Google เผยเบื้องหลังการสร้าง Google Maps | Techsauce

Google เผยเบื้องหลังการสร้าง Google Maps

ในขณะที่ในทุกๆ วัน โลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด มีการสร้างถนนและอาคารเพิ่มขึ้น รวมทั้งยังมีการเปิดตัวธุรกิจใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง โดยบทบาทของทีม Google Maps คือการสร้างแบบจำลองที่ถูกต้องและสะท้อนให้เห็นถึงโลกที่มีการพัฒนาตลอดเวลา ซึ่งในการทำแผนที่ ทีม Google Maps มีการทำงานหลากหลายขั้นตอน รวมไปถึงการผสมผสานที่ลงตัวของสมาชิกในทีม เทคนิค และเทคโนโลยี

ขั้นตอนแรกของการทำแผนที่เริ่มต้นด้วยภาพ ซึ่ง Street View และภาพถ่ายจากดาวเทียมเป็นส่วนสำคัญในการระบุสถานที่ต่างๆ ในโลกมาโดยตลอด โดยแสดงให้เราเห็นถึงถนน อาคารสิ่งปลูกสร้าง ที่อยู่ และธุรกิจที่ตั้งอยู่ในแต่ละภูมิภาค นอกเหนือจากรายละเอียดที่สำคัญอื่นๆ เช่น การจำกัดความเร็วในเขตเมืองต่างๆ หรือชื่อธุรกิจ

ในปี 2007 Google ได้เปิดตัว Street View เพื่อช่วยให้ผู้คนสำรวจสถานที่ต่างๆ ทั่วโลกในโลกเสมือนจริง ตั้งแต่ส่วนลึกของทวีปแอนตาร์กติกาไปจนถึงยอดเขาคิลิมันจาโร ซึ่งในช่วง 12 ปีที่ผ่านมา รถ Street View และ เครื่องมือเก็บภาพที่เรียกว่า Street View Trekker ได้รวบรวมภาพมากกว่า 170 พันล้านภาพจาก 87 ประเทศทั่วโลก และเพราะ Street View Trekker รุ่นใหม่ล่าสุดที่ได้รับการติดตั้งเซ็นเซอร์ความละเอียดสูงและมีรูรับแสงที่กว้างขึ้น จึงทำให้ภาพที่ถ่ายมาได้นั้นมีคุณภาพที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

Street View Trekker

หลังจากการเริ่มต้นด้วยภาพ ถัดมาคือการใส่ข้อมูล ข้อมูลที่เชื่อถือได้ทำให้แผนที่มีชีวิต ข้อมูลของ Google Maps มาจากแหล่งบุคคลที่สามมากกว่า 1,000 รายจากทั่วทุกมุมโลก แหล่งข้อมูลบางราย เช่น สำนักงานสำรวจทางธรณีวิทยาของสหรัฐ (USGS) และสถาบันสถิติและภูมิศาสตร์แห่งชาติของเม็กซิโก (INEGI) ให้ข้อมูลเกี่ยวกับทั้งประเทศ ในขณะที่รายอื่นๆ ให้ข้อมูลเฉพาะสำหรับภูมิภาคเล็กๆ เช่น ข้อมูลจากเทศบาลท้องถิ่น องค์กรพัฒนาเอกชน หรือผู้พัฒนาที่อยู่อาศัย เป็นต้น ทั้งนี้ ทีมงานของ Google Maps ได้ตรวจสอบทุกแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้อย่างละเอียดเพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลมีความถูกต้องและเป็นปัจจุบันมากที่สุด และเมื่อเร็วๆ นี้ Google ได้แนะนำเครื่องมือใหม่ที่ทำให้รัฐบาลท้องถิ่นสามารถอัปโหลดข้อมูลเกี่ยวกับถนนและที่อยู่ใหม่ๆ ในพื้นที่ของพวกเขาใน Google Maps ได้โดยตรงและง่ายขึ้น

ครงร่างถนนจากข้อมูลของสถาบันสถิติและภูมิศาสตร์แห่งชาติของเม็กซิโก

นอกจากข้อมูลและภาพเป็นองค์ประกอบสำคัญของการสร้างแผนที่แล้ว ส่วนสำคัญส่วนที่สามก็คือ ผู้คนที่ช่วยรวบรวมทุกอย่างเข้าด้วยกัน Google Maps มีทีมงานด้านข้อมูลอยู่ทั่วโลก ที่มีบทบาทในการทำแผนที่ทุกด้าน ตั้งแต่การรวบรวมภาพ Street View และการตรวจสอบแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ ไปจนถึงการแก้ไขแผนที่ที่ไม่ถูกต้อง และฝึกฝนโมเดลแมชชีน เลิร์นนิง

นอกจากนี้ยังมีชุมชน Local Guides และผู้ใช้ Google Maps ที่คอยช่วยเหลือในการแก้ไขแผนที่ผ่านการส่งความคิดเห็นใน Google Maps จากนั้นทีมงาน Google Maps จะตรวจสอบข้อมูลและทำการเผยแพร่หากมีความมั่นใจในระดับสูงว่าข้อมูลที่ได้รับตรงกับถนน ธุรกิจ และที่อยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง

การทำงานของทีมงานด้านข้อมูล

และเพื่อให้ข้อมูลแผนที่มีประโยชน์กับผู้คนจำนวนมากขึ้นได้เร็วขึ้นกว่าเดิม Google Maps ได้หันมาใช้ประโยชน์จากแมชชีน เลิร์นนิง โดยแมชชีน เลิร์นนิงทำให้ทีม Google Maps สามารถสร้างแผนที่ได้โดยอัตโนมัติ ในขณะที่ยังคงมีความแม่นยำในระดับสูง

ก่อนหน้านี้อัลกอริทึมที่พยายามคาดเดาว่าส่วนหนึ่งของรูปภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างหรือไม่ ส่งผลให้เกิดสิ่งที่เราเรียกว่า "สิ่งปลูกสร้างที่คลุมเครือ" ซึ่งเป็นรูปสัณฐานที่ไม่เหมือนสิ่งปลูกสร้างจริงเมื่อถูกนำไปใส่ในแผนที่ และนี่คือปัญหา ซึ่งในการแก้ไขปัญหานี้ Google Maps ได้ร่วมมือกับทีมงานด้านข้อมูลเพื่อติดตามโครงร่างสิ่งปลูกสร้างทั่วไปด้วยตนเอง จากนั้นใช้ข้อมูลนี้เพื่อพัฒนาอัลกอริทึมของแมชชีน เลิร์นนิง เพื่อให้ระบุว่าภาพใดสอดคล้องกับขอบและรูปร่างของสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งเทคนิคนี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพ โดยภายในเวลาเพียง 1 ปี ทีม Google Maps สามารถทำแผนที่สิ่งปลูกสร้างได้มากเท่ากับที่ทำใน 10 ปีที่ผ่านมา

โครงร่างสิ่งปลูกสร้างที่คลุมเครือใน Google Maps รูปหลายเหลี่ยมของสิ่งปลูกสร้างที่มีความชัดเจนใน Google Maps

เห็นได้ชัดว่า Google Maps มีความสำคัญต่อการเติบโตของชุมชนต่างๆ โดยช่วยเชื่อมต่อผู้คนเข้าด้วยกัน และช่วยให้เศรษฐกิจเติบโตขึ้นเมื่อผู้คนค้นพบธุรกิจและร้านอาหารใหม่ๆ และแม้ว่าปัจจุบันแผนที่บน Google Maps จะครอบคลุมกว่า 220 ประเทศและดินแดนต่างๆ ทั่วโลกแล้ว แต่ทีม Google Maps ก็ยังคงพัฒนาต่อเนื่อง ด้วยเพราะแต่ละภูมิภาคมีความต้องการที่แตกต่างกันออกไป

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...