สนามแม่เหล็กที่ชื่อ ‘ทรู คอร์ปอเรชั่น’ และการผนึกกำลังครั้งใหม่กับ ‘Startup’ ในโครงการ True Incube | Techsauce

สนามแม่เหล็กที่ชื่อ ‘ทรู คอร์ปอเรชั่น’ และการผนึกกำลังครั้งใหม่กับ ‘Startup’ ในโครงการ True Incube

ในยุค Digital Transformation ที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในทุกมิติและทุกบริบทการเปลี่ยนแปลงของสังคม อาจกล่าวได้ว่าช่วงเวลานี้คือจุดเชื่อมต่อแห่งโอกาสและธุรกิจใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นมาอีกมากมาย ในขณะเดียวกันในช่วงเวลาแห่งการการปฏิวัติอุตสาหกรรมเช่นนี้ก็ยังเป็นจุดล่มสลายของธุรกิจรูปแบบเก่า-หากธุรกิจเหล่านั้นไม่เตรียมความพร้อมและปรับตัวเพื่อขับเคลื่อนองค์กรไปข้างหน้า

เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา เชื่อว่าหลายๆ คนคงมองภาพการแข่งขันขององค์กรขนาดใหญ่กับ Startup เอาไว้เฉกเช่นวลีที่ว่า 'ปลาใหญ่กินปลาเล็ก' แต่ช่วงเวลาต่อจากนี้ ในน่านน้ำของธุรกิจเราคงจะได้เห็นภาพ 'ปลาเร็วแซงปลาช้า' มากขึ้น แต่ทว่าปลาใหญ่ไม่สามารถว่ายน้ำได้เร็วเท่าปลาเล็ก แล้วการแข่งขันในเกมธุรกิจนี้จะเป็นอย่างไร?

หลายองค์กรใหญ่ในเมืองไทยกำลังเดินหน้าเข้าสู่การปรับตัวเพื่อขับเคลื่อนองค์กรสู่ Digital Transformation รวมไปถึงบริษัทในกลุ่มทรูและเครือเจริญโภคภัณฑ์ ซึ่งเป็นองค์กรใหญ่ที่ได้ดำเนินธุรกิจมาแล้วกว่า 30 ปี แต่การขับเคลื่อนองค์กรของกลุ่มบริษัททรูในช่วงเวลาแห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 นี้ ที่เป็นช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลง แต่ทรูกลับเลือกที่จะเดินเกมด้วยการเปิดน่านน้ำให้กับปลาเล็กอย่าง Startup โดยมุ่งสนับสนุนให้องค์กรเล็กๆ ของคนรุ่นใหม่ได้เติบโตไปด้วยกัน รวมไปถึงอ้าแขนรับ Startup ให้เข้ามาทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ของ ‘บริษัทในกลุ่มทรู’ ภายใต้โครงการ True Incube Incubation & ScaleUp Program

สนามแม่เหล็กของ ‘Tech Startup’ กับการขับเคลื่อนองค์กรใหญ่

True Incube (ทรู อินคิวบ์) ซึ่งเป็นผู้นำในการให้บริการแบบครบวงจรแก่ Startup ด้วยการสร้างระบบนิเวศที่สนับสนุน Startup และผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยี (Tech Entrepreneur) เพื่อเอื้อให้เกิดการสร้างธุรกิจด้านนวัตกรรมในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายใต้การดำเนินโครงการบ่มเพาะและส่งเสริมผู้ประกอบการ Startup และเทคโนโลยีที่ทรู คอร์ปอเรชั่นได้ดำเนินการมาเป็นปีที่ 6 แล้ว ในปีนี้ได้จัดขึ้นในชื่อคอนเซ็ปต์ ‘True Incube Incubation & ScaleUp Program Batch 6 - Rising Startup Together’ มีเป้าหมายเพื่อเฟ้นหา Startup ด้านเทคโนโลยีที่กำลังมองหาพันธมิตรเพื่อต่อยอดและขยายธุรกิจให้เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยทรู อินคิวบ์เองก็มีแนวคิดในการสนับสนุนและส่งเสริม Startup ที่เข้ามาร่วมโครงการ ด้วยการจับคู่ธุรกิจ Startup กับพันธมิตรทั้งในกลุ่มทรูและบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ให้ได้ทำงานร่วมกันตลอดระยะเวลาในโครงการกว่า 10 สัปดาห์ ทั้งนี้ก็เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้เตรียมความพร้อมเพื่อทำงานร่วมกันในอนาคต

