HealthTech กำลังมา! จับตา Startup ไทย ผ่านโครงการ Allianz Ayudhya Activator | Techsauce

HealthTech กำลังมา! จับตา Startup ไทย ผ่านโครงการ Allianz Ayudhya Activator

เทรนด์ของสุขภาพเป็นเรื่องที่มาแรงสำหรับคนในยุคนี้ เราเห็นภาพคนเข้าฟิตเนสกันมากขึ้น ทานอาหารสุขภาพ ใช้อุปกรณ์ Wearable เพื่อการออกกำลังกาย รวมทั้งอุปกรณ์ IOT อื่นๆ เพื่อการดูแลสุขภาพอย่างแพร่หลาย ในขณะที่ธุรกิจประกันก็ไม่ได้มองแค่เรื่องของการคุ้มครองลูกค้าเมื่อเข้าโรงพยาบาลอย่างเดียวแล้วเท่านั้น แต่ยังคงพัฒนา ค้นหานวัตกรรมที่สามารถคาดการณ์เรื่องของโรคได้ หรือช่วยดูแลเมื่อลูกค้าป่วยเป็นโรค รวมทั้งเครื่องมืออื่นๆที่จะช่วยดูแลสุขภาพของลูกค้า และนี่เป็นเรื่องของ HealthTech กับ InsurTech ที่ถูกเชื่อมโยงอยู่ในระบบนิเวศเดียวกัน แล้ว Startup มองเห็นอะไรจากระบบนิเวศนี้บ้าง?

โอกาสของ Startup ด้าน HealthTech

30% ของการลงทุนทั่วโลก สามารถเชื่อมโยง Startup กับบริษัทประกันได้ มีเงินจำนวนมากที่ลงไปอยู่ใน IOT , Big Data , AI และ API Healthtech ventures  โดยเทคโนโลยีต่างๆที่เชื่อมโยงเข้ากับลูกค้าเกิดเป็นโอกาสให้กับบริษัทประกัน (รวมทั้ง Startup) เพราะการเชื่อมต่อด้านสุขภาพช่วยให้บริษัทประกันสามารถเข้าใจและใช้ประโยชน์จากโปรไฟล์ความเสี่ยงของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้เทคโนโลยี IoT สามารถพัฒนา InsurTech และ HealthTech ได้ในหลายทิศทาง โดย FDA ได้รายงานว่า ผู้ใช้สมาร์ทโฟนทั่วโลกประมาณ 500 ล้านคน คือจำนวนของผู้ที่จะใช้แอปพลิเคชั่นด้านการแพทย์ และคาดว่าจะเติบโตถึง 1.7 พันล้านทั้งผู้ใช้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต ในปี 2018

แต่ปัจจุบันเรายังคงเจอกับปัญหาด้านการแพทย์ด้วยเรื่องเดิมๆ ด้วยการดูแลสุขภาพเรามีระบบที่ล้าสมัยและไม่สะดวก เช่นเราต้องโทรหาหมอก่อนล่วงหน้า 2 อาทิตย์ รอในโรงพยาบาล 30 นาที แล้วจึงจะได้คุยกับแพทย์เพียง 15 นาทีหรืออาจน้อยกว่านั้น ทั้งหมดนี้มีค่าใช้จ่ายสูง และมีการเติบโตในอัตราที่ไม่ยั่งยืน นี่จึงอาจเป็นโอกาสของ Startup ด้าน HealthTech ที่สามารถมองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมากมาย และเข้ามาแก้ไข

การลงทุนใน HealthTech กำลังเติบโต

ปี 2015 การระดมทุนในดิจิทัล HealthCare มีมูลค่า 5.8 พันล้านดอลลาร์ โดยเป็นสองเท่าของ InsurTech และในตอนนี้เส้นกันระหว่าง InsurTect และ HealthTech แทบไม่มีอีกต่อไป Startup ด้าน Heathtech จะสามารถรวบรวมข้อมูลของคุณเพื่อปรับปรุงความสัมพันธ์กับบริษัทประกันภัย ลดค่าใช้จ่ายการป้องกันความเสี่ยงของบริษัทประกัน และเพิ่มประสิทธิภาพการบริการลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น

ตัวอย่างแพลต์ฟอร์มที่เกิดขึ้น

  • Tissue Analytics ช่วยให้คุณสามารถถ่ายภาพบาดแผลได้ตลอดเวลาในสมาร์ทโฟนของคุณทำให้แพทย์สามารถตรวจสอบอาการของบาดแผลได้

  • AliveCor ช่วยให้คุณสามารถบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจจากที่บ้านและแจ้งเตือนแพทย์หากมีอะไรผิดปกติกับหัวใจของคุณ

  • แอปพลิเคชันบนมือถือของ Px HealthCare ช่วยให้ผู้ที่เป็นมะเร็งมีข้อมูลและเครื่องมือในการจัดการกับอาการของตนเอง
  • หรือแม้กระทั้งตัวอย่างของจีน อย่าง Ping An Haoyisheng ซึ่งเป็นออนไลน์แพลต์ฟอร์ม ที่ให้ผู้ใช้สามารถติดต่อกับหมอผ่านข้อความ รูปภาพ และวีดีโอ โดยบริษัทสามารถระดมทุนได้มูลค่าถึง 500 ล้านดอลลาร์และมีมูลค่าบริษัทอยู่ที่ 3 พันล้านดอลลาร์

 

