แบรนด์แฟชั่นและเครื่องสำอางค้นหานวัตกรรมใหม่ผ่านทาง Hackathon อย่างไร | Techsauce

แบรนด์แฟชั่นและเครื่องสำอางค้นหานวัตกรรมใหม่ผ่านทาง Hackathon อย่างไร

เราอาจคุ้นเคยว่างานอย่าง Hackathon นี่เหมาะกับพวก Geek พวก Programmer และคงมีแต่บริษัทไอทีที่จัด แต่แท้ที่จริงแล้ว มันคือขบวนการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ จากการระดมสมองของคนที่มีความสนใจอยากแก้ปัญหาอะไรบางอย่างในภาคธุรกิจนั้นๆ ผนวกกับทักษะด้านการพัฒนาจึงจะสร้างสิ่งที่มีประโยชน์และตอบโจทย์ผู้ใช้ได้ ไม่ว่าองค์กร หรือแบรนด์จะอยู่ในภาคธุรกิจไหนก็ตาม ก็สามารถจัดงาน Hackathon ได้ และวันนี้คือตัวอย่างของสินค้าประเภทแฟชั่น และเครื่องสำอาง ถ้ามองแบบมุมเก่าๆ ก็ดูจะห่างไกลกับด้านไอทีพอสมควร วันนี้เรามี 3 ตัวอย่างในต่างประเทศที่จัด Hackaton ด้วยโจทย์ที่น่าสนใจ

เพื่อทางธุรกิจ

Louis Vuitton กับ “Unlock The Future of Luxury”

Louis Vuitton จัด Hackathon ขึ้นมาโดยมี data set เตรียมไว้ให้ โดยให้นักพัฒนาใช้ทักษะด้าน Artificial Intelligence, Machine Learning เพื่อตอบโจทย์ธีมดังต่อไปนี้
  • Future sales เชื่อมโยงธุรกิจกับ Social data เพื่อยอดขาย
  • Prediction of future trends พัฒนาเครื่องมือวิเคราะห์เราและคู่แข่งเพื่อค้นหาเทรนด์ด้านธุรกิจแฟชั่น
  • Analyse the brand image ค้นหา Insight ภาพลักษณ์ของแบรนด์ และสินค้าเพื่อใช้ในการปรับปรุง
เรียกว่าจัดหนักกันเรื่อง Big Data Analysis สุดๆ เพื่อค้นหา Insights ของลูกค้าในการนำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือปรับภาพลักษณ์ขององค์กรต่อไป
ธุรกิจเครื่องสำอางก็ไม่พลาดนะเออ!

L’Oreal กับการสร้างประสบการณ์ใหม่ผลิตภัณฑ์ด้านการดูแลผม

โดยต้องพัฒนาบริการที่ตอบโจทย์เกียวกับผลิตภัณฑ์ดูแลผม ดังต่อไปนี้
    • การสอนการจัดแต่งทรงผมด้วยการนำ Gamify มาใช้
    • ช่วยผู้ใช้เรื่องการจัดการทรงผมด้วยตัวเอง
    • คิดวิธีการใหม่ให้ผู้ใช้สามารถค้นหาสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ L'Oreal ยังให้ความสนใจในธุรกิจ Startup ไม่น้อยมีการจับมือพาร์ทเนอร์กับหลายโครงการเพื่อค้นหานวัตกรรมใหม่ๆ ให้กับภาคธุรกิจตัวเอง

เพื่อสังคม

GUCCI กับโครงการ #Chimehack

เคสนี้อาจแตกต่างกับตัวอย่างข้างต้นทั้ง 2 พอควร เพราะ GUCCI จัดขึ้นเพื่อสนับสนุนโครงการ CSR ของทางบริษัท #CHIMEHACK hackathon เป็นโครงการภายใต้ CHIME FOR CHANGE เพื่อระดมทุนช่วยเหลือปัญหาต่างๆ ทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับผู้หญิงก่อตั้งโดย GUCCI
สนับสนุนให้สร้างโมบายแอปฯ เพื่อช่วยเหลือผู้หญิงและเด็กในแง่มุมต่างๆ ได้แก่ ด้านการศึกษา สุขภาพ และ ช่วยเหลือด้านความยุติธรรม เป็นแนวคิด “Hack for good” คือเน้นทำความดีนั่นเอง โดยจัดขึ้นครั้งแรกในช่วงธันวาคมปี 2013 มีผู้เข้าร่วมกว่า 105 คน

และนี่เป็นตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงในต่างประเทศแล้ว บ้านเรามีการจัดงานด้าน Hackathon อยู่บ้างเช่น AngelHack Bangkok, Hackathon โดยกลุ่ม Google Developer Group และ Microsoft, Hackathon ด้าน Open Data และสาย Social Enterprise เป็นต้น แต่ยังไม่ค่อยเห็นผู้เล่นที่กระโดดมาจากแบรนด์โดยตรง และนี่เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ช่วยสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ให้กับองค์กรของคุณได้ จะจัดเป็นกิจกรรมภายในของพนักงานเอง หรือเปิดเป็นการแข่งขันให้บุคคลภายนอกก็ได้เช่นเดียวกัน ไม่แน่คุณอาจได้พนักงานที่เป็น Talent เข้ามาอีกด้วยนะ

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...