GET FOOD บริการน้องใหม่บุกตลาดแอปส่งอาหาร คู่แข่ง Grab , LINE MAN

GET FOOD บริการน้องใหม่บุกตลาดแอปส่งอาหาร คู่แข่ง Grab , LINE MAN

การแข่งขันของตลาด Food Delivery เริ่มมีความเข้มข้นมากขึ้น หลังจาก Now ได้ปิดตัวไปไม่นานนี้ ก็มีอีกหนึ่งผู้เล่นหน้าใหม่แต่รายใหญ่อย่าง GET เข้ามาบุกตลาดในประเทศแล้ว ในชื่อ GET Food

GET คือใคร?

GET คือผู้ให้บริการ Ride Hailing ซึ่งเป็น Startup ยูนิคอร์น (Startup ที่มีมูลค่าหนึ่งพันล้านดอลลาร์) ในอินโดนีเซียที่เรารู้จักในอีกชื่ออย่าง Go-Jek ผู้ที่ Grab พยายามไปบุกตลาด แต่ก็ยังไม่อาจเอาชนะได้ โดยล่าสุด GET ได้มีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการ หลังจากรุกตลาดแบบเงียบๆระยะหนึ่ง โดยปัจจุบันได้ขยายพื้นที่การให้บริการไปกว่า 37 พื้นที่แล้ว ครอบคลุมหลายจุดในกรุงเทพฯ

ด้วยรูปแบบการใช้ชีวิตของคนเมืองที่เปลี่ยนไป คนส่วนใหญ่หันมาใช้บริการแอปฯ ส่งอาหารหรือ Food Delivery กันมากขึ้น โดยในประเทศไทยนั้น ผู้เล่นรายแรกที่เข้ามาก็คือ Foodpanda แต่ผู้เล่นที่รายใหญ่ที่มาสร้างสีสันให้ตลาดแอปส่งอาหารคึกคักก็คือ LINEMAN ที่มีการร่วมมือกับ Wongnai แอปฯรีวิวอาหาร ในการส่งอาหารจากร้านเด็ดร้านดัง และแทบทุกร้านในกรุงเทพฯ เรียกได้ว่า Wongnai มีรีวิวร้านไหน LINEMAN ก็สามารถส่งอาหารจากร้านดังกล่าวได้

ผู้เล่นรายใหญ่รายที่ 2 ก็คือ Grab Food (Uber Eat เดิม) ที่เข้ามาให้บริการหลังจาก Uber ถอยทัพออกจากตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีราคาที่เชิญชวนให้คนใช้ ด้วยค่าส่ง 10 บาท 1-5 กิโลเมตรแรก พร้อม โปรโมชั่นส่งฟรี ลดราคา ที่ยังคงมีให้อย่างต่อเนื่อง แต่ทั้งนี้โมเดลราคาและโปรโมชั่นแบบนี้จะยังอยู่อีกนานมั้ย ก็ต้องรอดูต่อไป

ผู้เล่นรายถัดมา ก็คือ GET Food บริการที่เกิดจากการต่อยอดของแอปพลิเคชัน GET ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นคู่แข่งที่สูสีที่กล้าต่อกรกับผู้ให้บริการที่มีอยู่แล้วอย่าง Grab food และ LINE MAN แต่ GET จะมีจุดเด่นอะไรบ้างในการสร้างฐานลูกค้า?

ความแตกต่างของ GET และผู้ให้บริการเจ้าอื่นๆ

จุดเด่นของ GET FOOD ที่เห็นในเวลานี้คือ ส่งฟรีในระยะ 8 กิโลเมตร (ซึ่งเรื่องของราคาและโปรโมชั่นจะมีอยู่อีกนานแค่ไหน ก็ต้องติดตามกันต่อไป) โดย GET มีจุดเด่นในการจัดหมวดหมูอาหาร และเลือกร้านที่คนชอบสั่ง Delivery เช่น การจัดหมวดหมู่ของชานมไข่มุก , ข้าวมันไก่ , ข้าวขาหมู , เมนูเนื้อ หรือเมนูเส้น โดยมีการเขียนภาษาที่เป็นกันเอง ทำให้ผู้สั่งอาหารสะดวกในการเลือกร้าน (ในเวลานี้ Grab ก็มีการจัดหมวดหมู่เช่นกัน) นอกจากนี้ยังมีร้านดังที่ไม่มีใน Grab ให้เราสามารถเลือกสั่งได้ ซึ่งหากคำนวณราคาค่าส่ง ก็ยังมีราคาที่ถูกกว่า LINE MAN ในเวลานี้ ทำให้กลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกใหม่ของผู้บริโภค

ทั้งนี้ GET ยั่งสามารถสั่ง Order จากร้านอาหารได้หลายร้าน ไม่ต้องรอให้คนขับมาส่งก่อนถึงจะสั่งรายการต่อไปได้ ส่วนหน้าต่างแอปพลิเคชั่นมีการจัดอาหารเป็นหมวดหมู่ให้ผู้ใช้ค้นหาได้ง่ายใกล้เคียงกับ Grab และยังมีรูปแบบการติดต่อคล้ายกันคือ มีช่องแชทเพื่อให้สามารถพิมพ์สนทนา สะดวกต่อการติดต่อกับคนขับ

วิธีการใช้งาน

  1. โหลดแอปพลิเคชั่น GET ใน Apple Store หรือ Play Store เมื่อกดเข้าไปจะมีบริการให้เลือก หากเราต้องการสั่งอาหารให้ไปที่ บริการ GET FOOD
  2. เลือกประเภทอาหารหรือร้านอาหารตามที่เราต้องการ
  3. เลือกเมนูและกดสั่งซื้อ ระบุสถานที่ปลายทาง หลังจากนั้นแอปพลิเคชั่นจะแสดงราคาอาหารและค่าบริการการจัดส่ง เมื่อเรากดยืนยันระบบจะค้นหาคนขับเพื่อไปรับสินค้าของเราเพื่อนำมาส่ง

เนื่องจาก GET นั้นเพิ่งเปิดให้บริการได้ไม่นานทำให้ยังมีบริการไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ หรือยังส่งข้ามแต่ละเขตที่ไกลเกินกว่า 15 กม. ไม่ได้ ซึ่งอาจต้องรอให้บริการของ GET ขยายตัวมากกว่านี้ก่อนจึงจะสามารถเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียกับผู้ให้บริการรายอื่นๆได้ ในด้านของราคาและโปรโมชั่น โดยตอนนี้นั้น GET FOOD ยังมีโปรโมชั่นส่งอาหารฟรีระยะทาง 8 กม. ในพื้นที่ให้บริการ

สรุป

บริการส่งอาหารเป็นที่นิยมมากในเวลาอันรวดเร็ว ด้วยไลฟ์สไตล์คนยุคใหม่ที่ทำทุกอย่างผ่านการกดมือถือ ผนวกกับกรุงเทพที่มีร้าน Street Food มีร้านดังอาหารอร่อย ซึ่งการแข่งขันของตลาดนี้เรียกได้ว่าบรรดา Super App ต่างเข้ามาแข่งขันแย่งชิงพื้นผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็น LINE , Grab หรือ Go-Jek (GET) ซึ่ง GET FOOD อาจจะเป็นทางเลือกใหม่ที่ตอบสนองความต้องการแก่ผู้บริโภคได้หรือไม่ ใครจะเป็นแอปฯครองใจผู้บริโภคเบอร์หนึ่ง ก็เป็นเรื่องที่เราต้องติดตามกันต่อไปในอนาคต

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...