โอกาสของธุรกิจโรงแรมหลังวิกฤต COVID-19 | Techsauce

โอกาสของธุรกิจโรงแรมหลังวิกฤต COVID-19

ธุรกิจโรงแรมหนึ่งใน Supply Chain ที่สำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบในลำดับต้นๆ เมื่อวิกฤต COVID-19 เริ่มแพร่ระบาดหนักขึ้นและสถานการณ์ผลกระทบเริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้นไปอีกเมื่อรัฐบาลตัดสินใจใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดอย่างการประกาศใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินโดยหนึ่งในเนื้อหาที่สำคัญคือการให้อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดร่วมกับคณะกรรมการควบคุมโรคสามารถตัดสินใจสั่งปิดกิจการที่มีแนวโน้มว่าเป็นสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของ COVID-19 

แน่นอนว่าธุรกิจโรงแรมเป็นอีกหนึ่งในธุรกิจเป้าหมายที่จะถูกสั่งปิดสถานการณ์ในตอนแรกโรงแรมส่วนใหญ่อยู่ในสภาวะ “เปิดก็เหมือนปิด” อยู่แล้วเพราะไม่มีนักท่องเที่ยวไม่มีแขกเข้าพักและหลังจากที่ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินประกาศใช้สถานการณ์ก็ตอกย้ำสถานะของธุรกิจโรงแรมว่าเป็นการ “ปิดแบบสมบูรณ์” เข้าไปอีกเนื่องจากจะไม่มีนักท่องเที่ยวจากทั้งในและต่างประเทศมาใช้บริการอีกต่อไปสถานการณ์นี้นับได้ว่าเป็นเรื่องใหม่ที่วงการธุรโรงแรมไม่เคยเจอมาก่อนกับปัจจัยที่ส่งผลกระทบทำให้ธุรกิจโรงแรมต้องหยุดกิจการเกือบทั้งประเทศและอาจจะเกือบทั้งโลกมองไปทางไหนเหมือนจะเจอแต่ภาวะวิกฤตแต่เหมือนจะมีหนึ่งประโยคคลาสิคในทุกวิกฤตที่ถูกพูดถึงบ่อยๆ คือ “ในทุกวิกฤตย่อมมีโอกาส” แต่เมื่อทุกอย่างเหมือนกับว่าจะตกอยู่ในภาวะที่เลวร้ายขนาดนี้โดยที่ไม่รู้ว่าจะกลับมาเป็นปกติเหมือนเดิมได้เมื่อไหร่การต้อง “หาโอกาสในวิกฤต” นี้ดูเหมือนจะเป็นความหวังที่เลือนลางลงไปทุกทีแต่ถ้าเราลองตั้งสติหยุดคิดดูสักพักโดยไม่เลือกที่จะมองแต่อุปสรรคเพียงอย่างเดียวเราจะพบว่าวิกฤตครั้งนี้ก็มีโอกาสใหม่ๆ เกิดขึ้นในธุรกิจโรงแรมจริงๆ ครับโอกาสที่ว่านั้นคือ

1. โอกาสในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ แน่นอนว่านโยบายหนึ่งของภาครัฐและหน่วยงานสาธารณสุขคือ “การสนับสนุนให้คนอยู่กับบ้าน” อย่าพยายามออกไปข้างนอกเพราะจะตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื้อและแน่นอนว่าเมื่ออยู่บ้านปัจจัยหนึ่งที่สำคัญคือ “อาหารการกิน” เมื่อคนออกจากบ้านไม่ได้นี่จึงเป็นโอกาสของ “ผู้ให้บริการ FOOD DELIVERY” ต่างๆ ซึ่งผลสำรวจพบว่าจากมาตรการ “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” ทำให้ยอดการสั่งอาหาร Online เพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติตัวอย่างจากกรณีของ Grab Food ที่มียอดการใช้บริการ Delivery เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า (bangkokbiznews ดร.ธีรศานต์ สหัสสพาศน์, ประกาย ธีระวัฒนากุล | คอลัมน์ คิดอนาคต) ในช่วงก่อนหน้าวิกฤต COVID-19 บางโรงแรมเริ่มที่จะมีแนวคิดในการขยายตลาดอาหารของโรงแรมไปสู่การขายผ่าน food delivery ต่างๆ กันมาบ้างแล้วแต่อาจจะไม่ได้ให้ความสำคัญมากนักเพราะเป็นช่วงเริ่มทำการทดลองซึ่งวัตถุประสงค์ในขณะนั้นก็เพื่อหาช่องทางการสร้างรายได้ให้โรงแรมเพิ่มเนื่องจากก่อนวิกฤต COVID-19 ธุรกิจโรงแรมในส่วนของห้องพักประสบกับภาวะการแข่งขันที่รุนแรงจากกระแส “Sharing Economy” ทั้งจาก Airbnb และห้องเช่ารายวันต่างๆ จึงเป็นสาเหตุที่ต้องหาวิธีสร้างรายได้เพิ่มแต่หลังจากที่เกิดวิกฤต COViD-19 จนทำให้ธุรกิจโรงแรมได้รับผลกระทบโดยตรงเหตุการณ์นี้จึงเป็นตัวเร่งให้โรงแรมหันมาให้ความสนใจและจริงจังกับการทำตลาดอาหารของโรงแรมผ่าน Food delivery แบบจริงจังมากยิ่งขึ้นเพื่อขยายฐานลูกค้าของโรงแรมให้เข้าถึงกลุ่มผู้ใช้งานที่เป็น User Data จำนวนมหาศาลของ Food Delivery เหล่านั้นมีการจัดโครงการร่วมกันในส่วนของโรงแรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตัวอย่างคือ “GET” ผู้ให้บริการ Food Delivery ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท) และสมาคมโรงแรมไทยเปิดโครงการ “Flavors from Top Hotels” ให้บริการส่งอาหารจากร้านอาหารของโรงแรมสมาชิกให้กับผู้ใช้บริการ GET เป็นต้น ซึ่งนี่คืออีกหนึ่งในโอกาสที่ไม่จำเป็นต้องรอเวลาแต่สามารถทำได้ทันทีและจะสอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคในอนาคตที่จะคุ้นชินกับการสั่งอาหาร Online มากยิ่งขึ้นถือเป็นอีกหนึ่งของทางการหารายได้ของโรงแรมในอนาคต

อีกโอกาสหนึ่งในส่วนของอาหารและเครื่องดื่มของโรงแรมคือ “การขายบุคคลทั่วไป” จากวิกฤตนี้หลายๆ โรงแรมมีการปรับตัวด้านอาหารและเครื่องดื่มที่น่าสนใจคือผู้บริหารและพนักงานพากันทำอาหารที่เป็นเมนูต่างๆ ของโรงแรมออกมาขายให้กับบุคคลทั่วไปในราคาที่จับต้องได้ซึ่งหลายๆ โรงแรมได้รับผลตอบรับที่ดีสามารถสร้างรายได้เพื่อหล่อเลี้ยงบุคคลากรของโรงแรมในช่วงภาวะวิกฤตเช่นนี้ตัวอย่างที่น่าสนใจคือ

  • โรงแรมเอเชีย กรุงเทพ เปิดบริการขายข้าวกล่องเมนูต่างๆ ราคา 80 บาทพร้อมบริการ Delivery ผ่าน Lineman มีการปรับกลยุทธ์การตลาดเป็นการ Promote บริการขายอาหารเหล่านี้พร้อมกันด้วย
  • โรงแรมดุสิต สวีท ราชดำริ กรุงเทพฯ โรงแรมดุสิตปริ้นเซส ศรีนครินทร์ และบ้านดุสิตธานี ในกลุ่มบริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) เปิดให้บริการ Delivery อาหารของโรงแรมเจาะกลุ่มผู้บริโภคทั่วไปและกลุ่มผู้ที่ WFH (Work From Home) 
  • โรงแรมลายทอง จ.อุบลราชธานี ปรับตัวขายอาหารในราคาเริ่มต้นที่ 20 บาท

ในอนาคตเมื่อสถานการณ์กลับมาสู่ภาวะปกติแล้วไม่แน่ว่าโอกาสในการขายอาหารให้กับกลุ่มบุคคลทั่วไปในราคาที่จับต้องได้อาจเป็นอีกหนึ่ง Market Segment และเป็นหนึ่งใน Business Model หลักนอกเหนือจากการขายห้องพักของธุรกิจโรงแรมได้เช่นกัน

 2. โอกาสในการปรับ Model ธุรกิจใหม่จากกระแส Work From Home ก่อนหน้าที่จะเกิดวิกฤต COVID-19 มีการเติบโตของภาคอสังหาริมทรัพย์ในส่วนของธุรกิจอาคารสำนักงานซึ่งเป็นผลจากการเติบโตของเศรษฐกิจภายในประเทศโดยข้อมูลจาก บริษัท ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย จำกัด ระบุว่าตลาดอาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ ไตรมาสที่ 3 ปี 2562 มีพื้นที่อาคารสำนักงานเพิ่มขึ้น 49,800 ตารางเมตร รวมพื้นที่ทั้งหมด 5.12 ล้านตารางเมตร สำหรับอาคารสำนักงานให้เช่าเกรด A มีอัตราค่าเช่าที่ 1,129 บาท/ตารางเมตร แต่ด้วยสถานการณ์ COVID-19 ระบาดพร้อมกับมาตรการส่งเสริมให้บริษัทและหน่วยงานราชการทำงานจากที่บ้าน WFH (Work From Home) เพื่อลดการติดเชื้อทำให้บริษัทและพนักงานได้เรียนรู้ถึงข้อดีของ WFH มากขึ้นและปรับพฤติกรรมการทำงานใหม่ซึ่งเมื่อสถานการณ์กลับมาเป็นปกติองค์กรต่างๆ เหล่านั้นอาจมีมุมมองใหม่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการทำงานประกอบด้วย

2.1 บริษัทหรือหน่วยงานต่างๆ อาจไม่จำเป็นต้องเช่าอาคารสำนักงานหรือหาสถานที่สำหรับจัดตั้งเป็นสำนักงานที่มีขนาดใหญ่เพื่อให้รองรับบุคคลากรขององค์กรให้ได้ทั้งหมดเนื่องด้วยจากวิกฤตนี้ทำให้เห็นแล้วบางบางตำแหน่งนั้นสามารถที่จะทำงานที่บ้านได้และไม่จำเป็นต้องเดินทางมาทำงานที่ Office เป็นประจำทุกวันกรณีนี้บริษัทอาจพิจารณาหาสถานที่ๆ มีขนาดเล็กลงสำหรับการตั้ง Office เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายและหากพิจารณาในอีกแง่มุมหนึ่งองค์กรอาจตัดสินใจไม่เช่าอาคารสำนักงานเลยก็ได้เพียงแต่อาจใช้การจัดหาสถานที่เฉพาะในบางครั้งเพื่อจัดให้มีการพบปะพูดคุยเรื่องงานกันบ้างเป็นรายอาทิตย์หรือรายเดือนและใช้การจดที่ตั้งสำนักงานในลักษณะ Virtual Office แทนเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายตรงนี้คือ “โอกาสของธุรกิจโรงแรม” ในการปรับสถานที่และขายความเป็นสถานที่พบปะพูดคุยธุรกิจหรือประชุมขนาดเล็กเพื่อรองรับลูกค้าองค์กรที่จะมีพฤติกรรมในการหาสถานที่ทำงานและลักษณะการทำงานที่เปลี่ยนไปทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการรวมถึงอาจมีการปรับพื้นที่บางส่วนให้เป็นลักษณะของ Office ให้เช่าที่มีการออกแบบและตกแต่งที่ทันสมัยและน่าสนใจบวกกับการชูประเด็นให้ผู้ใช้บริการสารถใช้ Facilities ต่างๆ ของโรงแรมได้ เช่น สระว่ายน้ำ ฟิตเนส สปา ห้องอาหาร ด้วยปัจจัยนี้จะช่วยเพิ่มความน่าสนใจและดึงดูดให้ผู้ที่ต้อง WFH หันมาใช้บริการโรงแรมมากขึ้นเมื่อต้องเทียบกับ Office Building และ Co-Working Space.

2.2 ส่วนของพนักงานที่ WFH ในกรณีที่บริษัทมีความคุ้นชินต่อการให้พนักงานทำงานแบบ WFH แล้วและอนุญาตให้พนักงานทำงานในลักษณะ WFH ต่อไปได้แม้วิกฤตจะสิ้นสุดกรณีนี้อาจเป็นบรรทัดฐานการทำงานใหม่เนื่องจากหากพนักงานสามารถทำงานในลักษณ์ WFH ได้นั่นหมายถึงพนักงานจะลดค่าใช้จ่ายลงไปได้อีกพอสมควรเนื่องจากจะไม่ต้องเสียเงินเป็นค่าเดินทางทั้งรถไฟฟ้า รถไฟใต้ดิน เรือโดยสาร จักรยานยนต์รับจ้าง ฯลฯ ไม่ต้องเสียสุขภาพจิตจากปัญหารถติดหรือสุขภาพกายจากปัญหา PM 2.5 มลพิษต่างๆ และสิ่งที่เป็นโอกาสของธุรกิจโรงแรมคือ “การปรับโรงแรมให้เป็นสถานที่ทำงาน” สำหรับพนักงานที่องค์กรอนุญาติให้ทำงานแบบ WFH ได้เพราะโดยธรรมชาติมนุษย์ไม่มีใครชอบอยู่กับที่ไปนานๆ โดยไม่ไปไหนคนส่วนใหญ่ชอบที่จะแสวงหาสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอดังนั้นการหา Package ห้องพักแบบรายชั่วโมง (Hours Use) รายวัน (Day Use) เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการขายให้กับโรงแรมและช่วย Drive Revenue ให้กับโรงแรมได้ซึ่งอาจเป็นช่วงเวลาที่โรงแรมต้องหันมา “คิดนอกกรอบ” นอกเหนือจากการให้บริการแบบ “ห้องพักค้างคืน” อย่างเดียวเพื่อสร้างความหลากหลายและสร้าง Multi Service ให้กับตัวโรงแรมเพื่อดึงดูความน่าสนใจและเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน

3. โอกาสในการปรับเปลี่ยนองค์กรสู่ Hotel 4.0 ก่อนหน้าวิกฤต COVID-19 เราคงได้เห็นบางโรงแรมที่มีการพยายามปรับเอาเทคโนโลยีมาใช้ในงานโรงแรมกันบ้างแล้วทั้งการนำระบบ IOT ต่างๆ มาประยุกต์ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับแขกหรือแม้แต่การเริ่มการทดลองให้บริการโดยใช้ Robot ก็ตามรวมถึงการนำระบบ AI มาใช้ในงานบริการแขกผู้เข้าพักแต่นั่นก็เป็นการพัฒนาแบบค่อยเป็นค่อยไปหลังวิกฤต COVID-19 จบลงคาดว่าหลายๆ โรงแรมทั้งในระดับ International หรือ Local จะมีการพัฒนาโรงแรมไปสู่ความเป็น Hotel 4.0 มากยิ่งขึ้นเนื่องจากในหลายๆ บริการจะสอดคล้องกับ New Normal ใหม่ในธุรกิจโรงแรม อาทิตย์

3.1 ระบบการ Check In ที่โดยปกติแล้วจะใช้การรับบัตรประชาชน Passport และนำมาถ่ายเอกสารหรือ Scan เพื่อเก็บเข้าระบบเป็นฐานข้อมูลของโรงแรมในลักษณะของ Paper ตามระเบียบราชการซึ่งจะเกิดการสัมผัสระหว่างพนักงานและแขกพอสมควรแต่ในอนาคตอาจมีการนำระบบ Self Service Check-in เข้ามาใช้บริการมากขึ้นทั้งการ Check In ผ่าน Mobile Application หรือ Check In โดย Kiosk ที่โรงแรมโดยจะมีการเพิ่มอุปกรณ์สำหรับใช้บันทึกการยืนยันตัวตนของแขกจากบัตรประชาชนหรือ Passport ซึ่งถือเป็นการช่วยลดขั้นตอนการทำงานและประหยัดทรัพยากรจากการใช้วิธีการเดิมแต่วิธีการนี้มีข้อจำกัดที่สามารถทำได้ในบางประเทศเท่านั้นเพราะในบางประเทศแขกผู้เข้าพักจำเป็นต้องยืนยันตัวตนกับพนักงานก่อนเข้าพักเสมอและในบางประเทศการส่งข้อมูลผู้เข้าพักให้กับหน่วยงานราชการยังไม่มีกฏหมายอนุญาตให้จัดส่งในรูปแบบ File Digital ซึ่งอาจต้องใช้เวลาสักพักแต่เชื่อว่าท้ายที่สุดด้วย Trend ที่เป็น Global Trend จะทำวิธีนี้ถูกนำมาใช้ได้ในที่สุด

3.2 ระบบการ Check Out ก่อนหน้านี้มีบาง Brand ทดลองใช้วิธีการ Check Out แบบ “Online Check Out” เพื่อลดขั้นตอนการติดต่อพนักงานและอำนวยความสะดวกให้แขกไม่ต้องลงมารอคิวติดต่อ Check Out ที่หน้า Lobby โดยโรงแรมจะใช้การส่ง Guest Folio หรือใบแจ้งหนี้การเข้าพักให้กับแขกทาง E-Mail แล้วให้แขกชำระเงินโดยใช้บัตรเครดิตหรือ E-Wallet อื่นๆ ได้ทันทีตั้งแต่อยู่บนห้องพักคาดการณ์ว่าในอนาคตข้างหน้าเพื่อลดความแออัดบริเวณ Lobby วิธีการนี้อาจเป็นอีกหนึ่งวิธีการที่จะช่วยยกระดับมาตรฐานด้านสุขอนามัยให้กับโรงแรมและอำนวยความสะดวกให้แขกผู้เข้าพักได้มากขึ้น

3.3 Cashless การลดการใช้เงินสดจะถูกนำมาใช้อย่างจริงจังโดยการพยายามให้แขกชำระค่าบริการผ่านบัตรเครดิตหรือ E-Wallet แทนการใช้เงินสดซึ่งจะช่วยลดการสัมผัสและลดความเสี่ยงจากการจัดเก็บรายได้แบบเป็นเงินสดของโรงแรมอีกทั้งยังช่วยป้องกันการทุจริตในองค์กรได้อีกด้วย 

4. โอกาสในอุตสาหกรรม Wellness รายงานจาก 2020 GLOBAL WELLNESS TRENDS REPORT ระบุว่าอุตสาหกรรมเพื่อสุขภาพมีมูลค่ามากถึง 4.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐประกอบกับ Trend การดูแลสุขภาพของคนทั่วไปในอนาคตที่จะมีความใส่ใจในสุขภาพและระมัดระวังในการใช้ชีวิตมากขึ้นทำให้นี่คืออีกหนึ่งโอกาสของธุรกิจโรงแรมที่อาจจะลองปรับเปลี่ยนรูปแบบของโรงแรมเปลี่ยนกลยุทธ์ตามหลัก STP (Segmentation Targeting Positioning) ของโรงแรมใหม่หันมา Focus ในตลาด Wellness ที่ในประเทศไทยยังถือเป็น Blue Ocean อยู่เพราะยังมีผู้ประกอบการในลักษณะ Wellness Hotel/Resort ไม่มากนักโดยอาจเริ่มต้นในการปรับโรงแรมเป็น Concept “Wellness Working Place” รองรับ Trend การ WFH (Work From Home) ที่จะยังคงความนิยมต่อไปแม้วิกฤตจะสงบลงแล้วการปรับโรงแรมให้รองรับการทำงานแบบ WFH โดยเพิ่มการดูแลด้านสุขภาพเข้าไปอาจเป็นอีกหนึ่งตลาดที่น่าสนใจและหลีกหนีการแข่งขันที่รุนแรงในตลาดโรงแรมปกติ

และนี่คือตัวอย่างของบาง “โอกาส” และแนวคิดการปรับรูปแบบการให้บริการของโรงแรมหลังวิกฤต COVID-19 เพื่อเป้าหมายในการปรับธุรกิจโรงแรมให้สอดคล้องกับแนวโน้มของตลาดการท่องเที่ยวในอนาคต

N. Kamolpollapat – Hotel Man

FB : Page Hotel Man ยอดมนุษย์โรงแรม

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

สรุปเทคโนโลยีในปี 2025 เทรนด์ไหนกำลังจะมา ? ฟังความเห็นจาก 3 มุมมองสำคัญ : นักพัฒนา ผู้ประกอบการ และนักอนาคตศาสตร์

ปี 2025 กำลังจะมาถึงพร้อมกับคลื่นแห่งการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี บทความนี้สรุปและอธิบายเทรนด์สำคัญจากมุมมองของผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่านผ่านบทสัมภาษณ์พิเศษของ Techsauce เพื่อให้เห็นภาพรวมแ...

Responsive image

4 เทรนด์เทคโนโลยีสุดล้ำที่อาจเปลี่ยนโลกจาก CES 2025

สำรวจเทรนด์เทคโนโลยีล่าสุดจาก CES 2025 ตั้งแต่ AI อัจฉริยะ ยานยนต์ล้ำสมัย ไปจนถึงการพัฒนาชิปกราฟิกและเทคโนโลยีหน้าจอแห่งอนาคตที่เปลี่ยนโฉมการใช้ชีวิตประจำวัน!...

Responsive image

เปิดตัว ‘รถบินแยกร่าง’ XPeng ผสมเครื่องบินกับรถตู้ รุ่น Land Aircraft Carrier ราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท

XPeng Aero HT เปิดตัว Land Aircraft Carrier รถบินได้แบบแยกร่างสุดล้ำที่ CES 2025 พร้อม eVTOL พับเก็บได้ ใช้งานง่าย ราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท วางแผนผลิตเชิงพาณิชย์ในปี 2026...