พูดถึงเรื่องวงการการเงิน ความน่าเชื่อถือเป็นสิ่งสำคัญ แต่ไม่ได้แปลว่าความน่าเชื่อถือจะต้องมาพร้อมกับลุคที่น่าเบื่อ เราสามารถทำให้การเงินสนุกขึ้นได้ ด้วยเทคนิค “Gamification”
บทความนี้หยิบยกประสบการณ์ทำจริงจากบริษัท Playbasis ผู้ให้บริการ Gamification Solutions ชั้นนำในประเทศไทย และในระดับเอเชีย ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการผสมผสานเทคโนโลยี Interactive mobile เข้ากับเทคโนโลยีเกม และประสบการณ์ผู้ใช้ เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าธุรกิจต่างๆ โดยเฉพาะสายการเงิน ซึ่งนับว่ามีความท้าทายสูง
ทุกอุตสาหกรรมกำลังแข่งขันกันเองเพื่อแย่งชิงลูกค้าในโลกดิจิทัล การเงินการธนาคารก็เช่นกัน หลาย ๆ แห่งกำลังรีบพัฒนาแอปพลิเคชั่นสำหรับลูกค้าในสมาร์ทโฟน เพื่อที่จะได้บริการลูกค้าอย่างเต็มประสิทธิภาพ
แต่ในความเป็นจริงเมื่อทำออกมาแล้วก็ไม่ง่ายเลย เพราะล้วนแต่ต้องมาแข่งขันกันบนหน้าจอพร้อมๆ กับแอปอย่าง Facebook, Instagram, Snapchats และ Candy Crushes ซึ่งทุกแอปต่างพยายามชิงความสนใจจากผู้ใช้ นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไม Gamification ถึงเป็นเรื่องสำคัญ เมื่อการออกแบบถูกต้อง Gamification สามารถช่วยเปลี่ยนโลกที่ธรรมดา น่าเบื่อด้วยบางสิ่งบางอย่างที่น่าสนใจมากขึ้น
Gamification คือ “การใส่ความสนุกสนาน” ลงไปในแอปพลิเคชั่น โดยใช้เทคนิคให้รู้สึกเหมือนกับเล่นเกม นอกจากความสนุกสนานแล้ว ยังมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้ใช้รู้สึกมีส่วนร่วม (engaged) และได้รับผลตอบแทนบางอย่างจากการใช้งาน (rewarded)
ทีนี้เรามาดูตัวอย่างการนำ Gamification มาใช้ให้บริการทางการเงินดึงดูดใจมากขึ้นกันดีกว่า โดยจากการพูดคุยกับทาง Playbasis ซึ่งมีประสบการณ์การพัฒนาฟีเจอร์หลากหลายประเภท ก็พบตัวอย่างที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลากหลาย เช่น
รูปภาพในบทความเป็นตัวอย่างของแอปพลิเคชันสำหรับ Insurance แต่ไอเดียเหล่านี้สามารถใช้ได้ ไม่ว่าจะเป็น Insurance, Banking หรือการเงินรูปแบบอื่นๆ
การวิเคราะห์ข้อมูล (data analysis) เป็นองค์ประกอบสำคัญของสายธนาคารและการเงิน แน่นอนว่าการทำ Gamification ในสายการเงินเอง ก็ต้องคำนึงถึงเรื่องนี้เช่นกัน ซึ่งตัวอย่างที่ทาง Playbasis มีประสบการณ์ให้บริการ ได้แก่
จากตัวอย่างต่างๆ ข้างต้น จะเห็นได้ว่า เกมสามารถใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการฝึกฝนทักษะ หรือเพื่อการให้ความรู้ความเข้าใจได้ ในกรณีของการเงิน คือการสนับสนุนให้ผู้ใช้งานรักษาเครดิตที่ดี และเพิ่มพูนความเข้าใจทางการเงิน เช่น เกมเพื่อการเรียนรู้เรื่องการบริหารสินทรัพย์ เกมการเทรดหลักทรัพย์ เป็นการให้ผู้ใช้ได้ทดลองผิดพลาด ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยในการเรียนรู้ อีกทั้งยังปลอดภัยเพราะไม่ต้องเสี่ยงจริง เหล่านี้เป็นประโยชน์ทางอ้อม และหากเล่นเกมได้ดี ก็สามารถตอบแทนผู้เล่นได้ ด้วยประโยชน์ทางตรง เช่น ให้ cashback program, ลดค่าธรรมเนียม หรือให้ของรางวัลพิเศษ เป็นต้น
นอกจากประโยชน์กับผู้ใช้แล้ว ประโยชน์กับทางผู้ให้บริการก็คือ เกมสามารถช่วยให้สิ่งที่ซับซ้อน เข้าใจง่ายขึ้น และช่วยให้ผู้ใช้สามารถโฟกัสกับสิ่งที่สำคัญ สถาบันการเงินสามารถประยุกต์ใช้เทคนิคเหล่านี้ เพื่อยกระดับ User engagement (การมีส่วนร่วมของลูกค้า) ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของตนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดเป้าหมายไปยังกลุ่ม Millennials หรือ Gen Y ซึ่งเป็นประชากรสำคัญที่กำลังขับเคลื่อนอนาคต
จากความต้องการของตลาด Playbasis จึงได้พัฒนาโซลูชั่นส์อย่างต่อเนื่อง โดยประสบความสำเร็จในด้านการเปิดตัวเครื่องต้นแบบ หรือ POCs กับธนาคารกสิกรไทย และ โตเกียวมารีน เป็นทีมผู้เข้ารอบ 10 ทีมสุดท้ายใน Fintech Finals 2106 ที่จัดขึ้นในฮ่องกง และยังได้รับการคัดเลือกให้เป็นหนึ่งใน 10 สตาร์ทอัพที่ได้รับการยอมรับใน Maybank Fintech Open Innovation program รวมถึงเป็น strategic alliance กับหนึ่งในเครือข่ายทางการชำระเงินที่ใหญ่ที่สุดของโลก นอกเหนือจากธนาคาร ยังได้ร่วมงานกับบริษัทประกันมากกว่า 16 บริษัท ทั้งในไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ และฮ่องกง
ซึ่ง Techsauce จะนำกรณีศึกษาจริง มานำเสนอเพิ่มเติมอีกครั้ง สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถติดต่อ Playbasis ได้ที่ [email protected] หรือ www.playbasis.com
บทความนี้เป็น Advertorial
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด