ตามที่ Infinity Levels Studio ได้มีการจับมือร่วมกับ LINE เปิดตัวเกม Blades of Revenge ไปเมื่อวานนี้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว Available now in app store: https://lin.ee/7yVvBvS
Blades of Revenge เป็นเกม RPG บนสมาร์ทโฟนที่มีวิธีการเล่นที่แตกต่างจากเกมที่เคยมีมา หลังจากที่ส่งเกมออกสู่ตลาดก็ได้รับผลตอบรับที่ค่อนข้างดีเลยทีเดียว ตอนนี้ทาง Techsauce ได้มีโอกาสพูดคุยกับทางผู้บริหาร ของ Infinity Levels Studio ถึงความเป็นมาและก้าวย่างที่สำคัญของบริษัทในครั้งนี้
เมื่อพูดถึงบริษัทเกมในไทยที่พัฒนาเกมของตัวเองเลย อาจจะยังนึกออกเพียงไม่กี่บริษัท เพราะยังมี Players ไม่มากนัก แต่วันนี้เราได้เห็นบริษัทพัฒนาเกมฝีมือคนไทยที่โดดเด่นรายหนึ่งที่ชื่อ Infinity Levels Studio เพราะนอกจากจะพัฒนาเกม Ranch Run ที่มียอดดาวน์โหลดถึง 8 แสนครั้งแล้วนั้น บริษัทนี้ยังมีทีมงานที่เคยทำเกม Candy Meleon ที่ดังระดับโลกอีกด้วย เราจะมาสำรวจการผจญภัยในวงการเกมของคุณนิกกี้และคุณท็อป Co-founder ของ Infinity Levels Studio กับแผนเปิดตัวเกมใหม่ที่รอเซอร์ไพรส์อยู่มากมาย รวมถึงเกมที่หันมาเจาะตลาด Southeast Asia อย่างจริงจังด้วย
คุณนิกกี้ - นิกกี้เรียนจบที่ Imperial ทางด้าน Chemistry ป.ตรี และ ป.โท และตอนแรกก็ทำงานบริษัทที่เป็น Consultant ขณะที่ทำงานอยู่นั้นเราก็มีความคิดที่ว่าเราน่าจะหาอะไรทำที่ท้าทายกว่านี้ ก็เลยได้ลองหาไอเดียใหม่ๆ ที่ยังไม่มีในเมืองไทย ซึ่งเมื่อ 10 ปีที่แล้วได้เอาโมเดลบริษัทจัดหาคู่ (Dating company) จากสิงคโปร์มาทำที่เมืองไทย แล้วก็เริ่มมีแอปพลิเชคชัน Dating เข้ามา นิกกี้มีความรู้สึกสนใจและอยากที่จะลองทำเป็นรายแรกๆ ก็เลยเป็นที่มาว่าทำไมถึงเข้ามาในสาย Tech หลังจากที่ได้ทำมาระยะนึงแล้วนั้น นิกกี้ก็ได้เห็นความเคลื่อนไหวของตลาดอื่นๆ และความสนใจต่อมาคือตลาดของ Mobile Game เราได้รู้ว่าตลาด Mobile Game มันค่อนข้างใหญ่มาก นอกจากเกมที่ให้ความสนุกกับคนได้แล้ว เกมยังสามารถ Scale ได้และไม่จำกัดจำนวน User อย่างแอป Dating จะมีตลาดค่อนข้างแคบกว่าเพราะมีแต่คนโสดที่ใช้ แต่ถ้าเป็นเรื่องของเกมกลุ่มเป้าหมายเราค่อนข้างที่จะกว่างเพราะไม่ว่าจะอายุเท่าไร เพศไหนก็สามารถเล่นเกมได้ ทำให้นิกกี้มองเห็นว่าตลาดนี้มีศักยภาพที่จะโตอีกมาก ซึ่งเราเองก็ชอบเล่นเกมที่ใช้ความคิด ฝึกสมอง วางกลยุทธ์อยู่แล้ว ก็เลยหาพาร์ทเนอร์ที่มีความรู้ทางด้านเกม และได้มาเจอท็อป เลยชวนเข้ามาทำงานด้วยกัน
คุณท็อป - ตอนเด็กๆ ผมเป็นเด็กติดเกมคนหนึ่งและก็เป็นคนชอบงานสร้างสรรค์ พอโตขึ้นผมเรียนจบด้าน Business ก็ทำงานบริษัททั่วไปเกี่ยวกับ Consulting Business แต่จะเน้นในด้านระบบไอที ในขณะนั้นผมมีความรู้สึกว่าผมอยากทำอะไรที่ตัวเองชอบ เลยตัดสินใจชวนพี่ที่เขาเก่งด้านวาดรูปคนหนึ่งมาทำเกมที่เราเองก็ชอบมาตลอด ในที่สุดผมได้ออกมาฝึกเขียนโปรแกรมเอง แล้วก็ทำเกมตัวแรกขึ้นมามีชื่อว่า Candy Meleon เกมส์นี้ค่อนข้างดังเลยทีเดียว แต่ตอนนั้นผมคิดแค่ว่าผมภูมิใจกับสิ่งที่ทำ ได้พัฒนาเกมให้คนเล่นแล้วรู้สึกสนุกไปกับงานของเรา พอผมได้เจอกับพี่นิกกี้เราก็ได้มีการพูดคุยกัน และพี่นิกกี้ก็เลยชวนมาทำงานด้วยกันที่นี่ ซึ่งตอนนี้บริษัทเปิดมาได้ 2 ปีแล้ว และเป็นเกมที่พัฒนาโดยคนไทยเองทั้งหมด
