Localization คือหัวใจของการทำธุรกิจ: GO-JEK ดัน GET บุกตลาด Ride-Hailing ไทย | Techsauce

Localization คือหัวใจของการทำธุรกิจ: GO-JEK ดัน GET บุกตลาด Ride-Hailing ไทย

ภิญญา นิตยาเกษตรวัฒน์ ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร GET ขึ้นพูดบนเวที Blognone Tomorrow ถึงบทบาทการบริการ Ride hailing ในประเทศไทย รวมถึงชูกลยุทธ์สำคัญที่ GET จะนำมาต่อกรกับผู้เล่นเจ้าอื่นที่ครองตลาดอยู่ในขณะนี้ อย่าง Grab และ Line

Image : Blognone Tomorrow

ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่โชคดี เนื่องจากมีบริษัทต่างชาติมากมายให้ความสนใจและอยากมาลงทุนด้วยเม็ดเงินมหาศาล แต่กลับเป็นตลาดที่ยากและมีความท้าทายสูง ด้วยความที่มีวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมอันเป็นเอกลักษณ์ การตอบรับต่อสิ่งใหม่ๆ จึงช้ากว่าประเทศอื่น ทำให้บริษัทต่างชาติได้รับผลตอบแทนน้อยกว่าที่ขาดหวัง ผู้เล่นที่เข้ามาก็ต้องออกไปอย่างรวดเร็ว ทิ้งไว้แต่ผลกระทบต่อผู้บริโภคที่ไร้ทางเลือก

แม้ว่าเปอร์เซ็นการใช้สมาร์ทโฟนในเมืองไทยจะสูงถึง 70% และมีการทำธุรกรรมออนไลน์ผ่านมือถือเกินครึ่ง แต่เหตุใดเปอร์เซ็นการใช้บริการ Ride-hailing ในไทยยังอยู่ที่แค่ 3.6% เท่านั้น?

คุณภิญญา กล่าวว่า สาเหตุหลักๆ นั้นเกิดจากการที่ Ride-hailing เป็นธุรกิจต่างชาติที่เข้ามาใหม่ กฎหมายต่างๆ ยังไม่เอื้อต่อธุรกิจประเภทนี้ บวกกับแรงต้านที่เกิดจากผู้ให้บริการท้องถิ่นดั้งเดิม จึงทำให้คนไม่กล้าใช้ และเกิดความกลัวในการลองบริการใหม่ๆ

สำหรับทางแก้ คุณภิญญามองว่า ประเทศไทยควรมีมากกว่า 1 ผู้เล่นในตลาด จึงจะสามารถทำให้เกิดผลกระทบในวงกว้างได้

ปัญหาการเดินทางในกรุงเทพ ไม่ต้องบอกก็ทราบกันดีว่าหนักหนาสาหัสขนาดไหน โดยมีการวิจัยระบุว่า คนกรุงเทพเสียเวลาในการเดินทางบนถนนเทียบเท่ากับ 1 เดือน 3 วัน ต่อปีเลยทีเดียว

เมื่อตลาดยังมีโอกาสสำหรับผู้เล่นหน้าใหม่ และมีพื้นที่อีก 96.4% ที่บริการที่มีอยู่ยังเข้าไม่ถึง GET จึงตั้งใจเจาะตลาดด้วยความเข้าใจและเทคโนโลยีที่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้จริง

แท็กทีม GO-JEK

คุณภิญญา กล่าวว่า การจะลงสู่สนามแข่งที่เต็มไปด้วยความท้าทาย ธุรกิจจึงต้องการ 3 ปัจจัยหลัก คือ

  1. เทคโนโลยีระดับโลก การสร้างแพลตฟอร์มที่แข็งแรงคือสิ่งจำเป็นสำหรับการทำธุรกิจ Ride-hailing เพื่อสร้างประสบการณ์ของลูกค้าให้ดีที่สุดตั้งแต่ การเรียกรถ ไปจนถึงขั้นตอนการจ่ายเงิน
  2. เงินทุนสนับสนุน
  3. วัฒนธรรมของบริษัท ที่ต้องเข้าใจการ localization อย่างแท้จริง

โดยสามสิ่งนี้สามารถเป็นไปได้ด้วยการร่วมมือกับ GO-JEK บริษัท Ride-hailing และบริการเดลิเวอรี สัญชาติอินโดนีเซีย ที่ใหญ่เป็นอันดับ 1 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยบริการกว่า 20 บริการและยอดดาวน์โหลดถึง 98 ล้านครั้ง

วิสัยทัศน์ของผู้บริหาร Go-Jek มีความเข้าใจเรื่อง localization อย่างลึกซึ้ง และพร้อมขยายสู่ต่างประเทศด้วยการใช้ชื่ออื่นและทีม partner ที่เป็นคนชาตินั้น เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของแต่ละท้องถิ่นอย่างแท้จริง

Nadiem Makarim CEO ของ Go-Jek กล่าวว่า “สิ่งสำคัญไม่ใช่การเติบโตของธุรกิจเท่านั้น แต่คือการพยายามสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อผู้คนให้ได้มากที่สุด”

โดยความสำเร็จไม่ได้วัดจากจำนวน traction แต่วัดจากผลกระทบที่สามารถทำให้เกิดกับคนหมู่มาก หรือการสร้าง social impact นั่นเอง

Localization ตีโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคไทย

ดูเหมือนว่า GET จะเรียนรู้จากความผิดพลาดของคู่แข่ง โดยมองว่าการจะเข้ามาสู่ตลาดเมืองไทย ต้องนำเสนอทั้งทางเลือกใหม่ให้ผู้บริโภค ควบคู่ไปกับการผูกมิตรและส่งเสริมบริการท้องถิ่นที่มีอยู่ อย่างวินมอเตอร์ไซค์

ด้วยความผูกพันกับพี่วินตั้งแต่เด็ก คุณภิญญา ไม่อยากให้อาชีพนี้ต้องถูกเทคโนโลยี disrupt จนหายไป จึงมีการตั้งทีมศึกษา เรียนรู้วิธีการสื่อสารให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดย GET ตั้งเป้าสนับสนุนอาชีพวินมอเตอร์ไซค์ให้พัฒนาไปสู่ยุคถัดไป ด้วยรายได้ที่มากขึ้น มีสวัสดิการที่ดี และมีอิสระในการบริหารจัดการเวลา

การ localization จึงไม่ใช่เพียงการแปลภาษาเท่านั้น แต่คือการทำให้ทั้งบริษัท ตั้งแต่ทีมผู้บริหาร และกฎระเบียบทุกอย่างเข้ากับนิสัยของผู้ให้บริการและผู้บริโภคคนไทย

คงจะต้องรอดูเร็วๆ นี้ เมื่อ GET เปิดตัวอย่างเป็นทางการว่าจะมีบริการอะไรบ้างที่จะเป็นทางเลือกใหม่ให้กับคนไทย และตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคมากกว่าบริการที่มีอยู่

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

2024 ธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยต้องโฟกัสอะไร? รู้จักกลยุทธ์ 2C โอกาสใหม่ของธุรกิจไทย เจาะปัจจัยหลักที่นักการตลาดดิจิทัลต้องรู้

บทความนี้ Techsauce จึงจะพามารู้จักกับ 2 กุญแจชิ้นสำคัญอย่าง Content & Convenience ที่กุมชะตาธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยในยุคดิจิทัล...

Responsive image

AirAsia MOVE ประกาศรีแบรนด์ดิ้งใหม่ สู่ผู้นำแพลตฟอร์มเดินทาง OTA แบบคุ้มครบจบในแอปเดียว พร้อมแพ็กเกจบินทั่วอาเซียนแบบไม่จำกัด

airasia Superapp ประกาศรีแบรนด์ดิ้งใหม่ในชื่อ AirAsia MOVE พร้อมปรับโฉมแอปพลิเคชันใหม่ และเสริมกลยุทธ์ด้านธุรกิจเพื่อผลักดันให้ AirAsia Move เป็นผู้นำด้านแพลตฟอร์ม OTA (ตัวแทนด้านก...

Responsive image

VC เผยวิธีมองสตาร์ทอัพให้ขาด ก่อน ORZON Ventures เข้าไปลงทุน

คุยกับ 'คุณณรัณภัสสร์ ฐิติพัทธกุล ผู้อำนวยการการลงทุน ORZON Ventures' เรื่องการทำงานระหว่าง OR กับ 500 TukTuks, เกณฑ์การพิจารณาสตาร์ทอัพที่น่าลงทุน, เหตุที่บางดีลเกิด/ไม่เกิด รวม...