สัมภาษณ์พิเศษ TransferWise กับการปฎิวัติบริการโอนเงินระหว่างประเทศผ่านออนไลน์ให้ 'ถูก สะดวก เร็ว' | Techsauce

สัมภาษณ์พิเศษ TransferWise กับการปฎิวัติบริการโอนเงินระหว่างประเทศผ่านออนไลน์ให้ 'ถูก สะดวก เร็ว'

ล่าสุดที่งาน Slush Singapore สุดยอด event สำหรับ Startup ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คุณอรนุช เลิศสุวรรณกิจ CEO ของ Techsauce Media ได้นั่งพูดคุยกับ Taavet Hinrikus ผู้ที่เคยเป็นพนักงานคนแรกของ Skype และปัจจุบันเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง TransferWise เพื่อเจาะลึกถึงบริการโอนเงินระหว่างประเทศผ่านออนไลน์ ที่จะมาสร้างผลกระทบต่อธนาคารทั่วโลก

การส่งเงินไปต่างประเทศเป็นอะไรที่ต้องเสียเงินแพงโดยใช่เหตุ เพราะค่าธรรมเนียมแอบแฝงที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ตอนนี้ TransferWise ได้ช่วยให้ชาวต่างชาติที่ทำงานในต่างประเทศ หรือนักเรียนนอก หรือนักธุรกิจ สามารถโอนเงินระหว่างประเทศในราคาที่ถูกที่สุดและสะดวกสบายมากขึ้น รู้ราคาได้ล่วงหน้า ไม่มีค่าใช้จ่ายแอบแฝงใดๆ

[video width="1280" height="720" mp4="https://techsauce.co/wp-content/uploads/2017/09/slush.mp4"][/video]

อะไรคือสิ่งที่ทำให้ TransferWise แตกต่างจากบริการโอนเงินเจ้าอื่น?

คนส่วนใหญ่จะใช้บริการธนาคารในการโอนเงินไปต่างประเทศ แต่ธนาคารมักจะคิดค่าใช้จ่ายค่อนข้างแพงและไม่ค่อยใส่ใจในการบริการ ถ้าคุณไปโอนเงินที่ธนาคาร คุณจะต้องจ่ายประมาณ 25-50 ดอลลาร์ต่อการโอนหนึ่งครั้ง บวกกับอีก 3-5% ของอัตราแลกเปลี่ยน บริการของ TransferWise ถูกกว่านั้น 8 เท่า และการโอนก็ทำได้โดยทันที มันง่ายมาก ไม่ต้องกรอกใบอะไรทั้งนั้น ตอนนี้มีคนเป็นล้านที่กำลังใช้บริการนี้โดยที่พวกเขาก็บอกกันปากต่อปาก

กลยุทธ์ของคุณในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คืออะไร ?

กลยุทธ์ของเรานั้นง่ายมาก เริ่มจากนำ Transferwise เข้าสู่ตลาดเอเชียอย่าง ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และสิงคโปร์ หลังจากนั้นค่อยหาโอกาสเข้าสู่ตลาดอื่นๆ

แล้วประเทศไทยละ ?

ตอนนี้ยังไม่มีแพลนสำหรับประเทศไทย แต่ในอนาคตเราหวังว่าจะมีเร็วๆ นี้ เป้าหมายของเราก็คือการเชื่อมต่อทุกๆ คนทั้งภายในภูมิภาคและทั้งโลก อย่างเช่น คนไทยที่อยากโอนเงินไปอเมริกา ไปญี่ปุ่น หรือไปออสเตรเลีย ดังนั้น มันก็เหมือนกับเรากำลังแก้ไขปัญหาให้คนทั้งโลกอยู่ ในแต่ละปีคาดว่าจะมีเงินประมาณ 5-10 ล้านล้านดอลลาร์โอนไปมาระหว่างประเทศผ่าน platform ของเรา

การทำงานกับ MAS (Monetary Authority of Singapore) เป็นยังไงบ้าง ?

