การสร้างนวัตกรรมเพื่อเข้าถึง ‘Financial Inclusion’ ด้วย FinTech และ Big Data | Techsauce

การสร้างนวัตกรรมเพื่อเข้าถึง ‘Financial Inclusion’ ด้วย FinTech และ Big Data

หากธนาคารที่คุณใช้บริการส่งอีเมลมาขอให้กรอกแบบสำรวจเพื่อให้คะแนนการบริการของธนาคาร คุณจะทำอย่างไร?

คุณจะให้คะแนนธนาคารตามความเป็นจริงแค่ไหน?

คุณจะให้คะแนนธนาคาร 10/10 สำหรับการบริการลูกค้าเลยไหม?

คุณจะบอกว่าพึงพอใจชั่วโมงทำงานของพวกเขาหรือเปล่า?

หากคุณเป็นเอสเอ็มอีหรือสตาร์ทอัพและต้องการการระดมทุนในช่วง Seed ตัวเลือกแรกคือจะไปที่ธนาคารในพื้นที่ของคุณและขอกู้เงิน โดยรอ 3-6 เดือน และยอมจ่ายดอกเบี้ยสูงๆ เมื่อได้รับการอนุมัติหรือไม่?

เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ธนาคารไม่จำเป็นต้องติดต่อลูกค้าเพื่อขอคะแนนการให้บริการ เพราะธนาคารผูกขาดบริการทางการเงินทั้งหมด รวมทั้งมีการสนับสนุนจากรัฐบาล โดยมีเพียงสถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นจึงจะให้บริการทางการเงินได้ นอกเหนือจากนั้นไม่ได้

คนมีทางเลือกมากขึ้นในยุคนี้

เทคโนโลยี อินเทอร์เน็ต สมาร์ทโฟน และเศรษฐกิจแบบแบ่งปัน พลิกโฉมชีวิตและธุรกิจทั่วโลกในวิธีการบริหารเงินต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่เศรษฐกิจกำลังพัฒนาอย่างเมียนมาหรือประเทศที่มีรายได้สูงอย่างอังกฤษ และยิ่งผู้บริโภคทั่วโลกมีสมาร์ทโฟน สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้มากเท่าไร ก็ยิ่งสามารถใช้ธนาคารบนมือถือในการฝากเงินเดือน เข้าถึงเงินกู้สำหรับรายย่อยเพื่อเริ่มต้นทำธุรกิจ และโอนเงินให้เพื่อนหรือครอบครัวที่อยู่ต่างประเทศได้

สตาร์ทอัพและเอสเอ็มอีในปัจจุบันเองก็มีทางเลือกที่จะระดมทุนมากขึ้น ทั้งยังสามารถเผยแพร่บริการของตัวเองบนแพลตฟอร์ม Crowdfunding เช่น Kickstarter ตลอดจนเข้าถึงนักลงทุนและ VCs (ตัวเชื่อมนักลงทุนกับบริษัท) ทั้งในแบบออฟไลน์และออนไลน์ได้ นำไปสู่คอมมูนิตี โครงการบ่มเพาะสตาร์ทอัพ เวที Pitching การฝึกฝนพัฒนา และทำให้ธุรกิจเติบโตยิ่งขึ้น

ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั่วโลก: การพลิกโฉมธนาคารด้วย FinTech

ผู้นำของความการเปลี่ยนแปลงในโลกการเงินนั้นกลับไม่ใช่ธนาคาร แต่เป็น FinTech ที่สร้างเส้นทางใหม่ๆ ให้แก่บริษัทด้านเทคโนโลยีในการเข้าถึงภาคการเงินและเข้ากับยุคสมัย ซึ่งช่วยให้ผู้บริโภคจัดการด้านการเงินและการลงทุนในกองทุนเองได้ โดยธนาคารไม่เพียงแต่ต้องแข่งขันเพื่อพัฒนาบริการที่ส่งมอบให้แก่ลูกค้า แต่ยังต้องเปลี่ยนตัวเองจากโมเดลธุรกิจแบบเดิมๆ และเทคโนโลยีที่ล้าสมัย เพื่อที่จะเข้ามาแข่งขันด้วยการใช้ทรัพยากรที่น้อยที่สุด ใช้งานง่าย และเข้าใจเกี่ยวกับบริษัท FinTech อย่างแท้จริง

ในงาน Techsauce Global Summit 2017 มีวงเสวนาในหัวข้อ ‘Innovating for Access: Financial Inclusion Supported by FinTech and Big Data’ (การสร้างนวัตกรรมเพื่อเข้าถึง ‘Financial Inclusion’ ด้วย FinTech และ Big Data) ที่ 3 หนุ่มสาวมาส่งต่อความรู้และแนวคิดซึ่งเอสเอ็มอี สตาร์ทอัพ ภาครัฐและเอกชนก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ต่อได้ ได้แก่ Saeid Kian, ผู้จัดการฝ่ายสร้างผลิตภัณฑ์ของ Wave Money ณหทัย ‘เกี้ยว’ ภูพิชญ์พงษ์ หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์ระหว่างประเทศของ Ascend Money ซึ่งอยู่ภายใต้ TrueMoney (มีฐานลูกค้าหลักอยู่ในกรุงเทพฯ นอกจากนี้ยังมีลูกค้าในอีก 5 ประเทศอาเซียน ได้แก่ ฟิลิปปินส์ เมียนมา กัมพูชา อินโดนีเซีย และมาเลเซีย) และ Angus Sanders หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์และดำเนินธุรกิจที่ Funding Circle UK สตาร์ทอัพที่เปิดพื้นที่กลางให้ผู้ขอกู้และนักลงทุนมาเจอกันโดยตรง

‘Financial Inclusion’ หมายถึงอะไร และคุณวัดความสำเร็จจากการดำเนินงานไว้อย่างไร?

เกี้ยว: ‘Financial Inclusion’ หมายถึง การที่ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินขั้นพื้นฐานได้เพื่อช่วยให้พวกเขามีชีวิตที่ดีขึ้น  เช่น การออมเงิน การขอสินเชื่อ การทำประกัน ซึ่งทรูมันนี่ในกัมพูชาดำเนินธุรกิจมา 2 ปีแล้ว เรามีลูกค้าประมาณ 1.5 ล้านคน ซึ่งก่อนหน้านี้ หลายคนไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้ และ 1.5 ล้านคนนี้คิดเป็น 10% ของจำนวนประชากรกัมพูชา และนี่คือจำนวนของคนที่เรารวมพวกเขาเข้ามาใช้บริการทางการเงินได้

ธนาคารโลกให้ข้อมูลไว้ว่า มีประมาณ 2 พันล้านคนที่ไม่ได้ใช้บริการของสถาบันการเงินอย่างเป็นทางการ และมากกว่า 50% ของผู้ใหญ่ในครัวเรือนที่มีรายได้น้อย ‘ไม่สามารถเข้าถึงธนาคารได้’ Financial Inclusion จึงเป็นกุญแจสำคัญในการลดความยากจนและส่งเสริมความมั่งคั่ง ซึ่งความมั่งคั่งนี้มีรากฐานมาจากเทคโนโลยีและสมาร์ทโฟนที่ช่วยให้ผู้คนในประเทศกำลังพัฒนาสามารถสร้างบัญชีธนาคารบนมือถือและเข้าถึงสินเชื่อเพื่อรายย่อยได้ และสำหรับ Ascend เรามีบางวิธีที่เป็นรูปธรรมซึ่งใช้วัดความสำเร็จของ Financial Inclusion อาทิ

  • มีผู้บริโภคมากแค่ไหนที่ใช้บริการบัญชีธนาคารบนมือถือ?
  • จำนวนลูกค้าที่ใช้สมาร์ทโฟนติดต่อขอใช้บริการธนาคาร
  • จำนวนของการทำธุรกรรม
  • ประเภทของการทำธุรกรรม
  • จำนวนเงินโดยประมาณจากการใช้งานของลูกค้า

Angus: อย่างที่คนส่วนมากรู้ ธุรกิจเอสเอ็มอีเป็นกระดูกสันหลังของเกือบทุกภาคเศรษฐกิจในโลก โดยทำให้เกิดธุรกิจมากกว่า 95% และเกิดการจ้างงานราว 60% ดังนั้น เอสเอ็มอีจึงสำคัญอย่างยิ่งในทางเศรษฐกิจของประเทศส่วนใหญ่ และเพื่อที่จะทำให้ธุรกิจเหล่านี้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น พวกเขาจึงต้องขอสินเชื่อเพิ่ม ซึ่งในมุมของ Funding Circle เราเชื่อว่า Financial Inclusion หมายถึงการรับรองการเข้าถึงสินเชื่อสำหรับเอสเอ็มอี

Angus อธิบายว่า สิ่งนี้เป็นการให้สินเชื่ออย่างคุ้มค่าแก่เอสเอ็มอี ซึ่ง Financial Inclusion นั้นสามารถวัดได้จากการจัดหาบริการที่ดีให้เหล่าเอสเอ็มอีได้ โดยจำนวนเงินที่ส่งตรงถึงเอสเอ็มอีรายใดรายหนึ่งและการให้กู้ยืมสุทธิ ก็เป็นอีกมาตรวัดหนึ่งว่ามีเงินมากเพียงใดที่ไปถึงเอสเอ็มอี ซึ่งใช้เป็นมาตรวัดที่ดีในการวัดผล Financial Inclusion ได้ อย่างกรณีของธนาคารขนาดใหญ่ในสหราชอาณาจักรจะไม่ให้มีการกู้ยืมใดๆ ในขณะที่ Funding Circle ให้บริการกู้ยืมเป็นหลัก เช่น ระหว่างเดือนมกราคมถึงพฤษภาคม 2017 Funding Circle ให้จำนวนเงินกู้ยืมมากกว่า 22 ธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในสหราชอาณาจักรรวมกัน

Angus: ธนาคารพาณิชย์ดึงการกู้ยืมออกไป และประมาณ 20% ของเอสเอ็มอีจะก็หันหนีจากธนาคารมาที่ Funding Circle สำหรับอีก 80% ของธุรกิจจะใช้เวลาประมาณ 3 เดือนในการกู้เงินจากธนาคาร เวลาเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับเอสเอ็มอี พวกเขาไม่สามารถหยุดกำลังการผลิตและเวลาไว้ได้ ดังนั้นพวกเขาจึงมาที่ Funding Circle

FinTech กระตือรือร้นในเรื่อง Financial Inclusion เหตุใดจึงเริ่มมีการทลายกำแพงเหล่านั้น ค่าใช้จ่ายหรือความสามารถในการขยายตัวหรือการรวมกันของทั้งสองอย่าง? อะไรใน FinTech ที่ช่วยให้อุปสรรคเหล่านี้ถูกทำลายลงได้?

Angus: ในสหราชอาณาจักร ธนาคารมีโครงสร้างแบบเดิมที่มีขนาดใหญ่ซึ่งยากที่จะเปลี่ยนแปลงได้ พวกเขามีฐานข้อมูลขนาดใหญ่และลูกค้าจำนวนมาก คนไปที่ Funding Circle จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง เนื่องจากธนาคารอาจจะปฏิเสธพวกเขาหรือใช้เวลานานในการอนุมัติเงินกู้

เกี้ยว: ธนาคารทั้งหลายนั้นเป็นสถาบันการเงินที่เป็นผู้เชี่ยวชาญดั้งเดิมเกี่ยวกับเรื่องการเงินมากที่สุด อย่างไรก็ตาม FinTech ก็มีข้อได้เปรียบที่เติบได้ง่าย เช่น ในเมียนมา ธนาคารที่ใหญ่ที่สุดจะมีสาขาไม่เกิน 100 สาขาทั่วประเทศ แต่เพื่อเปิดบริการธนาคารทางมือถือ Ascend สามารถจ้างตัวแทน 5,000 คนและตั้งร้านค้าปลีกใกล้แหล่งที่อยู่อาศัยซึ่งใครๆ ก็สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้ง่าย

มีการใช้ Big Data ในภาคบริการของ FinTech อย่างไรบ้าง

เกี้ยว: ลูกค้าจำนวนมากไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้เนื่องจากไม่มีประวัติทางการเงินที่น่าเชื่อถือ ดังนั้น  FinTech จึงมีวิธีการใหม่ในการวัดคะแนนความน่าเชื่อถือของคนทั่วไป

ตัวอย่างหนึ่งของการวัดคะแนนความน่าเชื่อถือที่เป็นนวัตกรรมคือ Ant Financial ของ Alipay ซึ่งเป็นผู้ลงทุนเชิงกลยุทธ์สำหรับ Ascend Money และเป็นผู้สร้าง 'Sesame Credit' เพื่อวัดคะแนนความน่าเชื่อถือของผู้คนโดยอิงจากธุรกรรมในบัญชี Alipay, การซื้อสินค้าบนเว็บไซต์ Taobao และข้อมูลจากโซเชียลมีเดีย ซึ่งใช้ตัวแปรนับพันในการประมวลผลออกมาเป็นคะแนนเดียวที่บอกเป็นรายบุคคลได้ว่า "พวกเขามีมูลค่าในมือเท่าไหร่" และลูกค้าสามารถใช้คะแนนนี้เพื่อกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินและแหล่งอื่นๆ ได้

Angus: ข้อมูลด้านความน่าเชื่อถือเป็นสิ่งที่ท้าทายอันดับหนึ่งสำหรับ Funding Circle ซึ่งในยุโรปและสหรัฐอเมริกา เราต้องพึ่งพาตัวชี้วัดทางการเงินมาตรฐานจากสำนักงานและธนาคาร เพื่อให้เราขยายธุรกิจไปนอกยุโรปและสหรัฐอเมริกา เราจำเป็นต้องเข้าถึงข้อมูลและประวัติความน่าเชื่อถือ ความท้าทายคือ ขั้นตอนก่อนการให้กู้ยืม: การเข้าถึงข้อมูลทางการเงิน จนถึงขณะนี้รัฐบาลของสหราชอาณาจักร ‘บังคับ’ ให้ธนาคารเปิดเผยข้อมูลให้แก่บุคคล เอสเอ็มอี และสตาร์ทอัพ แต่สำหรับบริษัท FinTech ที่เน้นการให้กู้ยืมแบบ peer-to-peer นอกยุโรปและสหรัฐอเมริกานั้น ยังไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลให้ได้เพราะกฎหมายไม่อนุญาต

ธุรกิจ FinTech สามารถประเมินดอกเบี้ยอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร? พวกเขาควรใช้อัตราดอกเบี้ยจากที่ไหน? และอะไรคือความแตกต่างระหว่างสิ่งที่บริษัทแบบดั้งเดิมทำกับสิ่งที่บริษัท FinTech เช่น Funding Circle ทำ?

ธนาคารพิจารณาที่บัตรเครดิตและบัญชีธนาคารเพื่อวิเคราะห์ว่า ลูกค้าใช้จ่ายเท่าไร ในขณะที่ FinTech ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวหรือมาตรวัดสำคัญอื่นๆ ได้ ดังนั้น ขั้นตอนแรกคือการวิเคราะห์ผ่านมาตรวัดอื่น  เช่น ผู้ใช้บริการกรอกแบบฟอร์มอย่างไร พวกเขาใช้เวลานานแค่ไหนในการกรอกแบบฟอร์มและตอบคำถามดีแค่ไหน

Angus ชี้ให้เห็นว่าธนาคารควรให้ FinTech ต่างๆ เข้าถึงมาตรวัดประเภทนี้เพื่อให้สามารถพัฒนาคะแนนความน่าเชื่อ ซึ่งทำให้ FinTech สามารถประเมินหนี้เสียและกำหนดอัตราดอกเบี้ยได้แม่นยำยิ่งขึ้นด้วย

แล้วบริษัทต่างๆ ทำอะไรให้ลูกค้าซึ่งใช้บริการธนาคารบนมือถือบ้าง?

เครือข่ายโทรศัพท์มือถือก็เป็นพาร์ทเนอร์กับบริษัทประกันเพื่อแบ่งปันและขายผลิตภัณฑ์ระหว่างกันได้ โดยทางเครือข่ายวิเคราะห์ว่าลูกค้าเติมเงินในโทรศัพท์มือถือบ่อยแค่ไหน เว็บไซต์อะไรที่ลูกค้าใช้เสิร์ชข้อมูล บริษัทประกันก็จะได้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนและขายประกันให้แก่ลูกค้ารายย่อยได้

อะไรเป็นความท้าทายเบื้องต้นและเป็นอุปสรรคต่อการผลักดันและการขยาย Financial Inclusion?

ในประเด็นนี้ผู้ร่วมเสวนาลงความเห็นร่วมกันว่า

  1. กฎหมาย
  2. รัฐให้ความสำคัญกับสถาบันการเงินประเภทธนาคารมากกว่า โดยมีแนวโน้มจะ ‘รอพิจารณาว่า FinTech จะแสดงบทบาทอย่างไร’ ร่วมกับการระแวดระวังว่าธนาคารจะตอบโต้การแข่งขันที่เพิ่มขึ้นอย่างไร
  3. การกู้ยืมทางตรงยังไม่ถูกกฎหมาย
  4. การเข้าถึงข้อมูลทางการเงินของผู้บริโภค
  5. การกระจายตัวและการเติบโตแบบก้าวกระโดด เพราะไม่มีบริการรูปแบบใดที่จะสามารถรองรับทุกความต้องการในตลาดอาเซียนได้อย่างสมบูรณ์ เนื่องจากทุกประเทศมีความแตกต่างกัน

ถ้าให้ขอได้หนึ่งข้อเพื่อแก้ปัญหาหลักเกี่ยวกับ Financial Inclusion สิ่งที่คุณต้องการจะแก้ไขภายใน 10 ปีข้างหน้าคืออะไร?

เกี้ยว: ดิฉันหวังว่าจะมีผู้ประกอบการจำนวนมากและสตาร์ทอัพให้ความสำคัญกับผู้บริโภคที่มีรายได้น้อยผู้เป็นฐานของปิรามิด ซึ่งถูกละเลยมาเป็นเวลานาน เนื่องจาก FinTech ส่วนใหญ่เน้นทำธุรกิจกับกลุ่มไฮเอนด์หรือคนที่อยู่บนสุดของปิรามิด ทั้งๆ ที่ผู้คนหลายล้านในโลกสามารถใช้ประโยชน์จากสินค้าและบริการของ FinTech ได้ ซึ่งจะสามารถทำเงินได้อีกมาก

Angus: อยากให้ตระหนักถึงการจัดหาทางเลือกของแหล่งทุนในสหราชอาณาจักร เอสเอ็มอีจะได้ไม่ต้องไปที่ธนาคารโดยตรงตลอดเวลา ซึ่งจะเป็นเรื่องใหญ่และเปลี่ยนประสบการณ์ของเอสเอ็มอี และอีกข้อก็คงจะขอให้เข้าถึงข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้มากยิ่งขึ้น

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...