คาดการณ์แนวโน้มการเติบโต Mobile Wallet ในปี 2025 พร้อมปัจจัยที่น่าจับตาของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ | Techsauce

คาดการณ์แนวโน้มการเติบโต Mobile Wallet ในปี 2025 พร้อมปัจจัยที่น่าจับตาของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีให้เกิดขึ้นมากมาย หนึ่งในนั้นคือ Digital Payment ซึ่งมีผู้คนมากมายที่ปรับพฤติกรรมหันมาชำระเงินทางดิจิทัล โดย Mobile Wallet ถือเป็นสิ่งที่มีบทบาทหลักในการขับเคลื่อนการเติบโตนี้เช่นกัน 

Mobile Wallet

รายงานการเติบโตของ Mobile Wallet  ของ Buku ได้แสดงให้เราเห็นถึงแนวโน้มการเติบโตในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี 2025  ซึ่งแต่ละประเทศจะมีปัจจัยขับเคลื่อนที่แตกต่างกัน แต่ที่น่าสนใจคือ ในบรรดา 6  ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม ผู้เล่นที่ครองส่วนแบ่งการตลาดสำหรับ Mobile Wallet ส่วนใหญ่จะเป็นผู้เล่นท้องถิ่น ซึ่งแต่ละประเทศจะมีแนวโน้มในอีก 5 ปีเป็นอย่างไร ปัจจัยอะไรที่จะมาขับเคลื่อน และใครครองตลาดอยู่บ้าง ติดตามได้ในบทความนี้

Indonesia

อินโดนีเซียนับว่าเป็นอันดับสามของประเทศที่มีการเติบโตของ mobile wallet เร็วที่สุดในภูมิภาค และยังตั้งเป้าที่จะเพิ่มการใช้งานบริการชำระเงินผ่านมือถือ 3 เท่าในอีก 5 ปีข้างหน้า พร้อมทั้งเพิ่มการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านมือถืออีก 10 เท่า โดยมุ่งที่จะเป็นประเทศที่มีอัตราการใช้บัตรเครดิตต่ำต่อไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงสู่การใช้ mobile wallet อย่างเต็มตัวของอินโดนีเซียยังจะทำให้ผู้บริโภคอีกหลายสิบล้านรายเข้าสู่ยุคดิจิทัลได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย

คาดการณ์แนวโน้มในปี 2025

  • ผู้ใช้ mobile wallet ปี 2020 จำนวน 63.6 ล้านราย เพิ่มเป็น 202 ล้านราย
  • การทำธุรกรรมผ่าน mobile wallet ปี 2020 จำนวน 1.7 พันล้านครั้ง เพิ่มเป็น 16 พันล้านครั้ง 
  • มูลค่าการทำธุรกรรมผ่าน mobile wallet ปี 2020 มูลค่า 28 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มเป็น 107 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ส่วนแบ่งการตลาดปัจจุบัน

  • OVO 38.2%  
  • ShopeePay 15.6%  
  • LinkAja 13.9%  
  • GoPay 13.2%  
  • Dana 12.2%  
  • อื่นๆ 6.9%

Key Takeaway 

• อินโดนีเซียเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการใช้ mobile wallet เติบโตเร็วที่สุดในโลก โดยตั้งเป้าที่จะมีผู้ใช้ mobile wallet เพิ่มขึ้นเป็นสามเท่า (จาก 63.6 ล้านคนเป็น 202 ล้านคน) ภายในปี 2025

• Market Fragmentation เป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่สำหรับการเข้าสู่ยุคการทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์มือถือในอินโดนีเซีย โดยในตอนนี้มี mobile wallet 5 บริษัทที่มีชื่อเสียง ในประเทศ และผู้ใช้มักใช้งานแอป mobile wallet มากกว่าหนึ่ง คือมีจำนวนแอปที่ใช้งานคิดเป็นสัดส่วน 3.16 ต่อผู้บริโภค 1 ราย

