Gartner ชี้ องค์กรรัฐทั่วโลกควรเร่งพัฒนานวัตกรรมดิจิทัล เพื่อสร้างความไว้ใจและเสริมความคล่องตัวในการทำงาน | Techsauce

Gartner ชี้ องค์กรรัฐทั่วโลกควรเร่งพัฒนานวัตกรรมดิจิทัล เพื่อสร้างความไว้ใจและเสริมความคล่องตัวในการทำงาน

Gartner  เผย 10 แนวโน้มเทคโนโลยีในกิจการภาครัฐในปี 2564 ที่มีศักยภาพเร่งกระบวนการสร้างสรรค์นวัตกรรมดิจิทัลและสามารถนำมาปรับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือเปลี่ยนโฉมการให้บริการสาธารณะ

10 อันดับแนวโน้มเทคโนโลยีนี้ เกิดมาจากความท้าทายต่าง ๆ ที่หน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ต้องเผชิญระหว่างการแพร่ระบาดและความต้องการรูปแบบการดำเนินงานที่ยืดหยุ่นเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบใหญ่หลวงต่าง ๆ

มร. ริค ฮาวเวิร์ด รองประธานฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์ อิงค์ กล่าวว่า “การระบาดของ Covid-19 กระตุ้นให้องค์กรภาครัฐทั่วโลกเร่งพัฒนานวัตกรรมดิจิทัล ซึ่งทำให้ผู้บริหารภาครัฐมองเห็นโอกาสใหม่ ๆ ในการใช้ข้อมูลและเทคโนโลยีมาสร้างความไว้วางใจ เสริมความคล่องตัวและเพิ่มความยืดหยุ่นด้านการดำเนินงานในหน่วยงาน ในขณะที่ความท้าทายจากการแพร่ระบาดจะยังมีต่อไปอีกระยะหนึ่ง แต่ก็มีแนวโน้มของเทคโนโลยีที่ช่วยรับมือความท้าทายระดับวิกฤตเกิดขึ้น อาทิ  เทคโนโลยีด้านความปลอดภัย เทคโนโลยีการควบคุมต้นทุนและเทคโนโลยีเพื่อให้ประสบการณ์ที่ดีสำหรับประชาชนผู้ติดต่อหรือใช้บริการจากหน่วยงานราชการ”

เทคโนโลยีทั้งหมดนี้ล้วนเชื่อมโยงโดยตรงกับการบริหารงานของภาครัฐและการกำหนดนโยบายที่ผู้บริหารหน่วยงานต่าง ๆ ในรัฐบาลต้องจัดการและให้ความสำคัญ ผู้บริหารด้านไอทีของภาครัฐฯ สามารถพิจารณาเพื่อกำหนดทิศทางในการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อวางแผนการฟื้นตัวหลังการระบาดของโรค พร้อมกำหนดเงื่อนไข ระยะเวลา และจัดลำดับความสำคัญในการลงทุนด้านเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด

การเร่งปรับปรุงระบบให้ทันสมัย

หน่วยงานภาครัฐฯ ต่าง ๆ ประสบกับข้อจำกัดและความเสี่ยงที่เกิดจากโครงสร้างพื้นฐานและระบบหลัก ๆ ที่ใช้สืบต่อกันมานับสิบปี เพื่อการเตรียมความพร้อมรับมือที่ดียิ่งขึ้นกับการหยุดชะงักครั้งต่อไป ซีไอโอภาครัฐฯ ควรเร่งผลักดันการเปลี่ยนผ่านไปสู่สถาปัตยกรรมโมดูลาร์ที่ทันสมัย ในขณะที่ความจำเป็นในการปรับปรุงระบบแบบเดิมให้ทันสมัยไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับซีไอโอของรัฐบาลแต่คือความท้าทายที่เกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรคที่ควรตะหนักให้มากขึ้นถึงการป้องกันยับยั้งและความเสี่ยงที่เกิดขึ้น

Gartne คาดว่าภายในพ.ศ. 2568 หน่วยงานภาครัฐกว่า 50% จะปรับปรุงพัฒนาแอปพลิเคชันหลักที่สำคัญให้ทันสมัยเพื่อให้มีความยืดหยุ่นและความคล่องตัวในการใช้งาน

เทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัยที่ปรับตัวได้ตามสภาวะการณ์

แนวทางการรักษาความปลอดภัยแบบปรับได้มองว่าความเสี่ยง ความไว้วางใจและความปลอดภัยเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องและปรับได้ซึ่งเป็นการเตรียมการและบรรเทาภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ไม่เคยหยุดอยู่กับที่ แนวทางนี้นำเสนอองค์ประกอบต่าง ๆ เพื่อการคาดการณ์ ป้องกัน ตรวจจับและตอบสนอง โดยมองข้ามขอบเขตของแนวคิดเดิม ๆ ด้วยสมมุติฐานว่าเรื่องของความปลอดภัยและไม่ปลอดภัยนั้นไม่มีขอบเขตสิ้นสุด ซึ่งนี่เป็นแนวคิดสำคัญในการโยกย้ายไปสู่การบริการคลาวด์

