Game On! Garena World 2019: Unlock Your Passion มหกรรมเกมสร้าง ‘Passion’ ที่ต่อยอดการเติบโต ของธุรกิจในอนาคต"

Game On! Garena World 2019: Unlock Your Passion มหกรรมเกมสร้าง ‘Passion’ ที่ต่อยอดการเติบโต ของธุรกิจในอนาคต"

eSports จะก้าวขึ้นมาเป็นเหมือนฟุตบอลแห่งโลกอนาคต?

เหมือนกับที่แมตท์การแข่งขันฟุตบอลนัดสำคัญได้สร้างความบันเทิงให้กับกลุ่มผู้ชมมหาศาลทั่วโลกมาหลายยุคหลายสมัยจนถึงปัจจุบัน และเป็นมากกว่าเกมกีฬาด้วยการเป็นอุตสาหกรรมที่ก่อเม็ดเงินมหาศาล ในโลกอนาคต ความเป็นดิจิทัลที่ได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้คนไปอย่างสิ้นเชิงได้สร้างรากฐานที่มั่นคงให้กับการเกิดขึ้นของกีฬาน้องใหม่อย่าง eSports ปัจจัยเกื้อหนุนหลายด้านที่ทำให้หลายคนพูดว่า eSports อาจเติบโตขึ้นได้รับความนิยมจากผู้คนในวงกว้างมากเหมือนๆ กับกีฬายอดนิยมอย่างบาสเก็ตบอลหรือฟุตบอล ขณะที่การยอมรับที่มีต่อการแข่งขัน eSports กำลังเปิดกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ ในระดับสากล Ecosystem ของ eSports ทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการแข่งขันโดยตรง และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องก็มีทิศทางของการขยายพัฒนาได้อย่างน่าสนใจเช่นกัน

เมื่อการแข่งเกมในรั้วมหาลัย กลายมาเป็นเกมกีฬาที่เต็มไปด้วย Passion และธุรกิจมูลค่าหลายพันล้าน

จุดเริ่มต้นและการเติบโตของการแข่งขันวิดีโอเกมนั้นอิงอยู่กับความเปลี่ยนแปลงทางยุคสมัยค่อนข้างมาก การจัดการแข่งขันวิดีโอเกมอย่างเป็นทางการถูกบันทึกไว้ในปี 1972 ที่มหาวิทยาลัย Stanford ซึ่งเป็นการแข่งขันภายในรั้วมหาลัย ต่อมาพัฒนาการด้านเทคโนโลยีก็ทำให้วงการการแข่งขันวิดีโอเกมสามารถต่อยอดไปได้ไกลขึ้นอย่างก้าวกระโดด การเกิดขึ้นของ Internet ที่ไม่เพียงแต่พลิกแทบทุกมุมชีวิตของผู้คน แต่ได้ปรับเปลี่ยนพัฒนารูปแบบการแข่งขันวิดีโอเกมและส่งให้เกิดความนิยมที่กระเพื่อมเป็นวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ จนมาถึงปัจจุบันที่มี Community ของทั้งตัวผู้เล่นและกลุ่มแฟนอย่างหนาแน่นแข็งแรง eSports กลายเป็นหนึ่งในเกมการแข่งขันที่ถูกบรรจุเป็นหนึ่งใน ‘กีฬา’ ที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างในประเทศไทยเอง การกีฬาแห่งประเทศไทยเองก็รับรองให้ eSports เป็นกีฬาชนิดหนึ่ง รวมถึงการที่ eSports จะเป็นส่วนหนึ่งในการแข่งขันกีฬา ซีเกมส์ ในปี 2019 และอาจจะถูกบรรจุในเอเชียนเกมส์ ในปี 2022 อีกด้วย ความพิเศษอย่างหนึ่งของ eSports คือหากเราเปรียบเทียบกับกีฬาชนิดอื่นๆ เงื่อนไขด้านเพศ อายุ จะเป็นปัจจัยสำคัญในการแข่งขัน แต่กับ eSports นั้นได้ก้าวข้ามข้อจำกัดเหล่านี้ คุณสมบัติของนักกีฬาขึ้นอยู่กับทักษะความสามารถ ทำให้เกิดการเปิดกว้างสำหรับผู้เข้าแข่งขัน มีแนวโน้มที่จะได้รับการมีส่วนร่วมจากกลุ่มคนที่หลากหลายมากขึ้นทั้งในส่วนของนักกีฬาและกลุ่มผู้ชม นอกจากแง่มุมของการเป็นกีฬาอย่างเป็นทางการ การเติบโตของ eSports ในทางตัวเลขเองก็มีอัตราการเติบโตขึ้นอย่างมหาศาล Newzoo บริษัทที่เป็นผู้นำในแง่ของการสำรวจตลาด eSports คาดการณ์ว่าอัตราการเติบโตของรายได้ของวงการ eSports นั้นจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยอยู่ที่ราว 29% ในช่วงปี 2017–2020 ตามการประเมินนี้จะทำให้ตลาดของวงการ eSports มีมูลค่า 1.48 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2022  Newzoo ยังคาดการณ์อีกว่าอัตราการเติบโตของผู้ชม eSports จะเพิ่มขึ้นราว 15% ในช่วงปี 2017-2020 ตัวเลขที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของรายได้ และจำนวนผู้ชมที่สนใจทำให้ eSports เป็นกีฬาที่มีศักยภาพเชิงอุตสาหกรรมเศรษฐกิจอย่างมหาศาล

