ไม่บ่อยนักที่จะได้มีโอกาสพูดคุยกับ Startup จาก Y Combinators และะปัจจุบันผันตัวไปเป็นนักลงทุน เขาเป็นหนึ่งใน CEO 15 คนที่น่าจับตามากที่สุดคนหนึ่ง จัดอันดับโดย Business Insider ใช่แล้ว! เรากำลังพูดคุยกับ Tikhon Bernstam ผู้อยู่เบื้องหลัง Parse ที่ขายธุรกิจให้กับ Facebook ในปี 2013 หลังจากตั้งธุรกิจได้มา 2 ปีด้วยมูลค่า 85 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปัจจุบันเขาเป็นนักลงทุนเต็มตัว ลงทุนใน Startup ไปแล้วกว่า 90 บริษัททั่วโลก อาทิ Optimizely, Reddit, Tilt, Checkr, Gusto, Colletive Health, Headspace, Lendup, Hightower, Shift, One Medical และ ที่ลืมไม่ได้ Cruise ที่ขายธุรกิจให้กับ General Motors โดยหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Daniel Kan ก็ร่วมมากับทริป Techsauce Summit ครั้งที่ผ่านมา ไปพบกับบทสัมภาษณ์แบบ Exclusive กับ Tikhon โดยทีมงาน techsauce กันได้เลย
Tikhon: เคยครับ ครั้งนั้นเมื่อหลายปีก่อน ก็มาเที่ยวกับ Justin และ Daniel Kan นี่แหล่ะ และผมก็ชอบกรุงเทพฯ มากๆ เราพบกับผู้ประกอบการหลายคนที่น่าสนใจที่มาอยู่ที่นี่ด้วย
Tikhon: แถบนี้มีจุดที่น่าสนใจมากคือ มีหลายบริษัทเน้นที่ B2B startups และ B2B แอปฯ ในขณะที่สหรัฐฯ จะมีหลายคนพยายามทำนู่นนั่นนี่ที่เน้นโฟกัสไปที่ Consumer เช่น Instagram สำหรับแมว หรือ Instagram สำหรับแมวของแม่คุณ (เขาพูดติดตลก) ที่ Valley คุณจะเห็นหลายคนทำสิ่งแปลกๆ ที่ดูแล้วก็ไม่มีคนน่าจะใช้หรือต้องการมัน ขอระดมทุน แล้วก็พัง... แต่สำหรับแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คนพยายามพัฒนาสิ่งที่หาเงินได้จริงๆ และนั่นเป็นสิ่งทีดี แต่ในเชิงอุปสรรคของที่นี่ก็คือเรื่องการระดมทุนนั่นไม่ใช่เรื่องง่าย ส่วนที่ Silicon Valley ก็มีอุปสรรคเช่นกัน คือขาดวิศวกรเก่งๆ ซึ่งพวกนี้ก็ค่าจ้างสูง และต้องแย่งกันกับบริษัทอื่นๆ ที่มี Budget ด้านการจ้างคนที่สูงกว่า ซึ่งตรงนี้ก็คล้ายๆ กับประเทศในแถบนี้
Tikhon: สำหรับผม การเป็นนักลงทุนมีเวลามากกว่าเยอะ แต่ก็ชอบที่จะสร้างบริษัท Startup ต้องบอกว่าการลงทุนไม่ใช่รางวัลนะ ขณะที่คุณต้องเข้าไปช่วยความฝันและเป้าหมายของคนอื่นนั้น ทำให้คุณไม่ได้มุ่งมั่นโฟกัสการสร้างสิ่งที่ทำ product มันน่าสนใจมากที่สุดได้
Tikhon: ก่อนมาสร้าง Scribd ผมพัฒนา product แล้วล้มเหลวมากกว่า 11 อย่าง สิ่งที่เรามีคือความมานะพยายาม ดังนั้น..สิ่งที่ผมมองหาในตัว Startup ก็คือ ผู้ประกอบการที่ไม่ยอมล้มเลิก ลองดูที่ Airbnb สิ ในช่วงแรกๆ เค้าได้รับการปฎิเสธเต็มไปหมด ไม่ได้เงินระดมทุน ทั้งหมดมันคือตัวบุคลากรที่มีความมานะพยายาม
Tikhon ผมมองหาผู้ประกอบการที่มีโฟกัสอย่างแน่วแน่นในธุรกิจของพวกเขา ถ้าถามพวกเขาว่า ไปพักผ่อนที่ดูไบและยังได้ค่าตอบแทนแบบเต็มๆ ด้วย พวกเขาจะบอกว่าเขาไม่ไป Founder ที่ยอดเยี่ยมจะไม่ว่อกแว่กต่อสิ่งที่เข้ามารบกวน และมุ่งมั่นที่จะประสบความสำเร็จ มันไม่จำเป็นนะที่จะต้องเป็นรายแรกในตลาด Google ก็ไม่ได้เป็น Search Engine รายแรก Facebook ก็ไม่ใช่ Social Media รายแรก มีบริษัทอื่นๆ มากมายที่ทำก่อนพวกเขาเยอะแยะ แต่พวกเขามีผู้ก่อตั้งที่หมกมุ่นและหลงไหลที่จะทำให้มันดีกว่าต่างหาก แนวกัดไม่ปล่อย
Tikhon : ส่วนตัวผมชอบ Solo Founder หล่ะ ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่จะไม่ใช่ อย่าง Drew ก็ทำ Dropbox อยู่นานเลยกว่า Arash จะเข้ามาร่วมกับเขา Solo Founder มีข้อดีหลายอย่าง เช่น แน่นอนคือถือ Equity เยอะ ทำให้เขาสามารถให้ Equity ที่มีกว่าครึ่งให้กับคน 10 ถึง 20 คนแรกที่มาร่วมบริษัทได้ บางปัญหาอย่างคนไม่ทำงานก็จะไม่มี ส่วนใหญ่ถ้าคนเยอะ คนมักชอบโทษกันไปมา ไม่มองว่าตัวเองผิด ผมชอบ Founder ที่มีความใจกว้างมากกว่า
Tikhon: การเข้าสู่ตลาดที่มีการแข่งขันสูงและมีแต่ Product ห่วยๆ แล้วเราพยายามสร้างสิ่งที่ดีกว่าเดิม 10 เท่า สำหรับผมมองว่าดีกว่าเข้าสู่ตลาดที่ยังเร็วเกินไป นักลงทุนหลายคนอาจเห็นต่างจากผมก็ได้ บางคนจะคิดว่า นั่นสายไปเสียแล้ว หรือไม่ก็ไม่ได้เป็นรายแรกในตลาด
ส่วนสูตรหน่ะเหรอ? หาตลาดที่มีการเติบโตสูง ดูผู้เล่นที่มีอยู่ในตลาด และทำสิ่งที่ดีกว่าในตลาดนั้นให้ได้ อย่างที่ Dropbox ทำ ไม่งั้นคุณก็ไปสู่ตลาดที่ Niche หรือคลื่นลูกที่ 3 เพื่อสร้างสิ่งที่ทำให้คนใช้คุ้มค่ากว่า 10 เท่าตัว และต้องโฟกัสในการแก้ปัญหาหลักของคนกลุ่มนั้นๆ
Tikhon: หลายคนขายในช่วงที่ยังเร็วเกินไปและนักลงทุนอยู่คนละฝั่งของสมการนี้ ใครๆ ก็ต้องการให้ Zuckerberg ขายเพื่อ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ Peter Thiel ไม่คิดว่าอย่างนั้น Instagram ก็ไม่ควรขาย.. นักลงทุนได้รับผลประโยชน์ที่แตกต่างกับ Founders ดังนั้นนักลงทุนมองว่าตอนนี้พวกเขาอยู่ตรง ณ จุดไหนของ Cycle ซึ่งไม่จำเป็นว่าจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับ Founders ก็ได้ อย่าฟังนักลงทุนเมื่อต้องขาย คุณควรทำเมื่อคุณคิดว่ามันจะสร้างคุณค่าของบริษัท
หลายคนพยายามขายและต่อรองให้ได้มาในราคาที่สูง แต่จริงๆ แล้ววัฒนธรรมองค์กร และการจัดการต่างหากคือสิ่งที่สำคัญมากๆ หลายคนหลังจากขายบริษัทออกไปอาจจะมีเงินในธนาคาร แต่ชีวิตไม่ได้มีความสุขและกลายเป็นต้องมานั่งทำงานในสิ่งที่ตัวเองไม่ได้รัก นี่คือสิ่งที่ Zuck พูดว่า - ถ้าการขายไปแล้ว เค้าอาจได้เงินมาเพื่อไปสร้างโซเชียลมีเดียอีกอันที่ไม่ได้ดี ก็อย่าไปขายดีกว่า
Tikhon: Co-founder ของ scribd เรียนด้วยกันกับ Zuckerberg เราได้รับข้อเสนอจากหลายที่ แต่ Facebook ให้สิ่งที่น่าสนใจกว่า แต่ที่สำคัญที่สุดคือ "วัฒนธรรมขององค์กรที่เข้ากันได้" พวกเขาสนใจในสิ่งที่พวกเราทำ และเราก็เคารพในตัวทีมบริหาร มันเป็นสิ่งสำคัญมากๆ ที่จะพิจารณาถึงการเพิ่มมูลค่าด้วย เมื่อ Google ซื้อ Youtube ไป ในเวลานั้นใครๆ ก็ดูเหมือนจะเกลียด Google นะ แต่ด้วย Resource ของ Google ก็สามารถช่วยทำให้ Youtube มีมูลค่าตลาดที่สูงขึ้น แต่ถ้าเป็น Apple จะซื้อ Dropbox อันนี้ก็คนละแบบเพราะจะเหมือนการตัดคู่แข่ง สำหรับ Parse Facebook สามารถสร้างรายได้จากผู้ใช้ กรณีนี้คือการอยู่ร่วมกันนั้นดูมีคุณค่ามากกว่าเมื่อแยกกัน
Tikhon: ส่วนตัวผมสนใจสร้างระบบ Cellular และ Data Connection ที่สัญญาณดีไม่มีปัญหา เพื่อนๆ ผมมักบ่นบ่อยๆ ว่า WiFi สัญญาณแย่มาก และก็ไม่รู้ว่าเกิดเพราะอะไร นี่มันปี 2016 แล้ว! ทำไมเรายังมีปัญหาพวกนี้อยู่ มันมีหลายจุดที่ควรต้องแก้ไขมากๆ เรายังใช้โมเดลเทคโนโลยีด้านนี้ตั้งแต่ยุค 80, โมเดลแบบมีสาย และพวกสายเคเบิ้ล
Tikhon: นี่เลย Andy Grove’s High Output Management และ the 1 Minute Manager เนื้อหาสนุกและตรงประเด็น คนที่เป็น manager แม้บางคนจะ manage ได้ แต่บางทีก็รับรู้ได้ว่าไม่ได้ชอบงาน management สักเท่าไหร่ ที่น่าสนใจคือใน Google มี 2 career tracks คุณไม่จำเป็นต้องคิดว่าจะเป็น VIP of engineer อย่างเดียวแต่ยังสามารถเป็น Cheif Architecture ที่สามารถเป็น Individual Contributor ได้ด้วย
บทสัมภาษณ์ของ Tikhon ประสบการณ์และข้อแนะนำสำหรับ Startup ในกลุ่ม Y Combinators ยังมีอีกหลายบทความอย่าลืมติดตามอ่านกันต่อได้ทาง Techsauce เช่นเคย
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด