อากาศประเทศไทย จะดีกว่านี้ได้ไหม จะแก้ปัญหา PM 2.5 อย่างไรให้ยั่งยืน | Techsauce

อากาศประเทศไทย จะดีกว่านี้ได้ไหม จะแก้ปัญหา PM 2.5 อย่างไรให้ยั่งยืน

เมื่อปัญหา PM 2.5 มีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกที ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่เราจะร่วมมือกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน Techsauce ได้เชิญ คุณอราคิน รักษ์จิตตาโภค หัวหน้าฝ่ายงานขับเคลื่อนนวัตกรรม, AIS NEXT และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชล บุนนาค ผู้อำนวยการโครงการ SDG Move มาร่วมพูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ในหัวข้อ อากาศประเทศไทย จะดีกว่านี้ได้ไหม เพื่อร่วมกันหาวิธีแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน โดยเนื้อหาจากการพูดคุยกันมีดังนี้


เพราะอะไร การแก้ไขปัญหา PM 2.5 ในประเทศไทย จึงยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร  

ประเด็นสำคัญ ที่ส่งผลให้การแก้ไขปัญหา PM 2.5 ในประเทศไทย ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเด็น ได้แก่

ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ

ในแง่มุมต้นทุนและผลประโยชน์ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะในภาคการเกษตรและอุตสาหกรรม เนื่องจากปัจจุบัน การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศอย่างยั่งยืน ยังจำเป็นต้องใช้ต้นทุนที่สูงอยู่ ทำให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหลาย ไม่มีแรงจูงใจการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อาทิเช่น 

ชาวสวนและชาวไร่ ที่ยังจำเป็นต้องเผาพื้นที่ทำการเกษตรอยู่ ณ ปัจจุบัน เนื่องจาก การเผาพื้นที่ทางการเกษตร สามารถเพิ่มรอบการผลิตได้เร็วกว่า เป็นผลให้สามารถสร้างรายได้มากกว่าตามไปด้วย หรือ การขนส่งด้วยรถดีเซล ซึ่งมีการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่ไม่มีประสิทธิภาพ และเป็นสาเหตุสำคัญในการเพิ่มมลพิษทางอากาศ ก็ยังจำเป็นต่อธุรกิจเป็นอย่างมาก เพราะ ต้นทุนเชื้อเพลิงถูกกว่า เป็นต้น 

เพราะฉะนั้น เมื่อทางเลือกที่ยั่งยืน ไม่สามารถสร้างรายได้เท่าที่ควร คนส่วนใหญ่จึงจำเป็นต้องเลือกอีกทาง

ปัญหาความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน

เป็นที่ทราบกันดีว่า ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น สามารถแก้ไขได้ด้วยการประยุกต์นำเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อให้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ และแก้ไขปัญหา PM 2.5 ด้วยต้นทุนที่ต่ำลง อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ของประเทศไทย ณ ปัจจุบัน ยังไม่มีความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนเท่าที่ควร หรือแม้กระทั่งระหว่างภาคเอกชนด้วยกันเองก็ตาม ซึ่งประเด็นเรื่อง PM 2.5 นั้น เป็นปัญหาสำคัญที่ต้องการความร่วมมือจากทุกฝ่าย

หากภาคเอกชนร่วมมือกัน พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการแก้ไขปัญหา PM 2.5 ควบคู่ไปกับแรงสนับสนุนจากภาครัฐ รวมไปถึงการบังคับใช้กฎหมายที่ถูกต้อง ประเทศไทยจะสามารถพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น และเมื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรมเหล่านั้น เข้าถึงมือของคนทั่วไปได้แล้ว มันจะช่วยกระตุ้นให้ผู้คนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ท้ายที่สุด ประเทศไทยก็จะสามารถแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศได้อย่างยั่งยืน

ทางเลือกในการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ PM 2.5

แนวทางการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ ที่ถูกหยิบยกขึ้นมาคิดวิเคราะห์กันใน session นี้ มีอยู่หลากหลายแนงทางที่น่าสนใจ และสามารถนำมาพัฒนาต่อยอดได้ แต่สิ่งที่ทุกแนวคิดย่อมต้องการเหมือนกัน คือ ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืน

แนวทางแรก ที่ได้รับการหยิบยกขึ้นมาพูดคุยกัน ได้แก่ การควบคุมการใช้พระราชบัญญัติอากาศสะอาด ที่ถูกนำมาใช้แล้วในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากภาครัฐค่อนข้างมาก ในการควบคุมและบังคับกฎหมายให้มีประสิทธิภาพ เนื่องจากแม้ว่า จะมีการออกกฎหมายฉบับดังกล่าวออกมาแล้ว แต่ถ้าหากไม่มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด เราก็จะไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืน

แนวทางต่อมา ที่ค่อนข้างน่าสนใจ และชวนให้นำกลับไปคิดต่อยอด ได้แก่ การพัฒนาเทคโนโลยีในการแจ้งเตือนไฟป่า เนื่องจากปัญหาไฟป่า เป็นสาเหตุสำคัญอย่างมาก  ที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศแทบทุกปี โดยเฉพาะในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - พฤษภาคม ที่เป็นช่วงหน้าแล้งของประเทศไทย ซึ่งประเด็นสำคัญที่เกิดขึ้น คือ ประเทศไทยยังไม่มีการพัฒนาเทคโนโลยีในการแจ้งเตือนไฟป่าที่มีประสิทธิภาพเลย ทำให้การเข้าไปดับไฟป่าเกิดความล่าช้า จนเป็นผลให้สภาพอากาศเต็มไปด้วยฝุ่นละอองมากมาย และส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนในประเทศอย่างแสนสาหัส

อีกแนวทาง ที่ได้รับการกล่าวถึงและเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตคนเมืองอย่างยิ่ง คือ การแก้ปัญหาการก่อสร้างที่สร้างมลพิษ ด้วยมาตรการที่มีลักษณะคล้ายกับ Carbon Credit เนื่องจาก ปัจจุบัน ประเทศไทยมีการพัฒนาทางด้านสาธารณูปโภคมากมาย รวมไปถึงการก่อสร้างอาคารต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคมเมือง เป็นผลให้เกิดมลพิษทางอากาศ ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนเมืองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะฉะนั้น หากมีเทคโนโลยี ที่เข้ามาช่วยตรวจสอบปริมาณฝุ่นละอองในแต่ละพื้นที่อย่างละเอียด ควบคู่กับการบังคับใช้มาตรการ Carbon Credit กับองค์กรที่เป็นผู้รับผิดชอบโครงการก่อสร้างนั้นๆ อาจช่วยให้ปัญหา PM 2.5 หมดไป

นอกจากนี้ ยังมีไอเดียอีกมากมาย ที่ได้รับการพูดคุยแลกเปลี่ยนกันใน session นี้ หากคุณเป็นหนึ่งคนที่มีความสนใจในการแก้ไขปัญหา PM 2.5 ที่เกิดขึ้น และต้องการแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนไอเดียกับผู้อื่นบนเวทีอย่างสร้างสรรค์ การเข้าร่วมงาน Hackathon ก็ย่อมเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คุณจะได้มีโอกาสแสดงไอเดียของคุณออกมา และงานที่คุณไม่ควรพลาด ที่จะมาร่วมแก้ไขปัญหา PM 2.5 เลย ก็คือ

AIS NEXT x Techsauce media JUMP Thailand 2021 การแข่งขัน Virtual Hackathon เพื่อเฟ้นหาสุดยอดทีมจากทั่วประเทศ เพื่อมาร่วมมือกันช่วยแก้ไขปัญหาสำคัญของประเทศ ภายใต้หัวข้อ ‘นวัตกรรมเพื่อคุณภาพอากาศที่ยั่งยืน’

ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 1 ล้านบาท! โดยโครงการที่ผ่านมาการคัดเลือกจะมีโอกาสได้ทำงานร่วมกับ AIS NEXT และพาร์ทเนอร์ พร้อมงบประมาณสูงสุดถึง 100 ล้านบาท!

อย่ารอช้า! ฟอร์มทีม Hackathon แล้วสมัครได้เลยที่นี่ https://jumpthailand.earth ตั้งแต่วันนี้ - 15 มีนาคม 2564 

 AIS x Techsauce JUMP Thailand 2021 แล้วมาพาประเทศไทย ก้าวกระโดดไปข้างหน้าด้วยกัน!

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...