การเติบโตอย่างเข้มแข็งของ eSports และความสอดคล้องกับทิศทางเศรษฐกิจโลกอนาคต

ทุกวันนี้เมื่อนึกถึง eSports เราจะไม่สามารถนึกถึงเพียงแค่กิจกรรมการ ‘แข่งเกม’ ได้อีกต่อไปแล้ว เพราะตัวมันเองได้พัฒนา Ecosystem ที่เติบโตขึ้นในทุกด้าน มีความเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมอื่นๆ อย่างเป็นระบบ และก่อให้เกิดอาชีพใหม่ๆ ขึ้นมามากมายทั้งในเบื้องหน้าและเบื้องหลัง ในส่วนของอีกปัจจัยหลักอย่างกลุ่มคนดูเองก็มีสถิติที่น่าสนใจ อ้างอิงจากงานวิจัยของ Mindshare ที่บอกว่ากลุ่มผู้ชมกว่าครึ่งเป็นคนยุค Millenials มี 60% เป็นกลุ่มคนที่มีอายุระหว่าง 25 - 39 ปี มีจำนวนไม่น้อยในกลุ่มนี้ที่เป็นผู้ปกครอง และกว่า 38% เป็นกลุ่มผู้ชมที่เป็นผู้หญิง ดังนั้นจะเห็นว่ากลุ่มฐานผู้ชมมีความหลากหลายอย่างน่าสนใจเมื่อเทียบกับกีฬาชนิดอื่นๆ หรือเมื่อเทียบกับความเข้าใจของคนส่วนใหญ่ที่มักมองว่า eSports มักจะเป็นเรื่องของกลุ่มคน Millennials ที่เป็นผู้ชาย

สำหรับประเทศไทย ทิศทางของการพัฒนาประเทศด้วยนโยบาย ‘Thailand 4.0’ ที่เน้นขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วย ‘นวัตกรรม’ จากแต่เดิมที่เน้นภาคอุตสาหกรรมในการผลิตสินค้า ‘โภคภัณฑ์’ ซึ่ง eSports เองก็มีแก่นแนวคิดที่สอดคล้องกับเทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์อันเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตสร้างนวัตกรรม eSports จึงเป็นเรื่องที่ออกจากกรอบของการแข่งขันเกมและต่อยอดไปได้ไกล เปิดโอกาสการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่หลากหลาย

มากกว่าแค่เกมกีฬา เมื่อ ‘Gamification’ คือกระบวนการพัฒนา Soft Skill เพื่ออยู่ร่วมกับเทคโนโลยีในอนาคต

ในโลกแห่งดิจิทัลในอนาคต คนยุคใหม่ไม่เพียงต้องมีทักษะในการสื่อสารกับมนุษย์ด้วยกันเท่านั้น แต่ยังต้องสามารถสื่อสารกับเทคโนโลยีได้เป็นอย่างดีเพื่อดึงศักยภาพในการใช้ชีวิต และทำงานร่วมกับเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ กระบวนการที่เรียกว่า Gamification คือการที่เกมกลายเป็นสื่อกลางที่ไม่เพียงมอบความบันเทิงให้กับผู้คน แต่ยังช่วยพัฒนา Soft Skill ที่จำเป็นในยุคดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นทักษะ การคิดวิเคราะห์ การวางแผน การทำงานเป็นทีม และหล่อหลอมให้คนรุ่นใหม่มีทักษะการอยู่ร่วมกับเทคโนโลยีในอนาคต

7 ปี Garena World 2019 เดินหน้าทำให้เกมกลายเป็น ‘Passion’ ขับเคลื่อน Ecosystem ของ eSports ในทุกมิติ

ผลจากการเติบโตอย่างรวดเร็วในทุกๆ ด้านของ eSports ทำให้กีฬาชนิดนี้สร้าง Impact ใหญ่ในวงกว้าง ครอบคลุมภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามมา ภายใต้คอนเซ็ปต์ ‘Unlock Your Passion’ ของงาน Garena World 2019  ที่จะจัดขึ้นเป็นปีที่ 7 หลักคิดในการจัดงานจึงไม่ได้มองแค่การสร้าง Passion ในคอนเทนต์เกม แต่หมายถึงการสร้าง Passion ในภาพรวม Ecosystem ของอุตสาหกรรม ตั้งแต่การผลักดันส่งเสริม Community ของชาวเกมเมอร์และบุคคลทั่วไปให้มีการร่วมสร้างวัฒนธรรมที่เข้มแข็งในวงการ ไปจนถึงเป้าหมายในการทำให้ประเทศไทยเป็น Hub ของ eSports ในระดับภูมิภาค

โดยปีนี้  Garena World 2019 จัดในวันที่ 6-7 เมษายน 2562 ณ ไบเทค บางนา ฮอลล์ 98-100 ภายในงาน Garena World 2019 ทุกท่านจะได้พบกับ ‘Game Zone’ ที่ยกทัพ 7 เกมยอดนิยมจากการีนามามอบความสนุกกันอย่างเต็มเปี่ยม ไม่ว่าจะเป็น RoV (Arena of Valor), Speed Drifters, Free Fire, Fifa Online 4, Point Blank, Ring of Elysium (RoE) และ League of Legend (LoL) พร้อมการแข่งขัน eSports ระดับนานาชาติที่ทั่วโลกจับตามองทั้ง 10 รายการ ที่เปิดให้ทั้งนักกีฬา eSports มืออาชีพ และผู้เล่นมือสมัครเล่นทั่วโลกร่วมชิงชัยเพื่อคว้าเงินรางวัลรวม 17 ล้านบาท นอกเหนือจากในส่วนของการแข่งขันเกม ยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจอย่าง ‘Garena Get & Give Zone’ ที่จะมา ‘เชื่อมโลกของเกมสู่การเรียนรู้’ พร้อมนำเสนอโอกาสทางการศึกษาและเส้นทางสู่อาชีพในวงการเกม ผ่านการแบ่งปันประสบการณ์ของกูรูในวงการเกม ทั้ง Game Caster ชื่อดัง ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของทีม eSports ของประเทศไทย และผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องกับเกมจาก 7 มหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทย

‘Mega Event’ ที่มีผู้เข้าแข่งขันหลักหมื่น ผู้เข้าร่วมงานหลักแสน และผู้ชมออนไลน์หลักสิบล้าน นี่คือประตูโอกาสในการส่งเสริมทุกอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง

ความเป็นอีเวนท์ขนาดใหญ่ที่ดึงดูดผู้คนจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นผู้เข้าร่วมแข่งขัน ผู้เข้าชมงาน ไปจนถึงกลุ่มผู้ชมงานผ่านช่องทางออนไลน์ เป็นโอกาสสำคัญที่เปิดสำหรับทุกองค์ประกอบของ Ecosystem ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง อีเวนท์ที่ถือเป็นการรวมฐาน Audience ที่มี Target ชัดเจน เป็นโอกาสสำคัญในการทำการตลาดของแบรนด์ต่างๆ  รวมถึงธุรกิจและอาชีพใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นตามการเติบโตของวงการ eSports อย่างเช่น Game Caster และ Game Master

ถึงแม้ความเป็น eSports จะมีฐานผู้ติดตามผ่านทางออนไลน์จำนวนมาก แต่ด้วยเสน่ห์เฉพาะตัวของการเป็น Mega Event นั้นสามารถส่งมอบสิ่งที่สื่อดิจิทัลให้ไม่ได้ นั่นคือการสร้าง ‘Real Experience’ ให้กับผู้ร่วมงานได้ สร้าง Impact ทางออฟไลน์เพื่อเติมเต็มประสบการณ์ของผู้บริโภคได้มากกว่า

สิ่งสำคัญที่สุดคือ ‘เมล็ดพันธุ์’ ที่เกิดจาก Passion ของผู้รักการแข่งเกม และแฟนพันธุ์แท้

หากขาดซึ่ง Passion ที่มีพลังมากพอ วิดีโอเกมอาจเป็นเหมือนเกมการแข่งขันอีกหลายอย่างที่สูญหายไปตามกาลเวลา หรืออาจถูกจำกัดเฉพาะในวงแคบไม่มีแรงผลักดันออกมาสู่วงกว้างจนต่อยอดได้ถึงจุดที่ eSports กำลังยืนอยู่นี้ งาน Garena World ถือปรัชญาในการจัดงานเพื่อเติมเต็มประสบการณ์ของ Community เกมเมอร์และแฟนพันธุ์แท้ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่เป็นหัวใจสำคัญที่สุดในการขับเคลื่อนวงการ eSports ยึดถือการเข้าใจพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายเป็นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการเน้นการสร้างประสบการณ์ร่วมบนเกม เจาะเข้าไปจนถึงการตอบสนองประสบการณ์ในระดับไลฟ์สไตล์ โดย Garena เองอาสาเป็นศูนย์กลางคอยสนับสนุนปัจจัยต่างๆ ที่จะสร้างให้ Community นี้เติบโตขึ้นอย่างแข็งแรง Garena World 2019 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 6 – 7 เมษายน 2562 ฮอลล์ 98-100 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค (BITEC) บางนา ติดตามข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับงาน Garena World 2019 ได้ที่ Website: https://garenaworld.in.th/ Facebook: https://www.facebook.com/GarenaThailand/ บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...