หัวใจสำคัญของการสร้างและพัฒนานวัตกรรมคือ 'การสื่อสาร'

หัวใจสำคัญของการสร้างและพัฒนานวัตกรรมคือ 'การสื่อสาร'

Innovation is communication.

หัวใจสำคัญของการสร้างนวัตกรรมคือ 'การสื่อสาร'

หากผู้สร้างนวัตกรรมไม่สามารถสื่อสารให้คนในทีมเข้าใจความหมายของตัวชี้วัดได้อย่างตรงกัน ก็จะเป็นการยากที่โครงการนั้นจะมีความคืบหน้า

นวัตกรรมใหม่ๆ ไม่จำเป็นต้องเกิดจาก Startup เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ในขณะที่องค์กรกำลังคิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อปกป้องอนาคตในระยะยาว ทีมนวัตกรรมกลับพบอุปสรรคในการสร้างผลิตภัณฑ์อย่างไม่จบสิ้น เนื่องจากอุปสรรคสำคัญของการสร้างนวัตกรรมคือ 'งบประมาณ' หากผู้สร้างนวัตกรรมไม่สามารถอธิบายตัวชี้วัดต่างๆ ว่าจะสามารถคำนวณรวมกันเป็นดัชนี (KPI) ของการสร้างนวัตกรรมในบริษัทได้อย่างไร ก็จะยากต่อความสามารถในการนำไปสู่การกำหนดเป้าหมายของระดับความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมของบริษัทมากเท่านั้น

Dan Toma ผู้เขียน The Corporate Startup อีกทั้งมีประสบการณ์ทำงานพัฒนากลยุทธ์กับหลายองค์กรใหญ่ พูดในงาน Innov8rs Bangkok ถึงอุปสรรคหลักๆ ของการสร้างสรรค์นวัตกรรมนั้นอยู่ที่วิธีการสื่อสารตัวชี้วัดนวัตกรรม

อุปสรรคต่อการพัฒนานวัตกรรมคือ 'การสื่อสาร'

'การสื่อสารภาษาเดียวกัน' คือหัวใจสำคัญของการสร้างนวัตกรรม หากทีมนวัตกรรมสามารถอธิบายตัวชี้วัดที่จำเป็นต้องนำมาใช้ในการคิดค้นในแต่ละโครงการ ก็จะสามารถดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพได้ โดย Dan ได้ยกอุปสรรคต่อการสื่อสาร ก็เนื่องจากมุมมองของฝ่ายการเงินกับทีมนวัตกรรมนั้นไม่ตรงกัน

1. สินทรัพท์ที่มีค่าที่สุด ไม่ใช่สิ่งที่ฝ่ายผู้อนุมัติงบประมาณมองว่ามีค่า 

อย่างกรณี Airbnb ผู้ให้บริการเช่าที่พัก แต่ไม่มีห้องเป็นของตัวเอง มีมูลค่าสูงถึง 31 พันล้านเหรียญสหรัฐ เปรียบเทียบกับ Hilton ที่เป็นเจ้าของห้องกว่า 895,000 ห้อง แต่กลับมีมูลค่าเพียง 23 พันล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น คนเป็นสินทรัพท์ที่มีค่าที่สุดในองค์กรก็จริง แต่ก็ต่อเมื่อคุณอยู่ในสโมสรอย่างแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด

2. รายงานงบประมาณนวัตกรรมแสดงเฉพาะ 'ปัจจัยนำเข้ากระบวนการสร้างสรรค์นวัตกรรม' และ 'คุณภาพของนวัตกรรมเท่านั้น' 

3. การบัญชีสามารถตรวจสอบเฉพาะสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วเท่านั้น วิธีที่มักนำมาใช้ในการลดต้นทุน อย่างเช่น Lean startup, Design thinking, Agile development

Dan Toma ผู้เขียน The Corporate Startup

3 มุมมองที่ใช้ในการตัดสินใจลงทุนนวัตกรรม

การทำความเข้าใจมุมมองของแต่ละฝ่ายที่ใช้ในการลงทุนนวัตกรรมนั้นก็สำคัญเช่นกัน โดย Dan ได้ยก 3 มุมมองที่แต่ละฝ่ายใช้ในการตัดสินใจลงทุนนวัตกรรมว่ามีดังนี้

1) มุมมองด้านกลยุทธ์ (ผู้บริหารและนักลงทุน)

  • ผลการดำเนินงาน (Portfolio performance & distribution)
  • ความเสี่ยงการเกิด disruption ต่อบริษัท
  • การพัฒนาในด้านระบบนิเวศ (ต้นทุนนวัตกรรม, เวลาในการเข้าสู่ตลาด)
  • การเติบโตของสินทรัพท์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่

2) มุมมองด้านการจัดการนวัตกรรม (ผู้บริหารระดับสูงและระดับกลาง)

  • การลงทุนและการตัดสินใจในการส่งออกนวัตกรรม
  • การจัดการปัญหาได้อย่างถูกที่ถูกเวลา
  • การบริหารจัดการความเสี่ยง

3) มุมมองเกี่ยวกับกลยุทธ์และการปฏิบัติ (เจ้าของผลิตภัณฑ์ หัวหน้าทีม และอื่นๆ)

  • คนในทีมได้ทำงานในส่วนที่จำเป็นหรือไม่
  • มีความคืบหน้าในการทำงานนั้นหรือไม่

คำแนะนำต่อทีมนวัตกรรมในการสื่อสารความความคืบหน้าของแต่ละโครงการ

1) ทดลองทำซ้ำๆ ในโปรเจคขนาดเล็กเพื่อลดความเสี่ยงด้านการลงทุน

เพื่อลดความเสี่ยงด้านการลงทุนในแต่ละนวัตกรรม Dan แนะนำว่าให้ลงทุนในโปรเจคที่ไม่ใหญ่มากหลายๆ ครั้ง เพื่อปรับปรุงผลิตภัณฑ์ซ้ำ ๆ ในขณะเดียวกันก็ได้เรียนรู้จากการทดลองไปด้วย

2) ตัวชี้วัดต้องเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตามการพัฒนานวัตกรรม

ต้องปรับตัวชี้วัดให้เหมาะกับแต่ละขั้นของการพัฒนานวัตกรรม Startup ที่อยู่ระดับ Early stage จะมี KPI ต่างจากโปรเจคที่ในระดับใหญ่ที่พัฒนาแล้ว

3) จัดโปรแกรมฝึกอบรมการจัดการเพื่อให้ทุกฝ่ายเข้าใจตัวชี้วัดตรงกัน

Dan แนะนำว่าให้ทำการจัด 'โปรแกรมฝึกอบรมการจัดการ' เพื่อที่ทุกคนจะได้เข้าใจความหมายตัวชี้วัดที่สามารถนำมาประเมินกระบวนการสร้างสรรค์นวัตกรรมไปในทิศทางเดียวกัน ทุกฝ่ายควรพูดและเข้าใจภาษาเดียวกันว่าทำไมถึงต้องมีการใช้เงินลงทุนในแต่ละส่วนมากกว่าส่วนอื่น ทำไมพนักงานบางคนถึงต้องทำงานนอกออฟฟิศพูดคุยกับลูกค้า แทนที่จะนั่งหน้าจอคอมพ์ที่ทำงาน เป็นต้น

นอกจากนี้เขายังพบว่า ยิ่งคนในทีมมีความหลากหลาย และมีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกันมากเท่าไรยิ่งดี บริษัทที่มีคนจากแต่ละแผนก ทั้งผู้จัดการ ทีมการตลาด ทีมสร้างนวัตกรรม ไปจนกระทั่งทีมกฎหมาย ได้มานั่งทำงานในที่เดียวกัน จะมีแนวโน้มในการปฏิบัติงานรวดเร็วกว่า เพราะมันง่ายที่จะได้รับฟีดแบคเรื่องต่างๆ ทันที อย่างเช่น หากทีมเซลเสนอหัวข้อที่จะคุยกับลูกค้า ก็จะมีผู้ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในบริบทนั้นมาก่อนได้เสนอไอเดียที่อาจจะเป็นประโยชน์ต่อองค์กรขึ้นมา เพราะพวกเขามีประสบการณ์หรือได้ยินจากที่อื่นๆ มาก่อน เป็นต้น

การเปิดโอกาสให้คนในทีมได้ทำงานในโปรเจคที่หลากหลาย ไม่ได้ทำให้เป้าหมายการสร้างนวัตกรรมเปลี่ยนไป กลับกันมันเป็นการช่วยป้องกันคู่แข่งที่จะเข้ามาตีตลาดต่างหาก

ส่วนใหญ่เวลาได้ยินปัญหาเหล่านี้ เนื่องจากองค์กรไม่มีการกำกับดูแลที่ชัดเจนในเรื่องนวัตกรรม ทำไมถึงต้องทำโปรเจคนี้ ทำไมถึงต้องลงทุนในฝั่ง 'Cost Center' (แผนกนวัตกรรม หรือ แผนก R&D) ไม่ใช่ฝั่ง 'Revenue Center' ดังนั้นการสื่อสารทุกอย่างต้องชัดเจน

 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

17 เรื่อง AI ต้องรู้ จากรายงาน AI Index 2024

Techsauce ได้สรุป 17 ประเด็นสำคัญจากรายงาน AI Index Report 2024 ซึ่งจัดทำโดย Stanford Institute for Human-Centered Artificial Intelligence (HAI) ที่รวบรวมประเด็นต่างๆ ของปัญญาประดิ...

Responsive image

แนะเทรนด์ลงทุนในสตาร์ทอัพปี 2024 พร้อมช่องทางใหม่ในการระดมทุนจากงาน KATALYST TALK MEETUP #3

บทความที่เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพควรอ่านเพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการเผชิญความท้าทายในปีนี้ จากการรับฟังภายในงาน KATALYST TALK MEETUP #3 ‘Navigating the Startup Challenges in 2024 and Beyond’...

Responsive image

เตรียมพบกับงาน SEA Blockchain Week 2024 (SEABW) ยกขบวนกูรูผู้เชี่ยวชาญด้านบล็อกเชน และ Web 3 ระดับโลกกว่า 100 คน มาร่วมพูดคุยแบ่งปันประสบการณ์ที่เมืองไทย

Southeast Asia Blockchain Week หรือ SEABW งานด้านบล็อกเชนสุดยิ่งใหญ่ระดับภูมิภาค ที่เตรียมจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในวันที่ 24-25 เมษายน 2567 ซึ่งจะจัดขึ้น ณ True ICON HALL ช...