ถอดบทเรียนจากองค์กรใหญ่สู่ Startup กับ “คุณผรินทร์ สงฆ์ประชา” CEO Nasket | Techsauce

ถอดบทเรียนจากองค์กรใหญ่สู่ Startup กับ “คุณผรินทร์ สงฆ์ประชา” CEO Nasket

หากจะให้นึกถึงผู้ประกอบการ Startup ที่ผันตัวจากการทำงานในบริษัทเอกชนใหญ่ๆ และประสบความสำเร็จอยู่ในเวลานี้ คงเป็นใครไปไม่ได้นอกจาก คุณผรินทร์ สงฆ์ประชา CEO และ Co-Founder บริษัท Nasket Retail ที่สร้างอุปกรณ์ที่ชื่อว่า Nasket ขึ้นมาเพื่อรวมแบรนด์ค้าปลีกและโปรโมชันไว้ในที่เดียว ผู้บริโภคสามารถเลือกสินค้าและโปรโมชันจากทุกแบรนด์ที่เข้าร่วมเป็นพันธมิตรได้อย่างง่ายดาย

ซึ่งความสำเร็จเห็นได้จาก Nasket สามารถเข้าไปร่วมมือกับบริษัทอสังหาริมทรัพย์ในการนำอุปกรณ์ของ Nasket เข้าไปติดตั้งในโครงการได้ โดยในปีที่แลวคุณผรินทร์ก็ได้ให้สัมภาษณ์กับทาง Techsauce และมาออกบูธกับงาน Techsauce Global Summit 2017 อีกด้วย

แต่กว่าจะได้เปิดตัว Nasket ในช่วงกลางปี 2560 เขาต้องเตรียมตัวเรื่องอะไรบ้าง เจอกับอะไรมาบ้าง และมีคำแนะนำที่อยากจะฝากถึงคนที่จะทำ Startup และนี่คือบทสัมภาษณ์ของที่คนทำ Startup กำลังจะทำ Startup  หรือไม่ได้ทำ Startup จะพลาดไม่ได้เป็นอันขาด!

จุดเปลี่ยนที่หันมาทำ Startup

คุณผรินทร์เริ่มเล่าจุดถึงเปลี่ยนของการเริ่มมาทำ Startup อย่าง Nasket ของตัวเอง ก็เป็นเพราะว่าเห็นว่าโอกาสทางธุรกิจเปิดกว้างขึ้น เราสามารถทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีได้มากกว่ายุคก่อน รวมถึงมีเรื่องของ Funding เรื่องของกระแสบริษัทใหญ่ๆ ต้องการ่วมทำธุรกิจร่วมกับ Startup มากขึ้น

“เราเห็นว่ามีบางสิ่งที่เราสามารถทำคนเดียวได้อยู่ จึงออกมาทำ” คุณผรินทร์กล่าว

คุณผรินทร์เล่าต่อว่าโดยส่วนตัวไม่ได้กลัวเรื่องของความเสี่ยง หรือ Comfort Zone มากนัก เพราะเป็นคนที่ชอบเริ่มทำอะไรใหม่ๆ อยู่แล้ว

คุณผรินทร์ได้เล่าถึงประสบการณ์ตอนที่เคยทำงานกับบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งดูแล 7-Eleven ก็ขอบริษัททำในด้าน E-Commerce และในตอนอยู่ที่ DHL ซึ่งเป็นบริษัทเกี่ยวกับ Logistics ก็ขอไปทำในส่วน E-Commerce ให้บริษัท ซึ่งก็ถือว่าเป็นเรื่องใหม่

เวลาเริ่มทำอะไรใหม่ๆ ทั้งของตัวเองหรือองค์กร มันมีความท้าทายคล้ายๆกันว่า จะทำอย่างไรให้สำเร็จ

3 เรื่องยากสุดหินเมื่อลงสนาม

คุณผรินทร์เล่าว่า อะไรที่มันใหม่ มันยากทุกเรื่อง แต่เรื่องที่ยากที่สุดในมุมของคุณผรินทร์จะมีอยู่ด้วยกัน 3 เรื่อง ได้แก่

 1. เรื่องที่เราต้องหาเงินและบริหารจัดการเงิน ที่จะมาตั้งต้นธุรกิจเอง

การหาเงิน-บริหารเงินจะต่างจากการที่เราทำในบริษัท เพราะเราทำในบริษัทคือแค่ไป Pitch ขอระดมทุน และจะมีงบประมาณมาให้ โดยงบประมาณนั้นก็ไม่ได้เกี่ยวกับเงินเดือนของเรา ทำได้ไม่ได้เราก็ยังได้เงินเดือน แต่หากทำ Startup ถ้าไม่ได้เงิน เราก็ไม่ได้เงินเดือน ส่วนอื่นๆ เช่นทางบ้านก็จะเดือดร้อนไปด้วย

2. การหาองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่เราต้องนำมาใช้ในการทำสิ่งใหม่ๆ

การที่เราเป็นบริษัทเล็กๆ ที่เปิดใหม่ มันไม่ได้มีชื่อเสียงเหมือนบริษัทใหญ่ที่เราทำงาน อย่างบริษัทที่ใหญ่ที่เปิดมานานแล้ว ก็ยังสามารถหาพาร์ทเนอร์ได้ง่าย

คุณผรินทร์ยกตัวอย่างบริษัทตัวเองคือ Nasket เป็นฮาร์ดแวร์ ในช่วงแรกของการทำ Startup คุณผรินทร์ยอมรับว่าก็ไม่ได้มีความรู้เรื่องฮาร์ดแวร์ จำเป็นต้องไปคุยกับบริษัทต่างๆ ก่อน ไปขอเขาดูการหาองค์ความรู้ เป็นต้น ต่างจากการทำงานในบริษัทใหญ่ๆ ที่เราสามารถเรียก Vendor มา Pitch ได้ แต่พอเป็นบริษัทของเราเอง โดยเฉพาะเป็นบริษัทที่ตั้งใหม่ด้วย ไปเรียกมาก็ไม่มีใครเขามา

3. การหาคนเข้ามาทำงานด้วย

เนื่องจากพนักงานเขาต้องการหาความมั่นคง ทั้งสามเรื่องนี้คุณผรินทร์มองว่าเป็นเรื่องที่ยากสำหรับการตั้งบริษัทใหม่

Growth Hack สไตล์คุณผรินทร์: ทำงานร่วมกับบริษัทใหญ่เพื่อเก็บไว้ใน Portfolio

เรายอมทำงานยากกับบริษัทใหญ่ตั้งแต่แรก เพื่อต้องการ Reference ที่ดี นี่คือ Growth Hack ของเรา

คุณผรินทร์กล่าวว่า Growth Hack ของเขาคือการมุ่งทำงานกับบริษัทใหญ่ที่มีชื่อเสียงก่อน โดยยอมแลกกับความยากลำบากในการทำงานกับบริษัทใหญ่ โดยเวลาเปิดบริษัทใหม่และไปหาลูกค้า ถ้าคุยกับลูกค้ารายเล็กก่อนก็จะง่าย แต่ถ้าคุยกับบริษัทใหญ่ๆ ก็จะมีความยุ่งยากมากกว่าบริษัทเล็ก

คุณผรินทร์มองว่าการทำงานร่วมกับบริษัทใหญ่จะกลายเป็น Portfolio และ Reference ที่ดีมากสำหรับเราในอนาคต เมื่อเวลาเราไปขายของกับบริษัทอื่นๆ ก็จะได้ขายได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

คำแนะนำสำหรับคนที่ทำงานบริษัทใหญ่ แต่อยากกระโดดมาทำ Startup

คุณผรินทร์: การเริ่มธุรกิจของตัวเอง โดยการค่อยๆ เริ่มออกมาทำ หรือใช้เวลาวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ ยกตัวอย่างคนที่วันหยุดลองมาปิ้งหมูขายที่จตุจักร ตอนแรกขายไม่ได้ก็ลองปรับปรุงสูตรไปเรื่อยๆ ลองหาทำเลที่ตั้ง ให้เอาเวลาว่างมาทำ จนกระทั่งเวลามันนิ่ง ฐานรายได้มันนิ่งแล้วค่อยลาออก