• ประชากรส่วนมากที่ใช้โทรศัพท์มือถือเป็นประจำคือวัยหนุ่มสาว ผู้ที่ใช้บริการ mobile wallet ส่วนมาก (81% ของผู้ตอบแบบสำรวจ) เป็นการใช้สำหรับการซื้อออนไลน์

Malaysia 

ประเทศมาเลเซียเป็นอีกหนึ่งตลาดที่กำลังพัฒนาและก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็วในบรรดาประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีค่า GDP ต่อหัวอยู่ที่ประมาณ 3 เท่าของอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ แต่การชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือในมาเลเซียกลับช้ากว่าประเทศอื่นๆ เนื่องจาก mobile wallet เข้ามาในประเทศช้ากว่าและได้รับความสนใจในตลาดไม่เพียงพอในช่วงแรก อย่างไรก็ตาม ในตอนนี้มาเลเซียก็พร้อมสำหรับการวางแผนที่จะเติบโตอย่างรวดเร็วในอีก 5 ปีข้างหน้า ด้วยการกระตุ้นจำนวนผู้ใช้ mobile wallet พร้อมทั้งสร้างระบบที่เอื้อให้เกิดการรองรับการใช้งานเพิ่มขึ้นอีก 3 เท่า และเพิ่มการทำธุรกรรมอีกกว่า 10 เท่า

คาดการณ์แนวโน้มในปี 2025

  • ผู้ใช้ mobile wallet ปี 2020 จำนวน 10.3 ล้านราย เพิ่มเป็น 32.6 ล้านราย
  • การธุรกรรมผ่าน mobile wallet ปี 2020 จำนวน 338 ล้านครั้ง เพิ่มเป็น 3.7 พันล้านครั้ง
  • มูลค่าการทำธุรกรรมผ่าน mobile wallet ปี 2020 มูลค่า 5.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มเป็น 28.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ส่วนแบ่งการตลาดปัจจุบัน

  • GrabPay 38.3%  
  • Touch N Go 36.2%  
  • Boost 22.4%  
  • อื่นๆ 3.1%

Key Takeaway 

• มาเลเซียเป็นตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็วสำหรับการชำระเงินผ่านมือถือ และจะตามประเทศ อื่นๆที่มีการใช้ mobile wallet ไปก่อนได้ทันในอีก 5 ปีข้างหน้า

• ตลาด mobile wallet ในมาเลเซียดำเนินการโดยบริษัทหลักๆ 3 บริษัท ได้แก่ GrabPay และ Touch 'N Go ที่มีส่วนแบ่งการตลาดบริษัทละเกือบ 40% และ Boost ที่กำลังเติบโตและก่อให้เกิดการแข่งขันอย่างดุเดือด ขณะนี้มีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ประมาณ 22%

• GrabPay ถูกมองว่ามีความได้เปรียบในตลาดที่สุดในมาเลเซีย โดยเป็นแอปตัวเดียวที่เป็น Super App คือมี Ecosystem ภายในตัว ด้วยฟีเจอร์การให้บริการที่ครบถ้วน และยังได้รับการยอมรับเพื่อการใช้งานในประเทศมากกว่าคู่แข่ง

Philippines 

ฟิลิปปินส์เป็นตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็ว และยังมีการเติบโตด้านการชำระเงินผ่านมือถือไปพร้อมกัน ซึ่งส่วนใหญ่ดำเนินการโดย 2 บริษัทใหญ่ในประเทศ อย่าง GCash และ PayMaya ที่เกิดจากการชำระเงินผ่านมือถือแบบดั้งเดิม และเจ้าของคือผู้ให้บริการมือถืออย่าง Globe และ Smart และในขณะเดียวกัน Grab ก็กำลังเดินหน้าเพื่อทำลายการผูกขาดนี้ และฟิลิปปินส์พร้อมสำหรับการเติบโตอย่างรวดเร็วของ mobile wallet โดยตั้งเป้าว่าในอีกห้าปีข้างหน้าจะมีการทำธุรกรรมผ่านมือถือเพิ่มขึ้นอีกราว 9 เท่า พร้อมกับอัตราการใช้งานที่จะเพิ่มขึ้นอีก 3 เท่า

