"Non-UI ยุคต่อไปของอีคอมเมิร์ซ" แชร์วิสัยทัศน์โดยคุณอ๋อง ผรินทร์ จาก Nasket ร่วมกับคุณทร จาก BentoWeb | Techsauce

"Non-UI ยุคต่อไปของอีคอมเมิร์ซ" แชร์วิสัยทัศน์โดยคุณอ๋อง ผรินทร์ จาก Nasket ร่วมกับคุณทร จาก BentoWeb

"ไขความลับ E-commerce โลกใหม่ที่ไม่ได้จำกัดแค่การคลิกเม้าส์" นี่คือชื่อหัวข้อของงาน Meetup ของ Discovery HUBBA ที่ผู้เขียนมีโอกาสได้เข้าร่วมเมื่อวันพฤหัสที่ 23 มีนาคมที่ผ่านมา Speakers ทั้งสองท่านเป็นที่รู้จักกันดีในสาย E-commerce ท่านแรกคือคุณอ๋อง ผรินทร์ สงฆ์ประชา จาก Nasket และท่านที่สองคือคุณทร ณัฐเศษ ศิรินันท์ธนานนท์ จาก BentoWeb

บทความนี้เป็นการสรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับ E-commerce ยุคใหม่ ที่บอกว่าไม่จำกัดแค่การคลิกเม้าส์ คำๆ นี้ มีความหมายว่าอย่างไรกัน?

ก่อนอื่นเรามาลองดูโลกของ E-commerce ในฝั่งที่ต้องคลิกเมาส์กันหน่อยดีกว่า

เว็บคลิก "Add to Cart" กับความท้าทายที่เจอ

ทุกวันนี้มีธุรกิจไม่น้อยที่ตระหนักถึงความาสำคัญของ E-commerce และความสำคัญของช่องทางออนไลน์ต่างๆ หลายๆ รายมีการลงทุนกับการสร้างเว็บไซต์ E-commerce หวังว่าจะมียอดลูกค้าจากทางออนไลน์หลั่งไหลเข้ามา

แต่ก็มีหลายธุรกิจที่พบว่าผลลัพธ์ไม่ได้ดีอย่างที่คาดฝัน นั่นเป็นเพราะ..มันมีหลายปัจจัยมากที่จะขายของบนเว็บไซต์ให้ประสบความสำเร็จ

ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยภายใน อย่างการออกแบบเว็บไซต์ให้มี User Interface และ User Experience ที่ดี ให้คนใช้ง่าย ไม่สับสน หน้าเว็บสั่งซื้อของถ้าใช้ยากหรือไม่โดนใจ ผลจะกลายเป็นว่าคนจะหนีการใช้งาน ไปใช้แชทบนโซเชียลในการซื้อของแทน

หรือถ้าเว็บดีก็ยังมีอีกเรื่องคือปัจจัยภายนอก ปัจจุบันมีผู้เล่น E-commerce อยู่มากมาย Marketplace รายใหญ่กลายเป็นผู้ครองตลาดไป และนับวันจำนวนคนขายของในนั้นก็มากขึ้นเรื่อยๆ

แนะนำบทความ

surrounded by ecommmerce giants what we can adapt

SMEs/Startups ควรปรับตัวอย่างไรในวันที่ E-commerce มีแต่ยักษ์รายใหญ่ปกครอง

Non-UI คืออะไร

UI หมายถึง หน้าตาของจอที่ผ่านการออกแบบมาเพื่อให้ใช้งานฟังก์ชันบางอย่างได้ สำหรับโลก E-commerce นั้น แต่ละเว็บอาจมี UI แตกต่างกันบ้าง แต่แนวคิดหลักๆ ยังเหมือนกันนั่นก็คือประกอบไปด้วย ชื่อสินค้า คำบรรยาย รูปภาพ และ ปุ่มกดสั่งซื้อ และเมื่อคลิกแล้วก็จะเข้าสู่กระบวนการสั่งซื้อต่างๆ

ecommerce ui kit elements

UI Kit ต่างๆ ของเว็บ E-commerce ตัวอย่างจาก ui8.net

ในขณะที่ Non-UI หมายถึง การไม่ต้องให้ User ทำงานผ่านฟังก์ชันบนหน้าจอ หรือกล่าวอีกอย่างคือ ไม่ต้องคลิก ซึ่งในวันนี้วิทยากรทั้งสองก็ได้มายกตัวอย่าง Non-UI ที่แต่ละท่านทำกันอยู่

non-ui nasket bentoweb2

Chatbot

สำหรับคุณทร ได้มาเล่าถึงการพัฒนา Chatbot ซึ่งเป็นบริการเสริมสำหรับลูกค้า BentoWeb

แทนที่จะเป็นการ Browse เว็บไซต์เลือกหาสินค้า แต่แชทบอทจะนำเสนอประสบการณ์ซื้อขายแบบบทสนทนาแทน ซึ่งเป็นการพิมพ์พูดคุยถามตอบ มากกว่าการคลิกเมาส์ใช้งาน UI ต่างๆ

pojimoji mall ss

Voice Command

นวัตกรรมการสั่งงานด้วยเสียงอย่าง Google Home และ Amazon Alexa เป็นอีกตัวอย่างของ Non-UI โดยคราวนี้ไม่ต้องให้ User ใช้งานหน้าจอใดๆ แต่เป็นการสั่งงานด้วยเสียงแทน ในวันนั้นคุณอ๋องได้นำ Amazon Alexa มาด้วย และได้สาธิตการใช้งานให้ทุกคนดู

สำหรับผู้ที่ต้องการดูสาธิตการใช้งาน ก่อนหน้านี้เราเคยได้เขียนถึงความสามารถของ Amazon Alexa กับการเป็นเดิมพันใหม่ของ Amazon เอาไว้แล้ว สามารถติดตามได้ที่บทความนี้

voice command

Internet of Things ต่างๆ

นอกจากฮาร์ดแวร์สาย Voice command แล้ว ยังมีกรณีศึกษาต่างๆ ของการนำ Internet of Things แบบต่างๆ มาใช้กับ E-commerce

ตัวอย่างเช่น Amazon Dash ปุ่มกะทัดรัดที่คุณสามารถสั่งของได้เพียงแค่การกดปุ่มหนึ่งที เหมาะมากกับการนำมาใช้กับการสั่งซื้อของอุปโภคบริโภคที่ใช้ประจำภายในบ้าน เพียงแค่ตั้งค่าครั้งแรก หลังจากนั้นก็คลิกเดียวเพื่อการสั่งของในยามที่เราต้องการ

DashButtonCover

ภาพจาก dashbuttondudes.com

นอกจากนี้คุณอ๋องยังได้นำเสนออุปกรณ์สายรัดข้อมือ ที่สามารถตรวจจับการเคลื่อนไหวของร่างกาย และส่งค่าคำสั่งต่างๆ ตามที่เซ็ตไว้ไปให้กับระบบ

Use case กับ E-commerce อาจจะยังไม่มีชัดเจน แต่ในอนาคตเมื่ออุปกรณ์เหล่านี้ตรวจจับการเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น สั่งงานได้ดีขึ้น ก็จะสามารถนำมันมาใช้กับกิจวัตรต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้

ทำไมเราถึงมาพูดกันเรื่อง Internet of Things? โดยส่วนตัวคุณอ๋องเชื่อว่า ในโลกของหน้าจอ นับวันจะมีแต่สิ่งต่างๆ พยายามเข้ามาแย่งความสนใจ เขาจึงต้องการหลุดออกจากโลกหน้าจอ ขยับเข้ามาเป็นสิ่งของจับต้องได้ ซึ่งอยู่ใกล้ชิดกับผู้บริโภคโดยตรงมากยิ่งขึ้น

gestured-based command

Internet of Everything

the third wave

แนวคิดที่ว่าต่อไป Internet of Things จะเข้ามามีบทบาท ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงโลกของ E-commerce เท่านั้น

หนึ่งในหนังสือชื่อดัง "The Third Wave: An Entrepreneur's Vision to the Future" ได้เล่าถึงคลื่นสามลูกที่เกิดจากเทคโนโลยี คลื่นลูกแรกคือความรุ่งเรืองของบริษัทสาย Infrastructure ที่วางระบบเครือข่ายต่างๆ ให้ทั่วโลกต่อเชื่อมกัน ยุคที่สองคือหลังจากที่เครือข่ายต่างๆ สมบูรณ์แล้ว ก็เป็นจุดจุติของบริษัทผู้ให้บริการแอปพลิเคชันต่างๆ

โลกของแอปพลิเคชันมีการเติบโตเร็วมาตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา มีบริษัทซอฟแวร์ระดับโลกมากมายที่เกิดในช่วงนี้ และมีผู้เล่นต่างๆ มากราย Steve Case มองว่า ตั้งแต่ปี 2016 ถัดไป เราจะเข้าสู่ยุคของคลื่นลูกที่สาม คือ Internet of Everything เป็นแนวคิดเรื่องเน้นการ Connect ส่วนต่างๆ เข้าหากัน เชื่อมต่อกับผู้คนมากขึ้น และจะมีการทำพาร์ทเนอร์ชิปต่างๆ เพิ่มมากขึ้น

 

และทั้งหมดนี้ก็เป็นบทวิเคราะห์ที่น่าสนใจถึงเทรนด์ของ Non-UI ที่ได้รับจากวิทยากรทั้งสอง หวังว่าผู้อ่านจะได้รับไอเดียและพร้อมคิดสร้างสรรค์ สร้างการต่อยอดต่างๆ ต่อไป

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ญี่ปุ่นส่ง AI สุดล้ำ ปฏิวัติวงการแพทย์ แก้วิกฤตขาดแคลนหมอในไทย

ในยุคที่เทคโนโลยีก้าวล้ำไปไกล แต่ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ยังคงเป็นความท้าทายสำคัญของประเทศไทย ล่าสุด สตาร์ทอัพชั้นนำจากญี่ปุ่นได้นำเทคโนโลยี AI มาช่วยแก้ปัญหานี้ สร้างความ...

Responsive image

Gartner เผย! 10 เทรนด์เทคโนโลยี 2025 ที่ผู้นำต้องปรับตัวรับตามให้ทัน

โลกเทคโนโลยีก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว องค์กรธุรกิจและผู้นำด้านไอทีจึงต้องปรับตัวให้ทัน Gartner บริษัทที่ปรึกษาชั้นนำระดับโลก ได้เผย 10 เทรนด์เทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์ (Strategic Technology T...

Responsive image

เจาะลึกอนาคต Data Center - Cloud Service ไทย อัพเดท ปี 2024 Big Tech ลงทุนในไทยแล้วกี่เจ้า ?

บทความนี้จะพาไปเจาะลึกบริษัทที่เข้ามาลงทุนในไทย พร้อมศักยภาพ แนวโน้ม และโอกาสในการลงทุน Data Center และ Cloud Service ในประเทศไทย ที่กำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดด พร้อมต่อยอดให้ไทยกลา...