คุณท็อป – ตลาดใหญ่ๆของเกมที่เรามองคือตลาดสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และจีน โดยที่ตลาดสหรัฐอเมริกาสามารถเข้าถึงได้ง่ายกว่าตลาดอื่นเพราะเป็น Global และใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร ส่วนในตลาดเกมของญี่ปุ่นเองค่อนข้างที่จะแข็งแรงและมี user ที่ยอมจ่ายเงินค่อนข้างสูง ตลาดจีนเป็นตลาดที่มีศักยภาพ แต่ในการที่จะเข้าไปทำตลาดในสองประเทศนี้จำเป็นที่จะต้องมี local publisher ที่มีความเชี่ยวชาญเพื่อช่วยในเรื่องของการทำตลาด และ localized content
คุณนิกกี้ - นอกจาก Blades of Revenge ที่จะมีเปิดตัวใหม่ เราก็มีอีกหลายเกมบน Platform ที่หลากหลาย เพื่อแก้ปัญหา Pain Point ของเกมเมอร์ที่ใช้สมาร์ทโฟนโดยเฉพาะ โปรดักต์ใหม่ต้นปีหน้าจะมี Card Game ซึ่งข้อดีคือ retention rate ของผู้เล่นจะเล่นค่อนข้างนาน ไม่ได้เล่นวันสองวันแล้วเลิก เพราะคอนเซปต์ของเราคือตั้งใจให้คนเล่นระยะยาว และอยู่ด้วยกันกับเราไปนานๆ “กว่าจะได้ User แต่ละคนนั้นมันมีความยาก เมื่อเราได้มาแล้ว เราก็ควรเก็บ User ให้ได้นานที่สุด โปรดักต์ที่เราออกจะต้องดึงคนให้ได้ ซึ่งเมื่อได้คนบนแพลตฟอร์มหนึ่งแล้ว เราก็จะเอาไปเป็นแรงผลักเพื่อออกโปรดักต์ใหม่ต่อไป”
คุณท็อป – ผมว่าคนที่ทำเกมส์ที่สำคัญที่สุดอย่างแรกที่ต้องมีคือ เรื่อง Passion จะต้องมีความชื่นชอบในส่วนของเกม เพราะผมถือว่าเกมเป็นงานสร้างสรรค์ ผมมองว่ามันเป็นธุรกิจที่ค่อนข้างใหม่ในไทยถ้าเทียบกับประเทศอื่นๆที่เค้าพัฒนาจนเก่งแล้ว เราอาจจะต้องศึกษาให้มากหน่อย ถึงแม้ผมมองว่าตลาดเกมของไทยยังค่อนข้างเล็ก แต่ผมว่าคนไทยสามารถทำได้ ถ้าเรามี Passion มากพอที่จะผลักดันเราจนสำเร็จ นอกจากความชอบแล้วนั้น ความอดทนก็สำคัญมากเช่นกัน เพราะการทำธุรกิจนั้นมีทั้งขึ้นและลง อยู่ที่ความอดทนว่าเราจะทำต่อได้นานแค่ไหน อยากที่จะสู้ต่อเพื่อให้บริษัทเดินต่อไปหรืออยากจะหยุดไว้เพียงตรงนั้น
คุณนิกกี้ – VC มีส่วนช่วยมาก เพราะเกมเป็นธุรกิจที่ใช้แรงงานเป็นหลัก หรือที่เรียกว่า Labor Intensive ที่จะต้องผลิตโปรดักต์จำนวนมากๆ ถ้ามีเงินทุนเข้ามาก็จะทำให้เราผลิตได้เร็วขึ้น จำนวนมากขึ้น และจำเป็นที่จะต้องเข้าถึงผู้เล่นจำนวนมากในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่ง VC ที่ดีจะต้องเข้าใจธุรกิจเกม และสามารถช่วยเราผลักดันในด้านอื่นๆได้ด้วย เช่น สนับสนุนในเรื่อง Marketing ได้ ไม่ใช่การมีเงินอย่างเดียวแล้วไปซื้อผู้ใช้ แต่การมีฐานข้อมูลผู้ใช้อยู่แล้ว หรือมีจุดแข็งอื่นๆ ก็จะช่วยได้มาก
คุณท็อป - ธุรกิจเกมเป็นธุรกิจที่ใช้เงินสูงในการ Scale ซึ่งตรงนี้ VC จะเข้ามาช่วยได้เยอะมาก ผมมองว่าบริษัทเกมในไทยยังเป็นช่วงเริ่มต้น ดังนั้นนักพัฒนาเกมที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนี้จริงๆก็ถือว่ายังน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น และในขณะเดียวกันนักลงทุนที่มีความสนใจในการลงทุนในบริษัทเกมมีน้อยมากเช่นกัน
คุณท็อป - สำหรับผู้พัฒนาเกม เวลาทำเกมเราไม่ได้แข่งเฉพาะเกมที่มีอยู่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่กำลังแข่งกับเกมในตลาดโลกเสมอ และอยากให้ผู้พัฒนาเกมรวมถึงผู้เล่นค่อยๆ เปลี่ยนความคิดว่าเราสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ จะต้องเชื่อว่าเราทำได้ อย่าไปจำกัดความสามารถตัวเอง ช่วยกันยกระดับเกมไทยให้ไปสู่เกมในระดับโลก คุณนิกกี้ - การทำเกมถ้าเรามัวแต่ก็อปปี้คนอื่น มันก็จะกลายเป็นเป็น “ตลาดแดง” คือตลาดที่มีอยู่เดิมซึ่งมีการแข่งขันสูง ดังนั้นผู้พัฒนาเกมควรหาความต้องการและเข้าใจปัญหาที่แท้จริงของผู้บริโภคเสียก่อน และหากพิสูจน์ได้ว่ามีความต้องการนั้นมีอยู่จริงก่อนที่จะเริ่มพัฒนาเกม โอกาสประสบความสำเร็จก็จะสูงตามไปด้วย ถึงแม้ว่าเกมที่พัฒนาออกไปจะติดตลาด เราก็ควรหมั่นที่จะปรับปรุงโปรดักส์เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคตลอดเวลา แกนหลักของการทำเกมคือเราควรจะโฟกัสว่าเกมสนุกจริงไหม คนเล่นติดขัดอะไรหรือไม่ มีความสุขการเล่นเกมไหม เพราะถ้าผู้เล่นมีความรู้สึกร่วมไปกับเกมแล้วเห็นคุณค่าของมัน เขาจะหาวิธีจ่ายเงินเอง เราไม่ควรจะไปโฟกัสเรื่องวิธีการขาย โปรโมชั่น การลดราคา เป็นหลัก แม้ว่าจะฟังดูเป็นส่วนสำคัญ แต่นั่นก็ไม่ใช่แกนที่แท้จริงของการทำเกม
คุณธนพงษ์ - เกมเป็นธุรกิจที่มี Ecosystem เฉพาะทาง ผู้ที่อยู่ในธุรกิจนี้ต้องมีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินธุรกิจอย่างลึกซึ้ง เข้าใจกระบวนการพัฒนาเกม ทำอย่างไรให้ผู้เล่นติด อยากที่จะเข้ามาเล่นเกมบ่อยๆ ไปจนกระทั่งถึงช่องทางการขาย การหาพาร์ทเนอร์ Publisher ยิ่งสำคัญ เพราะ Publisher จะช่วยให้เราไปถึงกลุ่มเป้าหมายที่กว้างและชัดกว่าเดิม Infinity Levels มีผู้ร่วมก่อตั้ง 2 คนที่มีความถนัดและสามารถส่งเสริมซึ่งกันและกัน ทั้งคุณนิกกี้ที่มีประสบการณ์ในการบริหารธุรกิจและการทำตลาดมามากมาย และคุณท็อปที่มีความเชี่ยวชาญด้านเกมโดยตรง ทำให้ Infinity Levels เป็นบริษัทเกมที่เราเลือกลงทุน โดยเร็วๆ นี้จะมีข่าวดีที่บริษัทกำลังจะเติบโตไปอีกขั้น นั่นคือ Infinity Levels ได้ LINE เป็น Publisher ในไทยและอีกหลายประเทศ ถือได้ว่าเป็นบริษัทเกมไทยบริษัทแรกที่ทาง LINE เลือกเป็น Partner ด้วย
Infinity Levels Studio เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่รวม Passion และความฝันของคนที่ได้ทำในสิ่งที่ตัวเองชอบไปพร้อมๆกับการพัฒนามุมมองด้านธุรกิจให้เกิดหนทางที่เป็นไปได้จริง โดยปัจจุบันก็ได้มีบริษัทร่วมลงทุนหรือ VC ที่เล็งเห็นก้าวสำคัญของธุรกิจเกมอย่าง InVent ที่ให้เงินทุนกับ Infinity Levels แล้วเราก็หวังจะได้เห็นการสนับสนุนธุรกิจเกมโดยคนไทยเพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็นปัจจัยในการพัฒนาเกมของไทยไปสู่ระดับโลก
บทความนี้เป็น Advertorial
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด