ปี 2020 นี้ ถือได้ว่าเป็นปีที่ยากลำบากที่สุดสำหรับธุรกิจทุกประเภท และส่งผลกระทบกับผู้คนจำนวนมาก โดยวิกฤตครั้งนี้ ทุกคนได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน อยู่ที่ว่าใครจะเตรียมตัวให้พร้อม หรือปรับตัวได้เร็วมากกว่ากัน
บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC องค์กรที่ดำเนินธุรกิจเคมีภัณฑ์แบบครบวงจร และมีกำลังการผลิตปิโตรเคมีและการกลั่นขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มาดูเบื้องหลังการเตรียมความพร้อมของพวกเขา และนี่คือบทเรียนที่องค์กรทุกไซส์สามารถเรียนรู้ได้
ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC กล่าวว่า “จากสถานการณ์ต่างๆ GC จึงต้องปรับตัว โดยก่อนหน้านี้ GC ได้ทำ Transformation มาแล้ว 2-3 ครั้ง โดยเริ่มต้น GC เกิดจากการควบรวม 4 บริษัท ทำให้มีวัฒนธรรมองค์กรที่แตกต่างกัน เมื่อ 5 ปีที่แล้ว GC จึงร่วมกันทำให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแรง เพราะ GC เชื่อว่าการที่องค์กรมีวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแรง จะสามารถทำเรื่องอื่นๆหรือสร้างการเปลี่ยนแปลง (Transformation) อื่นๆต่อไปได้ GC จึงให้ความสำคัญกับ 4 Core Behaviors ซึ่งเป็นวัฒนธรรมองค์กรของ GC ที่พนักงานยึดถือในการปฏิบัติงาน ได้แก่
เมื่อ 3 ปีที่แล้ว GC ได้เริ่มวางแผนในการปรับตัว โดยมีการเริ่มทำ Digital Transformation และจัดตั้งทีม dEX (หรือทีม Digital Transformation) ในปี 2017 ภายใต้รูปแบบ Triple Transformation ได้แก่
“เมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว เกิดการ Disruption อยู่หลายๆครั้ง เช่น ธุรกิจธนาคาร หรือเทคโนโลยี ถึงแม้ธุรกิจปิโตรเคมีก็อาจจะถูก Disrupt ช้ากว่า แต่ GC ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ จึงได้ดำเนินการ Triple Transformation โดยการทำ Digital Transformation ต้องประสานงานร่วมกันทั้งองค์กร โดยได้เริ่มจากการทำ Use Case เพื่อให้ทุกคนในองค์กรคุ้นเคยกับเทคโนโลยีและกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการ Digital Transformation รวมถึงทุกคนจะรู้สึกว่าตัวเองมีส่วนร่วมในการทำการ Digital Transformation” ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง CEO ของ GC กล่าว
GC ผลักดัน Digital Transformation เป็น 3 เฟส คือ
การจะทำ People Transformation ให้สำเร็จได้นั้น ต้องเริ่มที่ผู้บริหารก่อน GC จึงได้จัด Sharing Session สำหรับ Top Management เพื่อแชร์ Digital Trends จาก Tech Company ระดับโลก ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง Data Architecture, Cloud Strategy และ Cyber Security เพื่อให้ผู้บริหารได้มีความเข้าใจและสามารถไปสื่อสาร ผลักดัน และส่งเสริมทีมงานในสังกัดต่อไป
พร้อมกันนี้ หน่วยงานทรัพยากรบุคคลของ GC ส่งพนักงานกว่า 100 คน ไปเรียนรู้ด้าน Data Science และ Advanced Analytics เพื่อให้พนักงานเหล่านั้นนำความรู้ที่ได้ มาพัฒนาหน่วยงานตัวเอง และสามารถทำ Use Case เพื่อแก้ปัญหาในงานของตัวเองได้
ปัจจุบัน GC มี Digital Use Case ที่กำลังทำอยู่กว่า 100 Use Case ไม่ใช่เพียงฝั่ง Operation แต่รวมถึง Corporate & Support Function อีกด้วย ใน 2 ปี ที่เริ่มทำ Use Case มานั้น สร้างเป็นมูลค่าที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับองค์กรกว่า 800 ล้านบาท โดย เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างทีม dEX และ Business Unit ต่างๆ จากหลากหลาย Function ซึ่งจะมี Culture การทำงานของพนักงานที่แตกต่างกันออกไป ทำให้บางทีมได้มีการประยุกต์ใช้คอนเซปต์การทำงานแบบ Agile เข้ามาใช้ ผ่านการทำ Daily Meeting แบบสั้นๆ แบ่ง Project ออกเป็นส่วนเล็กๆ รวมถึงการเรียนรู้ข้อผิดพลาด ผ่านการเก็บ Feedback บ่อยๆ (Fail Fast) และนำผลลัพธ์มาพัฒนาให้เร็วขึ้น ซึ่งปัจจุบันใน GC ได้มีการนำเทคโนโลยีที่หลากหลายเข้ามาประยุกต์ใช้ ตามความเหมาะสมของ Use Case เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ได้แก่ Advanced Analytics, AI, Robotics, Virtual Reality และ Blockchain
หน้าที่สำคัญของทีม Technology Transformation คือ การทำงานร่วมกับทีม IT ในการยกระดับโครงสร้างของระบบต่างๆ ให้แข็งแรงมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น IT Infrastructure การออกแบบและยกระดับรากฐานของ IT หลังบ้านว่าจะสามารถรองรับหรือเชื่อมต่อ กับเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้อย่างไร โดยเริ่มตั้งแต่การพิจารณาโครงสร้างด้าน IT ของเดิมว่ามีการดีไซน์ไว้อย่างไร และมีช่องทางที่จะสามารถพัฒนาต่อยอดได้หรือไม่ การทำ Data Transformation มีวัตถุประสงค์เพื่อให้องค์กรมีมาตรฐานการเก็บข้อมูลที่เป็นระบบ และสะดวกต่อการใช้งานในอนาคต รวมไปถึงการทำ Data Governance และ Cybersecurity เพื่อสร้างความปลอดภัยในการทำงาน และสร้างความตระหนักรู้ให้แก่พนักงานในการเก็บรักษาข้อมูลอย่างถูกต้องและเลือกใช้ Tools ที่เหมาะสม ซึ่งทั้งหมดนี้ เปรียนเสมือนการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานของ IT หรือที่เรียกกันว่า “Enterprise Architecture” ซึ่งเมื่อเห็นว่าโครงสร้างหลังบ้านยังมีจุดที่จะพัฒนาและยกระดับได้อย่างไร ทางทีมก็จะทำ POC “Proof of Concept” หรือการทดสอบระบบ ว่ายังสามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง และตรงความต้องการหรือไม่ เพื่อทำการพัฒนาหรือหาเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้ ในการเสริมศักยภาพการทำงานให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
อย่างที่เกริ่นว่า GC ดำเนินการภายใต้รูปแบบภายใต้รูปแบบ Triple Transformation (Business, Technology, People Transformation) เราต้องการใช้ข้อมูลเป็นเครื่องมือเพื่อช่วยขับเคลื่อนองค์กร การมี Data Governance ช่วยให้มีการจัดการที่เป็นระบบและมีมาตรฐาน ในการบริหารจัดการข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลมีคุณภาพ มั่นคงปลอดภัย และเชื่อมโยงกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งความท้าทายของ GC ที่ต้องเตรียมความพร้อมอย่างมาก
Data Governance จึงถูกนำมาเป็นแกนกลางเพื่อให้ทุกแผนกและทุกคนในองค์กรรวมถึงบริษัทย่อย เข้าใจและใช้ Data ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการนำเสนอแพลตฟอร์มที่ช่วยให้ทุกคนนำ Data มาไว้ตรงกลางโดยทุกฝ่ายต้องแชร์ข้อมูลรวมกัน และต้องมีการกำหนดหน้าที่ให้ชัดเจนว่า จะมีการจัดระเบียบเอกสารในลักษณะไหน ใครคือผู้ดูแลข้อมูลนี้ เพื่อเป็นมาตรฐานให้ทุกคนเข้ามาใช้งานด้วยกันได้ รวมถึงกำหนดระเบียบข้อบังคับ หรือ PDPA ทั้งในการออกแบบกฏระเบียบการใช้ข้อมูลและสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจแก่พนักงาน ให้คำนึงถึงความถูกต้องของการใช้ข้อมูลตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งความชัดเจนในการ Transform องค์กรโดยเน้นไปที่บุคลากรและกระบวนการเป็นหลัก