โครงการได้สิ้นสุดลงแล้วเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา ในปีนี้มี Startup ที่ได้รับการคัดเลือกเพื่อเข้ามาร่วมโครงการทั้งหมด 4 ทีม ได้แก่

Adzey ผู้ให้บริการออนไลน์ มาร์เก็ตเพลส แพลตฟอร์มสำหรับการจองพื้นที่สื่อโฆษณานอกบ้านทุกประเภท (Out of Home media: OOH) ช่วยให้ผู้ประกอบการและบุคคลทั่วไปสามารถค้นหา จองและใช้สื่อนอกบ้านในพื้นที่ที่ต้องการได้ ในขณะเดียวกันก็ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ซื้อสื่อและเจ้าของพื้นที่ด้วย

MoreMeat นวัตกรรมโปรตีนทางเลือกที่ผลิตจากพืชหรือรู้จักกันว่า Plant-based Meat โดยได้นำเอาวัตถุดิบที่หาได้จากท้องถิ่นมาใช้ในการผลิต ซึ่งผลิตภัณฑ์หลักของ MoreMeat นั้นผลิตจากเห็ดแคลงเพราะมีไมโครโปรตีนที่มีเส้นใยที่ค่อนข้างคล้ายเส้นใยในเนื้อสัตว์ นอกจากนี้ในเห็ดแคลงยังมีกรดอะมีโนและวิตามินบีหลายชนิด ต้องยอมรับว่า Plant-based Meat ไม่เพียงแต่เป็นผลิตภัฑณ์ที่ตอบโจทย์คนรักสุขภาพเท่านั้น แต่ยังตอบรับกับกระแสการทานอาหารทางเลือกจากโปรตีนทดแทนด้วย

ซึ่งในงาน True Startup Day 2019 ที่ผ่านมา ก็ได้รับการสนับสนุนจากทาง Wongnai co-cooking space ที่เอื้อเฟื้อสถานที่ให้กับ MoreMeat นำวัตถุดิบจาก Plant-based Meat มาปรุงอาหารให้ผู้ร่วมงานได้ชิมกันจริงๆ ในวันงานด้วย

Fillgoods ระบบจัดการร้านค้าออนไลน์ที่เชื่อมต่อกับผู้ให้บริการจัดส่งแบบครบวงจร ช่วยให้ร้านค้าออนไลน์โดยเฉพาะผู้ประกอบการโซเชียล คอมเมิร์ซ (Social Commerce) หรือผู้ที่ขายสินค้าผ่านโซเชียลมีเดียสามารถบริหารร้านค้าออนไลน์ได้อย่างมืออาชีพ ด้วยการลดภาระการจัดส่งสินค้าทั้งในแง่ของเวลาและค่าใช้จ่าย 

Daywork แพลตฟอร์มออนไลน์ที่ช่วยให้ผู้หางานพาร์ทไทม์และนายจ้างสามารถหางานที่ตรงกับความต้องการได้ โดยมีระบบช่วยให้การหางานพาร์ทไทม์ การสรรหาและว่างจ้างงานเป็นไปได้อย่างสะดวกและง่าย รวมไปถึงยังมีระบบจัดการข้อมูลผู้ใช้งานและระบบการให้คะแนนงานทั้งฝั่งผู้จ้างงานและผู้สมัครงานเป็นตัวช่วยประกอบการตัดสินใจก่อนรับงานและว่าจ้าง

นอกจากนี้ Startup ทั้ง 4 ทีมที่ผ่านการคัดเลือกเข้ามาสู่รอบสุดท้ายนี้ ยังจะได้รับสิทธิประโยชน์มากมายในการเป็นสมาชิกครอบครัวทรู อินคิวบ์ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าร่วมหลักสูตรอมรมอย่างเข้มข้น โอกาสในการไปดูงานในต่างประเทศ การได้รับ Smart VISA สำหรับ Startup ที่มีทีมงานชาวต่างชาติ ที่สำคัญ Startup ทุกทีมที่ผ่านเข้ารอบก็ยังจะได้รับโอกาสในการลงทุนจากกลุ่มทรูและบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์อีกด้วย

แม้จะยังไม่ได้ใช้ Product หรือ Service ของ Startup ที่เข้าร่วมโครงการ แต่ทางทรู อินคิวบ์ก็ได้เข้าไปร่วมพัฒนาและร่วมลงทุนในครั้งนี้ นั่นเป็นเพราะทรูมีความเชื่อมั่นและต้องการจะที่จะสร้างคนรุ่นใหม่ รวมถึงสนับสนุนให้ Startup  เหล่านี้ได้เข้ามาสานต่อและพัฒนาแนวคิดนวัตกรรมในกลุ่มอุตหกรรมและธุรกิจนั้นๆ ต่อไปได้

หากปลาใหญ่ไม่สามารถว่ายน้ำได้เร็วเท่าปลาเล็ก แล้วเดินเกมในเกมธุรกิจของทรู คอร์ปอเรชั่นจะเป็นอย่างไร? 

ดร.ธีระพล ถนอมศักดิ์ยุทธ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านนวัตกรรมและความยั่งยืน บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้กล่าวถึงแนวคิดการผนึกกำลังระหว่าง Startup ในโครงการ True Incube Incubation & ScaleUp Program Batch 6 - Rising Startup Together’ รวมถึงการร่วมมือกันในการสนับสนุนและผลักดันจากหน่วยงานต่างๆ ของบริษัทในกลุ่มทรูและเครือเจริญโภคภัณฑ์ ว่า

“True Incube Incubation & ScaleUp Program Batch 6 ที่เกิดขึ้นในปีนี้ เกิดขึ้นภายใต้แนวคิด ‘Synergy’ ซึ่งเราได้วิเคราะห์ถึงจุดแข็งของแต่ละหน่วยงานของบริษัทในกลุ่มทรู เพื่อดูว่าจุดแข็งที่เรามีนั้นจะช่วยให้สตาร์ทอัพสามารถโตแบบก้าวกระโดดได้อย่างไร รวมถึงไปโอกาสที่จะ Synergy กันได้ หรือแปลเป็นไทยก็คือ ‘การผนึกกำลัง’

ซึ่งการจะผนึกกำลังได้นั้น ทั้ง Startup และทรู-ที่รวมไปถึงบริษัทในเครือ เช่น ซีพีเอฟ ซีพีออล แมคโคร ฯลฯ ต่างก็ต้องเชื่อมโยงกัน ซึ่งหน่วยงานต่างๆ ที่ว่านี้ จะทำงานร่วมกับ Startup ในโครงการในฐานะพาร์ทเนอร์ที่มาช่วยต่อยอดให้กับ Startup เพราะเราเชื่อว่าในวันนี้อะไรที่เป็นความรู้พื้นฐานเราสามารถหาได้จากอินเตอร์เน็ตอยู่แล้ว แต่สิ่งที่โครงการนี้จะเติมเต็มให้กับ Startup คือทักษะการทำงานร่วมกับองค์กรขนาดใหญ่ ซึ่ง Startup เองก็จะสามารถนำทักษะเหล่านี้ไปต่อยอดในธุรกิจต่อไป ซึ่งจะช่วยให้ Startup ขยายการเติบโตของธุรกิจได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืน ฉะนั้นปีนี้จึงเป็นปีที่เราจับคู่ให้ Startup ได้ทำงานร่วมกับคนที่อยู่ในธุรกิจจริงๆ และได้ทดลองโปรดักซ์กับลูกค้าจริงๆ ด้วย”

สำหรับโครงการทรู อินคิวบ์ ในปีนี้ที่เน้นเรื่อง Synergy ระหว่าง Startup กับหน่วยงานต่างๆ ของบริษัทในกลุ่มทรูนั้น ก็ได้เริ่มต้นการทำงานร่วมกันตั้งแต่วันแรกของโครงการ โดยมุ่งเน้นที่การวางแผน ประเมินงานและการแก้ปัญหาร่วมกัน

ทั้งทีม Daywork และ MoreMeat ต่างก็ได้ให้ความคิดเห็นถึงการเข้าร่วมโครงการว่า การได้ทำงานร่วมกับทรูตั้งแต่วันแรก นอกจากจะช่วยให้  Startup เข้าใจลำดับความซับซ้อนในกระบวนการทำงานขององค์กรใหญ่แล้ว   Startup เองก็ยังได้รับคำแนะนำ การชี้ปัญหาผ่านการโยนคำถามที่กระตุ้นให้ไปหาข้อมูลเพิ่ม รวมไปถึงช่วยให้ได้เห็นภาพรวมในมุมมองของผู้ประกอบการในอุตสากรรมขนาดใหญ่ที่กระตุ้นให้เกิดแนวคิดในการพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ยิ่งขึ้น

การผนึกกำลังของปลาเล็กที่ว่ายน้ำเร็วกับปลาใหญ่ที่เคลื่อนตัวช้า

จุดแข็งทางธุรกิจหรือ ‘อาวุธ’ ที่ทรูมีอยู่ครบมือนั้น เป็นสิ่งสำคัญของการแข่งขันธุรกิจในยุคดิจิตอลเลยก็ว่าได้ รวมไปถึง Basic Infrastructure ที่ทรูมี ซึ่งรวมเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร อย่างเช่น 4G หรือว่า 5G ที่กำลังจะมาถึง นอกจากนี้ทรูก็ยังมีบริการของแพลตฟอร์มต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบ Cloud บริการ e-Payment และบริการด้าน E-commerce ที่ถือว่าเป็นโอกาสสำคัญของ  Startup ในการผนึกกำลังครั้งนี้

ดร.ธีระพล ยังได้กล่าวถึงการเอาจุดแข็งของแต่ละฝ่ายมาทำงานร่วมกัน ซึ่งทางทรูเอง แม้จะเป็นองค์กรขนาดใหญ่แต่ก็ไม่สามารถลงไปทำทุกเรื่องด้วยตัวเองได้ จึงต้องการความเป็นเถ้าแก่ของคนรุ่นใหม่ที่จะไปทดลอง Product หรือ Service กับตลาดใหม่ๆ ซึ่งการทดลองกับตลาดใหม่นี้ถือเป็นความเสี่ยงขององค์กรขนาดใหญ่ที่ไม่สามารถทำได้เอง หากมี Startup เข้ามาช่วย ก็จะช่วยให้การขับเคลื่อนเป็นไปได้เร็วขึ้น

ในขณะเดียวกัน ทรูเองก็ได้สร้าง Ecosystem ที่จะมาช่วยต่อยอดให้กับ Startup ในโครงการ ไม่ว่าจะเป็น True Digital Park ที่เป็นออฟฟิศให้กับ Startup และยังมีบริการ Cloud Storage รวมถึงการให้บริการด้านต่างๆ ที่เป็น Support System ของทรู ซึ่งก็ป็นเรื่องของการเติมเต็มจุดอ่อนให้แก่กัน อย่างเช่น Adezy ที่ต้องใช้ Data mining และ Algolrithm เพื่อช่วยหาพื้นที่ Portfolio การลงโฆษณาให้เหมาะสมตรงกับกลุ่มผู้บริโภค ดังนั้นการเก็บข้อมูลในระดับพื้นที่จึงมีความสำคัญ การเข้าร่วมโครงการนี้ก็ได้ทาง True Analytic ซึ่งมีแพลตฟอร์ม Geopulse (geopulse) ที่สามารถใช้เป็นดัชนีวัดผลเกี่ยวกับความหนาแน่น คุณภาพและอายุประชากรในพื้นที่ เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์และนำตัวชี้วัดเหล่านั้นไปสร้าง Campaign ต่อไป

ส่วน  Fillgoods ซึ่งเป็นผู้ให้บริการแก่กลุ่มผู้ประกอบการด้านโซเชียล คอมเมิร์ซ ก็ได้ซีพีออลล์เข้ามาช่วยพัฒนาธุรกิจผ่านโมเดลธุรกิจ 3 แบบ คือ โลจิสติกส์ โซเชียลคอมเมิร์ซและดรอปชิป ซึ่งมีแนวโน้มว่าธุรกิจ E-Commerce ในปี 2563 กำลังเติบโตไปในทิศทางที่ดีขึ้น ยังมีผลการวิจัย Conversational Commerce: the next gen of E-com” by BCG (Facebook, ส.ค. 2562) เปิดเผยว่าประเทศไทยมีจำนวนคนชอปปิงผ่าน Social Commerce มากที่สุด นี่จึงเป็นโอกาสสำคัญที่ Fillgoods จะได้ข้ามขีดศักยภาพการเติบโตของธุรกิจและเข้าถึงโอกาสใหม่ๆ ที่กำลังจะตามมาภายใต้การสนับสนุนจากองค์กรใหญ่อย่างทรูด้วย

ด้านศศิวิมล เสียงแจ้ว ประธานกรรมการบริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท เดย์เวิร์ค (ประเทศไทย) จำกัด ได้กล่าวถึงการเข้าร่วมโครงการ ว่า  “การเข้าร่วมโครงการนี้ได้ทีมของทรู อินคิวบ์ เข้ามาช่วยเหลือในการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ในเครือบริษัททรู ซึ่งช่วยลดกระบวนการการติดต่อประสานงานหลายขั้นตอน ซึ่งการเข้าร่วมโครงการนี้เป็นเหมือนประตูโอกาสที่เราได้คุยกับทางผู้บริหารของแบรนด์ต่างๆ ในเครือบริษัททรูโดยตรง นอกจากการเปิดโอกาสให้เสนอทางออกในการแก้ปัญหาแล้วยังพยายามหาความร่วมมือร่วมกัน ซึ่งเป็นข้อดีสำหรับ Startup ในขณะเดียวกัน หากเราติดต่อเองคงผ่านขั้นตอนการประสานงานหลายขั้นตอนมาก”

ทางด้าน MoreMeat เองก็ได้ร่วมงานกับซีพีเอฟในการพัฒนาแนวคิดการผลิตและจำหน่ายสินค้า ซึ่งปัจจุบันทาง MoreMeat มีกำลังการผลิตเพียงวันละ 100 กิโลกรัม ส่วนการต่อยอดการทำงานร่วมกับกลุ่มบริษัททรูในอนาคตนั้น หากสามารถผลิตสินค้าได้มากขึ้น ก็อาจจะเป็นอีกหนึ่งโอกาสในการผลิตหรือเป็น Supply ให้กับกลุ่มร้านอาหารในเครือ CPF ได้เช่นกัน

โอกาสครั้งใหม่ในน่านน้ำสากลของปลาเล็ก

ปัจจุบันบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ได้ขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศแล้วกว่า 20 ประเทศ  ซึ่งในเวลานี้ ทรูเองก็เริ่มที่จะขยายธุรกิจที่เป็นธุรกิจด้านเทคโนโลยีหรือการบริด้านดิจิตอล อย่างเช่น True Money หรือแพตลฟอร์ม E-commerce ไปยังต่างประเทศด้วยเช่นกัน ฉะนั้นโอกาสในการสเกลธุรกิจไปยังต่างประเทศของ  Startup ที่อยู่ในโครงการจึงมีความเป็นไปได้ หาก  Startup เหล่านั้นมีโมเดลธุรกิจที่ไปตอบโจทย์ความต้องการของสังคมหรือตอบโจทย์ตลาดในมุมมองต่างประเทศ ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ โดยทรูจะทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมให้ ซึ่งมีโอกาสที่จะเป็นไปได้กว่าที่การที่  Startup เข้าไปเอง

ทั้งนี้ แนวโน้มและโอกาสการขยายตลาดไปยังต่างประเทศนั้น Startup ควรมองเรื่องการขยายธุรกิจและมองตลาดให้เป็น Global Market โดยดร.ธีระยุทธได้กล่าวถึงมุมมองการทำธุรกิจของคนรุ่นใหม่ ที่ยังไม่มีประสบการณ์ว่า อาจจะต้องทำความเข้าใจ เพื่อให้มองเห็นภาพและรวมบริบทของ Global Market มากขึ้น อย่างไรก็ดี ปัจจัยที่จะช่วยให้ Startup ไทยสามารถขยายไปยังต่างประเทศได้ จะต้องอาศัยองค์ประกอบดังต่อไปนี้ด้วย

1. การเข้าไปอยู่ในต้นคลื่น: ต้องพยายามขยายให้ Startup มีวิสัยทัศน์ ให้รู้และเข้าใจว่าตลาดต่างประเทศมีบริบทอย่างไร เพื่อที่ให้รู้ว่าคุณต้องไปอยู่ที่ต้นคลื่นให้ได้
2. การมี Core Technology: การลงไปถึง Deep Technology ที่ประเทศไทยควรให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีที่เป็นแกนหลักของนวัตกรรม เพราะฉะนั้นตัว  Startupเองจะไม่ใช่แค่เป็นโมเดลธุรกิจที่เพิ่มความสะดวกสบายแต่ต้องมีเทคโนโลยีที่เป็นหัวใจ ซึ่งแปลเป็นภาษาง่ายๆ คือต้องมี ‘ทีเด็ด’ ที่เป็นรากฐานที่แข็งแกร่งของธุรกิจ เพราะหากเจอคู่แข่งที่มีกำลังการแข่งขันกว่า มีนายทุนมากกว่าและขับเคลื่อนได้เร็วกว่าเร็วกว่า เราอาจจะสู้ไม่ได้ เพราะฉะนั้น Startup ต้องมี Core Technology ด้วย

เพราะ ‘Startup Ecosystem’ ต้องขับเคลื่อนด้วยทุกฝ่ายไม่ใช่การแข่งขัน

อาจมีหลากหลายความคิดที่สงสัยว่า นอกจากจะสร้างภูมิคุ้มกันในการทำธุรกิจให้กับ  Startup ในโครงการ True Incube Incubation & ScaleUp Program แล้ว ‘ทรู คอร์ปอเรชั่น’ ในฐานะองค์กรชั้นนำในเมืองไทย คิดเห็นอย่างไรในการดึงเอานวัตกรรมจาก  Startup มาร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจในประเทศ?

หากแต่ ‘ทรู คอร์ปอเรชั่น’ มองเพียงแค่โอกาสของบริษัทในเครือทรูและบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ ก็อาจจะทุ่มเงินลงทุนเม็ดหนาให้เฉพาะบริษัทที่มีความสามารถในการสร้างผลกำไรได้เลยเท่านั้น แต่ปัจจุบันทรูพยายามจะสร้างแวดล้อมการทำงานให้กับ  Startup อย่างเช่นโครงการ True Lab  ซึ่งเป็นการลงไปให้การสนับสนุนและให้ทุนแก่  Startup ในระดับมหาวิทยาลัย โดยไม่ได้มองถึงผลกำไรจากการลงทุน หากแต่ต้องการสร้างจำนวนปลาเล็กๆ ที่จะเป็น Talent และเป็นอนาคตของประเทศชาติ เพื่อให้พวกเขาเหล่านั้นได้โตขึ้นมาเป็นปลาใหญ่ที่จะสร้างมูลค่าทางมากมายมหาศาลในน่านน้ำประเทศไทย

สำหรับทรูแล้ว การลงไป Incubate หรือไปบ่มเพาะลูกปลาพวกนี้ในระดับมหาวิทยาลัย จึงเป็นภารกิจสำคัญที่เชื่อจะสร้างรากฐานที่มั่นคงให้กับประเทศด้วยการสร้างผู้เล่นหน้าใหม่ๆ รวมไปถึงการสร้าง Ecosystem อย่าง True Digital Park ที่มีเป้าหมายเพื่อให้เมืองไทยอยู่ในแผนที่ที่ทั่วโลกมองว่าประเทศไทยเป็น Tech Country ที่จะดึงดูดความน่าสนใจของเงินทุนและคนเก่งจากทั่วโลกมาเมืองไทย ทั้งหมดนี้ก็เป็นสิ่งทรูมีความตั้งใจจะ Contribute ให้กับประเทศ

โอกาสของ Startup ไทยในการร่วมงานกับ ‘ทรู อินคิวบ์’

ในปี 2020 นี้ ทรู อินคิวบ์ได้ขยายโอกาสให้กับ  Startup ที่มีไอเดีย มีโมดเดลธุรกิจรวมถึงมีพลังในการเป็นผู้ประกอบการ ด้วยการเปิดโอกาสให้กับ  Startup ได้ลงทะเบียนเข้ามาเพื่อรับการพิจารณาในการพัฒนาไอเดียเพื่อต่อยอดแนวคิดการทำธุรกิจร่วมกัน ซึ่งจะมีคัดเลือก Startup ที่ลงทะเบียนเข้ามาเพื่อเสนอแผนธุรกิจในทุกๆ 2 เดือน โดย  Startup ที่ต้องการนำเสนอแผนธุรกิจสามารถลงทะเบียนได้ที่นี่เลย! https://www.trueincube.com/

เพราะปลาใหญ่ไม่สามารถว่ายน้ำได้เร็วเท่าปลาเล็ก จึงน่าจับตามองว่าองค์กรใหญ่อย่าง ‘ทรู คอร์ปอเรชั่น’ จะดำเนินเกมธุรกิจและพลิกวงการ Startup ไทยต่อจากนี้ อย่างไรบ้าง?

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...

Responsive image

นวัตกรรมใหม่ จะสร้างโอกาส หรือเข้ามา Disrupt ธุรกิจแบบเดิมๆ ? ส่องความเห็นจาก CEO ชั้นนำในยุคนวัตกรรม

อนาคตกำลังมาถึงเร็วขึ้นเรื่อยๆ นวัตกรรมใหม่ๆ ผุดขึ้นมากมาย และกำลังเปลี่ยนโฉมธุรกิจทั่วโลกอย่างรวดเร็ว แต่คำถามสำคัญคือ นวัตกรรมอะไรบ้างที่กำลังขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงนี้? ใครคือผ...