สัมภาษณ์พิเศษ Telenor Group กับความจำเป็นของการพัฒนานวัตกรรมต่อการเติบโตและอยู่รอดขององค์กรระดับโลก | Techsauce

สัมภาษณ์พิเศษ Telenor Group กับความจำเป็นของการพัฒนานวัตกรรมต่อการเติบโตและอยู่รอดขององค์กรระดับโลก

วันนี้ Techsauce ได้รับโอกาสพิเศษเพื่อนักพูดคุยกับ Vegard Aas ผู้เป็น Head of Innovation ของ Telenor Group เจาะลึกถึงความสำคัญของการพัฒนานวัตกรรมภายในองค์กรและนอกองค์กร เพื่อการเติบโตของบริษัทยักษ์ใหญ่ รวมถึงมุมมองต่อการทำงานกับ startup และข้อแนะนำที่น่าสนใจ

ช่วยแนะนำตัวและเล่าถึงหน้าที่ใน Telenor สักนิด

ผมเป็น Head of Innovation ที่ Telenor Group ใน Singapore หน้าที่ของผมคือต้องรับผิดชอบเรื่องการเลือกสรรไอเดียและ startup ที่มีศักยภาพในการให้บริการดิจิทัลแบบใหม่ ให้กับผู้ใช้บริการบริษัทในเครือ Telenor กว่า 174 ล้านคนทั่วเอเชีย รวมถึง Nordics และ CEE ด้วย โดยมีการร่วมมือกันของคนในบริษัทและผู้ประกอบการ อย่างผู้ชนะจากโครงการของ Telenor Group และ Ignite ก่อนที่ผมจะมารับตำแหน่งนี้ ผมเป็น Director Group Strategy และเป็นที่ปรึกษาการบริหารที่ The Boston Consulting Group มาประมาณ 5 ปี

ทุกคนต่างพูดถึง การพัฒนานวัตกรรมขององค์กรหรือ Corporate Innovation แล้วเราจะสามารถวัดความสำเร็จของมันอย่างไร?

ในช่วงเวลาที่มีการแข่งขันเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีเทคโนโลยีมา disrupt สิ่งเก่าๆ ความต้องการของลูกค้าเปลี่ยนแปลงไป มันสำคัญมากๆ ที่บริษัทจะต้องสร้างอะไรใหม่ขึ้นมา และเพื่อให้สิ่งนั้นมีประสิทธิภาพ บริษัทจำเป็นต้องมีทั้งการเปลี่ยนแปลงภายใน และเปลี่ยนวิธีที่เราทำงานกับ partner ภายนอก รวมถึง stakeholders และกับ startups ด้วย

การเปลี่ยนแปลงภายในองค์กรมักจะมีการเปลี่ยนวัฒนธรรรมบางอย่างเพื่อเปลี่ยนความคิดของพนักงานให้เข้าใจความต้องการของลูกค้า มันยากที่จะวัดการเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรม แต่ที่ Telenor เราวัดจากการทำการสำรวจ Employee Engagement ที่ทำเป็นประจำ เพื่อจะดูวิธีการใช้นวัตกรรมใหม่ๆ การใช้อุปกรณ์ การออกสินค้าใหม่ มุมมองจากภายนอกที่มีต่อบริษัท รวมถึงการทำงานร่วมกันของทีมต่างๆ แล้วเราก็จะสามารถดูผลลัพท์ว่ามีการสร้างความรู้ใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นมากแค่ไหน มีการทดลองไอเดียใหม่ๆ ทดลองตัวสินค้าและปล่อยสินค้าใหม่ออกมาแค่ไหน

สำหรับวิธีการทำงานกับภายนอก เรามองไปที่ผลิตภัณฑ์ที่อาจจะเอามาใช้ได้จาก partner และ startup และความเป็นไปได้ในการจัดหาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ของเรา

ที่ Telenor เชื่อว่านวัตกรรมจะเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยทำความต้องการของเรา ในการสร้างอนาคตดิจิทัลสำหรับทุกคนให้สำเร็จได้

อะไรคือปัญหาที่พบเจอบ่อยๆ หรือความท้าทายในการสร้างนวัตกรรมใหม่ในบริษัทใหญ่ๆ และมีวิธีจัดการกับปัญหาอย่างไร?

