Nexter กับคอนเซปต์เรื่อง Smart City และเทรนด์การพัฒนาเมืองอัจฉริยะในอนาคต | Techsauce

Nexter กับคอนเซปต์เรื่อง Smart City และเทรนด์การพัฒนาเมืองอัจฉริยะในอนาคต

คอนเซปต์เรื่องเมืองอัจฉริยะ (Smart City) อาจจะฟังดูเหมือนอนาคตที่ไกลออกไป แต่แท้จริงแล้ว มันอาจจะไม่ได้ห่างไกลเหมือนที่คุณคิด Nexter กลุ่มธุรกิจภายใต้ธุรกิจซีเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี  ได้แสดงวิสัยทัศน์และการพัฒนา รวมไปถึงการก่อตั้งธุรกิจที่จะเปิดโอกาสสู่อนาคต

 Smart City

Nexter เชื่อมั่นว่าการพัฒนานวัตกรรมจะทำให้ชีวิตดีขึ้นได้ อีกทั้งการทำธุรกิจจะสามารถทำไปพร้อมกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยเฟสแรก ในงาน Techsauce Global Summit 2020 จะเน้นการนำเสนอ Nexter Ventures กลุ่มธุรกิจรูปแบบ Venture Capital ที่ร่วมลงทุนกับ Startup ทั่วโลก และ Nexter Living กลุ่มธุรกิจด้านบริการและโซลูชั่น ที่ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ของคนและสังคม ด้วยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาปรับใช้ เพื่อก้าวสู่สังคม Smart Cities

คุณวชิระชัย คูนำวัฒนา Head of Nexter Living and Nexter Ventures ได้อธิบายบทบาทของ Nexter กับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ และเมื่อพูดถึงการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ หลายๆ ท่านอาจจะคิดถึงเมืองที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีทุกตารางนิ้ว เปรียบเสมือนเมืองแห่งอนาคต แต่ในวิสัยทัศน์ของ Nexter เมืองอัจฉริยะหมายถึงการพัฒนาของชุมชนที่จะช่วยให้การแก้ปัญหาในท้องถิ่นผ่านไปได้โดยง่าย ด้วยความช่วยเหลือจากเทคโนโลยี

เทรนด์ของการสร้างเมืองอัจฉริยะจะเป็นสิ่งสำคัญมากในอนาคต

หากจะให้เขียนถึงปัญหาที่คุณจะสามารถพบเจอในเมือง คงจะไม่สามารถกล่าวถึงทั้งหมดได้ แต่สองปัญหาที่พบเจอได้บ่อยที่สุดคือ ปัญหาจราจรและปัญหาด้านการใช้พลังงาน ซึ่งปัญหาเหล่านี้ สามารถแก้ไขได้โดยง่ายด้วยการสร้างเมืองอัจฉริยะ แต่เหตุที่เมืองอัจฉริยะนั้น ยังไม่เกิดขึ้นจริง เป็นเพราะสเกลที่ใหญ่มหาศาล ผนวกกับทรัพยากรที่ต้องใช้เพื่อการพัฒนา จากสถิติแล้ว ประชาชนทั่วไปใช้เวลามากถึง 90 เปอร์เซ็นในชีวิตของพวกเขา อยู่ภายในตึกหรืออาคาร และถ้าเราสามารถพัฒนาอาคารอัจฉริยะ เราก็จะสามารถลดตัวเลขนี้ลง และทำให้คุณภาพชีวิตของผู้คนเหล่านี้ให้ดีขึ้นได้

อีกหนึ่งปัญหาใหญ่ นั่นก็คือการใช้พลังงานและคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ซึ่งล้วนแล้วเกิดจากการกระทำของมนุษย์ วิธีการแก้ปัญหานี้ เริ่มได้ตั้งแต่การออกแบบอาคาร โดยการออกแบบ ควรคำนึงถึงหลักการในการลดการใช้พลังงาน และการสร้างอาคารให้มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม ความสะดวกสบายของผู้อยู่อาศัยในอาคารก็ไม่ควรถูกมองข้าม ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดองค์กรมากมาย อาทิเช่น  LEED Certification และ Fitwel Certification ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบและออกใบรับรองให้กับอาคารต่างๆ ซึ่งใบรับรองเหล่านี้ก็ยังเป็นพื้นฐานของการสร้างอาคารอัจฉริยะอีกด้วย

หนึ่งในระบบที่ใช้พลังงานมากที่สุด คือระบบปรับและระบายอากาศ ซึ่งอาคารสมัยใหม่ ล้วนมีการติดตั้งระบบปรับอากาศในทุกพื้นที่อาคาร และในหลายๆ ครั้ง ระบบเหล่านี้ถูกใช้งานอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากความละเลยในการปิดระบบ ซึ่งปัญหานี้สามารถแก้ไขได้โดยง่ายผ่านการช่วยเหลือของเทคโนโลยี อาทิเช่น การติดตั้งเซ็นเซอร์ ที่สามารถควบคุมระบบหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าได้จากระยะไกล

อีกหนึ่งวิธีที่เราจะสามารถใช้เทคโนโลยี เพื่อลดปัญหาการใช้พลังงานคือ การปรับปรุงและพัฒนาระบบปรับอากาศ เนื่องมาจากวิธีการทำงานของเครื่องปรับอากาศอุตสาหกรรม มีการดึงอากาศภายนอกอาคารมาใช้ ซึ่งต้องผ่านการฟอกอากาศ เพื่อลดการระคายเคืองเมื่อทำการหายใจ และการฟอกอากาศนั้น ทำให้ระบบปรับอากาศต้องใช้พลังงานที่สูงขึ้น แต่ถ้าเราสามารถพัฒนาระบบปรับอากาศ ให้สามารถหมุนเวียนอากาศที่อยู่ในตัวอาคารต่อไปได้ นั่นจะทำให้การฟอกอากาศ มีความจำเป็นน้อยลง และลดการใช้พลังงานลงได้ 

โดยทั่วไปแล้ว การทำความสะอาดถือว่ามีความสำคัญสูง และโดยเฉพาะในช่วงสภาวะโควิด-19 นี้ การฆ่าเชื้อโรคได้กลายเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดในหลายๆอาคาร ถึงแม้ว่าไวรัสโควิด-19 นั้น จะไม่สามารถทำการแพร่ผ่านอากาศได้ แต่ถ้าเชื้อโรคได้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสม ตัวเชื้อสามารถมีชีวิตอยู่ได้ยาวถึง 7 วัน และถ้าเราสามารถพัฒนาระบบที่จะช่วยในการฆ่าเชื้อได้ทันทีทันใด ช่วงเวลาระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 จะสั้นลงเป็นอย่างมาก

วิธีการทำงานของระบบฟอกอากาศในปัจจุบัน สามารถจำแนกได้เป็นสองวิธี นั่นคือ การฟอกอากาศทางตรง และทางอ้อม ซึ่งการฟอกอากาศทางตรงทำงานโดยการปล่อยประจุลบ เพื่อดักจับอนุภาคฝุ่นที่มีน้ำหนักมาก และสำหรับการฟอกอากาศทางอ้อม มีหลักการทำงานโดย การใช้พัดลมดูดอากาศผ่านแผ่นกรอง เพื่อดักจับอนุภาคฝุ่น

หลักการการฟองอากาศที่ Nexter ได้พัฒนาและติดตั้งในปัจจุบันนั้น จะเป็นการใช้เทคโนโลยีที่สามารถปล่อยประจุบวก และ ประจุลบ (Bipolar Ionization Technology) เรียกว่า “ระบบฟอกอากาศ แบบ Bipolar Ionization” ที่มีความสามารถในการดักจับฝุ่นขนาดเล็ก อย่าง PM2.5 ได้ดี นอกจากนี้ยังสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ทั้งไวรัส และเชื้อแบคทีเรีย ตลอดจนการลดกลิ่นสารระเหย VOCs เช่น น้ำยาล้างเล็บ ทินเนอร์ กลิ่นสีที่มีส่วนผลิตจากสารเคมี เป็นต้น ให้ลดลงได้มากถึง 99% (ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับตัวแปรของสภาพแวดล้อมในสถานที่นั้นๆ) และในขณะนี้ Nexter มีแผนที่จะพัฒนาและสร้างระบบฟอกอากาศที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อการใช้งานในอาคารอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ต่อไป

