หลังจากมรสุม COVID-19 ในปี 2020 ผ่านไป เมื่อเริ่มเข้าสู่ปี 2021 ซึ่งการพัฒนาวัคซีนได้ประสบความสำเร็จและทยอยกระจายไปทั่วโลก ทำให้เราได้เห็นภาพการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ธุรกิจในหลายประเทศสามารถกลับมาเริ่มดำเนินการต่อได้ และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคกลับมา ย่อมส่งผลให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยที่เพิ่มขึ้น ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีของผู้ประกอบการในการฟื้นฟูธุรกิจในโลกใบใหม่เช่นกัน แต่ภายใต้โอกาสที่กล่าวมานั้น กลับเต็มไปด้วยความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะพฤติกรรมของผู้บริโภคที่จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
วิกฤต COVID-19 ได้สร้างความจำเป็นให้บริษัทต่าง ๆ ปรับรูปแบบของการดำเนินธุรกิจใหม่ และถือเป็นโอกาสสำหรับการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจครั้งใหญ่ที่จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานได้
รายงานผลสำรวจความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหลัง COVID-19 จาก McKinsey ยกตัวอย่างสถานการณ์สำหรับธุรกิจที่ต้องมีการปรับตัวจากการที่พฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป โดย 2 ใน 3 ของผู้บริโภค เมื่อได้ลองประสบการณ์ในการช้อปปิ้งรูปแบบใหม่แล้ว ก็จะมีพฤติกรรมเช่นนี้ต่อไป ดังนั้นในแง่ของธุรกิจหลังจากนี้ คือ ต้องคิดค้นหาวิธีในการเข้าถึงผู้บริโภคด้วยวิธีใหม่ ๆ เพื่อที่จะสามารถตามได้ทัน โดยแนวโน้มที่ชัดเจน คือ ผู้บริโภคจำนวนมากย้ายไปอยู่บนโลกออนไลน์ ดังนั้นแบรนด์ต่าง ๆ ก็จำเป็นต้องย้ายเข้าสู่ออนไลน์เช่นเดียวกัน
นอกจากนี้ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอีก คงหนีไม่พ้นเรื่องของ Supply Chain ได้เผยให้เห็นช่องโหว่ที่ซับซ้อนของหลายบริษัท ดังนั้นเมื่อบริษัทต่าง ๆ ได้ลองศึกษาทำให้พบว่า จากความก้าวหน้าของการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ ขึ้นมานั้นสามารถลดช่องว่างของความแตกต่างด้านต้นทุนระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนาในหลายประเทศให้แคบลง ดังนั้นสำหรับภาคธุรกิจการเพิ่มประสิทธิภาพแบบ end-to-end นั้นไม่แพ้กับการบริหารจัดการต้นทุนเลยทีเดียว
จากตัวอย่างสถานการณ์ข้างต้นทำให้เห็นแล้วว่า การกลับมาของระบบเศรษฐกิจโลกหลัง COVID-19 นั้น ความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นได้ถูกฉายภาพให้ชัดขนาดไหน ธุรกิจเองก็จำเป็นที่จะต้องปรับตัวอย่างจริงจัง โดยเฉพาะธุรกิจ SME ที่ไม่ใช่เพียงแค่อยู่ในขั้นของการรับรู้ว่าต้องทำ หรือมองว่าเป็นเรื่องที่ดีหากได้ทำ แต่ต้องลงมือทำ ณ ตอนนี้เลย มิเช่นนั้นอาจจะทำให้เสียโอกาสในการชิงพื้นที่บนโลกใบใหม่ที่กำลังก้าวไป ที่จะเต็มไปด้วยความไม่แน่นอนสูงมาก
ถามว่า SME จะเอาตัวรอดอย่างไร ? สามารถเริ่มปรับตัวจากตรงไหนได้บ้าง ? ให้ลองนึกย้อนไปในช่วงสถานการณ์ก่อนหน้านี้ที่ทุกธุรกิจต่างจำเป็นต้องหาทางเอาตัวรอดทุกวิถีทาง จากการมีทรัพยากรที่น้อย และดำเนินธุรกิจภายใต้ข้อจำกัดที่สูง และทุกคนต่างวิ่งเข้าหาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยดำเนินธุรกิจอย่างไม่มีการลังเลอีกต่อไป ดังนั้นสำหรับธุรกิจ SME แล้ว เทคโนโลยีถือเป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญที่จะเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนได้เป็นอย่างดี
ในแง่ของการเพิ่มประสิทธิภาพ สำหรับธุรกิจ SME ส่วนใหญ่มักจะเป็นการใช้ระบบ Software เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการภายในองค์กร การจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบดิจิทัลมากขึ้น รวมไปถึงการเก็บข้อมูลไว้บน Cloud ซึ่งจะสังเกตได้จากการที่เมื่อช่วงที่มี COVID-19 ระบาดหนักจนทำให้หลายองค์กรต้องปรับรูปแบบการทำงานเป็น Work from home ก็สามารถที่จะปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังมี SME หลายรายที่เริ่มนำหุ่นยนต์ เข้ามาใช้ในการจัดการ Supply Chain สำหรับขั้นตอนของการตรวจสอบสินค้า การขนส่งสินค้า ที่อาศัยแรงงานมนุษย์น้อยลง เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานด้วยเช่นกัน
การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อลดต้นทุนสำหรับธุรกิจ SME ถือเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจเลยก็ว่าได้ เพราะเมื่อพูดถึงคำว่าต้นทุน ทรัพยากรใดก็ตามที่ต้องใช้ในการทำให้เกิดผลผลิต สิ่งเหล่านั้นนับว่าเป็นต้นทุนทั้งหมด ซึ่งแน่นอนว่าในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเพียงแค่ต้นทุนเงินหรือค่าใช้จ่ายเพียงอย่างเดียว แต่เป็นต้นทุนเรื่องเวลา ซึ่งถือเป็นต้นทุนแฝง ที่มองไม่เห็นอยู่ด้วย เพราะต้องอย่าลืมว่า ‘เวลา’ ก็มีราคาที่ต้องจ่ายกับการเสียไปเช่นกัน
จริง ๆ แล้ว หนึ่งในอุปสรรคที่เป็นปัญหาหลักของการยกศักยภาพการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการ SME ไทย คือ ต้นทุน เพราะถ้ามองในแง่ของการแข่งขันด้านอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น ตลาด คุณภาพสินค้า การบริการ หรือความน่าเชื่อถือ ปัจจัยเหล่านี้ ผู้ประกอบการไทยค่อนข้างทำได้ดีอยู่แล้ว ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องปรับรูปแบบการดำเนินงานให้มุ่งเน้นแก้ไขเรื่องของการจัดการต้นทุน ซึ่ง SME หากต้องการ Transform ธุรกิจให้เริ่มจากเรื่องของการจัดการบัญชีและการเงินก่อนรวมถึงการทำธุรกรรมการเงินที่เต็มไปด้วยขั้นตอน ความไม่สะดวก และมีต้นทุนที่มองไม่เห็นแฝงอยู่มากมาย
หากลองทำความเข้าใจ journey ของผู้ประกอบการ SME ในการทำธุรกรรมทางการเงินแต่ครั้งจะเห็น Pain Points ที่เกิดขึ้นไม่น้อยเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการที่ต้องเดินทางไปที่สาขา เพื่อให้ทันกับระยะเวลาที่ธนาคารเปิด หรือความยุ่งยากในการเตรียมเอกสารที่กว่าจะได้ทำธุรกรรมในแต่ละครั้ง แน่นอนว่ายิ่งมีขั้นตอน และกระบวนการที่มากเท่าไหร่ นั่นก็แปลว่าต้นทุนของผู้ประกอบการก็จะสูงขึ้นมากเท่านั้นเช่นกัน ทั้งเรื่องของเงินและเวลา
ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจที่ต้องมีการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาขายในประเทศ หรือจะเป็นการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ เพื่อนำมาสู่กระบวนการผลิตสินค้าในไทยก็ตามแต่ ถ้าหากผู้ประกอบการต้องมีการจ่ายเงินให้กับ supplier ต่างประเทศเดือนละ 2 ครั้ง รอบละ 15 วัน แต่เขาไม่สามารถที่จะทำธุรกรรมเหล่านี้ผ่านมือถือ หรือได้รับความสะดวกไม่มากพอ ก็มีความจำเป็นที่จะต้องเดินทางไปที่สาขาธนาคารเพื่อชำระเงินหรือโอนเงินไปต่างประเทศ เป็นสกุลเงินต่างประเทศ ต้องเตรียมเอกสารมากมาย ใช้เวลาอย่างน้อยครึ่งวันหรือทั้งวันด้วยซ้ำ ที่สำคัญยังต้องเสียค่าธรรมเนียมที่พอเอามาคิดรวม ๆ กันแล้วอาจทำให้ผู้ประกอบการ SME ตกใจได้ว่า เงินค่าธรรมเนียมแต่ละปีที่เสียไปอาจจะเอาไปจ่ายเงินเดือนพนักงานได้ 1-2 คนเลยทีเดียว จากปัญหาที่กล่าวมานี้ จะเห็นได้ว่าทุกกระบวนการแฝงไปด้วยต้นทุน ทั้งค่าใช้จ่ายในเรื่องของการเดินทาง ค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่ายในการเตรียมเอกสาร หรือแม้กระทั่งเวลาที่เสียไปกับการเดินทาง การรอขั้นตอนการดำเนินงาน และการติดตามผลการทำธุรกรรม รวมไปถึงความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยนที่มีความผันผวนอีก เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นต้นทุนแฝงที่อาจจะส่งผลต่อการลดศักยภาพของผู้ประกอบการทั้งสิ้น
ถ้ามองในฐานะผู้ประกอบการ จะต้องไม่ให้สิ่งเหล่านี้ โดยเฉพาะค่าธรรมเนียมกลายมาเป็นต้นทุนของธุรกิจ เพราะทุกอย่างย่อมมีวิธีที่จะสามารถจัดการและควบคุมต้นทุนเหล่านี้ได้
ดังนั้นการจะบริหารธุรกิจให้มีประสิทธิภาพเพื่อลดต้นทุนนั้น ต้องเลือกใช้เทคโนโลยีเข้ามาปิดช่องว่างของการดำเนินงาน อย่างสมัยนี้ มีบริการโอนเงินไปต่างประเทศผ่านโมบายแอปพลิเคชัน BIZ TOUCH จาก TMB ที่พัฒนามาเพื่อแก้ Pain Points ของ ผู้ประกอบการ SME โดยเฉพาะ ก็เป็นสิ่งที่ช่วยผู้ประกอบการ SME ในการลดต้นทุนเรื่องเงินและเวลาได้สูงมาก ตัวอย่างเช่น ถ้าหากลูกค้าต้องการทำธุรกรรมโอนเงินไปให้คู่ค้าต่างประเทศเพื่อชำระค่าวัตถุดิบ ก็สามารถทำได้ตลอด 24 ชั่วโมงจากที่ไหนก็ได้ ใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที ทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องของเวลาที่จำกัดและได้รับความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น และที่สำคัญคือ ฟรี ไม่มีค่าธรรมเนียม ไม่จำกัดจำนวนครั้ง สูงสุด 2 ล้านบาทต่อวัน รองรับได้มากถึง 14 สกุลเงิน ต่อให้จะต้องดีลกับ supplier เจ้าไหน ประเทศไหน ก็ครอบคลุม นอกจากนี้ยังไม่ต้องกังวลว่าเงินที่โอนไปนั้นสำเร็จหรือไม่ เพราะมีอีเมลแจ้งสถานะการโอนเงินแบบเรียลไทม์ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยง และไม่ทำให้เสียโอกาสด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตามสำหรับธุรกิจ SME ในการปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล จำเป็นที่ต้องมั่นใจได้ว่า ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพ และการลดต้นทุน จะต้องมีความสมดุลและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพราะในยุคหลัง COVID-19 ธุรกิจ SME เองจะต้องสามารถหาโอกาสจากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ ต่อสู้ได้อย่างคล่องตัว และวิ่งได้เร็วขึ้น รวมถึงการมีโครงสร้างภายในที่มีความแข็งแรงมากขึ้น เพื่อการยกระดับขีดความสามารถและศักยภาพในการแข่งขันบนโลกที่ไม่มีความแน่นอนสูงและผันผวนตลอดเวลาเช่นนี้ได้
สำหรับผู้ประกอบการ SME ใดที่ต้องการผู้ช่วยในการทำธุรกรรมทางการเงินที่ง่ายและตอบโจทย์ สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ tmbbank.com/transaction/ott/tech หรือ ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Corporate Call Center โทร. 02-643-7000
บทความนี้เป็น Advertorial
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด