5 เคล็ดลับความสำเร็จของ Google ในการสร้างทีมที่ยอดเยี่ยม และทั้งหมดนี้เกี่ยวข้องกับการมี ‘ความฉลาดทางอารมณ์’
เคล็ดลับความสำเร็จของ Google คือ การทำงานร่วมกันเป็นทีม ซึ่งนี่เป็นการเปิดโอกาสให้บริษัทสามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ รวดเร็วยิ่งขึ้น สามารถมองเห็นสิ่งที่ผิดพลาดรวดเร็วยิ่งขึ้น และแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ถึงกระนั้น อย่างไรก็ตาม ในขณะที่บางทีมกำลังไปได้ดี แต่ก็ยังมีทีมอื่นๆ ที่ทำงานล้มเหลว
หากบริษัทสามารถหา “สูตรสำเร็จของการเป็นดรีมทีม” จากทีมที่ประสบความเร็จ ก็จะเป็นเรื่องดีไม่ใช่น้อย
Google จึงได้ทำโครงการที่ออกแบบมาเพื่อค้นหาคำตอบนี้ และโปรเจคนี้ก็มีชื่อว่า Project Aristotle
เคยมีคนกล่าวไว้ว่า ในการสร้างทีมที่ดีที่สุดคุณต้องมีคนที่มีความรู้และความสามารถมากที่สุด แต่หลักฐานแสดงให้เห็นว่า มันไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป
เคยเจอไหม กรณีที่ได้มีการนำผู้เล่นระดับ A Player เข้ามาไว้ด้วยกัน แต่พวกเขากลับทำงานร่วมกันไม่ได้ดีเท่าที่ควร หากเป็นเช่นนี้ จะทำอย่างไร?
นักวิจัยของ Project Aristotle ได้ทำการสำรวจดูข้อมูลจำนวนมาก และทำการสัมภาษณ์หลายร้อยครั้ง พวกเขาศึกษาทีมกว่า 180 ทีม อย่างใกล้ชิด รวมถึงทีมที่มีชื่อเสียงในด้านประสิทธิภาพทั้งสูงและต่ำ
ในท้ายที่สุด พวกเขาก็ได้ข้อสรุปว่า ทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดมีคุณสมบัติ 5 ประการ:
ซึ่งทั้งหมดนี้ เกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่อง ‘ความฉลาดทางอารมณ์’ (Emotional intelligence) หรือความสามารถในการการระบุ เข้าใจ และจัดการอารมณ์ได้
เราลองมาแจกแจงรายละเอียดของแต่ละข้อกันว่า คุณจะสามารถนำไปปรับใช้ในองค์กรได้อย่างไรบ้าง
เป้าหมาย: การสร้างความปลอดภัยทางจิตใจ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อคนในทีมรู้สึกกล้าเสี่ยง หรือกล้าที่จะแสดงความอ่อนแอต่อคนในทีม
วิธีการปฏิบัติ: เมื่อมีการทำผิดพลาด หัวหน้าทีมควรแสดงการยอมรับผิด และบอกกล่าวคนในทีมว่า มีบทเรียนอะไรจากเหตุการณ์ในครั้งนั้น แล้วคนในทีมก็จะทำตาม
อาจจะทำได้โดยการจัดสรรเวลาระหว่างวัน เช่น ในตอนทานข้าวกลางวัน หรือช่วงพักทานกาแห ลองคุยเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับงาน (ทำในรูปแบบออนไลน์หรือออฟไลน์ก็ได้)
ทำการยกย่องชื่นชมผู้อื่นอย่างใจกว้าง อีกทั้งยอมรับและเคารพความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา
เป้าหมาย: คนในทีมทำงานสำเร็จทันตามกำหนดเวลา และตามมาตรฐานที่ Google ได้วางไว้
วิธีการปฏิบัติ: คนที่เป็นผู้นำทีมต้องทำตัวเป็นตัวอย่างให้คนในทีม ให้เห็นความสำคัยของการทำงานใทันตามเดดไลน์
ผู้นำต้องแสดงความชัดเจนว่า หากคนในทีมไม่สามารถทำงานทันเดดไลน์ได้ พวกเขาต้องสื่อสารและขอความช่วยเหลือ อาจจะให้รางวัลหรือคำชมเมื่อพวกเขาได้ทำตามคำแนะนำ และยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือเท่าที่จะทำได้
เพื่อเป็นการทำให้งานออกมาคุณภาพดีและทันตามกำนดเวลา หัวหน้าทีมต้องทำการนัดหมายเพื่อพูดคุย อัพเดท ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ หากมีปัญหาเกิดขึ้น คุณจะได้รู้ว่ามีจุดไหนที่ต้องแก้ หรืออาจจะต้องจัดสรรเวลาในการคุยให้มากขึ้น สิ่งที่ได้ผลกับแต่ละคนอาจจะไม่ได้ผลกับอีกคน ดังนั้น หัวหน้าทีมต้องรู้จักปรับตัวเข้าหาลูกน้อง และในขณะเดียวกัน ก็ต้องรักษามาตรฐานการทำงานของทุกคนให้อยู่ในระดับเดียวกันด้วย
เป้าหมาย: คนในทีมมีหน้าที่ แผนการทำงาน และเป้าหมายในการทำงานที่ชัดเจน
วิธีการปฏิบัติ: หัวหน้าทีมจะต้องสื่อสารวัฒนธรรมองค์กรให้ชัดเจน เช่น ช่วงเวลาที่ต้องการติดต่อคนในทีม? คนในทีมต้องตอบอีเมลหรือข้อความเร็วแค่ไหน? การกำหนดและย้ำเตือนคนในทีมถึงสิ่งที่คุณคาดหวังนี้ จะช่วยสร้างบาลานซ์ระหว่างการที่ต้องทำงานร่วมกัน และช่วงเวลาที่แต่ละคนต้องการโฟกัสกับการทำงานแต่ละประเภท และในด้านอื่นๆ
ทำการสื่อสารเรื่องขอบเขตให้ชัดเจน ทั้งหัวหน้าทีมและสมาชิกในทีมต้องเข้าใจในเรื่องขอบเขตของงาน การมอบหมายงาน รวมถึงต้องลงแรงและเวลามากแค่ไหน เพื่อที่งานจะออกมาสำเร็จ
สื่อสารเป้าหมายในแต่ละงานอย่างชัดเจน ตลอดจนกลยุทธ์และเป้าหมายระยะยาว
เป้าหมาย: งานที่ทำนั้นมีความหมายต่อทีมงานแต่ละคน
วิธีการปฏิบัติ: หัวหน้าทีมควรสื่อสารในเรื่องเรื่องจุดแข็งและจุดอ่อนของคนในทีม อีกทั้งในทีมควรมีการสื่อสารอย่างเปิดเผยเกี่ยวกับประเภทของงานและงานที่ได้รับมอบหมาย มีประเภทไหนบ้างที่พวกเขาชอบทำและไม่ชอบทำ ซึ่งนี่จะเป็นการเปิดโอกาสให้หัวหน้าทีมได้แจกแจงงานที่จะมีความหมายต่อแต่ทีมงานแต่ละคนได้อย่างตรงจุด และทุกคนก็จะทำการเข้าร่วมหรือช่วยงานที่ยากหรือไม่ต้องการ (แต่จำเป็น) เมื่อจำเป็นต้องทำ
ใจกว้างกับคำชม ทำให้จริงใจและเฉพาะเจาะจง
ให้ข้อเสนอแนะที่ชาญฉลาดทางอารมณ์ เนื่องจากแต่ละคนนั้นมีความอ่อนไหวไม่เท่ากัน ดังนั้นหัวหน้าทีมต้องรู้จักปรับตัวเข้าหาแต่ละคน สำหรับบางคน อาจจะสามารถวิจารณ์หรือเสนอแนะสิ่งที่พวกเขาต้องปรับปรุงได้ตรงประเด็น แต่สำหรับบางคน อาจจะต้องลองปรับคำพูดให้นุ่มนวลลง
กฏก็คือ ต้องถือว่าการให้ฟีดแบคที่ critical เป็นฟีดแบคที่สร้างสรรค์ ลองเปิดโอกาสให้อีกคนได้เสนอหรือแชร์สิ่งที่จะช่วยให้เขาหรือคุณได้เติบโต แชร์ประสบการณ์ที่คุณเคยทำแม้จะเคยผิดพลาด แต่คุณได้บทเรียนอะไรจากครั้งนั้นหรือผ่านมันมาได้อย่างไร เพื่อที่พวกเขาจะได้เห็นว่าเราทุกคนมีจุดบอดและต้องการความช่วยเหลือเพื่อที่จะได้นำมาปรับปรุงเหมือนกัน
เป้าหมาย: คนในทีมคิดว่างานที่ตัวเองทำมีความสำคัญ และสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้
วิธีการปฏิบัติ: ทุกแผนกในบริษัทนั้นมีความแตกต่างกันไป ลองมองหาโอกาสที่จะได้แสดงผลงานที่จะสร้างความเปลี่ยนแลงออกมา
ยอดขายส่งผลต่อกำไรของบริษัทอย่างไรบ้าง? งานของฝ่ายการตลาดจะช่วยทำให้ทีมฝ่ายขายสามารถทำงานง่ายขึ้นได้อย่างไร? พนักงานมีปฏิกริยาต่อการเข้ามามีส่วนร่วมที่มากขึ้นของฝ่าย HR อย่างไร?
ไม่ว่าจะอยู่แผนกไหน คำแนะนำก็คือ อย่าแชร์แค่ตัวเลข แต่แสดงให้เห็นถึงเหตุการณ์จริง ทั้งจากตัวพนักงานเองหรือจากลูกค้า เพื่อที่พนักงานจะได้เห็นความสำคัญของงานที่ทำอย่างแท้จริง
หากคำแนะนำทั้งหมดนี้ดูเหมือนจะมากไป ก็อย่าเพิ่งตื่นตระหนดไป เพราะไม่ใช่ทุกบริษัท ที่จะทำสิ่งเหล่านี้ได้ดีเท่าๆ กัน
อาจจะเริ่มต้นด้วยการเลือกมาสักหนึ่งหรือสองข้อ แล้วเริ่ม take action แล้วลองดูผลลัพธ์หลังจากสองอาทิตย์ให้หลัง หรืออีกหนึ่งเดือนว่าเป็นอย่างไร แล้วเมื่อคุณพอใจกับผลลัพธ์แล้ว ก็ลองเพิ่มสิ่งใหม่ๆ เข้าไป ทำช้าๆ แต่ว่าได้ผลแน่นอนดีกว่า แล้วคุณจะเริ่มเห็นว่า การมีคนที่ยอดเยี่ยมนั้นเป็นหนึ่งในสูตรสมการความสำเร็จ แต่ความสำเร็จที่แท้จริงนั้น คือการที่คนที่ยอดเยี่ยมทุกคน สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น
อ้างอิง Inc.
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด