การเติบโตของธุรกิจ FinTech สู่การเป็นตัวแปรสำคัญต่อโลกของ 'การเงินการลงทุนไทย' | Techsauce

การเติบโตของธุรกิจ FinTech สู่การเป็นตัวแปรสำคัญต่อโลกของ 'การเงินการลงทุนไทย'

ในอดีตการทำธุรกรรมทางการเงินและการลงทุนถือเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากและซับซ้อนสำหรับคนทั่วไป ทั้งเงื่อนไขและบริการต่างๆ นับไม่ถ้วนที่เป็นอุปสรรคต่อความเข้าใจ และการเข้าถึงบริการที่ได้มาตรฐาน ทำให้ปัจจุบัน มีผู้พัฒนานวัตกรรมทางการเงิน หรือ Financial Innovation เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้เป็นจำนวนมาก โดยผสานความรู้ด้านการเงิน (Financial) เข้ากับ เทคโนโลยี (Technology) จนกลายเป็นธุรกิจ FinTech ที่ทุกคนน่าจะคุ้นหูกันดี โดย FinTech ได้เข้ามามีบทบาทในการลดต้นทุนการทำธุรกรรมทางการเงิน และสร้างโอกาสให้คนจำนวนมากสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินที่ได้มาตรฐานมากยิ่งขึ้น

การก้าวเข้ามาของ FinTech ยังสร้างความท้าทายให้กับผู้ร่วมตลาดในแวดวงการเงินอื่นๆ เช่น ผู้ให้บริการทางการเงินดั้งเดิม (Incumbent) ผู้ทำธุรกิจให้คำปรึกษา ผู้ทำธุรกิจนายหน้าและคนกลาง รวมไปถึงผู้ออกกฎระเบียบ (Regulator) ที่ต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงนี้

Illustration: Bea Ramirez

วิวัฒนาการของ FinTech จากอดีตสู่ปัจจุบัน

FinTech ไม่ใช่เรื่องใหม่ งานศึกษาของ Arner, Jànos Barberis, และ Ross P. Buckley ได้แสดงวิวัฒนาการของเทคโลยีทางการเงิน โดยยุคที่ใกล้ตัวที่สุดคือ Fintech 3.0 หรือยุคหลังเกิดวิกฤติ Subprime อันมาจากภาวะฟองสบู่ของสถาบันการเงินขนาดใหญ่แตก ทำให้ผู้บริโภคลดความเชื่อถือต่อสถาบันการเงินลง และนำไปสู่ความนิยมในการระดมทุนทางเลือก เช่น การทำ Crowdfunding อย่าง Kickstarter หรือผ่านเงินดิจิทัล Cryptocurrency อย่าง Bitcoin

Illustration : Dogtown Media

หลังวิกฤติ Subprime ทำให้ภาคการเงินหันมาใช้เทคโนโลยีมากขึ้น หลากหลายภาคธุรกิจเริ่มมีการปรับตัว สถาบันการเงินหลายแห่งนำเทคโนโลยีมาใช้ทดแทนมนุษย์เพื่อลดต้นทุน เช่น Robo-advisor มาช่วยนักลงทุนรายย่อยวางแผนการลงทุนแบบอัตโนมัติ

นอกจากนี้การเข้ามาของสมาร์ทโฟนยังทำให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้ทุกที่ทุกเวลา จึงการเกิดของผู้เล่นหน้าใหม่อย่าง Startup ที่สร้างแพลตฟอร์มสำหรับ Peer-to-Peer (P2P) ให้บุคคลทั่วไปทำธุรกรรมการเงินโดยไม่จำเป็นต้องผ่านสถาบันตัวกลาง โดยมีบริการต่างๆ ทั้งการโอนเงิน การให้และรับสินเชื่อ และสำหรับการซื้อขายแลกเปลี่ยนหุ้น

การเติบโตแบบก้าวกระโดดของ FinTech Startup

ปี 2560 ถือเป็นปีทองของ FinTech Startup โดยมีมูลค่าการระดมทุนทั่วโลกผ่าน Venture Capital (VC) สูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 16,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 20% จากปีก่อนหน้า และเพิ่มขึ้นถึง 4.4 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2556 โดยเฉพาะประเทศในแถบยุโรปและอเมริกาเหนือ อีกทั้งจำนวนบริษัทที่ระดมทุนเพิ่มผ่าน VC ในปี 2560 เพิ่มขึ้นเป็น 1,128 บริษัท จาก 1,023 บริษัทในปี 2559