สิ่งที่ท้าทายที่สุดคือการพยายามรักษาความสม่ำเสมอในการพัฒนานวัตกรรม โดยเฉพาะการที่มีเวลาและงบประมาณไม่มาก และการบาลานซ์ความสำคัญของงานในระยะสั้นกับการลงทุนเพื่ออนาคต แม้ว่าเราจะติดขัดกับปัญหาตรงนี้ แต่ยังโชคดีว่าเราได้รับการสนับสนุนที่ดีจากผู้บริหาร ซึ่งช่วยให้เรายังสามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ต่อไปได้

เราทำงานให้ได้ตาม KPI ที่ตั้งไว้ และจัดโครงการต่างๆ ทั่วโลกเพื่อสอนให้คนในองค์กรเห็นคุณค่าในสิ่งที่ทำและสามารถคิดค้นสิ่งใหม่ๆ พร้อมทั้งปฎิบัติได้จริง  เราเชื่อว่าการที่เราเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้จะช่วยทำให้เราคงอยู่ได้และเติบโตต่อไปในเวลาที่ยากลำบากนี้

บางบริษัทใช้วิธีแยกทีม Innovation ออกจากบริษัทและตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมาเพื่อให้การบริหารจัดการง่ายมากขึ้น คุณคิดอย่างไร และคิดว่าเป็นปัจจัยที่ทำให้สำเร็จได้หรือไม่?

มันมีทั้งข้อดีและข้อเสียในการให้ทีม innovation อยู่ใกล้ๆ กับสำนักงานหลัก หรือแยกกันโดยสิ้นเชิง การให้ทีม innovation อยู่ใกล้ๆ จำเป็นสำหรับการพัฒนานวัตกรรมที่เป็นแก่นของบริการ หรือเทคโนโลยีสำคัญๆ มากๆ ที่จะต้องนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนการแยกทีมออกไป แน่นอนว่ามันจะมีความยืดหยุ่นมากกว่า แต่ก็มีความเสี่ยงบางอย่างเช่น ความคิดว่านวัตกรรมไม่ได้ถูกสร้างที่นี่ และจะนำกลับมาปรับใช้กับบริการหลักได้ยาก เพราะฉะนั้นเราจึงต้องระมัดระวังมากๆ ในการเลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง

ตัวอย่างในการจัดการปัญหานี้ เช่น ตอนที่เราเริ่มทำบริการสื่อสารผ่านวีดีโอ ที่ถูกพัฒนาโดยทีมภายในมาประมาณ 2-3 ปีก่อน ทีมได้รับความเป็นอิสระและมีความยืดหนุ่นในการสร้างวัฒนธรรมและระบบของตนเอง เพื่อที่จะสร้างรากฐานให้แข็งแรงและเมื่อมันมีการขยายใหญ่ขึ้น ก็แยกตัวออกไป เพื่อไม่ให้ถูกจำกัดอยู่ในโครงสร้างของบริษัทใหญ่เท่านั้น และเพื่อสร้างโอกาสในการหาเงินและ partner ได้มากขึ้นด้วย มีอีกกรณีหนึ่งที่เกิดขึ้นจากโปรแกรม Ignite incubator ที่เราอนุญาตให้กลุ่มพนักงานที่คิดไอเดียที่ Telenor ไม่ต้องการใช้ ให้แยกออกไปทำของตนเองได้

ช่วยยกตัวอย่างโปรเจคของ Telenor ที่ทำอยู่ทั้งกับภายในองค์กรและภายนอก

ตอนนี้ภายในองค์กรของเรากำลังจัด batch ที่ 3 ของโครงการ Ignite Incubator ที่ให้พนักงานรวมทีมกันมาคิดไอเดียผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และศึกษาเป็นเวลา 3 เดือนโดยยังได้รับเงินเดือนเต็ม เพื่อให้สามารถโฟกัสกับการเรียนรู้และทดลองไอเดียต่างๆ ได้ โครงการนี้ช่วยสร้างความร่วมมือของทั้งบริษัท และถือเป็นการริเริ่มการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรม จนถึงตอนนี้มีพนักงานประมาณ 1,500 คน เสนอไอเดียมากว่า 650 ไปเดีย โดยที่มี 18 ไอเดียที่เริ่มนำเข้าโครงการบ่มเพาะ มี 7 ทีมที่กำลังพัฒนาผลิตภัณฑ์และ มี 2 ผลิตภัณฑ์ที่ปล่อยออกไปแล้ว ถือเป็นโครงการระดับโลกประจำปีที่เริ่มจากความคิดริเริ่มระดับท้องถิ่นและระดับชาติ