แต่ถ้า Startup เอาวิธีนี้มาใช้ จะพบว่างานไม่มีความคืบหน้าเลย

เราพบเห็น Startup หลายรายมากที่มีเงิน มีไอเดีย แต่ไม่มีเวลา ก็เลยเอาเงินและไอเดียนั้นโยนให้คนอื่นทำโดยที่ตัวเองก็มารอติดตามความคืบหน้าอย่างเดียว วิธีการเริ่ม Startup แบบนี้มันทำให้งานไม่มีความคืบหน้า

ดังนั้นคำแนะนำสำหรับ Startup มันไม่เหมือนคำแนะนำสำหรับการเริ่มธุรกิจของตัวเอง

ถ้าเป็นคำแนะนำสำหรับ Startup คุณผรินทร์แนะนำว่า ถ้าเป็นคนที่เคยมีประสบการณ์ในบริษัทมาแล้วในระดับหนึ่ง มีต้นทุนในบริษัทสูง มีรายได้สูง มีชื่อเสียงแล้ว จะต้องหาว่าความถนัดของเขาสามารถนำเทคโนโลยีไปต่อยอดเพื่อแก้ปัญหากับคนในวงกว้างได้ไหม

คุณผรินทร์ยกตัวอย่างตัวเองว่ามีความถนัด 2 ด้านคือ ด้าน E-Commerce และ Logistics เรารู้ว่ามีคนต้องการสิ่งนี้และสิ่งเหล่านี้มันสามารถนำเทคโนโลยีมาแก้ได้ นำเทคโนโลยีมาส่งความสามารถหรือความถนัดของเราไปแก้ปัญหาลูกค้า เราเอาความรู้ของเรามาพัฒนาผลิตภัณฑ์ตัวหนึ่ง และผลิตภัณฑ์ตัวนี้ถึงมีคนใช้

“ดังนั้นความสามารถที่พี่มีต้องสามารถไปทำงานบนแพลตฟอร์มเทคโนโลยีได้ด้วย สามารถไปสร้างคุณค่าแบบ Startup ได้” คุณผรินทร์กล่าว

สรุป คือ

  1. เราต้องรู้ว่า Domain Expertise (สายงานหรือความรู้ที่เชี่ยวชาญ) ที่เรามีสามารถนำเทคโนโลยีต่างๆ เข้าไปแก้ปัญหานั้นได้หรือไม่
  2. ต้องปลดหนี้ ต้องไม่มีหนี้ก้อนใหญ่ๆ ต้องรีบลดภาระทางการเงินให้น้อยที่สุดหรือไม่มีเลย ถ้ามีภาระทางการเงิน ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ถ้าผ่อนแล้วเกินความสามารถของเงินเก็บในระยะเวลา 2 ปี แปลว่าคุณไม่ควรออกมาทำ Startup แต่หากมีเงินเก็บก็ไม่เป็นไร หากเงินเก็บที่มีสามารถครอบคลุมภาระนั้นได้ 2 ปี อันนี้ไม่มีปัญหา
  3. สร้าง Network และ Connection ให้พร้อม ในระยะเวลา 6 เดือนก่อนคุณออกจากงานควรสร้าง Network ให้พร้อม เช่นเริ่มโทรไปแนะนำตัวกับผู้คนให้มากๆ เพราะถ้าออกมาจากบริษัทแล้ว คุณต้องใช้ Connection พวกนั้นในการทำ Startup

คิดว่า Mindset ไหนที่สำคัญสำหรับการทำธุรกิจในวงการนี้? มีวิธีถ่ายทอดให้คนในทีมอย่างไรบ้าง?

คุณผรินทร์มองว่า สำหรับคนที่มาลงมาเป็นผู้ประกอบการ Startup ต้องชอบความท้าทายและความเสี่ยง ประเภท “High risk, high return”

ซึ่งคนในทีมไม่จำเป็นต้องมี Mindset แบบเจ้าของ แต่สิ่งที่ต้องมีเหมือนกันคือ Spirit และ Passion ในการทำงาน  โดยระบุขั้นตอนการสร้าง Mindset ของการทำ Startup ไว้ คือ

  1. ต้องรู้ก่อนว่า Passion ขององค์กรเรามีหน้าตาเป็นแบบไหน เช่น Nasket เราบอกว่าเราจะทำงานเต็มที่เพื่อให้ลูกค้าพอใจสูงสุด ถ้าเราเถียงกัน เราจะตัดสินโดยดูว่าลูกค้าได้ประโยชน์จากการความลำบากแบบไหนมากสุด
  2. ส่ง Passion จากข้อ 1 ไปให้น้องในทีมรู้ด้วยการ Orientation (ปฐมนิเทศ) ก่อน เพื่อบอกให้รู้ว่าองค์กรเราทำสิ่งต่าง ๆ เพื่ออะไร
  3. จะย้ำคิดย้ำทำเข้าไปในทุกสิ่งที่ทำ ยกตัวอย่างเช่น ตอนประชุม ก็จะมีคำถามตลอดว่าสิ่งนี้ลูกค้าง่ายเหรอ

สรุป คือ ทำให้เห็นภาพอย่างชัดเจนก่อน จากนั้นก็เล่าและย้ำบ่อยๆ ย้ำให้เห็นผ่านการทำงาน

เมื่อใช้ Social Media โปรโมท Startup ตัวคุณและแบรนด์ต้องไปในทางเดียวกัน

เชื่อว่าหลายๆ คนคงผ่านตาและเห็นว่า Facebook ส่วนตัวของคุณผรินทร์ที่มีผู้ติดตามมากกว่า 20,000 คน ซึ่งสื่อสารความรู้และแนวคิดที่น่าสนใจหลายๆ อย่างที่น่าติดตาม เรียนรู้ และนำมาคิด-วิเคราะห์ต่อ

Techsauce จึงถามว่า “ใน Social Media ของคุณผรินทร์มีคนติดตามอยู่เป็นจำนวนมาก ได้นำสิ่งนี้มาใช้ประโยชน์ในการทำ Startup อย่างไรบ้าง? และมีคำแนะนำสำหรับคนที่อยากออกมาทำ Startup ไหมว่าจะใช้ Social Media ให้เกิดประโยชน์อย่างไรบ้าง?”

คุณผรินทร์ตอบกลับอย่างรวดเร็วเลยว่า ใช้ประโยชน์อย่างมากในช่วงแรก เพราะในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาไม่มีใครรู้จัก Nasket เลย แต่ตัวคุณผรินทร์มีคนรู้จักมาก่อนแล้ว

ดังนั้นสิ่งที่คุณผรินทร์ใช้จะเป็นไปในลักษณะของการสื่อสารแนวคิดของแบรนด์ ออกมาผ่านแนวคิดของบทความ เช่น เราจะทำสิ่งนี้ออกมา แต่ยังไม่บอกว่ามันคืออะไร บริการนี้มีแนวคิดเพื่อคนที่อาศัยอยู่คอนโดฯ สื่อสารแนวคิดของแบรนด์ออกมา เพื่อให้คนที่ติดตามเรารู้ว่ามันคืออะไร พอตอนที่ Nasket ออกสู่ตลาด คนก็จะเริ่มรู้ว่าที่พูดมาตลอด 2 ปี ในออนไลน์สู่ออฟไลน์มันคือสิ่งนี้

แนะนำอย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการ เพราะตอนที่คุณทำแรกๆ ไม่มีใครรู้จักแน่ๆ เขาจะหาความน่าเชื่อถือได้จากกิจการคุณ ส่วนคำแนะนำอีกอันที่คุณผรินทร์แนะนำเมื่อเวลาใช้ Social Media โปรโมท Startup ตัวเอง นั่นคือ “แบรนด์ต้องสอดคล้องกัน และต้องรักษาชื่อเสียงของตัวเองไว้”

คุณผรินทร์ระบุว่าเพราะชื่อเสียงของแบรนด์จะถูกดันด้วยตัวคุณเอง คนที่ไม่ใช้ Social ก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าหากจะใช้ตัวคุณและแบรนด์ต้องไปในทางเดียวกัน

“ยกตัวอย่างที่ไม่ควรทำนะ เช่น ตัวเองทำ Startup รับทำบุญ-บริจาค ช่วยหมา ช่วยแมว แต่ Facebook ของเจ้าของกิจการมีพฤติกรรมที่เป็นด้านลบ แบบนี้ไม่ใช่แล้ว ช่วงที่คุณยังไม่ดัง ภาพลักษณ์ต้องไปทางเดียวกันกับแบรนด์” คุณผรินทร์กล่าวปิดท้าย

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...