Work From Home คืออะไร ทำอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ในสถานการณ์ COVID-19 โดยพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์

คุณพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมหรือ ดีอีเอส เป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนเรื่องของการ Work from Home ในสถานการณ์ COVID-19 มาตั้งแต่ต้น โดยมีการเรียกหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนมาหารือ เพื่อดำเนินแผนการณ์เรื่องการ Work from Home ทั้งแพลตฟอร์มและแพ็คเกจฟรีต่างๆ ล่าสุดคุณพุทธิพงษ์ ได้เผยถึงการ Work form Home โดยมีเนื้อหาดังนี้

การจะแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่กำลังส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของใครหลายคนนั้น การรักษาระยะห่างทางสังคม หรือ Social Distancing เพื่อลดการแพร่กระจายของไวรัส จึงเป็นมาตรการแก้ปัญหาที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน ซึ่งนอกจากการปิดจุดเสี่ยงติดเชื้อ และงดกิจกรรมทางสังคมแล้ว ก็ยังมีการ Work from home ที่สามารถลดการแพร่ระบาดของไวรัสได้เช่นกัน

Work from Home

การ Work from home นั้น ถ้าแปลตรงๆ ก็คือการทำงานที่บ้าน ซึ่งการทำงานในรูปแบบนี้จะช่วยให้เราไม่ต้องออกไปเจอใคร ทำให้ลดแพร่ระบาดของไวรัสไปได้มาก แต่เมื่อเราจะเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน จากที่ทำงานไปที่บ้านนั้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด การเตรียมความพร้อม Work from home ให้ดีจึงเป็นสำคัญ

ขั้นแรกต้องลิสต์ออกมาให้ชัดเจนว่าวันนี้เราต้องทำอะไรบ้าง เรียงตามลำดับที่สำคัญที่สุด และกำหนดเส้นตายการส่งงานของตัวเองให้ชัดเจน

ข้อนี้สำคัญ ต้องสร้างบรรยากาศ ให้เหมือนกับที่ทำงาน เพื่อบอกให้ร่างกายรู้ว่าเราต้องทำงาน ถึงแม้จะอยู่บ้าน แต่ก็ต้องตื่นนอน อาบน้ำ ทำทุกอย่างให้เหมือนกับวันทำงาน โดยเลือกที่นั่งที่แสงพอเหมาะ และจัดโต๊ะ เก้าอี้ ให้เอื้อต่อการทำงานมากที่สุด

เมื่อกำหนดสิ่งที่ต้องทำงาน ก็ต้องกำหนดเวลาที่จะทำ และเวลาพักด้วย แม้ว่าการทำงานที่บ้านจะทำให้เราผ่อนคลายมากขึ้น แต่การกำหนดขอบเขตของเวลาใหัชัดเจน เพื่อให้เราไม่ทำงานมาก หรือน้อยจนเกินไป ก็สำคัญต่อการสร้างชิ้นงานที่ดี

และสุดท้ายเราต้องไม่ลืมที่จะใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ เพราะการ Work from home ในยุค 4.0 นั้น มีเครื่องมือมากมายที่จะทำให้เราสามารถทำงานที่บ้านได้ง่ายขึ้น ทั้ง Dropbox หรือ GoogleDrive ในการเก็บหรือส่งไฟล์งาน ทำนัดหมายตารางงาน จาก Google Calendar ประชุมประจำวันด้วย Microsoft team หรือ slack ไปจนถึง Wunderlist ที่ใช้ทำเช็กลิสต์การทำงาน

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Noland Arbaugh มนุษย์คนแรกที่ควบคุมคอมพิวเตอร์ด้วยความคิดผ่าน Neuralink

Noland Arbaugh วัย 30 ปี เป็นผู้ป่วยรายแรกของ Neuralink ได้ออกมาเล่าถึงประสบการณ์หลังการฝังชิปลงสมองในพอดแคสต์ของ Joe Rogan พอดแคสเตอร์ผู้โด่งดังในสหรัฐฯ...

Responsive image

ปฐมา จันทรักษ์ ฝาก 5 ข้อถึงผู้หญิง สู่ตำแหน่ง 'ผู้นำ' ในงาน EmpowerHer Asia LEADERSHIP FORUM 2025

สรุปจากที่คุณปฐมา จันทรักษ์ Country Managing Director, Accenture Thailand กล่าวในงาน 'EmpowerHER ASIA LEADERSHIP FORUM 2025, BRIDGING THE LEADERSHIP GAP IN TECH' เวทีสนับสนุนและส่ง...

Responsive image

คมความคิดของผู้หญิงสายเทค และความท้าทายที่ต้องเผชิญ จากงาน SCBX Tech Horizon EP15

สรุปแนวคิดผู้นำที่เป็นผู้บริหารหญิงจากงาน SCBX Tech Horizon EP15 ช่วง Panel Session : Breaking Barriers & Leading the Future เวทีที่เจาะลึกความท้าทายของผู้หญิงในบทบาทการบริหารกลยุท...