โดย FinTech Startup ที่อยู่ในช่วง Early Stage มีอัตราลดลงเล็กน้อย แต่ไปเพิ่มขึ้นในช่วง Late Stage ที่เป็นช่วงนำเสนอผลงานเข้าสู่ตลาดและและต้องการเงินทุนเพื่อขยายธุรกิจ

ภาพรวม FinTech ในไทย

ข้อมูลจากกระทรวงอุตสาหกรรมพบว่าในปี 2560 มี Startup ในไทยประมาณ 8,000 ราย เป็นจำนวนเพิ่มขึ้นจากเพียง 200 รายในปี 2558 โดยมี startup ที่มีศักยภาพพร้อมดำเนินธุรกิจได้จริงประมาณ 1,500 ราย และมี FinTech Startup มากเป็นอันดับต้นๆ ให้บริการใน 4 กลุ่มธุรกิจหลัก

Business Tools/ Comparison/ Marketplace

แพลตฟอร์มที่นำข้อมูลมารวมเอาไว้ให้ผู้บริโภคสามารถเปรียบเทียบและวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของบริการต่างๆ ได้ง่ายขึ้น เช่น แอปพลิเคชันที่เปรียบเทียบแพคเกจ Refinance ของแทบทุกธนาคาร ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่มีต้นทุนต่ำลงด้วยความรวดเร็ว หรือแพลตฟอร์มที่ให้ผู้ใช้สามารถนำพ้อยท์เครดิตการ์ดจากหลายแห่งมารวมกันและแลกเป็นส่วนลดในการซื้อสินค้าที่ร่วมรายการ

Lending & Credit

การให้สินเชื่อรูปแบบ P2P Lending บนออนไลน์กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก โดยมีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2568 มูลค่าตลาด P2P ทั่วโลกจะสูงถึง 35.9 ล้านล้านบาท การเติบโตนี้เป็นผลของปริมาณการใช้สมาร์ทโฟนที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงการนำข้อมูล Big Data และเทคโนโลยี AI มาช่วยวิเคราะห์และจัดระเบียบข้อมูล เพื่อประกอบการตัดสินใจการให้สินเชื่อสำหรับบุคคลรายย่อยรวมไปถึง SME

Retail Investments and Personal Finance

ไม่เพียงแต่ผู้บริโภคที่ใช้ระบบการเงินการธนาคารเท่านั้นที่ยังได้รับการบริการไม่ทั่วถึง ผู้ให้บริการในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุนก็มีแนวโน้มที่จะลดจำนวนพนักงานลง ทำให้ต้องมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นเครื่องมือช่วย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรูปแบบ Robo-advisor ที่พัฒนาจาก AI วิเคราะห์ข้อมูล Big Data ทั้งทางด้านพื้นฐานและข้อมูลด้านเทคนิค พร้อมแนะนำการลงทุนอย่างเหมาะสมสำหรับแต่ละคน ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าทรัพย์สินภายใต้การจัดการของ Robo-advisor ทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 16 ล้านล้านดอลล่าร์ ภายในปี 2568

นอกเหนือจากด้านการลงทุน ก็ยังมี Startup ที่ให้คำแนะนำด้านการ วางแผนทางการเงินส่วนบุคคลอีกด้วย อาทิ การจัดการด้านภาษีรายได้ส่วนบุคคล การควบคุมการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต และ การบริหาร Cashflow รายบุคคล  

Payment and Blockchain

Payment ถือเป็นประเภทธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงมากในประเทศไทย เมื่อมีผู้เล่นหลากหลายจากทั้งบริษัทการเงินและบริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่ที่มีเทคโนโลยีและฐานลูกค้าบนเครือข่ายเข้ามาแข่งขันเป็นจำนวนมาก พร้อมกับความพยายามผลักดันให้ประเทศเข้าสู่สังคมไร้เงินสด มีผู้ให้บริการหลายรายที่ออก e-Wallet สำหรับชำระเงินผ่านสมาร์ทโฟน และอาศัยเทคโนโลยี Blockchain เป็นพื้นฐานให้ไม่สามารถโกงหรือปลอมแปลงข้อมูลทางธุรกรรมได้

Illustration: dispatcheseurope

FinTech ไทยที่ต้องผลักดันด้วยนวัตกรรมเพื่อการลงทุน

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ 4 องค์กรพันธมิตร ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (SEC) สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย (ASCO) สมาคมบริษัทจัดการลงทุน (AIMC) และสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย (TLCA) ได้จัดโครงการ “รางวัลสุดยอดนวัตกรรมตลาดทุนไทย 2561 (Capital Market Innovation Awards 2018)” การประกวดเพื่อเฟ้นหาสุดยอดนวัตกรรมตลาดทุนครั้งแรกของประเทศไทยขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมและสร้าง Awareness แก่ผู้มีส่วนร่วมในแวดวงตลาดทุน และสนับสนุนความร่วมมือระหว่างผู้ให้บริการ รวมไปถึง FinTech Startup มหาวิทยาลัย และบุคคลทั่วไป ให้ผลิตนวัตกรรมด้านตลาดทุนที่ทันสมัย ทั้งนี้ มีผลงานเข้าร่วมประกวดทั้งสิ้น 60 ผลงาน ล่าสุดได้ 10 ผลงานผ่านเข้ารอบตัดสินเพื่อเฟ้นหาสุดยอดนวัตกรรมตลาดทุนไทยแห่งปี ในวันที่ 9 ต.ค. 2561 นี้

รายชื่อผู้ผ่านเข้ารอบสุดท้าย 10 ทีม

  1. AccRevo โดย บจก.แอ๊คเคาท์ติ้ง ทรานส์ฟอร์เมชั่นส์
  2. CRM system for Better Communication By AVA โดย บจก.มาร์เก็ตเอนี่แวร์
  3. Digital Wealth Revolution โดย บล.หยวนต้า
  4. FundConnext โดย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  5. Islamic Smart Algo โดย บล.เคทีบี
  6. iTAX Pro - App คำนวณภาษีเพื่อนักลงทุนในตลาดทุนไทย โดย บจก.ไอแท็กซ์ อินคอเปอร์เรชั่น
  7. odini ลงทุนอัติโนมัติด้วย Robo-advisor โดย บลน.โรโบเวลธ์ จำกัด
  8. Skynet โดย บริษัท สกายเน็ต ซิสเต็มส์ จำกัด
  9. Smart EA : The Rise of Empowered Investors โดย บจก.ท๊อปเทรดเดอร์
  10. Wealth Management System for Employee โดย .Wealth Inc

สามารถติดตามรายละเอียดโครงการได้ที่เว็บไซต์ set.or.th/CapitalMarketInnovationAwards

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

17 เรื่อง AI ต้องรู้ จากรายงาน AI Index 2024

Techsauce ได้สรุป 17 ประเด็นสำคัญจากรายงาน AI Index Report 2024 ซึ่งจัดทำโดย Stanford Institute for Human-Centered Artificial Intelligence (HAI) ที่รวบรวมประเด็นต่างๆ ของปัญญาประดิ...

Responsive image

แนะเทรนด์ลงทุนในสตาร์ทอัพปี 2024 พร้อมช่องทางใหม่ในการระดมทุนจากงาน KATALYST TALK MEETUP #3

บทความที่เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพควรอ่านเพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการเผชิญความท้าทายในปีนี้ จากการรับฟังภายในงาน KATALYST TALK MEETUP #3 ‘Navigating the Startup Challenges in 2024 and Beyond’...

Responsive image

เตรียมพบกับงาน SEA Blockchain Week 2024 (SEABW) ยกขบวนกูรูผู้เชี่ยวชาญด้านบล็อกเชน และ Web 3 ระดับโลกกว่า 100 คน มาร่วมพูดคุยแบ่งปันประสบการณ์ที่เมืองไทย

Southeast Asia Blockchain Week หรือ SEABW งานด้านบล็อกเชนสุดยิ่งใหญ่ระดับภูมิภาค ที่เตรียมจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในวันที่ 24-25 เมษายน 2567 ซึ่งจะจัดขึ้น ณ True ICON HALL ช...