ประเทศไทยจะก้าวสู่ยุคหุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์อย่างไร เมื่อเด็กไทยต้องเรียน Coding คือคำตอบ | Techsauce

ประเทศไทยจะก้าวสู่ยุคหุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์อย่างไร เมื่อเด็กไทยต้องเรียน Coding คือคำตอบ

เมื่อพูดคำว่าหุ่นยนต์ ปัจจุบันหลายคนอาจนึกถึงหุ่นยนต์ในโรงงาน หรือหุ่นยนต์ต้อนรับที่เริ่มนำมาใช้งาน แต่สำหรับเด็กๆแล้ว สิ่งที่เขาเห็นคือของเล่นที่มาพร้อมกับการเรียนรู้ และทักษะความคิดด้าน Coding ซึ่ง SVOA ผู้นำธุรกิจไอที ได้มองเห็นความสำคัญของในการพัฒนาเด็กๆ พื้นฐานสำคัญของประเทศ ที่จะต้องเตรียมความพร้อมเข้าสู่ยุคหุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์ในอนาคต จึงได้ร่วมมือกับบริษัท UBTECH จัดการแข่งขัน Thailand UBTECH Robotics Competition 2019 ครั้งแรก

บริษัท UBTECH เป็นผู้ผลิตหุ่นยนต์ระดับโลกจากประเทศจีน ปัจจุบันได้ร่วมมือกับ SVOA  เพื่อนำเข้าและจัดจำหน่ายหุ่นยนต์เพื่อการศึกษาเพียงผู้เดียวในประเทศไทย สำหรับการจัดแข่งขัน Thailand UBTECH Robotics Competition 2019 ครั้งนี้ ได้เปิดโอกาสให้นักเรียนอายุระหว่าง 8 ถึง 16 ปี ร่วมแสดงความสามารถในการออกแบบหุ่นยนต์ และเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ โดยผู้ชนะจะได้ไปแข่งขันระดับภูมิภาคในประเทศจีน

คุณฐิตกร อุษยาพร CEO บริษัท SVOA ได้เล่าถึงความร่วมมือกับ UBTECH และการทำอุตสาหกรรมหุ่นยนต์เต็มรูปแบบ

จุดเริ่มต้นของการแข่งขันในครั้งนี้

ต้องเล่าก่อนว่า SVOA มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ในประเทศไทยอย่างเต็มรูปแบบ โดยปัจจุบันหุ่นยนต์จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ มีหุ่นยนต์ในเชิงอุตสาหกรรม กับหุ่นยนต์บริการ โดยบริษัท UBTECH มีหุ่นยนต์ในเชิงบริการ ที่สามารถนำมาใช้ด้านสื่อการเรียนการสอน ทั้งวิชา AI และ Robotic พอเราทำตลาดตรงนี้ ก็เลยมาคิดกันว่า เราควรจะมีการแข่งขัน เพื่อให้เด็กมีสนาม และในขณะเดียวกัน UBTECH ก็จัดการแข่งขันในหลายๆประเทศ จึงเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กไทยไปแข่งในระดับภูมิภาค

ทำไมสถาบันการศึกษาจึงต้องให้ความสำคัญกับ Robot และ AI?

ถ้าพูดถึง Thailand 4.0 จะมี 2 เรื่องใหญ่ๆคือ Robotic และ AI โดยหุ่นยนต์ของ UBTECH เป็นหุ่นยนต์ที่มี Content เขามีหลักสูตรที่ใช้ในประเทศจีน มีตั้งแต่ระดับประถม มัธยม ไปจนถึงระดับมหาลัยเลย โดยที่ประเทศจีนเริ่มสอนกันตั้งแต่ Grade 1 มีการใช้มือถือ , Tablet ในการบังคับ มีการสร้างจินตนาการที่ให้เด็กๆอยากทำหุ่นยนต์ได้

“ปัจจุบันหลายโรงเรียนในไทยก็ให้ความสำคัญเยอะมาก แต่บางครั้งยังเป็นแค่วิชาเลือก ซึ่งในจีนนั้นเป็นหลักสูตรถาวร มีการกวดวิชา Robot และ AIผมมองว่า เราต้องสร้างโครงสร้างพื้นฐานพวกนี้ให้กับเด็กๆ”

ปัญหาด้านบุคลากร

ครูผู้สอนต้องมีความรู้ ปัจจุบันมีคณะที่สอนจบออกมาปีนึงเพียงหลักร้อย แค่หลักร้อยมันไม่เกิดอุตสาหกรรม เพราะฉะนั้นเราก็เลยกลับมาที่พื้นฐาน เด็กต้องได้ มีครู อุตสาหกรรมจึงจะเกิดขึ้น

อยากจะมีอุตสาหกรรมหุ่นยนตร์ คุณต้องสร้างครูผู้สอนได้ คุณต้องสร้างนักเรียนที่มีความรู้ความเข้าใจ จะได้ไปต่อยอด ผมไม่ได้พูดถึงอุตสาหกรรมหุ่นยนตร์ใหญ่ๆ แต่หมายถึงอุตสาหกรรมหุ่นยนตร์ที่มาแทนงานแม่บ้าน

ภาครัฐต้องส่งเสริม 

แน่นอนว่าเป็นถ้าบอกว่าอยากไป 4.0 อันนี้เป็นอุตสาหกรรมหลักที่ภาครัฐควรพัฒนา ต้องสร้างฐานขึ้นมาก่อน เราบอกว่าเราอยากจะผลิตอันนี้ขึ้นมา แต่เราไม่มีคนที่มีความรู้ความเข้าใจ มันก็กลับมาที่พื้นฐาน 

ตอนนี้เราก็เข้าไปคุยกับ UBTECH เอาหลักสูตรที่เมืองจีนมาปรับใช้กับเมืองไทยได้ไหม ซึ่งเขาพร้อม พอเป็นหลักสูตร ตรงนี้ก็ได้แล้ว ในส่วนของอุตสาหกรรม ถ้าภาครัฐเริ่มชัด ผมเชื่อว่าในอนาคต หุ่นยนตร์จะมีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ

UBTECH กับบทบาทผู้ช่วยส่งเสริมระบบนิเวศน์หุ่นยนต์ในประเทศไทย

ด้านคุณ … จากบริษัท UBTECH ได้เล่าว่า บริษัทได้เริ่มเข้ามาตลาดไทยตั้งแต่ปี 2018 โดยเห็นประเทศไทยเป็นตลาดใหม่ด้านหุ่นยนตร์ และการศึกษาด้าน AI ที่สามารถเข้ามาร่วมมือได้ โดยเมื่อเข้ามา ก็เริ่มมองเห็นปัญหาของ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ในประเทศไทย โดยประกอบด้วย 4 เรื่องหลักๆคือ 

  1. ขาดหลักสูตรอย่างเป็นระบบ

  2. ขาดครูอาจารย์

  3. ขาดพื้นที่การฝึกซ้อม

  4. ไม่มีระบบนิเวศน์หุ่นยนต์ในประเทศไทย

เมื่อเห็นปัญหา จึงได้เปิดเวทีเพื่อให้เด็กๆ มีสนามแข่ง และเป็นสร้าง Ecosystem โดยร่วมมือกับ SVOA ให้เด็กเห็นความสำคัญที่ต้องเรียน AI เพราะในอนาคตอีก 20 ปี มีการคาดการณ์ว่า จะมีหุ่นยนต์ถึง 10 พันล้านตัว 

ทั้งนี้ประเทศไทยมีความเติบโตเร็ว โดยในปี 2012 โรงเรียนไทยหลายแห่งในประเทศไทยได้เข้าสู่ STREAM Education ทำให้เด็กๆหลายคนมีพื้นฐาน แต่ก็ยังขาดการสร้าง Ecosystem จึงได้ร่วมกันสนับสนุนในส่วนนี้

เด็กอายุ 11 ปี กับการเป็นตัวแทนประเทศไทย

สำหรับผลการแข่งขันเพื่อหาตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันต่อในระดับภูมิภาคที่ประเทศจีนนั้น ผลปรากฏว่า น้องๆรุ่น Junior สามารถเอาชนะรุ่นพี่ และได้เป็นตัวแทนไปแข่งขันต่อที่ประเทศจีนช่วงสิ้นเดือนนี้

โดยผู้ชนะคือด.ช.นวิณ วงศ์พานิช และด.ช. ธัชฐพงษ์ บุญธรรมติระวุฒิ หรือน้องวิปและน้องพล นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมศว.ประสามมิตร

Techsauce ได้นั่งคุยกับเด็กอายุ 11 ขวบทั้ง 2 ที่กำลังตื่นเต้นกับความสำเร็จในครั้งนี้ และไม่คาดคิดว่าจะชนะการแข่งขัน โดยน้องพลกับวิปเล่าว่า ทั้งสองมีความสนใจใน Coding เป็นอย่างมาก โดยเริ่มเรียน Coding ตั้งแต่ประมาณป.2 เพราะโรงเรียนมีการเรียนการสอนวิชานี้ 

สำหรับเหตุผลที่ชอบก็เพราะการ Coding นั้นช่วยให้พวกเขาได้ฝึกความคิด ฝึกสมอง และที่สำคัญฝึกการตัดสินใจ โดยที่ผ่านมาเคยลงแข่ง Coding มา 2-3 สนาม และสำหรับสนามนี้ ก็ตัดสินใจลงแข่งขันกันเองด้วยความชอบ

เมื่อถามเด็กๆว่า กิจกรรมยามว่างทำอะไร ทั้งสองเล่าว่า ที่บ้านพวกเขาไม่มีหุ่นยนต์ แต่จะเล่นและฝึกซ้อมการ Coding กันที่โรงเรียน ส่วนกิจกรรมยามว่าก็มักดูรายการทีวี เช่น Master Chef หรือดู Youtube ที่มีเฉลยข้อสอบ โดยทั้งสองคนมีความสนใจในวิชาวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ พร้อมทั้งมองว่า วิทยาศาสตร์ไม่ใช่เรื่องยาก และยังทำทำให้เราได้คิดอย่างเป็นลำดับ ทั้งนี้สิ่งที่อยากได้รับการสนับสนุนมากที่สุด ก็คือกำลังใจจากผู้ปกครอง พร้อมฝากถึงเพื่อนๆที่ไม่ชนะว่า “ขอให้พยายามต่อไป”

สรุป

การแข่งขัน Thailand UBTECH Robotic Competition 2019 ครั้งนี้ เป็นการส่งเสริมการพัฒนาทักษะความรู้หุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์ (A.I. Robotics) และการศึกษาแบบ STEAM (STEAM Education) ซึ่งเป็นการบูรณาการเนื้อหาและทักษะความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ ศิลปะ และคณิตศาสตร์ ทำให้เกิดความการเรียนรู้แบบองค์รวม

อีกทั้งยังเป็นการสร้างสนามจริงให้น้องๆได้แข่งขัน เพื่อเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรรุ่นใหม่ในอนาคต  และเป็นการเตรียม เยาวชนไทยเข้าสู่สังคมยุคหุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์ และสามารถเติบโตเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ตามแผนยุทธศาสตร์หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติต่อไป

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

17 เรื่อง AI ต้องรู้ จากรายงาน AI Index 2024

Techsauce ได้สรุป 17 ประเด็นสำคัญจากรายงาน AI Index Report 2024 ซึ่งจัดทำโดย Stanford Institute for Human-Centered Artificial Intelligence (HAI) ที่รวบรวมประเด็นต่างๆ ของปัญญาประดิ...

Responsive image

แนะเทรนด์ลงทุนในสตาร์ทอัพปี 2024 พร้อมช่องทางใหม่ในการระดมทุนจากงาน KATALYST TALK MEETUP #3

บทความที่เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพควรอ่านเพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการเผชิญความท้าทายในปีนี้ จากการรับฟังภายในงาน KATALYST TALK MEETUP #3 ‘Navigating the Startup Challenges in 2024 and Beyond’...

Responsive image

เตรียมพบกับงาน SEA Blockchain Week 2024 (SEABW) ยกขบวนกูรูผู้เชี่ยวชาญด้านบล็อกเชน และ Web 3 ระดับโลกกว่า 100 คน มาร่วมพูดคุยแบ่งปันประสบการณ์ที่เมืองไทย

Southeast Asia Blockchain Week หรือ SEABW งานด้านบล็อกเชนสุดยิ่งใหญ่ระดับภูมิภาค ที่เตรียมจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในวันที่ 24-25 เมษายน 2567 ซึ่งจะจัดขึ้น ณ True ICON HALL ช...