สิงคโปร์มีหน่วยงานที่ยอดเยี่ยมมาก TranferWise เป็นบริษัทแรกที่ได้ร่วมงานกับ MAS และได้รับอนุญาตให้เปิดบริการออนไลน์ที่สิงคโปร์ โดยไม่ต้องผ่านธนาคาร ลูกค้าเพียงแค่ต้องใช้ passport กับรูปถ่าย ก็โอนเงินผ่านออนไลน์ได้เลย

คุณมีแผนจะใช้ Blockchain กับบริการของคุณไหม ?

ไม่นะ Blockchain คืออะไร จริงๆ ยังไม่ค่อยมีคนรู้แน่ชัดเลย มันเป็น concept ของเทคโนโลยีที่เจ๋ง แต่เรายังไม่เห็นว่าจะทำอะไรกับมันให้เป็นรูปธรรมได้ยังไง ตอนนี้มันยังเร็วเกินไป เพราะอย่างในประเทศไทยก็ยังใช้เงินบาทอยู่ ไม่ได้ใช้ Bitcoin ถ้าในอนาคต Blockchain จะสามารถช่วยให้เราสร้างบริการแบบที่เราอยากทำ ก็น่าสนใจที่จะลอง แต่ตอนนี้มันยังไม่มีอะไรที่ตอบโจทย์กับบริการของเรา

อนาคตของการโอนเงินระหว่างประเทศในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเป็นยังไง ?

เรามองว่าสิ่งที่เราทำได้ในอังกฤษและยุโรปนั้นจะสามารถเอามาใช้ได้กับทั้งโลก ตอนนี้ที่อังกฤษ เรามี market share มากกว่า 10% ซึ่งหมายความว่ามีคนมากกว่า 10% ที่ใช้บริการของเราและชอบ และเราก็กำลังพยายามจะครอบครองตลาดอังกฤษให้ได้ถึง 20% รวมถึง 10% ในออสเตรเลีย และ 10% ในสิงคโปร์ ด้วยบริการของเราที่ใช้ง่ายบนโทรศัพท์มือถือ แทนที่การใช้บริการของธนาคาร

แล้วสำหรับผู้ประกอบการ มีอะไรที่น่าเรียนรู้และเอาไปปรับใช้บ้าง ?

หลักๆ เลยก็คือ การมองให้เห็นถึงปัญหาใหญ่ๆ ของตลาด อย่างเช่น Skype ที่ช่วยลดปัญหาใหญ่ของการสื่อสารโทรคมนาคม ด้วยบริการโทรฟรีและคุยผ่านวีดีโอฟรี TransferWise ก็ให้บริการที่ช่วยแก้ปัญหาใหญ่ๆ ของตลาดเช่นกัน สิ่งที่สำคัญที่สุดคือคุณต้องเร็ว ต้องออกบริการให้รวดเร็วกว่าคนอื่น จะได้ไม่ต้องกังวลเรื่องคู่แข่ง สรุปสั้นๆ ก็คือ ตีปัญหาให้แตกและหาวิธีแก้ไขที่ดีกว่าที่อื่น 10 เท่า และทำมันให้เร็วที่สุด

มีคำแนะนำอะไรฝากไปถึงหน่วยงานกำกับดูแลต่างๆ ไหม?

หน่วยงานจะต้องนึกถึงผู้บริโภคเป็นหลัก และช่วยเหลือสนับสนุนผู้ประกอบการ บางทีหน่วยงานภาครัฐพยายามปกป้องระบบแบบเก่าๆ มากเกินไป พวกเขาควรจะสนับสนุนให้มีนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อช่วยแก้ปัญหาและให้ประโยชน์ต่อผู้บริโภค

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าไปได้ที่ TransferWise

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...

Responsive image

GAC รถแห่งเมืองกวางโจว ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ | Tech for Biz EP. 30

แบรนด์รถยนต์ที่เป็นความภูมิใจของคนกวางโจว สู่ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ คลิปนี้ Tech for Biz จะพาไปรู้จัก GAC ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีนอีกเจ้าที่กำลังบุกตลาดเมืองไทย...