5 วิธีใช้ Data สื่อสารอย่างชาญฉลาด สร้างความเชื่อมั่นใน วัคซีนโควิด-19 | Techsauce

5 วิธีใช้ Data สื่อสารอย่างชาญฉลาด สร้างความเชื่อมั่นใน วัคซีนโควิด-19

ปัญหาหลักที่มีผลต่อการชะลอตัวของการรับวัคซีนจากประชาชนทั่วประเทศย่อมไม่พ้น “ความเชื่อมั่นในวัคซีน” ยิ่งประชาชนไม่เชื่อในประสิทธิภาพในวัคซีนมากเท่าไร ประชาชนก็จะไม่เปิดใจและยอมรับที่จะฉีดวัคซีนโควิด-19 และส่งผลต่อเนื่องเป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับภาครัฐในการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ได้ยากยิ่งขึ้น แต่ทราบหรือไม่ว่าทั้งภาครัฐและภาคเอกชน สามารถสกัด Data ทั่วโลกออนไลน์ เพื่อสืบหาข้อมูลเชิงลึก (Insights) ออกมาเป็นวิธีเชิญชวนคนให้มาฉีดวัคซีนได้? 

The World Economic Forum และ Vaccine Confidence Project ของวิทยาลัยสุขภาพและเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยลอนดอน ได้เป็นพันธมิตรร่วมกับ NetBase Quid แพลตฟอร์มรวบรวม Data เพื่อวิเคราะห์หาข้อมูลเชิงลึกผู้ใช้งานบนโซเชียลมีเดีย

ในการนี้หน่วยงานก็ได้นำข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความคิดเห็นคนส่วนใหญ่ที่มีต่อวัคซีน ซึ่งรวบรวมมาจากแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียทั้ง Twitter, Facebook, ฟอรัมและบล็อกกว่า 66 ล้านบทสนทนาตลอด 6 เดือนที่ผ่านมาจนถึงเดือนเม.ย. 2021 จนได้แนวทางการสื่อสารที่น่าสนใจทั้ง 5 ประเด็น ซึ่งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน เจ้าของกิจการ รวมไปถึงครอบครัวสามารถนำมาปรับใช้เพื่อเชิญชวนให้คนรู้จักตระหนักถึงความสำคัญของวัคซีนในการป้องกันโรคได้ดีขึ้น 

  1. กล่าวถึงประสิทธิภาพการป้องกันที่ได้จากวัคซีนให้บ่อยครั้งจนคนรู้สึกคุ้นเคย จากผลวิเคราะห์ได้ คนส่วนใหญ่จากโซเชียลมีเดียมองว่าคีย์เวิร์ด “การป้องกันจากเชื้อไวรัสโควิด” เป็นเหตุผลที่หนักแน่นพอที่ทำให้อยากรับวัคซีน

  1. ห้ามใช้เหตุผลด้านศีลธรรมจริยธรรมมาโน้มน้าวให้คนที่ไม่เชื่อมั่นในวัคซีนมาฉีดวัคซีน ตัวอย่างเช่น คนที่ไม่ยอมฉีดวัคซีนนั้นเห็นแก่ตัว ทำให้คนอื่นลำบาก ข้อความดังกล่าวยิ่งทำให้คนมองว่าเป็นการสื่อสารที่เลวร้าย บีบบังคับให้ทำ ยิ่งทำให้คนปฏิเสธการรับวัคซีนมากขึ้นเท่านั้น 

  1. สื่อสารเรื่องวัคซีนให้ง่ายที่สุด และจริงใจ ส่งเสริมผู้คนให้มาฉีดวัคซีนโดยใช้คำพูดที่ถนอมน้ำใจคนมากที่สุด และพยายามกล่าววาจาขอบคุณเสมอเมื่อคนยอมรับในวัคซีน ทั้งนี้การโปรโมตวัคซีนโดยคนธรรมดาจะได้ผลมากกว่าหากนำคนมีชื่อเสียง อินฟลูเอนเซอร์ หรือนักการเมืองมาพูดถึงข้อดีวัคซีน เพราะคนจะรู้สึกว่าคนธรรมดามีสถานะที่ใกล้ตัวเขา เข้าถึงง่าย จึงมีแนวโน้มพร้อมเปิดรับความคิดเห็นมากกว่า

  1. พยายามทำความเข้าอกเข้าใจถึงคนที่ปฏิเสธการรับวัคซีนให้ได้มากที่สุด รับฟังด้วยความเห็นใจ เข้าใจในสถานการณ์ของคนนั้น ๆ โดยปราศจากการตัดสินหรืออคติไปก่อน 

  1. เน้นย้ำถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคซีนให้ชัดเจน เพราะจากผลวิเคราะห์ Data จากแพลตฟอร์มต่าง ๆ พบว่าคนจะกังวลเรื่องประสิทธิภาพและผลข้างเคียง มากกว่าที่ผู้ผลิตวัคซีนว่าเป็นใคร มาจากไหน

จะเห็นได้ว่าท้ายที่สุดแล้วการสื่อสารถึงความสำคัญของวัคซีนอย่างจริงใจ ตรงประเด็น เข้าอกเข้าใจ และสร้างความเชื่อใจให้ผู้คนเป็นปัจจัยที่สำคัญไม่แพ้มาตรการสวมหน้ากากอนามัยและรักษาระยะห่างทางสังคมเลย ยิ่งถ้าหากภาครัฐและเอกชนได้ใช้ข้อความที่มีเหตุผลหนักแน่นพอและมีตัวอย่างให้เห็นได้ชัด คนก็พร้อมจะออกมารับวัคซีนและการจัดการการแพร่ระบาดโควิด-19 ก็จะเป็นไปได้อย่างราบรื่นยิ่งขึ้น

อ้างอิง World Economic Forum



ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...