ส่วนโครงการภายนอกองค์กร เราได้จัด startup accelerators ครอบคลุม 6 ตลาดทั่วยุโรปและเอเชีย และช่วยสร้าง platform ให้กับผู้ชนะเพื่อขยายธุรกิจไปสู่ตลาด สิ่งที่เราเรียนรู้จากการทำงานร่วมกับ startup คือความสำคัญของความโปร่งใสและการโฟกัส เช่น ประเภทอะไรที่เราโฟกัส การกำหนดระยะเวลา หรือกระบวนการนี้มีลักษณะอย่างไรตั้งแต่การประชุมครั้งแรกจนถึงการเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ร่วมลงทุน

ผมมองว่าบริษัทใหญ่ๆ ควรจะช่วยเหลือ startup ให้เริ่มต้นได้ภายใน 4 อาทิตย์หรือน้อยกว่านั้น

ในฐานะที่ Telenor Group เป็นหนึ่งในผู้นำทางด้านการสื่อสารของโลก คุณมีวิธีในการสื่อสารกับผู้ให้บริการ mobile ต่างๆ ที่อยู่ในเครือ ให้พัฒนานวัตกรรมไปในทิศทางเดียวกันได้อย่างไร?

สำหรับเราแล้ว บริษัทผู้ให้บริการบน internet ยักษ์ใหญ่อย่าง Google และ Facebook น่ากลัวกว่าผู้ให้บริการในเครือของเราเอง ดังนั้นเราจึงร่วมกันทำงานและแชร์ประสบการณ์ต่างๆ รวมถึงวิธีการและตัวผลิตภัณฑ์ด้วย โดยมี GSMA ช่วยเหลือในการจัดโปรแกรมต่างๆ ทั่วโลกเพื่อให้เกิดความร่วมมือกัน และเราเองก็ติดต่อกับบางบริษัทที่ไม่ค่อยมีคู่แข่งโดยตรงด้วย

มีข้อแนะนำอะไรแก่ทีม Innovation ในบริษัทอื่นๆ ไหม?

  • การพัฒนานวัตกรรมเหมือนเป็นการวิ่งมาราธอน ไม่ใช่วิ่งร้อยเมตร จึงต้องใช้เวลาและความอดทนในการสร้าง
  • สร้างความคิดริเริ่มภายในองค์กร เพื่อเพิ่มพูนความเข้าใจ ความรู้ ทักษะ และวัฒนธรรม ในขณะเดียวกันก็ต้องมีผลลัพท์ที่เป็นรูปธรรมอย่าง ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เกิดขึ้น
  • พยายามตอบตัวเองให้ได้ว่าทำไมคุณถึงอยากทำงานกับ startup และจะร่วมงานด้วยอย่างไร
  • จงสื่อสารความสำเร็จ สื่อสารความผิดพลาด และสื่อสารวิธีการเรียนรู้

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ท่องเที่ยวไทยมีดี แต่ SME ยังไม่พร้อม ?

ธุรกิจท่องเที่ยวจะปรับตัวยังไง เมื่อเจอความท้าทายรุมล้อม ไม่ว่าจะเป็นการปรับใช้เทคโนโลยีในธุรกิจ การรับมือธุรกิจจีนที่เข้ามารุกตลาด และการสร้างบริการท่องเที่ยวให้ตอบโจทย์นักเดินทาง...

Responsive image

อินโดนีเซีย เปิดรับเทคโนโลยีอย่างไร เพื่อสร้างเศรษฐกิจยุคใหม่ ถอดบทเรียนจากงาน Bali International Airshow

อินโดนีเซีย กลายเป็นประเทศเนื้อหอมที่บิ๊กเทคฯ ต่างประเทศแห่เข้าไปลงทุนมากมาย ซึ่งหากนับแค่ช่วงครึ่งแรกของปี 2023 เพียงปีเดียวอินโดนีเซียสามารถสร้างมูลค่าถึง 34,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ...

Responsive image

รู้จัก “Phygital” การตลาดยุคใหม่แห่งอนาคต ผ่านเทคโนโลยี Immersive Experience ของ Translucia

Techsauce จึงอยากพาไปทำความรู้จักกับเทคโนโลยี ‘โลกเสมือน’ ผ่านหนึ่งในผู้เล่นคนสำคัญอย่าง Translucia บริษัทเทคโนโลยีที่พัฒนา Immersive Experience ซึ่งเป็นแนวคิดที่จะเปลี่ยนวิธีการเ...