Allianz Ayudhya Activator หนึ่งโครงการที่มอบโอกาส

เชื่อว่ามีคนรุ่นใหม่ไฟแรงหลายคนที่มองเห็นทั้งปัญหาและโอกาสที่เกิดขึ้นกับการดูแลสุขภาพและการประกัน รวมถึงหลายคนเริ่มสนใจ HealthTech แล้วแต่ไม่รู้จะเริ่มหรือไปต่ออย่างไรดี หนึ่งโครงการฟรีๆที่มอบโอกาสคือ โครงการ ‘Allianz Ayudhya Activator (อลิอันซ์ อยุธยา แอคทิเวเตอร์) ที่เปิดรับสมัคร Startup ใน 3 ธุรกิจ ได้แก่ InsurTech , FinTech  และ HealthTech ด้วย โดยโครงการนี้เพิ่งประกาศผล 15 ทีมผู้ผ่านเข้ารอบไปเมื่อไม่นานนี้

No. Startup Name Sector
1 BIWHOMEBOND HealthTech
2 CARPOOL Insurtech
3 DIAMATE HealthTech
4 DOCTOR A TO Z HealthTech
5 GOOGREEN Others (สิ่งแวดล้อม)
6 HEALTH SMILE HealthTech
7 INSBEE THAILAND Insurtech
8 LOOPS Others (transportation)
9 MEDIBOOK24 HealthTech
10 MEDISEE HealthTech
11 PILLPOCKET HealthTech
12 REMOTE-CARE HealthTech
13 THE RED BOX Others (Data Intelligence)
14 VITABOOST WELLNESS HealthTech
15 WE CHEF (THAILAND) Others (Lifestyle)

จากทั้งหมด 15 ทีม มี 9 ทีมที่เป็น Startup สาย HeathTech ประกอบไปหลากหลายด้าน ทั้ง Hardware Software หรือการใช้ Mobile เป็นอุปกรณ์ เช่น การใช้อุปกรณ์  Wearable ในการเก็บข้อมูล และติดตามพฤติกรรมผู้ป่วย ,  การใช้ Mobile VDO Conference เพื่อขอคำปรึกษา (Tele MED) , platform กลางสำหรับเชื่อมต่อระหว่างผู้ป่วย กับทางแพทย์หรือเภสัชกร อีกทั้งยังมีการใช้เทคโนโลยีอย่าง Blockchain เพื่อดูแลเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Big Data และ AI เพื่อคาดคะเนความเสี่ยง เรียกได้ว่าครอบคลุมในหลากหลายด้าน นอกจากนี้ยังมี Startup ด้าน InsurTech และในด้านอื่นๆ

โดยในโครงการนี้จะมีการอบรมเข้มข้นตลอด 12 สัปดาห์ พร้อมฟัง session กับโค้ช (Activist) ที่มีประสบการณ์ในวงการผู้ลงมือทำจริงในระดับนานาชาติ ผู้ชนะโครงการจะมีโอกาสชิงทุนเริ่มต้นธุรกิจ (Seed Investment) มูลค่ารวมกว่า 2,000,000 บาท พร้อมสัมผัสประสบการณ์ Startup ระดับโลกที่เมืองมิวนิค ประเทศเยอรมนี และสร้างเครือข่ายพันธมิตรจากกว่า 100 เมืองทั่วโลก โดยเป้าหมายหลักคือการผลักดันผู้ประกอบการรุ่นใหม่ กล้าคิดนอกกรอบและกล้าลงมือทำ สร้างธุรกิจแนวใหม่ตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคดิจิทัล ตอบสนองความต้องการของตลาดโลก

เมื่อมีโครงการดีๆสนับสนุน ไม่แน่อนาคตเราอาจได้เห็นแพลตฟอร์มด้าน HealthTech ฝีมือคนไทยออกมาในระดับสากล สำหรับบทความหน้า เราจะพาไปรู้จักและเจาะลึก Startup ทั้ง 15 ทีม โดยยังสามารถร่วมกันติดตาม Startup ทั้งหมดในโครงการ Allianz Ayudhya Activator ได้ที่ www.activator.global และ https://www.facebook.com/allianzayudhyaactivator/

บทความนี้เป็น Advertorial

อ้างอิง

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ควอมตัมคอมพิวติ้งกับการปฏิวัติการเงิน โอกาสทอง หรือหายนะ ? ส่องแนวคิดจาก HSBC, Visa และผู้เชี่ยวชาญ

เทคโนโลยีควอนตัม (Quantum Computing) ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป เพราะในตอนนี้ควอนคัมกำลังมีบทบาทสำคัญในทุกวงการแม้กระทั่งวงการเงินที่มีการพูดถึงเรื่องนี้ผ่านงาน Singapore Fintech F...

Responsive image

เจาะลึก AI กับการเงินผ่านสายตาโปรแกรมเมอร์และผู้ใช้

บทความนี้จะพาคุณไปฟังทัศนะของ BlackRock ซึ่งเป็นผู้นำด้านการจัดการสินทรัพย์ระดับโลก และ GitHub แพลตฟอร์มที่นักพัฒนาทั่วโลกใช้ ในหัวข้อ Building tomorrow: Explaining the AI Tech Sta...

Responsive image

AI และ คลาวด์ คือ อนาคตของเศรษฐกิจ ? สรุปแนวคิดจาก Tencent ในวันที่ AI มาแรง

นอกจากเทคโนโลยีสำคัญอย่าง AI แล้ว คลาวด์คอมพิวติ้ง ถือเป็นอีกหนึ่งหัวหอกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแห่งอนาคต การผสานพลังของ AI และคลาวด์ จะก่อให้เกิดศักยภาพมหาศาลในการปฏิวัติอุตสา...