แนวโน้มนวัตกรรมเกษตรกร 4.0 ในยุค Covid-19 | Techsauce

แนวโน้มนวัตกรรมเกษตรกร 4.0 ในยุค Covid-19

Covid-19 ที่ทั้งประเทศไทยและทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ ได้ผลกระทบไปในวงกว้างทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม อาทิ การเลิกจ้างจากการปิดกิจการที่คาดว่าจะสูงถึง 7 ล้านคน และการลดแรงงานจากมาตรการป้องกันที่เกิดขึ้น ทำให้หลายคนต้องเลือกกลับไปยังถิ่นฐานเพื่อหาลู่ทางสร้างอาชีพใหม่ หรือในบางกลุ่มก็ต้องการหลีกเลี่ยงชีวิตที่อยู่ในเมืองหลวงที่มีความแออัดและมีความเสี่ยงสูงกับความไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพ โดยหันกลับไปมองอาชีพด้าน  “การเกษตร” เรียกได้ว่าเป็นทางเลือกแรกของหลายๆ คน 

วันนี้หน่วยงานภาครัฐอย่างสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ได้มี Startups ด้านการเกษตรมานำเสนอสำหรับเป็นอีกทางเลือกให้กับผู้ที่มีความสนใจสามารถนำเทคโนโลยี นวัตกรรมและการบริหารจัดการ ที่จะผสมผสานกับความรู้และประสบการณ์มาปรับใช้กับการสร้างธุรกิจนวัตกรรมการเกษตรของไทย ให้สอดคล้องกับทิศทางกับกระแสของทั่วโลก และนำมาปรับให้เหมาะสมกับประเทศไทย

ALGAEBA  (อัลจีบา)

Startups ในกลุ่มอุตสาหกรรม Aquaculture หรืออุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอัลจีบา มี SeaThru COUNTER หรือเครื่องนับจำนวนลูกสัตว์น้ำ เป็นสินค้าตัวแรกที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ขั้นสูง ช่วยนับลูกกุ้ง ลูกปลา ไข่ปลา ลูกปู ฯลฯ ได้ด้วยความแม่นยำ รวดเร็ว และมีหลักฐานการนับ 

เข้ามาช่วยเเก้ Pain Point หรือมีประโยชน์ในชีวิตประจำวันอย่างไร?

ในการขายลูกกุ้งจากโรงเพาะฟัก ไปยังเกษตรกร จะต้องมีการนับจำนวน เนื่องจากการซื้อขายซื้อกันเป็นจำนวนตัว ดังนั้น ในอดีตจึงใช้คนนับ โดยการนับสัตว์น้ำ 1500-2000 ตัว จะใช้เวลานับประมาณ 10-20 นาที แล้วแต่ความชำนาญ และความแม่นยำแปรผันตามความเชี่ยวชาญ ความเหนื่อยล้าและความละเอียดของผู้นับ และการนับดังกล่าวเป็นกระบวนการที่เสียเวลา และมีความไม่มั่นใจเกิดขึ้นทั้งจากคนขาย คนซื้อ และผู้ปฏิบัติงาน ในแต่ละวันที่จะมีการขาย จะเสียเวลานับเป็นเวลากว่าชั่วโมง หรือมากกว่า แล้วแต่ความละเอียดของแต่ละโรงเพาะฟัก ซึ่ง Solution นี้สามารถ นับจำนวนลูกสัตว์น้ำได้ในเวลาอย่างรวดเร็ว ช่วยลดระยะเวลาการทำงานกว่า 30-300 เท่า และเพิ่มความแม่นยำ ทำให้การขายและกระบวนการผลิตภายในเต็มไปด้วยประสิทธิภาพ

E Power Service (อี พาวเวอร์ เซอร์วิส จำกัด)

Startup ที่มี Eco&Smart Farrm Agriculture ระบบเกษตรสมาร์ทฟาร์มอัจริยะที่มีระบบผสมปุ๋ยอัตโนมัติทั้งในแบบ Greenhouse และในแบบ Open field ระบบสวนเปิด ระบบวัดสภาพอากาศ ระบบวัดสภาพน้ำ ระบบรดน้ำอัตโนมัติ, ระบบเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อัจฉริยะ 

เข้ามาช่วยเเก้ Pain Point หรือมีประโยชน์ในชีวิตประจำวันอย่างไร?

  • ระบบผสมปุ่ยอัจฉริยะ (Automatic Fertigation) ระบบนี้จะมาช่วยเกษตรประหยัดเวลาการให้ปุ๋ยโดยที่ระบบจะทำการผสมให้อัตโนมัติ พร้อมทั้งปรับค่า PH และ EC และทำการผสมก่อนสั่งจ่ายเข้าไประบบให้น้ำ ทำให้พืชได้ปุ๋ยตรงตามความต้องการไม่มาก ไม่น้อยเกินไป รวมถึงประหยัดแรงงานในการผสมปุ๋ยลงไปได้ ระบบผสมปุ๋ยของได้ออกแบบมาใช้ ได้ทั้งในโรงเรือน Green House , ระบบการปลุกพืชไร่พืชสวน ตลอดไปจนถึงระบบการปลูกแบบ  Hydroponic
  • ระบบวัดสภาพแวดล้อม ทั้งในอากาศและน้ำ เราได้พัฒนาระบบตรวจวัดสภาพอากาศ ที่สามารถดูค่าต่างๆ ที่เกษตชรกรจำเป็นต้องใช้เพื่อมุลในการตัดสินใจในการปลูกพืชและเพื่อควบคุม ความเสี่ยงจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนไป เช่น วัดอุณภูมิ ความชื้นในดิน เพื่อปรับการให้น้ำ เป็นต้น ส่วนการวัดในน้ำ นั้นแกษตรกรจะสามารถลดความเสี่ยงค่าน้ำที่เปลี่ยนแปลงเช่น มีค่าความเค็มมากขึ้น หรือ มีค่า PH สุงเกินไป จะได้เตรียมการปรับสภาพน้ำต่อไป เป็นต้น 

Gaorai (เก้าไร่)

เก้าไร่ คือ ระบบปฏิบัติการที่ช่วยให้เกษตรกรได้รับบริการฉีดพ่นพืชจากนักขับโดรนโดยจะเป็น แพลตฟอร์มตัวกลางที่ให้บริการนักขับโดรนฉีดพ่นพืชด้วยโดรนแก่เกษตรกร

เข้ามาช่วยเเก้ Pain Point หรือมีประโยชน์ในชีวิตประจำวันอย่างไร?

  • Pain point ของเกษตรกร คือ การใช้ยาฉีดพ่นมากเกินจำเป็นหรือขาดเกินไป จากการจ้างแรงงานเดินฉีดพ่นที่ไม่มีการบันทึกข้อมูล และการไม่สามารถควบคุมตำแหน่งการฉีดพ่นได้อย่างแม่นยำ ส่งผลให้พืชเติบโตไม่เต็มประสิทธิภาพหรือเกิดสารตกค้างในพืชผล เก้าไร่มีฟังก์ชั่นบันทึกข้อมูลและระบบ data analytics ที่จะช่วยแนะนำการฉีดพ่นให้คุ้มค่าสูงสุด
  • Paint point ของนักขับโดรน คือ การขาดงานฉีดพ่น โดยเก้าไร่สามารถเสนองานฉีดพ่นนอกเหนือจากพื้นที่ที่นักขับโดรนอยู่ 

HG Robotic (เอชจี โรโบติกส์)

Tech Startups ที่มุ่งผลิตเทคโนโลยีหุ่นยนต์ อย่างสร้างสรรค์เพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตและการทำงานของผู้ใช้โดยเฉพาะหุ่นยนต์บริการซึ่งมีโอกาสในตลาดมากกว่าหุ่นยนต์อุตสาหกรรม เพื่อสนับสนุนผู้มีความสามารถที่อยู่เบื้องหลังโซลูชั่นหุ่นยนต์และสร้างความพึงพอใจให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 

เข้ามาช่วยเเก้ Pain Point หรือมีประโยชน์ในชีวิตประจำวันอย่างไร?

  • ช่วยให้เกษตรกรสามารถทำงานมีศักยภาพมากขึ้น ลดต้นทุน เพิ่มรายได้ และใช้เวลาในการบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • หุ่นยนต์ในแบบอื่นๆ สามารถตอบโจทย์คุณภาพชีวิตทั้งทางด้านสุขภาพ ตรวจตาความปลอดภัย และโจทย์พิเศษต่างๆ

ติดตาม Startups ไทยที่มีโซลูชั่นและบริการดีๆ ได้ใน “Startup Marketplace is Live Now” รายการที่จะช่วยสร้างช่องทางการตลาดให้กับ Startups ไทย ในช่วงสถานการณ์วิกฤต โดย สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA  และข้อมูลข่าวสาร ได้ที่ FB Page: Startup Thailand และ FB Group: Startup Thailand Marketplace

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...