ในอนาคต การใช้เซ็นเซอร์อัจฉริยะจะกลายเป็นโครงสร้างพื้นฐานในการสร้างอาคารอัจฉริยะในอนาคต ด้วยความสามารถของเซ็นเซอร์ ที่รองรับการปรับแต่งได้ตามความต้องการใช้งานของมนุษย์ จึงทำให้การติดตั้งเซ็นเซอร์อัจฉริยะในระบบต่างๆ สามารถทำได้โดยง่าย ผนวกกับความสามารถในการควบคุมระยะไกลของเซ็นเซอร์เหล่านี้ การพัฒนาอาคารอัจฉริยะอาจมาถึงในอนาคตอันใกล้

ในวิสัยทัศน์ของบริษัทลงทุน Nexter Ventures กุญแจสำคัญในการสร้างเมืองอัจฉริยะคือ การทำงานอย่างใกล้ชิดระหว่างบริษัทยักษ์ใหญ่และ Startups ซึ่ง Nexter ได้เล็งเห็นโอกาสที่จะพัฒนาเทคโนโลยีหลายแขนงที่จะช่วยสนับสนุนการสร้างอาคารอัจฉริยะ อาทิเช่น คอนเซปต์และเทคโนโลยี, โซลูชั่นอัจฉริยะ, การพัฒนาเมืองที่ยั่งยืน, เทคโนโลยีเพื่อสุขภาพและ เทคโนโลยีเพื่อการผลิตและขนส่ง ในปัจจุบัน Nexter Living และ Nexter Ventures ยังคงค้นหาบริษัท Startups ด้านเทคโนโลยีเพื่อทำการลงทุน และพัฒนาคุณภาพชีวิต รวมไปถึงการพัฒนาเทคโนโลยีที่จะช่วยให้ชีวิตของพวกเรามีความอัจฉริยะมากขึ้น การสร้างเมืองอัจฉริยะจะไม่เป็นความฝันบนแผ่นกระดาษอีกต่อไป และอาจจะใกล้กว่าที่เราคิด

และนี่เป็นเพียงคอนเทนต์บางส่วนภายในงาน Techsauce Global Summit 2020 เท่านั้น พบกับเนื้อหาที่น่าสนใจเร็วๆ นี้ หรือติดตามรายละเอียดได้ที่ https://summit.techsauce.co

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

AI จะเป็น ‘ผู้กอบกู้’ หรือ ‘ผู้ทำลาย’ การ์ตูนญี่ปุ่น

เมื่อประตูสู่วัฒนธรรมและเสาหลักทางเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นอย่าง อนิเมะและมังงะกำลังถูก AI แทรกแซง อนาคตของวงการนี้จะเป็นยังไง ?...

Responsive image

เจาะลึกเทรนด์ Spatial Computing จุดเปลี่ยนสำคัญสำหรับองค์กรยุคใหม่

Spatial Computing คือเทคโนโลยีที่ผสานโลกเสมือนจริงและโลกจริงเข้าด้วยกัน ซึ่งมีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานขององค์กรในยุคดิจิทัล ตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ไปจนถึงการฝึกอบรมและ...

Responsive image

ถอดกลยุทธ์ ‘ttb spark academy’ ปั้น Intern เพิ่มคนสายเทคและดาต้า Co-create การศึกษาคู่การทำงานจริง

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี (ttb) เห็น Pain Point ว่าประเทศไทยขาดกำลังคนด้านดิจิทัล (Digital Workforce) และธนาคารก็ต้องการคนเก่ง Tech & Data จึงจัดตั้ง ‘ttb spark academy’ เพื่อปั้น ...