Gartne คาดการณ์ว่าภายในพ.ศ. 2568  75% ของซีไอโอภาครัฐฯ จะมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงต่อความปลอดภัยที่อยู่นอกเหนือขอบเขตของเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงการปฏิบัติการและภารกิจที่สำคัญยิ่งยวดต่อสภาพแวดล้อมด้านเทคโนโลยี

การให้บริการทุก ๆ อย่างแบบ XaaS (Anything as a Service)

การให้บริการทุก ๆ อย่าง แบบ XaaS (Anything as a Service) คือกลยุทธ์การจัดหาบริการต่าง ๆ บนคลาวด์โดยเฉพาะ ซึ่งรวบรวมบริการทางธุรกิจและไอทีแบบครบวงจรในรูปแบบของการสมัครสมาชิก (Subscription Basis) การตอบสนองต่อโรคระบาดและความจำเป็นเชิงวิกฤตต่อบริการดิจิทัลทำให้เกิดแรงกดดันมหาศาลในการปรับปรุงแอปพลิเคชันและโครงสร้างพื้นฐานเดิมให้ทันสมัย XaaS ให้ทางเลือกในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานแบบเดิม ๆ ให้ทันสมัย เพิ่มความสามารถในการปรับขนาดและย่นระยะเวลาในการส่งมอบบริการดิจิทัลต่าง ๆ

ภายในพ.ศ. 2568  Gartne คาดการณ์ว่า 95% ของการลงทุนใหม่ ๆ ไปกับเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงานภาครัฐจะถูกกำหนดให้เป็นรูปแบบของโซลูชันการบริการ

บริการสำหรับการจัดการเป็นรายกรณี (Case Management as a Service)

งานบริการสังคม (Case work) เป็นรูปแบบการทำงานหลัก ๆ ของรัฐบาลด้วย รูปแบบโซลูชั่นการจัดการรายกรณีแบบเดิม ๆ พบได้ในหลายหน่วยงาน การจัดการเป็นรายกรณี (CMaaS) เป็นรูปแบบการทำงานใหม่ที่เพิ่มความคล่องตัวของหน่วยงานโดยใช้หลักการและแนวปฏิบัติทางธุรกิจแบบผสมผสานเพื่อแทนที่ระบบการจัดการเคสแบบโบราณด้วยโซลูชั่นประกอบรวมเข้าด้วยกันหรือแยกส่วนและประกอบใหม่ได้อย่างรวดเร็วเพื่อตอบสนองต่อความต้องการทางธุรกิจที่เปลี่ยนไป

Gartne คาดว่าภายในพ.ศ. 2567 หน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ที่มีสถาปัตยกรรมแอปพลิเคชันการจัดการรายกรณีแบบผสมผสานจะนำฟีเจอร์ใหม่ ๆ มาใช้ได้เร็วกว่าหน่วยงานที่ไม่มีสถาปัตยกรรมดังกล่าว อย่างน้อย 80%

ข้อมูลประจำตัวประชาชนแบบดิจิทัล

ข้อมูลประจำตัวประชาชนแบบดิจิทัล คือความสามารถในการระบุอัตลักษณ์ของบุคคลผ่านช่องทางดิจิทัลของภาครัฐที่มีให้ประชาชนซึ่งมีความสำคัญอย่างมากในการเข้าถึงและได้รับบริการต่าง ๆ ของรัฐ ระบบนิเวศข้อมูลประจำตัวดิจิทัลกำลังพัฒนาไปอย่างรวดเร็วและจะนำพาให้ภาครัฐไปสู่บทบาทและความรับผิดชอบใหม่ ๆ หัวข้อนี้เป็นวาระการเมืองขั้นสูงดังนั้น ซีไอโอภาครัฐต้องเชื่อมโยงข้อมูลประจำตัวดิจิทัลกับกรณีที่สำคัญ

ภายในพ.ศ. 2567  Gartne คาดการณ์มาตรฐานการระบุอัตลักษณ์อย่างแท้จริงจะเป็นแบบกระจายศูนย์ การเก็บข้อมูลมีความสะดวก เรียกใช้ได้จากทุกที่และเคลื่อนย้ายได้ ทั้งนี้เพื่อจัดการกับกรณีการใช้งานในระดับธุรกิจ บุคคล สังคม และการระบุแบบไร้ตัวตน

การผสานรวมองค์กรภาครัฐ

การผสานรวมขององค์กรภาครัฐคือหน่วยงานภาครัฐใด ๆ ที่ใช้หลักการออกแบบผสมผสาน ซึ่งช่วยให้เพิ่มความสามารถด้านการทำงานซ้ำและปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของกฎระเบียบ กฎหมายและความคาดหวังของประชาชนได้อย่างต่อเนื่อง ซีไอโอกำลังนำการผสานรวมภาครัฐมาใช้เพื่อเอาชนะวิธีการจัดการบริการ  ระบบและข้อมูลที่มีอยู่ซึ่งจำกัดความสามารถของรัฐบาลในการปรับตัวให้เข้ากับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคมดิจิทัลที่กำลังเกิดขึ้น

ภายในปี 2566 การ์ทเนอร์คาด 50% ของบริษัทเทคโนโลยีที่จัดหาผลิตภัณฑ์และบริการให้กับภาครัฐจะเสนอความสามารถทางธุรกิจแบบแพ็กเกจเพื่อรองรับแอปพลิเคชันการผสานรวม

สร้างโปรแกรมการแบ่งปันข้อมูล

ภาครัฐมักแบ่งปันข้อมูลแบบเฉพาะกิจ โดยเน้นเรื่องที่ประชาชนให้ความสนใจสูง เช่น เหตุการณ์การคุ้มครองเยาวชนหรือเหตุความรุนแรงทางเพศที่มีความละเอียดอ่อนและมีความซับซ้อน ซึ่งการสร้างโปรแกรมแบ่งปันข้อมูล (Data Sharing as a Program) ทำให้การบริการสามารถปรับขนาดได้ตามต้องการ โดยสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ในหลายรูปแบบ ซึ่งสนับสนุนการให้บริการภาครัฐเพื่อขับเคลื่อนไปสู่แนวทางที่ทำงานแบบผสมผสานกันได้มากขึ้น

ภายในปี 2566  Gartne คาด 50% ขององค์กรภาครัฐจะสร้างโครงสร้างการแบ่งปันข้อมูลที่มีความรับผิดชอบอย่างเป็นทางการรวมถึงมาตรฐานโครงสร้างข้อมูล คุณภาพและความตรงต่อเวลา

การบริการสาธารณะแบบไฮเปอร์คอนเนค (Hyperconnected)

การเชื่อมต่อสาธารณะแบบไฮเปอร์คอนเนคคือการใช้เทคโนโลยีหลากหลายที่ภาครัฐใช้ทั้งหมดรวมถึงเครื่องมือหรือแพลตฟอร์มที่ทำให้กระบวนการทางธุรกิจและไอทีเป็นอัตโนมัติมากที่สุด ซีอีโอของภาครัฐสามารถใช้หลักการผสานรวมเทคโนโลยี (Hyperautomation) และแนวปฏิบัติแบบไฮเปอร์คอนเนคเพื่อพัฒนากระบวนการทางธุรกิจและบริการสาธารณะแบบต้นน้ำถึงปลายน้ำในรูปแบบอัตโนมัติมากที่สุดโดยลดการใช้แรงงานคนให้น้อยที่สุด

ภายในปี 2567 การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่า 75% ของภาครัฐจะเปิดตัวหรือดำเนินการโครงการริเริ่มหลักการผสานรวมเทคโนโลยี (Hyperautomation) ทั่วทั้งองค์กรอย่างน้อย 3 โครงการ

การมีส่วนร่วมของประชาชนในหลากหลายช่องทาง

ประชาชนมีส่วนร่วมโดยตรงกับกิจการภาครัฐมากขึ้น และแตะจุดสูงสุดในปี 2563 จากการร่วมกันรับมือภัยการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ เหตุการณ์ไฟป่า พายุเฮอริเคนและเหตุการณ์อื่น ๆ การมีส่วนร่วมของประชาชนในหลากหลายช่องทางเป็นไปอย่างราบรื่น ซึ่งมีส่วนร่วมแบบสองทิศทางตามขอบเขตขององค์กร ในขณะเดียวกันก็ส่งมอบประสบการณ์ส่วนบุคคลโดยใช้ช่องทางที่ต้องการและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการเข้าถึงประชาชน

Gartne คาดการณ์ว่ารัฐบาลกว่า 30% จะใช้มาตรการชี้วัดการมีส่วนร่วมเพื่อติดตามปริมาณและคุณภาพการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อนำมาใช้ตัดสินใจวางแผนด้านนโยบายและงบประมาณภายในปี 2567

การวิเคราะห์เชิงปฏิบัติการ

การวิเคราะห์เชิงปฏิบัติการคือการนำเทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลมาใช้อย่างมีกลยุทธ์และเป็นระบบเช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) การเรียนรู้ของเครื่องจักร (Machine Learning) และการวิเคราะห์ขั้นสูง (Advanced Analytics) โดยในแต่ละขั้นตอนของกิจกรรมภาครัฐเป็นไปเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและช่วยการตัดสินใจให้ดีขึ้น ซึ่งผู้มีอำนาจสามารถตัดสินใจดำเนินงานตามบริบทได้ดีขึ้นแบบเรียลไทม์เพื่อพัฒนาคุณภาพของประสบการณ์ประชาชนให้ดีขึ้น

ภายในปี 2567  Gartne คาดการณ์ 60% ของการลงทุนด้านการวิเคราะห์ข้อมูลและ AI ของภาครัฐมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างแรงกระเพื่อมโดยตรงต่อผลลัพท์และการตัดสินใจแบบเรียลไทม์



ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...