อีกหนึ่งข่าวดีสำหรับ Developer ไทย กับโอกาสโชว์ของบนพื้นที่สร้างสรรค์ผลงาน เพราะ Huawei Developer Competition กลับมาอีกครั้ง โดยในปี 2022 นี้ จะมีการจัดอบรมและแข่งขันสำหรับนักพัฒนาที่สนใจ ภายใต้ธีม “Spark Infinity” ที่พร้อมจะนำจินตนาการของทุกคนไปต่อยอดอย่างไม่สิ้นสุด
วันนี้ Techsauce จะพาไปทำความรู้จักกับโครงการนี้ ว่าเป็นอย่างไร? น่าสนใจอย่างไร? และมีประโยชน์อย่างไร?
Huawei ประกาศจัดโครงการ Huawei Developer Competition 2022 โครงการพิเศษสำหรับเหล่านักพัฒนา หรือ Developer จาก 5 ภูมิภาคทั่วโลก ซึ่งรวมไปถึงภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่เปิดโอกาสให้เหล่านักพัฒนาที่สนใจมาเข้าร่วมต่อยอดเทคโนโลยี พัฒนาไปสู่ระดับโลก
ในครั้งนี้จะจัดขึ้นภายใต้ธีม “Spark Infinity” มุ่งต่อยอดจินตนาการอย่างไม่มีสิ้นสุด เปิดให้ Developer มาร่วมค้นหาโซลูชันเพื่อแก้ปัญหา ด้วยเทคโนโลยี และวัตถุประสงค์สำคัญของโครงการนี้ เพื่อส่งเสริมให้เกิด Cloud Ecosystem ที่แข็งแรง อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้ Developer ที่มีความสามารถมาร่วมสร้างโปรเจ็กต์ และแอปพลิเคชันที่สามารถแก้ปัญหาได้จริงด้วย Huawei Cloud
บริการบน Huawei Cloud นั้นจะมีความหลากหลายในกว่า 20 เทคโนโลยีหลัก ซึ่งหลัก ๆ จะอยู่ในกลุ่มของ Enterprise Intelligence (EI), Platform as a Service (PaaS), Media และ Database ผู้เข้าร่วมการแข่งขันทุกคนจะต้องออกแบบโปรเจ็กต์ที่เกี่ยวข้องกับอย่างน้อย 1 เทคโนโลยีที่สำคัญบน Huawei Cloud ที่อยู่ใน 4 กลุ่มนี้ (EI, PaaS, Media และ Database) เพื่อพัฒนาต่อยอดเป็นนวัตกรรมหรือแอปพลิเคชัน
ตรวจสอบเทคโนโลยีหลักทั้งหมดได้ ที่นี่
แล้วใน 4 กลุ่มเทคโนโลยีนี้มีความน่าสนใจ และมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง เราจะพาไปทำความเข้าใจกัน
เมื่อปี 2017 หลังจากที่ Huawei Cloud ได้พัฒนา AI มาอย่างต่อเนื่อง ก็ได้มีการต่อยอดมาสู่ EI หรือ Enterprise Intelligence เป็นอีกหนึ่งบริการที่ต่อยอดมาเพื่อองค์กรโดยเฉพาะ โดย EI Platform ของ HUAWEI จะสามารถช่วยองค์กรต่าง ๆ พัฒนาบริการได้ตั้งแต่เรื่องทั่วไป ไปจนถึงแก้ปัญหาเฉพาะจุดในแต่ละอุตสาหกรรม
ด้วยเทคโนโลยี AI และ Big Data บน Huawei Cloud จะช่วยให้การออกแบบบริการขององค์กรเป็นไปได้อย่างชาญฉลาด มีความน่าเชื่อถือ และช่วยต่อยอดไปสู่การเป็น Smarter Enterprise
Platform as a Service (PaaS) คือ โซลูชัน DevOps ครบวงจรจากเฟรมเวิร์กซอฟต์แวร์ ที่ครอบคลุมการจัดการแอปพลิเคชัน กระบวนการพัฒนา ไปจนถึงสภาพแวดล้อมในการพัฒนา ที่ครอบคลุมการพัฒนาหลากหลายทั้ง Middleware, DevSecOps, Microservice Development และ Blockchain Development
หากจะลองยกตัวอย่างการพัฒนา PaaS ที่เราเห็นได้ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็น DevCloud, API Explorer หรือ Application Performance Management (APM) หรืออีกตัวอย่างคือ Blockchain Service (BCD) ที่ช่วยให้องค์กรสร้าง Infrastructure ด้าน Blockchain ที่ปลอดภัย เชื่อถือได้ และลดต้นทุนในการสร้างเครือข่าย
อีกหนึ่งบริการบน Huawei Cloud อย่าง Huawei Cloud Meeting แพลตฟอร์ม Meeting ออนไลน์ ที่รองรับได้สูงสุด 500 กลุ่มในหนึ่งการประชุม ซึ่งสามารถต่อยอด Huawei Cloud Meeting ไปเป็นรูปแบบอื่น ๆ ที่จะแก้ปัญหาการใช้งานทั้งเฉพาะบุคคล หรือแต่ละอุตสาหกรรมได้
Huawei Cloud GaussDB (for openGauss) เป็น Distributed Database ฐานข้อมูลที่ถูกเก็บกระจายออกไปหลาย ๆ ที่ ที่สร้างขึ้นบนระบบนิเวศของ openGauss ซึ่งรันอยู่ใน Public และ Hybrid Cloud โดยจะให้บริการในส่วนของภาครัฐและบริการทางการเงินต่าง ๆ เนื่องจากมีความปลอดภัยสูง และยังมีการปกป้องข้อมูลไม่ให้สูญหายอีกด้วย เหมาะมากสำหรับคนที่อยากต่อยอดโซลูชันสำหรับการโยกย้าย สำรอง และกู้คืนข้อมูลให้ตอบโจทย์กับหน่วยงานภาครัฐหรือภาคการเงิน ที่มีโจทย์เฉพาะตัว
สำหรับผู้ที่ผ่านการคัดเลือก 6 ทีมสุดท้าย และผู้ที่ได้รับ Honorable Student Award จะได้รับรางวัลดังนี้
มาร่วม Spark Infinity สร้างสรรค์โซลูชันด้วยเทคโนโลยีอย่างไม่สิ้นสุดได้แล้ววันนี้
ลงทะเบียนได้ตั้งวันนี้ - 19 สิงหาคมนี้ที่: https://events02.huawei.com/m/mMnM7b
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่: [email protected] หรือที่ Facebook: Huawei Cloud & AI APAC
หัวเว่ย ผู้นำด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและสมาร์ทดีไวซ์ ด้วยโซลูชันที่ผสมผสานในสี่กลุ่มหลัก คือ เครือข่ายโทรคมนาคม ไอที สมาร์ทดีไวซ์ และบริการคลาวด์ บริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสู่การใช้งานทุกระดับเพื่อทุกผู้คน ทุกครัวเรือน และทุกองค์กร เพื่อขับเคลื่อนโลกอัจฉริยะที่เชื่อมโยงถึงกันอย่างเต็มรูปแบบ
ผลิตภัณฑ์ โซลูชันและบริการที่ครบวงจรของหัวเว่ยเปี่ยมด้วยศักยภาพด้านการแข่งขันและเชื่อถือได้ จากการทำงานร่วมกับพันธมิตรในระบบนิเวศแบบเปิด หัวเว่ยสามารถสร้างมูลค่าระยะยาวให้กับลูกค้า เสริมสมรรถนะของผู้คน ช่วยให้การใช้ชีวิตที่บ้านมีความสะดวกสบาย และสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดนวัตกรรมในองค์กรทุกรูปแบบและทุกขนาด
นวัตกรรมของหัวเว่ยเน้นตอบสนองตามความต้องการของลูกค้า เราทุ่มงบประมาณจำนวนมหาศาลในด้านการวิจัย เน้นค้นหานวัตกรรมด้านเทคนิคใหม่ๆ ที่จะช่วยขับเคลื่อนโลกของเราให้ก้าวไปข้างหน้า เรามีพนักงานกว่า 180,000 คน ดำเนินธุรกิจในกว่า 170 ประเทศทั่วโลก หัวเว่ยก่อตั้งขึ้นในปี 2530 และเป็นบริษัทเอกชนที่มีพนักงานเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของหัวเว่ย www.huawei.com หรือติดตามเราได้ที่ลิงก์ดังต่อไปนี้
บทความนี้เป็น Advertorial
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด