ความท้าทายของรัฐในการขับเคลื่อนสู่อนาคตด้วยเทคโนโลยี | Techsauce

ความท้าทายของรัฐในการขับเคลื่อนสู่อนาคตด้วยเทคโนโลยี

ท่ามกลางกระแสของ Smart City ที่สะท้อนถึงความคาดหวังของผู้คนถึงการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นควบคู่ไปกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน เทคโนโลยีเข้ามาเป็นตัวแปรสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมไปสู่อนาคต ภาครัฐต้องปรับตัวอย่างไรเพื่อสามารถใช้ประโยชน์สูงสุดจากเทคโนโลยี จะสร้างความร่วมมือกับเอกชนไปจนถึงภาคสังคมอย่างไร ในงาน Techsauce Global Summit 2019 บนเวที Main Stage วันแรก Tim Culpan จาก Bloomberg นำเราไปพูดคุยกับสาม Speakers ที่มีประสบการณ์ในการทำงานท่ามกลางความร่วมมือระหว่าง ‘ภาครัฐ-เอกชน’ ซึ่งทั้งสามท่านจะมาบอกเล่าแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในหัวข้อ “Driving Governments towards Technological Adoption”

บทบาทของภาครัฐที่เปลี่ยนไปในการขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี

Audrey Tang รัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลแห่งไต้หวัน ให้ความเห็นว่าลำพังเทคโนโลยีนั้นไม่ได้แก้ไขปัญหาอะไรด้วยตัวมันเอง แต่คือคนที่ใช้เทคโนโลยีในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหา เทคโนโลยีทำให้ภาครัฐต้องเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นหลักในการบริหารจัดการ สู่การเป็นผู้จัดเตรียมและรองรับให้ภาคประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา

Audrey Tang (ซ้ายสุด) Digital Minister of Taiwan

ซึ่งในประเด็นนี้ Catherine Caruana-McManus จาก Meshed เห็นตรงกับ Tang และกล่าวเสริมว่าในช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา หลายๆ รัฐบาลทั่วโลกได้มีการตื่นตัว และทบทวนถึงประเด็นเงื่อนไขความเป็นส่วนตัว ใจความสำคัญกล่าวถึงเรื่องความเป็นเจ้าของ และความเป็นประชาธิปไตยของ ‘ข้อมูล’ ทิศทางของการใช้ข้อมูลที่ควรมีการแชร์กันมากขึ้น ซึ่งนี่ก็เป็นโอกาสมหาศาลของผู้ประกอบการและประชาชน เธอกล่าวว่าข้อมูลเป็นสิ่งที่มีค่า เปรียบเสมือนวัตถุดิบ หากเราไม่มีวัตถุดิบก็สร้างมูลค่าใดๆ ขึ้นมาไม่ได้ คำถามที่เกิดขึ้นและกำลังเป็นที่ถกเถียงกันคือใครเป็นเจ้าของข้อมูล ใครมีสิทธิ์ทำอะไรกับข้อมูลบ้าง อย่างไรก็ตามแนวทางการเปิดแชร์ข้อมูลกันมากขึ้นเป็นพื้นฐานของการที่รัฐบาลจะสามารถขับเคลื่อนต่อไปได้อย่างยั่งยืน

Catherine Caruana-McManus from Meshed

โอกาสของผู้ประกอบการรุ่นใหม่ในการทำงานร่วมกับรัฐบาล

Jonathan Reichental, Founder และ CEO จาก Human Future ให้ความเห็นว่าในการที่ภาครัฐจะรับเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ โอกาสเกิดความร่วมมือเชิง Partnership ระหว่างภาครัฐกับเอกชนสามารถเกิดขึ้นได้อย่างมหาศาล ในที่นี้รวมถึงเหล่าผู้เล่นหน้าใหม่ หากมีใครเสนอสร้าง Solution ในการแก้ปัญหาใหม่ๆ ภาครัฐต้องปรับให้คนเหล่านั้นสามารถเข้าถึงเพื่อเสนอขาย Solution และนำเสนอต่อสาธารณะได้ง่ายขึ้น เขาเสริมว่าในระดับการปกครองแบบท้องถิ่นจะเป็นการง่ายกว่าในการสร้างความร่วมมือ เนื่องจากภาครัฐในท้องถิ่นจะอยู่ใกล้ชิดและมีความเข้าใจผู้คนในท้องที่ได้ดีกว่า โอกาสของผู้ประกอบการในท้องถิ่นในการเข้าถึงภาครัฐก็จะง่ายขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน

หากมีใครสร้าง Solution ในการแก้ปัญหาใหม่ๆ ภาครัฐต้องปรับให้คนเหล่านั้นสามารถเข้าถึงเพื่อเสนอขาย Solution เพื่อนำเสนอต่อสาธารณะได้ง่ายขึ้น

Jonathan Reichental, Founder and CEO of Human Future

ปัญหาความท้าทายของการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐกับเอกชน

Catherine ชี้ว่าอุปสรรคของการร่วมมือระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐเป็นเรื่องของการ ‘แปลภาษา’ นั่นคือการที่ภาคเอกชนไม่สามารถเข้าใจภาษาและปัญหาที่แท้จริงของภาครัฐ จึงไม่สามารถตีความการแก้ไขปัญหาได้ถูกต้อง ซึ่งหากไม่มีความเข้าใจกันที่ชัดเจนตรงนี้ก็นำไปสู่การเกิดความร่วมมือได้ยาก ดังนั้นจึงแนะนำให้บริษัทต่างๆ เข้าไปทำความเข้าใจกับปัญหาของภาครัฐก่อนเพื่อประโยชน์กับทุกฝ่าย

ในการร่วมมือกับเอกชน รัฐควรใช้วิธีจ้างเหมางานหรือเปิดให้เป็น Open Source

ในการสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อนำเข้าเทคโนโลยี ควรที่รัฐจะให้วิธีจ้างเหมางาน หรือเปิดให้เป็นลักษณะ Open Source สำหรับคำถามนี้ Jonathan เชื่อว่ามันไม่สามารถมีคำตอบตายตัวได้ ขึ้นอยู่กับว่าเราถามใคร ในบริบทใด เพราะทุกที่มีวัฒนธรรมที่แตกต่างกันออกไป อย่างไรก็ตามเขาเสนอว่ารัฐไม่ควรที่จะทำทุกอย่างด้วยตัวเอง รัฐควรรู้ว่าตัวเองมีจุดแข็งในเรื่องใด และอะไรที่ควรให้ผู้ที่เชี่ยวชาญกว่าทำ ซึ่งน่าจะเป็นวิธีที่เกิดผลดีกว่าในระยะยาว

รัฐไม่ควรที่จะทำทุกอย่างด้วยตัวเอง รัฐควรรู้ว่าตัวเองมีจุดแข็งในเรื่องใด และอะไรที่ควรให้ผู้ที่เชี่ยวชาญกว่าทำ ซึ่งน่าจะเป็นวิธีที่เกิดผลดีกว่าในระยะยาว

Audrey ยกตัวอย่างเสริมถึงกรณีที่เกิดขึ้นในไต้หวัน หากมี Startup ที่ต้องการทดลองไอเดียหรือ Solution ใหม่ๆ ก็สามารถใช้โมเดล Sandbox ในการทดลองไอเดียได้หนึ่งปี ถ้าเทคโนโลยีที่นำเสนอสามารถสาธิตให้สาธารณะเห็นได้ว่าเป็นประโยชน์จริง ก็จะทำให้ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์ไปด้วยในที่สุด

Catherine ย้ำว่าหากบริษัทไหนต้องการที่จะทำงานร่วมกับภาครัฐจริงๆ สิ่งที่สำคัญมากคือการทำความเข้าใจบริบทของปัญหาที่ต้องการจะเข้าไปแก้ไขจริงๆ

การเกิดส่วนร่วมจากภาคสังคม

Audrey กล่าวถึงความสำคัญของภาคสังคม ในไต้หวันมีการสร้างเว็บไซต์ที่เปิดให้ประชาชนสามารถเสนอความคิดเห็น แสดงความไม่เห็นด้วยกับนโยบายต่างๆ ไปจนถึงการวิพากษ์วิจารณ์การใช้งบประมาณของภาครัฐ ถึงตอนนี้รัฐบาลไต้หวันได้รับเอา 20 โครงการจากกว่า 200  โครงการที่มีการร่วมเสนอไปปรับใช้จริงๆ นี่คือการแสดงให้เห็นว่าการมีส่วนร่วมจากภาคสังคมจะสามารถช่วยขับเคลื่อนโครงการต่างๆ ของรัฐบาลได้ และยังทิ้งท้ายไว้ว่า

รัฐบาลต้องมีความเชื่อมั่นในประชาชน จากนั้นจึงจะสามารถได้รับการไว้ใจจากประชาชนกลับมาด้วยเช่นกัน

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

แนะเทรนด์ลงทุนในสตาร์ทอัพปี 2024 พร้อมช่องทางใหม่ในการระดมทุนจากงาน KATALYST TALK MEETUP #3

บทความที่เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพควรอ่านเพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการเผชิญความท้าทายในปีนี้ จากการรับฟังภายในงาน KATALYST TALK MEETUP #3 ‘Navigating the Startup Challenges in 2024 and Beyond’...

Responsive image

เตรียมพบกับงาน SEA Blockchain Week 2024 (SEABW) ยกขบวนกูรูผู้เชี่ยวชาญด้านบล็อกเชน และ Web 3 ระดับโลกกว่า 100 คน มาร่วมพูดคุยแบ่งปันประสบการณ์ที่เมืองไทย

Southeast Asia Blockchain Week หรือ SEABW งานด้านบล็อกเชนสุดยิ่งใหญ่ระดับภูมิภาค ที่เตรียมจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในวันที่ 24-25 เมษายน 2567 ซึ่งจะจัดขึ้น ณ True ICON HALL ช...

Responsive image

กระทรวง AI : เมื่อ AI อันตรายเกินกว่าจะปล่อยไว้ โลกเร่งออกกฎควบคุม

AI กลายเป็นสิ่งที่ต้องถูกควบคุมด้วยกฎหมาย และต้องถูกจับตาดูโดยหน่วยงานของรัฐบาลอย่าง ‘กระทรวง AI’ ที่มีอำนาจ และความสำคัญไม่แพ้หน่วยงานอื่น ๆ แต่ทำไม AI ต้องถูกควบคุมโดยรัฐบาล ? กร...