis เป็นผู้พัฒนาแพลตฟอร์ม Gamification ครับ เราช่วยให้องค์กรใหญ่ๆ อย่าง Telco และธนาคาร เข้าถึงผู้ใช้งานได้มากขึ้น ด้วย gamification ยกตัวอย่าง ถ้าเราตั้งกลุ่มเป้าหมายไปที่คน Gen Y พวกเขาคือคนที่เกิดมาในยุคที่มีการเล่นเกมเกิดขึ้นแล้ว ไม่ว่าจะเป็นนินเท็นโดในปี 1980 เพราะฉะนั้นคน Gen Y ถือว่าเป็นจุดสำคัญของตลาด เพราะพวกเขาถือว่าเป็นคนในยุคดิจิตอล ยิ่งไปกว่านั้นถ้าพูดถึง Gen Z ซึ่งมาตามหลัง Gen Y คนพวกนี้เกิดมาในยุคที่มีไอโฟนและไอแพด คนในยุคหลังจะมีความคาดหวังสูง เมื่อพูดถึงประสบกาณ์การเล่นเกม บริษัทใหญ่ๆ มักจะทำหน้าที่เข้าหาผู้ใช้งานตรงนี้ได้ไม่ค่อยดีนัก Playbasis เข้ามาทำให้ผลิตภัณฑ์มีความน่าสนใจ และสามารถเข้าถึงผู้ใช้งานได้มากขึ้น

ผลิตภัณฑ์ของคุณมีอะไรบ้าง และทำไมจึงเลือกพัฒนาแพลตฟอร์ม gamification

ผมคิดว่าผลิตภัณฑ์หลักๆ ของเราก็คือการสร้าง Rules engine ขึ้นมา ซึ่งมันคือกระบวนการทางธุรกิจอย่างหนึ่ง ยกตัวอย่างถ้าคุณทำระบบอีเมล สิ่งที่ระบบจะตอบสนองก็คือ เมื่อมีคนเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ ทางระบบจะส่งอีเมลต้อนรับอัตโนมัติเป็นต้น ถ้าพูดถึงเรื่องเกม เราอาจจะให้เป็นคูปอง หรือส่วนลดเอาไว้เล่นเกมกับเรา

Rules engine ประกอบด้วยกัน 3 ปัจจัย

1) Action ซึ่งก็คือการกระทำที่เกิดจากผู้ใช้งาน มันอาจจะเป็นในรูปแบบของการจ่ายเงิน หรือเข้าไปอ่านบทความต่างๆในเว็บไซต์

2) Condition ซึ่งเป็นเหมือนสถานที่ วันเวลาและขนาด อย่างเช่น จ่ายเงินกี่ครั้ง จ่ายช่วงเวลาไหน ต้องจ่ายวันไหนจึงจะได้ของแถม นอกจากนี้ยังหมายถึงการดูคลิปวิดีโอเป็นเวลาหนึ่งนาที หรือห้านาทีเป็นต้น แล้วผู้ใช้งานจะได้รับสิทธิพิเศษต่างๆ

3) Result โดยส่วนมากจะอยู่ในรูปแบบของรางวัล ซึ่งรางวัลเหล่านี้ก็คือคะแนน คะแนนก็จะเป็นตัวบ่งชี้คุณภาพของ action ที่คุณทำไป

ถ้าคุณกำลังพูดถึงปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ยกตัวอย่าง Google เป็นต้น เวลาเราค้นหาข้อมูลใน Google จะมีเว็บต่างๆ ขึ้นมามากมาย แต่เว็บที่ขึ้นมาอยู่ระดับบนๆ ก็จะเป็นเว็บที่มีคะแนนดี ได้รับความนิยมหรือจ่ายเงินค่าโฆษณาเยอะ แทนที่ทุกคนจะอยู่ภายใต้กฎเดียวกัน เราได้สร้างกฎไว้ให้สำหรับแต่ละคน เพื่อที่ทุกคนจะได้มีกฎเป็นของตัวเอง เพราะไม่มีใครหรอกที่อยากจะทำตามกฎของคนอื่น

มีคนบอกว่า gamification เป็นเพียงกลยุทธ์สั้นๆ ในการดึงดูดผู้ใช้ หากแต่มันไม่ใช่วิธีที่จะทำให้คนมาเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ในระยะยาว คุณมีความเห็นว่าอย่างไรกับประโยคนี้

ผมคิดว่า gamification คือการที่เราออกแบบผลิตภัณฑ์ มันเหมือนเครื่องปรุงอย่างน้ำตาลหรือเกลือ เราไม่กินเครื่องปรุงเปล่าๆ แต่เราใส่มันลงไปในอาหารเพื่อรสชาติที่ดีขึ้น เพราะฉะนั้น gamification เป็นตัวช่วยให้ดึงดูดผู้คนได้มากขึ้น

สิ่งที่ท้าทายพวกเราอยู่ตอนนี้ก็คือ เรากำลังอยู่ในยุคที่มีการเชื่อมต่อตลอดเวลา ยกตัวอย่าง Facebook Line และ Whatsapp แอปพลิเคชันเหล่านี้ดึงเวลาจากเราไปไม่รู้เท่าไหร่ในแต่ละวัน คนที่สร้างแอปได้เงินจากเวลาที่ผู้คนใช้บริการ gamification สามารถดึงดูดผู้คนให้หันมาใช้งานผลิตภัณฑ์ของเรา ผมมองว่าถ้าทำ gamification ให้ออกมาดีจะสามารถสร้างเงินได้เยอะมากต่อองค์กร

12696490_10153474156636298_1293538574_o

ความท้าทายในตลาด B2B มีอะไรบ้าง อยากจะแนะนำคนอื่นที่สนใจเข้ามาในตลาด B2B ว่าอย่างไร

เมื่อเราพูดถึง B2B เรากำลังพูดถึงองค์กรขนาดใหญ่ เมื่อคุณพูดถึงองค์กรใหญ่ มันจะมีระยะการจัดซื้อจัดหาที่นานกว่า อย่างเช่นการรับเงิน เวลาที่ทำการซื้อขายกับองค์กรใหญ่ การจ่ายเงินของพวกเขาอาจจะกินเวลาถึง 3 เดือน หรือไม่ก็แบ่งจ่าย บริษัทของคุณอาจจะต้องมีระบบเงินหมุนเวียนที่ดี ถ้าเป็นผู้ให้บริการด้านซอฟต์แวร์อย่างเรา คุณไม่สามารถไปขายผลิตภัณฑ์ที่ยังอยู่ในช่วงเบต้าให้องค์กรใหญ่ๆ ได้ เพราะพวกเขาจะดูในเรื่องว่าผลิตภัณฑ์ของคุณ สามารถขยายเติบโตได้ไหม มีความเสถียรแค่ไหน เพราะฉะนั้นคุณต้องสร้างผลิตภัณฑ์ออกมาให้ดีที่สุด คุณไม่สามารถขาย MVP (minimum viable product) ให้กับบริษัทใหญ่ๆ แบบนี้ได้

เรื่องของแบรนด์ก็เป็นสิ่งที่ท้าทายอยู่ ถ้าคุณเป็นบริษัทหน้าใหม่ มันยากมากที่จะทำให้พวกองค์กรใหญ่ๆ เชื่อใจในผลิตภัณฑ์ของคุณ พวกเขาต้องเห็นว่าคุณอยู่ในวงการมานานพอสมควร มันอาจจะยากในช่วงแรกๆ ที่จะให้คนอื่นมาเชื่อใจเรา แต่เมื่อคนอื่นๆ รู้จักเราแล้ว มันจะง่ายขึ้นเอง

อีกเรื่องหนึ่งก็คงจะเป็นเรื่องของระบบ Cloud ส่วนมากธนาคารกับ Telco จะอยากให้เอาซอฟต์แวร์ของเราขึ้นไปในระบบของพวกเขา ก็เป็นสิ่งที่ท้าทายเพราะเรื่อง Cloud กำลังเป็นที่นิยม ผมอยากแนะนำให้ทำการบ้านมาให้ดีก่อน เพราะในอุตสหกรรมนี้จำเป็นต้องเตรียมตัวพอสมควร และให้ความสำคัญกับ ROI (Return on Investment) อีกด้วย

มีลูกค้าที่ไหนบ้าง โมเดลคิดค่าใช้จ่ายอย่างไร

เรามีลูกค้าทั้งหมดกว่า 80 รายทั่วโลก ซึ่งก็มีอยู่ทั้งในบราซิล แอฟริกา อินเดีย อินโดนีเซียและเกาหลีใต้ ตอนนี้เรากำลังให้ความสำคัญมาที่ลูกค้าในประเทศสิงคโปร์และไทย แต่เราก็มองตัวเองว่าอยู่ในตลาดเอเชียแปซิฟิกนะ เราอยากจะครอบคลุมตลาดในภูมิภาคนี้ให้ได้

รูปแบบธุรกิจของเราเป็น SAAS (Software as a Service) ครับ สมัครเพื่อใช้งานซอฟต์แวร์ของเรา ข้อดีก็คือลูกค้าไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินเป็นก้อนใหญ่ พวกเขาสามารถแบ่งจ่ายหรือใช้เป็นรายเดือนได้  นอกจากนี้เรายังมีบริการ Playbooks (App as a Service) ลูกค้าสามารถนำแบรนด์ต่างๆใส่เข้ามาใน Playbooks ได้เลย ตัวโปรแกรมได้มีการพัฒนาเอาไว้เรียบร้อยแล้ว รวมไปถึงตัว gamification ด้วย

Gamification ในปี 2016 จะเป็นอย่างไร

ผมคิดว่าตอนนี้กระแสน่าจะไปให้ความสนใจกับสมาร์ทโฟนมากขึ้นแล้ว เพราะคุณสามารถทำได้หลายอย่างบนโมบาย คุณสามารถสร้างอนิเมชั่นและเกม ซึ่งไม่สามารถทำในเว็บไซต์ อีกทั้งยังมีความปลอดภัยมากกว่าด้วย หลายๆ เอเจนซี่โฆษณา ยังคงทำตลาดในเว็บไซต์อยู่ แต่การทำตลาดบนโมบายก็สำคัญมากๆ โดยเฉพาะประเทศไทยซึ่งมีตัวเลขการใช้สมาร์ทโฟนเป็นจำนวนมาก ก่อนจะเข้านอนเราก็เล่นมัน ตื่นมาตอนเช้าเราก็เช็คโทรศัพท์เป็นอย่างแรก เพียงแต่บริษัทใหญ่ๆ เขาไม่รู้ว่าจะเขาหากลุ่มลูกค้านี้ได้อย่างไร

ถึงแม้ว่าคนไทยจะใช้สมาร์ทโฟนกันเยอะ และมีการโหลดแอปพลิเคชันเป็นจำนวนมาก แต่เรายังไม่ค่อยเห็นบริษัทของไทยที่ปล่อยแอปฯ ออกมามากนัก ตามสถิติจะเห็นได้ว่า 9 ใน 10 แอปฯ ที่คนไทยใช้จะถูกพัฒนาจากต่างชาติทั้งสิ้น และบริษัทใหญ่ๆในไทยก็ไม่อยากจะลงเงินในภาคของสมาร์ทโฟนมาก พวกเขายังคงทำการตลาดแบบดั้งเดิมอยู่ เพียงเพราะพวกเขาคิดว่าตลาดดังกล่าวยังไม่คุ้มที่จะลงเงิน

Playbasis พยายามที่จะเข้ามาช่วยในจุดนี้ เพื่อทำให้บริษัทใหญ่ๆ สามารถเข้าถึงตลาดการใช้สมาร์ทโฟนมากขึ้น เราไม่ได้เป็นแค่นักพัฒนาอย่างเดียว แต่เรายังมีแพลตฟอร์มไว้ให้ลูกค้าได้จัดการเกี่ยวกับเนื้อหา สิทธิพิเศษต่างๆ ข่วยวิเคราะห์พฤติกรรม และอื่นๆ อีกมากมาย ที่ทำให้คุณรู้จักและเข้าใจลูกค้าของคุณด้วย Gamification มากขึ้นครับ

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image
Responsive image

9 ทักษะดิจิทัล ปี 2024 สร้างมูลค่าให้บริษัทด้วย Tech Skills แห่งอนาคต

ทักษะดิจิทัล หรือทักษะด้านเทคโนโลยี (Tech Skills) ถือเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยผลักดันให้ทีมทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็วและแม่นยำ ส่งผลให้ธุรกิจเติบโตแบบก้าวกระโดด...

Responsive image

AI ล้ำหน้าหรือภัยอนาคต? แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ล่าหรือเหยื่อ | Tech for Biz EP.17

ในยุคที่ AI เติบโตอย่างรวดเร็ว จนมีการคาดการณ์ว่ากว่า 300 ล้านตำแหน่งจะหายไป คำถามคือ คุณจะยืนอยู่ฝ่ายไหนระหว่างเหยื่อที่ถูกแทนที่ หรือนักล่าที่ใช้ AI เป็นเครื่องมือ? แล้วต้องปรับต...