บุก ‘Grab Kitchen’ แห่งแรกถึงอินโดฯ กับ Cloud Kitchen โมเดลเปลี่ยนอุตสาหกรรมอาหารยุคดิจิทัล | Techsauce

บุก ‘Grab Kitchen’ แห่งแรกถึงอินโดฯ กับ Cloud Kitchen โมเดลเปลี่ยนอุตสาหกรรมอาหารยุคดิจิทัล

Grab แอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ จนเป็น Super App และกำลังจะก้าวเข้าสู่ แอปฯ ในชีวิตประจำวันของคนเมือง ตั้งแต่เรียกรถ ส่งของ สั่งอาหาร ไปจนสู่บริการใหม่ๆ มากมาย ถึงแม้ว่า Grab จะเติบโตผ่านบริการ Ride-hailing แต่อีกหนึ่งบริการที่กำลังเป็นที่นิยมไม่แพ้กันก็คือบริการส่งอาหาร 

อินโดนีเซียคือหนึ่งในตลาดที่น่าจับตามองที่สุดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยจำนวนประชากรที่สูงมาก และสภาพปัญหาการจราจรที่เกิดขึ้น แน่นอนว่า Grab ได้เข้าไปครองตลาดอินโดนีเซียเป็นที่เรียบร้อย จากความนิยมที่สูงขึ้นของผู้บริโภค Grab ได้เปิดบริการใหม่ ‘Grab Kitchen’ ในปีนี้ พร้อมนำแนวคิด Cloud Kitchen มาใช้เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคให้มากยิ่งขึ้น เริ่มประเดิมแห่งแรกในจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย 

Grab Kitchen คืออะไร 

Sai Alluri หัวหน้าฝ่าย GrabKitchen เล่าว่า Grab Kitchen คือการนำเอาแนวคิดแบบ Cloud Kitchen มาใช้ หมายถึงการรวบรวมเอาร้านอาหารหลายร้านเข้ามาไว้ในพื้นที่เดียวกัน และกระจายสินค้าไปสู่ผู้สั่งออนไลน์ในระยะใกล้เคียง ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้ร้านอาหารท้องถิ่นสามารถเข้าถึงลูกค้าออนไลน์ได้ง่ายยิ่งขึ้น และฝั่งผู้บริโภคเองก็ยังเข้าถึงเมนูอาหารที่ต้องการได้ โดยกระบวนการต่างๆ นั้นล้วนพัฒนามาจากการนำ Data ที่มีมาวิเคราะห์และคัดสรรร้านอาหารที่น่าสนใจพร้อมกับตำแหน่งที่ตั้งของครัวและร้านอาหารที่เป็นที่นิยม โดย Grab Kitchen ในหนึ่งที่อาจมีร้านอาหารร่วมครัวสูงถึง 8-15 ราย 

ความพิเศษของ Grab Kitchen 

  • ตอบโจทย์ลูกค้ายิ่งขึ้น Grab Kitchen มีการเปิดให้ลูกค้าสามารถสั่งอาหารได้หลายเมนู เช่นเช็ตอาหารที่ได้ทำการ Mix and Match ไว้ให้ลูกค้า อย่าง อาหารคาวและหวาน 
  • นำ Data ที่มีมาวิเคราะห์และนำเสนอผลิตภัณฑ์บริการใหม่ๆ ให้กับลูกค้า เช่น หากมีการวิเคราะห์ข้อมูลแล้วพบว่า ในพื้นที่ยังขาดอาหารเพื่อสุขภาพสำหรับผู้บริโภค Grab ก็สามารถไปตามหาร้านอาหารเพื่อสุขภาพมาเข้าร่วม Grab Kitchen และพร้อมเสิร์ฟเมนูใหม่ๆ ให้ลูกค้าได้ 
  • ช่วยให้ร้านอาหารเติบโตได้เร็วขึ้นภายใต้ความเสี่ยงที่ไม่สูงนักผสานกับต้นทุนที่ต่ำ และประหยัดระยะเวลาสร้างสาขาใหม่ เช่น ร้านอาหารที่ต้องการขยายสาขาเพิ่ม หากทำงานร่วมกับ Grab Kitchen สิ่งที่ร้านอาหารต้องทำก็เพียงแค่เตรียมพร้อมด้านการทำอาหาร ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่มีลูกค้าเพราะมีการวิเคราะห์มาแล้วว่าเป็นที่ต้องการของพื้นที่นั้นๆ
  • ส่งอาหารได้อย่างรวดเร็ว เพราะตำแหน่งของ Grab Kitchen อยู่ในจุดศูนย์กลาง อีกทั้งลดช่วงเวลาต่อคิวสำหรับผู้ส่งเนื่องจากไม่ต้องไปต่อคิวร่วมกับลูกค้าร้านอาหารทั่วไป
  • ทำให้มีการใช้งานในแอปพลิเคชัน Grab มากยิ่งขึ้น พร้อมขยายฐานของทั้งผู้บริโภคและผู้ค้าในแพลตฟอร์ม  

ก้าวต่อไปของ Grab Kitchen 

ปัจจุบัน Grab Kitchen ในอินโดนีเซียมีทั้งหมด 10 สาขา ในระยะเวลาเพียง 6 เดือนเท่านั้น โดยคาดการณ์ว่าจะขยายขึ้นถึง 50 สาขาภายในปีนี้ พร้อมพัฒนาเมนูให้มีความพิเศษและหลากหลายยิ่งขึ้น อีกทั้งคาดว่าจะขยายไปสู่ประเทศอื่นๆ ในเร็วๆ นี้ รวมถึงประเทศไทย 

Grab Kitchen เรียกได้ว่าเป็นโมเดลใหม่ที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก และคาดว่าในอนาคตจะขยายไปสู่ในอีกหลายพื้นที่ ซึ่งทั้งหมดนี้อาจจะพลิกโฉมวงการอาหารไปสู่รูปแบบใหม่ๆ พร้อมทำให้ Grab อาจมีข้อได้เปรียบในการวงการส่งอาหาร อีกทั้งยังช่วยเหลือร้านอาหารขนาดเล็กให้เติบโตได้ไว และประหยัดเวลาคนสั่ง แถมเอาใจผู้บริโภคให้เลือกทานอาหารที่หลากหลายในเวลาที่รวดเร็วได้อีกด้วย 



ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รู้จัก Secure Corporate Internet บริการใหม่ที่ ‘ตอบโจทย์ธุรกิจยุคดิจิทัล’ เข้าใจทุกเรื่องความปลอดภัยไซเบอร์ของธุรกิจ จาก AIS Business

บทความนี้ Techsauce อยากชวนมารู้จักกับ Secure Corporate Internet อินเทอร์เน็ตองค์กรที่มีระบบรักษาความปลอดภัยครอบคลุมตลอด 24 ชั่วโมง บริการใหม่เพื่อธุรกิจในยุคดิจิทัล!...

Responsive image

สรุปเนื้อหาจากงาน KBTG Techtopia: A Blast From the Future เจาะเวลาหาอนาคต สู่การใช้ AI อย่างชาญฉลาดบนความรับผิดชอบ

สรุปเนื้อหาจากงาน KBTG Techtopia: A Blast From the Future นำเสนอเนื้อหาสุด Exclusive จากทั้ง 3 Stage โดยผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีชั้นนำจากทั้งไทยและต่างประเทศ เจาะเวลาหาอนาคต สู่ก...

Responsive image

Ertigo สตาร์ทอัพไทยที่อยากแก้ปัญหา Office Syndrome ตั้งเป้าเป็นผู้ให้บริการ TeleRehab ในอาเซียน

ERTIGO สตาร์ทอัพไทยที่ต้องการแก้ปัญหา Office Syndrome ตั้งเป้าการเป็นผู้ให้บริการ Telerehab ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้...