คาดการณ์แนวโน้มในปี 2025

  • ผู้ใช้ mobile wallet ปี 2020 จำนวน 24.6 ล้านราย เพิ่มเป็น 75.5 ล้านราย
  • การธุรกรรมผ่าน mobile wallet ปี 2020 จำนวน 972 ล้านครั้ง เพิ่มเป็น 8.99 พันล้านครั้ง
  • มูลค่าการทำธุรกรรมผ่าน mobile wallet ปี 2020 มูลค่า 15 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มเป็น 63.4  พันล้านเหรียญสหรัฐ

ส่วนแบ่งการตลาดปัจจุบัน

  • Gcash 49.4%  
  • PayMaya 41.9%  
  • GrabPay 7.5%  
  • PayPal 0.7%  
  • อื่นๆ 0.4%

Key Takeaway 

• ฟิลิปปินส์คล้ายกับประเทศอื่นๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในแง่ของอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาของระบบชำระเงินผ่านมือถือ

• GCash และ PayMaya ครองตลาดโดยมีส่วนแบ่งตลาดรวมกันกว่า 90% อย่างไรก็ตาม GrabPay ก็กำลังมุ่งที่จะเติบโตอย่างรวดเร็ว พร้อมมอบข้อเสนอที่หลากหลายมากขึ้น

• จากแผนการในอีก 5 ปีข้างหน้าที่มุ่งสร้างการเติบโตของผู้ใช้ mobile wallet เพิ่มอีกกว่า 50 ล้านคน ผู้ให้บริการ mobile wallet จึงมีแนวโน้มที่จะเผชิญกับการแข่งขันที่ท้าทายในการแย่งชิงผู้ใช้รายใหม่ๆ

Singapore

แม้ว่าสิงคโปร์เป็นประเทศขนาดเล็กที่มีประชากรเพียง 5.7 ล้านคน แต่ก็มี spending power ระดับ E-Commerce ในเมืองที่มากพอสมควร และยังเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีแห่งภูมิภาคอีกด้วย ซึ่งสิงคโปร์ตั้งเป้าที่จะเพิ่มอัตราการใช้งาน mobile wallet ถึง 95% ภายในปี 2025 และคาดว่าจะมีการทำธุรกรรมผ่านมือถือเพิ่มขึ้น 11 เท่า ไปพร้อมกับการเร่งเข้าสู่การเป็นประเทศเศรษฐกิจดิจิทัลระดับสูง แม้จะมีประชากรเพียงเล็กน้อย แต่บริการการชำระเงินผ่านมือถือก็เฟื่องฟูด้วยข้อเสนอมากมายจากแอประดับ Super App แห่งภูมิภาค อย่าง Grab, telco wallet (Singtel Dash), wallet ของธนาคาร (DBS payLah!) และยังมีบริการแปลงบัตรโดยสารระหว่างประเทศเป็นดิจิทัลอย่าง EZ-Link

คาดการณ์แนวโน้มในปี 2025

  • ผู้ใช้ mobile wallet ปี 2020 จำนวน 1.8 ล้านราย เพิ่มเป็น 5.8 ล้านราย
  • การธุรกรรมผ่าน mobile wallet ปี 2020 จำนวน 101 ล้านครั้ง เพิ่มเป็น 1.1 พันล้านครั้ง
  • มูลค่าการทำธุรกรรมผ่าน mobile wallet ปี 2020 มูลค่า 1.4พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มเป็น 8พันล้านเหรียญสหรัฐ

ส่วนแบ่งการตลาดปัจจุบัน

  • GrabPay 35.3%  
  • Favepay 23.5%  
  • DBS PayLah! 18.8%  
  • SIngtel Dash 11.8%  
  • อื่นๆ 5.9%  
  • EZ-Link 4.7%

Key Takeaway 

• สิงคโปร์เป็นหนึ่งในประเทศที่ร่ำรวยและมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากที่สุดในโลก จึงมีแอปที่พร้อมสำหรับการแข่งขันในตลาด mobile wallet ในอัตราการเติบโตที่สูงมาก แม้ว่าจะมีประชากรน้อยกว่าหลายๆประเทศ

• GrabPay เป็น mobile wallet ที่ใช้กันมากที่สุดในสิงคโปร์ แต่ผู้บริโภคจำนวนมากเลือกใช้ 2 แอป โดยใช้ GrabPay เพราะมีฟังก์ชันการทำงานที่ยอดเยี่ยม ในขณะที่ใช้ Favepay ไปด้วยเพราะมีโปรโมชั่นรางวัลต่างๆมากกว่า

• สิงคโปร์กำลังก้าวเข้าสู่สังคมไร้เงินสดอย่างรวดเร็ว โดยคาดว่าประชากรราว 95% จะใช้บริการ mobile walletภายในปี 2025 

Thailand 

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในตลาดที่กำลังเติบโตอย่างมั่งคั่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอยู่ในขั้นเริ่มต้นของการใช้บริการชำระเงินผ่านมือถือ ซึ่งใน 5 ปีข้างหน้า คาดว่าจะมีอัตราการใช้งาน mobile wallet เพิ่มขึ้นอีก 3 เท่า และมีการทำธุรกรรมเพิ่มขึ้นกว่า 7 เท่า โดยขณะนี้ มีการดำเนินการใช้ mobile wallet ส่วนใหญ่ผ่าน TrueMoney จากผู้ให้บริการมือถือ True ซึ่งถือส่วนแบ่งการตลาดกว่า 50% และอีกหนึ่งวิธีการชำระเงินที่เพิ่งเข้าสู่ตลาดและกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว คือบริการการชำระเงินแบบ real-time ผ่าน PromptPay ซึ่งมอบตัวเลือกการชำระเงินทั้งแบบ standalone และแบบการเติมเงินทันทีสำหรับ mobile wallet

คาดการณ์แนวโน้มในปี 2025

  • ผู้ใช้ mobile wallet ปี 2020 จำนวน 15 ล้านราย เพิ่มเป็น 45.3 ล้านราย
  • การธุรกรรมผ่าน mobile wallet ปี 2020 จำนวน 492 ล้านครั้ง เพิ่มเป็น 3.7 พันล้านครั้ง
  • มูลค่าการทำธุรกรรมผ่าน mobile wallet ปี 2020 มูลค่า 10.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มเป็น 36.7พันล้านเหรียญสหรัฐ

ส่วนแบ่งการตลาดปัจจุบัน

  • TrueMoney 52.6%  
  • RabbitLINE Pay 24.7%  
  • อื่นๆ 8.1%  
  • AirPay 5.7%  
  • mPay 4.9%  
  • GrabPay 4.0%

**ข้อมูลข้างต้นเป็นการรวบรวมของปี 2020 ซึ่งในประเทศไทย AirPay ได้มีการรีแบรนด์เป็น ShopeePay เมื่อเดือนมีนาคม 2564 ที่ผ่านมา 

Key Takeaway 

• ประเทศไทยเป็นอีกหนึ่งตลาดการชำระเงินผ่านมือถือที่เติบโตอย่างรวดเร็วในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (คาดว่าจะเติบโตประมาณ 3 เท่าในอีก 5 ปีข้างหน้า) และมีกำลังซื้อมากกว่าหลายประเทศ

• PromptPay (พร้อมเพย์) คือตัวเลือกใหม่ในการชำระเงินแบบ real-time โดยมีแนวโน้มว่าจะช่วยเพิ่มปริมาณการใช้ mobile wallet ในประเทศ เนื่องจากจะทำให้การเติมเงินในบัญชีรวดเร็วและง่ายขึ้นสำหรับผู้ใช้

Vietnam

ประเทศเวียดนามคล้ายคลึงกับประเทศอื่นๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เตรียมพร้อมสำหรับการเติบโตของการชำระเงินผ่านมือถือ โดยการเติบโตของธุรกรรม mobile wallet ในเวียดนามในอีก 5 ปี คาดว่าจะเพิ่มขึ้นกว่า 7 เท่า และคาดว่าอัตราการใช้งานและมูลค่าธุรกรรมจะเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่า ซึ่งการดำเนินการให้บริการ mobile wallet ส่วนใหญ่เป็นของ Momo (Mobile Money) วอลเล็ตที่โดดเด่นในตลาด ด้วยส่วนแบ่งการตลาดมากกว่า 50% และเงินร่วมลงทุนจำนวน 230 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดย Momo มีฟังก์ชันการทำงานที่เหนือกว่าคู่แข่งและยังมีแนวโน้มที่จะพัฒนาต่อเป็น Super App จากการรวบรวมเงินทุนครั้งล่าสุด 

คาดการณ์แนวโน้มในปี 2025

  • ผู้ใช้ mobile wallet ปี 2020 จำนวน 19.2 ล้านราย เพิ่มเป็น 57 ล้านราย
  • การธุรกรรมผ่าน mobile wallet ปี 2020 จำนวน 674 ล้านครั้ง เพิ่มเป็น 5 พันล้านครั้ง
  • มูลค่าการทำธุรกรรมผ่าน mobile wallet ปี 2020 มูลค่า 14 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มเป็น 48.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ส่วนแบ่งการตลาดปัจจุบัน

  • Momo 53.0%  
  • ViettelPay 25.2%  
  • AirPay 10.6%  
  • ZaloPay 5.3%  
  • อื่นๆ 4.0%  
  • GrabPay 2.0%

Key Takeaway

• ประเทศเวียดนามมีตลาดการชำระเงินผ่านมือถือที่กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 3 เท่าในทุกตัวชี้วัดหลัก

• เนื่องจากประเทศมีอัตราการใช้สมาร์ทโฟนที่สูง เวียดนามจึงมีโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลและการใช้งานการชำระเงินผ่านมือถือที่เติบโตได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ตลาดนี้พร้อมสำหรับการเติบโตของ E-Commerce

• Momo กลายเป็นบริษัทให้บริการ mobile wallet ที่โดดเด่น แต่ก็มีคู่แข่งที่กำลังเติบโต อย่าง Viettel ผู้ประกอบการจึงต้องประเมินเรื่องความยอมรับในการใช้งาน mobile wallet ของผู้ใช้เพื่อการแข่งขันในอนาคต




ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

จากเทคโนโลยี AI สู่ IA เพื่อมนุษย์ ในมุมมองของ “Pattie Maes”

เทคโนโลยีจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ และพัฒนาชีวิตได้อย่างไร? มาดูแนวคิดในการออกแบบและทดสอบอุปกรณ์ที่ช่วยให้มนุษย์สามารถเรียนรู้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไปกับคุณ Pattie Maes นักวิจ...

Responsive image

สนามบินคันไซ 30 ปีไม่เคยทำสัมภาระผู้โดยสารสูญหาย ตั้งแต่เปิดให้บริการตั้งแต่ 1994 จนปัจจุบัน

30 ปีไม่มีพลาด สนามบินนานาชาติคันไซของญี่ปุ่นรักษาสถิติ ‘ไม่เคยทำสัมภาระผู้โดยสารสูญหาย’ เลยสักครั้ง นับตั้งแต่เปิดให้บริการในปี 1994 จวบจนปัจจุบัน...

Responsive image

DeFi เกิดมาเพื่อทำลายระบบธนาคารจริงหรือไม่

เก็บตกประเด็นน่าสนใจจากงานเสวนาในหัวข้อ he Rise of Decentralized Finance (DeFi): Disruption or Distraction? จาก Money 20/20 Asia...