ความปลอดภัยเป็นเรื่องที่องค์กรให้ความสำคัญเป็นอันดับหนึ่ง ในการปฏิบัติงาน GC จะมีทีมงาน Safety ที่คอยดูแลความปลอดภัยของพนักงานในการปฏิบัติงานที่หน้างานนั้นๆ ในฝั่งของ Digital Transformation ทีม Cybersecurity ทำหน้าที่เฝ้าระวังภัยคุกคามทางไซเบอร์ ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากต่อองค์กร ซึ่งมาตรฐานการป้องกันภัยคุกคามนี้ ตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานในอนาคตที่สามารถทำงานที่ไหนก็ได้โดยไม่เกิดความเสี่ยงจากการถูกจู่โจมโดยแฮคเกอร์ภายนอก ผ่านการสร้าง Awareness ให้กับคนในองค์กร ในเชิงป้องกัน โดยให้พนักงานทุกคนทำ Phishing Test ซึ่งเป็นการจำลองภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่อาจเกิดขึ้นผ่านช่องทางอีเมล เพื่อให้พนักงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องได้ฝึกซ้อมขั้นตอนการปฏิบัติหากเกิดเหตุการณ์จริงตลอดจนการสื่อสารให้ความรู้ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น ระบบ Cybersecurity E-Learning และ Cybersecurity Campaign อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานมีความรู้ที่เพียงพอ ที่จะสามารถรับมือและตอบสนองต่อภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม
ไม่เพียงเท่านั้น การยืนยันตัวตนผ่านสองขั้นตอน (Two Factors Authentication) ถูกนำมาใช้กับระบบงานที่ต้องการความปลอดภัยเป็นพิเศษของบริษัทฯ เช่นในกรณีที่พนักงานล็อคอินเข้าใช้งานระบบของบริษัทฯหรือมีการเปลี่ยนแปลงพาสเวิร์ด ระบบจะมีการส่ง Notification ให้พนักงานยืนยันตัวตนผ่านมือถือ เพื่อให้แน่ใจว่าพนักงานคนดังกล่าวมีการเข้าถึงระบบงานจริง รวมถึงมีการใช้ระบบที่ช่วยในการรวบรวมข้อมูล เพื่อใช้ในการตรวจสอบ และวิเคราะห์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ขั้นสูงมาใช้งานอีกด้วย
หากถามว่าอะไรคือความแตกต่างและอาจเป็นส่วนสำคัญของความสำเร็จในการทำ Digital Transformation ขององค์กรยักษ์ใหญ่อย่าง GC เห็นจะเป็นเรื่องที่ GC ให้ความสำคัญกับเรื่องของ People และ Process อย่างมาก บริบทของ Digital Transformation ขององค์กรนี้จึงไม่ได้มีหน้าตาเคร่งขรึม แต่มีความกลมกล่อมในการสื่อสารที่เน้นสร้าง Engagement เพื่อให้พนักงานเข้าใจเป้าหมายของการเดินทางในครั้งนี้
การทำ Digital Transformation มีความสำคัญอย่างมาก ปัจจัยความสำเร็จจึงต้องเริ่มต้นตั้งแต่การวางรากฐานด้านดิจิทัลขององค์กร ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่การซื้อเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้เท่านั้น แต่ต้องผ่านหลายขั้นตอนกว่าจะได้แพลตฟอร์มหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงมาใช้ ทั้งนี้ ผู้บริหารรวมถึงพนักงาน ต้องมีความเข้าใจ พร้อมที่จะเรียนรู้และปรับปรุงวิธีการทำงาน และให้ความสำคัญกับการทำ Digital Transformation ด้วย จึงจะประสบความสำเร็จ ดังนั้น ด้วยความที่ GC เป็นองค์กรที่มีความยืดหยุ่น และมีวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแรง จึงใช้เวลาไม่นานในการทลายกำแพง เพื่อไปสู่การเป็น “Chemistry for Better Living”
หากคุณเป็นคนที่ชอบการเปลี่ยนแปลง มี Growth Mindset ในการทำงาน และสนใจการทำงานด้าน Digital เราอยากชวนให้คุณส่ง CV ที่นี่ https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSeUKFO7D6rXbF62G78mTTEv3nSBRDM8UfjrDfePIK3aSauYPg/viewform
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด