Bukalapak: เคล็ดลับความสำเร็จสู่การเป็น E-Commerce Unicorn แห่งอินโดนีเซีย | Techsauce

Bukalapak: เคล็ดลับความสำเร็จสู่การเป็น E-Commerce Unicorn แห่งอินโดนีเซีย

อินโดนีเซียเป็นประเทศที่น่าจับตามอง ในแง่ของคุณภาพและจำนวน startup ที่เกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะด้าน E-Commerce ที่ผู้เล่นรายใหญ่มีส่วนผลักดันและสนับสนุนผู้เล่นรายเล็กเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น นอกจากนี้อินโดนีเซียยังเป็นประเทศที่มี Unicorn (startup ที่มีมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์) มากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย

ภายในงาน Slush Singapore 2018 เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา Techsauce มีโอกาสพบกับ Muhamad Fajrin Rasyid ผู้ร่วมก่อตั้งและ president แห่ง Bukalapak แพลตฟอร์ม E-Commerce หนึ่งใน Unicorn แห่งอินโดนีเซีย จึงไม่พลาดทำความรู้จักและพูดคุยถึงเบื้องหลังความสำเร็จของ startup รายนี้ กับแผนการในอนาคตที่วางไว้เพื่อเสริมแกร่ง startup ecosystem ของอินโดนีเซีย

Bukalapak พัฒนาจากบริษัทเล็กๆ ที่มีพนักงานเพียง 5 คน หลังจากได้รับการระดมทุนจาก Emtek group และ 500 Startup ทำให้ปัจจุบัน Bukalapak มีพนักงานกว่า 2 พันคน โดยกว่าครึ่งเป็น Tech Expert โดยเฉพาะ

บทบาทของผู้เล่นรายใหญ่ต่อภาคเศรษฐกิจขนาดเล็กในอินโดนีเซีย

เศรษฐกิจของอินโดนีเซียถูกขับเคลื่อนด้วยธุรกิจขนาดเล็กมากมายทั่วประเทศ โดยเฉพาะ SME และร้านขายของชำ ทำให้ผู้เล่นรายใหญ่ไม่สามารถเพิกเฉยต่อตลาดที่มีศักยภาพนี้

แม้การเติบโตของตัวเลขการซื้อขายบนออนไลน์จะโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ผู้บริโภคกว่า 90% ก็ยังไม่กล้าเสี่ยงซื้อของผ่านช่องทางออนไลน์ ทำให้ Bukalapak ในฐานะผู้เล่น E-Commerce แก้ปัญหาด้วยการพาร์ทเนอร์กับร้านค้าขนาดเล็กเพื่อเพิ่มช่องทางการจ่ายเงินและรับสินค้าให้แก่ผู้บริโภค

‘Warung’ คือคำเรียกร้านขายของชำในอินโดนีเซีย ซึ่งปัจจุบันมี Warung กว่า 4-5 ล้านแห่งทั่วประเทศ ทำให้ร้านค้าเหล่านี้กลายเป็นช่องทางเข้าถึงผู้บริโภคที่สะดวกและน่าเชื่อถือที่สุด เมื่อผู้บริโภคต้องการซื้อสินค้าจากเว็บไซต์ Bukalapak ก็เพียงไปสั่งและจ่ายเงินที่หน้าร้าน Warung เจ้าของร้านจะเป็นคนกดสั่งสินค้าผ่านแอปพลิเคชัน เมื่อสินค้ามาส่ง ลูกค้าก็สามารถไปรับได้ที่หน้าร้านเช่นเดิม

การให้บริการลักษณะนี้ทำให้ Bukalapak เข้าถึงผู้บริโภคอีก 90% ที่ไม่กล้าสั่งของออนไลน์และยังช่วยผู้เล่นขนาดเล็กไม่ให้ถูกกลืนกินอีกด้วย

พัฒนาแพลตฟอร์ม FinTech

นอกจากบริการ E-Commerce แล้ว Bukalapak ก็มีแผนขยายบริการสู่ด้าน FinTech และ offline retail เพื่อสนับสนุน Financial Inclusion บริการทางการเงินเพื่อให้กลุ่มคน unbanked เข้าถึงบริการได้มากขึ้น

โดยข้อได้เปรียบของแพลตฟอร์ม Bukalapak คือการที่มี data หรือข้อมูลบนระบบเพื่อใช้สำหรับยืนยันตัวตนให้กับร้านค้า SME เมื่อต้องการกู้สินเชื่อกับธนาคาร ซึ่ง Bukalapak สามารถเช็คจากประวัติ transaction และวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือจากข้อมูลที่มีได้

ความท้าทายของการเป็น Tech Company

Fajrin แชร์ว่า ความท้าทายที่สุดของการเป็นบริษัทเทคโนโลยี คือการหา ‘talent’

“แน่นอนว่าบริษัทเทคโนโลยีก็ต้องมีความเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยี แต่ด้วยความที่ ecosystem ในประเทศยังโตไม่เต็มที่ ทำให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยียังมีน้อยอยู่ เราจึงเห็นหลายบริษัทพยายามขยายและไปตั้งออฟฟิศในต่างประเทศ อย่างเช่น อินเดีย เพื่อตามหา talent รวมถึงวิศวกรที่นั่น

แต่สำหรับ Bukalapak  เราพยายามสร้างความสัมพันธ์กับมหาวิทยาลัย รวมถึงเข้าไปเป็นอาจารย์พิเศษให้ความรู้ในชั้นเรียน ผลิตนักศึกษาให้มีพร้อมในการทำงานในอุตสาหกรรมนี้ออกมาให้มากที่สุด”

Secret sauce ของ Bukalapak สู่การเป็น Unicorn

“ต้องฟังลูกค้าให้มากขึ้น” หัวใจสำคัญที่ทำให้ Bukalapak เติบโต คือการที่นำ feedback ของลูกค้ามาปรับปรุงเสมอ

“เวลาที่มีลูกค้าให้คะแนนแอปแค่ 1 ดาว เราจะเข้าไปถามและพยายามแก้ไขปัญหาที่ลูกค้าเจอ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและทำให้ลูกค้ากลับมาใช้ซ้ำ”

คำแนะนำต่อ startup รุ่นใหม่

นอกจากนี้ Fajrin ยังได้ให้คำแนะนำตัว Startup รุ่นใหม่เอาไว้อย่างน่าสนใจ เขากล่าวว่า "บริษัทรุ่นใหม่มักได้รับแรงบันดาลใจจากธุรกิจในจีน หรือ Silicon Valley ที่อเมริกา แต่การพยายามเลียนแบบลักษณะธุรกิจในต่างประเทศ ไม่ทำให้เป็นทางลัดสู่ความสำเร็จเสมอไป เนื่องจากตลาดแต่ละที่มีความแตกต่างทั้งในด้านโครงสร้างและลักษณะพฤติกรรมของผู้บริโภค ซึ่งแปลว่า เราจะต้องมี solution ที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า local”

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...