Infographic สรุปความรู้ และคำแนะนำเรื่องความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ต | Techsauce

Infographic สรุปความรู้ และคำแนะนำเรื่องความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ต

FEB 2017_2

อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งความรู้ขนาดใหญ่ที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเราได้อย่างกลมกลืน ทั้งในด้านการเรียน การทำงาน และการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การค้นหาข้อมูลเพื่อมาทำรายงาน ส่งอาจารย์หรือหัวหน้า, การค้นหาเส้นทางของสถานที่ที่ต้องการ, การค้นหาข้อมูลเพื่อประกอบการ ตัดสินใจ ในการซื้อสินค้าหรือบริการตั้งแต่สินค้าขนาดเล็กไปจนถึงสินค้าขนาดใหญ่ เช่น รถยนต์หรือ ที่อยู่อาศัย รวมไปถึงการทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆอีกด้วย

จะเห็นได้ว่า อินเทอร์เน็ตนั้นมีประโยชน์ อย่างมหาศาล แต่อย่างไรก็ตามก็มีโทษเช่นกัน ถ้าหากใช้อย่างไม่ระวัง  ตัวอย่างเช่น กระแสไฟฟ้า เราสามารถใช้ชีวิตอย่างสุขสบายเพราะมีกระแสไฟฟ้ามาให้พลังงานกับอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ แต่ถ้าใช้งานผิดวิธี ไฟฟ้าก็นำมาซึ่งความเสียหายตั้งแต่การเกิดเพลิงไหม้จากการลัดวงจรจนกระทั่งการเสียชีวิตจากโดนไฟฟ้าช็อต การใช้งานอินเทอร์เน็ตก็เช่นกัน บางรายเคยถูกโจรกรรมข้อมูลบัตรเครดิต นำมาซึ่งการสูญเสียเงินมากมาย หรือสูญเสียข้อมูลสำคัญทางการค้าให้กับคู่แข่ง

[toc]

ระดับการใช้งานอินเทอร์เน็ต

การใช้งานอินเทอร์เน็ตจึงต้องให้ความใส่ใจทุกครั้ง โดยเราอาจจะแบ่งระดับความใส่ใจได้ 3 ระดับ ตามลักษณะการใช้งาน ได้เแก่

ระดับทั่วไป

คือ การใช้งานเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลอย่างเดียว ไม่ต้อง login เข้าระบบ และใช้งานอยู่เป็นประจำ เช่น

  • เว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลด้านข่าวสาร (cnn.com, techsauce.co, blognone.com, techtalkthai.com, themomentum.co, set.or.th)
  • เว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทต่างๆ (catcyfence.com, airportthai.co.th)

ระดับเฝ้าระวัง

คือ การใช้งานเว็บไซต์ใหม่ๆ ที่เราอาจจะได้รับ link มาจาก email, social network, การ chat กับเพื่อนๆ หรือ link ของเว็บไซต์ที่ได้จากผลลัพธ์ การค้นหาผ่าน search engine ตัวอย่างเช่น การ click link หรือ banner ที่มีข้อความ ชวนให้อยากอ่านต่อ แต่ปลายทางอาจจะฝังมัลแวร์หรือไวรัสไว้ทำให้เครื่อง คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ใช้งานอยู่ได้รับความเสียหาย หรือถูกโจรกรรมข้อมูล

ระดับที่ต้องระวัง

คือ เว็บไซต์ที่ต้องมีระบบการ Login เพื่อเข้าใช้งาน ซึ่งคนส่วนใหญ่ มักจะคิดว่าปลอดภัย เนื่องจากก่อนการใช้งานต้อง login ทุกครั้ง และใช้งานเป็น ประจำเกือบทุกวัน จึงค่อนข้างไว้วางใจกับข้อมูลที่ได้รับ ทำให้เพิกเฉยต่อการระวังตัว ตัวอย่างเช่น

  • เว็บเมล์ (gmail.com, outlook.com, icloud.com) บางครั้งการเปิดอ่าน email จากคนไม่รู้จักหรือ email โฆษณาต่างๆ อาจจะฝัง link หรือไฟล์แนบ ต่างๆ ที่เป็นมัลแวร์มาด้วย
  • Internet Banking ก่อนการเข้าใช้งานทุกครั้ง ต้องมั่นใจว่ากำลังใช้งาน เว็บไซต์ของธนาคารที่ต้องการ เพราะปัจจุบันมีเว็บธนาคารปลอม (web phishing) ซึ่งมีหน้าตาเหมือนเว็บไซต์ธนาคารจริงๆ
  • Online e-commerce ในขั้นตอนการชำระเงินค่าสินค้าหรือบริการผ่านบัตรเครดิต หน้าเว็บไซต์ที่เรา กำลังกรอกหมายเลขบัตรเครดิตควรเป็น https:// และ URL  ของเว็บไซต์ ต้องน่าเชื่อถือ
  • Social Network เช่น การ click link จาก news feed ของ Facebook โดยไม่ระวัง อาจจะติดมัลแวร์ทำให้ Facebook account ของเราสามารถ post ข้อความต่างๆ หรือส่งต่อ link ที่มีมัลแวร์ไปยังเพื่อนๆ ใน contact ได้เอง

ข้อแนะนำในการป้องกันความเสียหายจากการใช้งานอินเทอร์เน็ต

1. เลือกใช้งาน web browser ที่ทันสมัย

ตัวอย่างเช่น Google Chrome  มีการแจ้งเตือนผู้ใช้ เมื่อเข้าเว็บไซต์ต่างๆ อยู่ 3 ระดับ ได้แก่ Secure (เว็บไซต์ที่ใช้ protocal HTTPS) Info

web-security-types

(เว็บไซต์ที่ใช้ protocal http ทั่วไป และมีความน่าเชื่อถือ) และ Not Secure หรือ Dangerous (เว็บไซต์ที่ไม่ปลอดภัยให้ระวังการใช้งาน เนื่องจากทาง Google อาจจะตรวจสอบมัลแวร์)

google-security-setting

2. ทดสอบ link ที่ไม่มั่นใจ

ถ้าต้องการเปิด link ที่ไม่แน่ใจเรื่องความปลอดภัย ให้ลอง copy link URL นั้นไปวางที่ search engine เช่น Google หรือ Bing ถ้าพบผลลัพธ์จากการค้นหา อย่างน้อยก็มั่นใจได้ ระดับหนึ่งว่าเป็นเว็บไซต์ที่ปลอดภัย เนื่องจากระบบแสดงผลลัพธ์การค้นหาของ search engine มักจะป้องกันผู้ใช้งานจากเว็บไซต์ที่มีมัลแวร์ (เช่น แจ้งว่า this site may harm your computer)

3. การใช้งานเว็บไซต์ธุรกรรมทางการเงิน

การใช้งานเว็บไซต์ธนาคาร หรือการทำธุรกรรมทางการเงิน ต้องตรวจสอบให้มั่นใจก่อนการ Login เข้าใช้งานระบบ หรือการกรอกข้อมูลบัตรเครดิต

  1. ตรวจสอบ URL ของเว็บไซต์ว่าเป็นเว็บไซต์ของธนาคารที่กำลังใช้งานอยู่จริงหรือเป็น เว็บไซต์ของผู้ให้บริการรับชำระเงินผ่านบัตรเครดิต
  2. ตรวจสอบว่าเว็บไซต์ที่กำลังใช้งานเป็น https://

4. การใช้จ่ายบัตรเครดิต

การใช้งานบัตรเครดิต เพื่อชำระค่าสินค้าหรือบริการ ถ้าเป็นบัตร VISA ควรสมัครใช้บริการ Verified by VISA สำหรับบัตร Mastercard ควรสมัครใช้บริการ MasterCard SecureCode หรือสมัครบริการแจ้งเตือนเมื่อมีการใช้จ่ายบัตรเครดิต และควรตรวจสอบรายการใช้จ่ายอยู่ เสมอ

5. การใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะ

การใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะ ควรใช้งานโหมด Private windows เพื่อรักษาความปลอดภัยของข้อมูล เนื่องจากการใช้งานโหมดนี้ เมื่อผู้ใช้เลิกใช้งาน และปิด โปรแกรม browser ข้อมูลต่างๆ เช่น cookies จะถูกลบทิ้ง ซึ่ง browser แต่ละตัวจะมีชื่อเรียก ที่แตกต่างกัน

6. หมั่น sign out

หลังจากใช้งานเว็บไซต์ที่มีระบบการ Login เรียบร้อยแล้ว ควรจะ Sign out หรือ Log out ออกจากระบบทุกครั้ง

7. หลีกเลี่ยงการดาวน์โหลดโปรแกรม หรือเกมฟรีจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ

8. หลีกเลี่ยงการใช้งานผ่านฟรี Wifi สาธารณะที่ไม่รู้จัก เนื่องจากอาจจะโดนโจรกรรมข้อมูลได้

9. หลีกเลี่ยงการชาร์จโทรศัพท์มือถือฟรีจากที่สาธารณะ ซึ่งอาจจะโดนขโมยข้อมูล หรือที่เรียกว่า “Juice Jacking

10. ติดตั้ง Antivirus และอัพเดตให้ทันสมัยอยู่เสมอ

อุปกรณ์ความปลอดภัยแบบครบวงจร

การ click เข้าใช้งานเว็บไซต์เราควรใส่ใจทุกครั้ง เพื่อปกป้องข้อมูลที่สำคัญ ซึ่งนอกจากการ ป้องกันด้วยตัวเราเองแล้ว  อีกทางเลือกหนึ่งคือการเลือกใช้อุปกรณ์รักษาความปลอดภัยแบบครบ วงจร เช่น All@Secure จาก CAT cyfence ที่เข้ามาช่วยดูแลความปลอดภัยจากการใช้งาน อินเทอร์เน็ตขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การกำหนด policy สำหรับการใช้งาน อินเทอร์เน็ตภายในองค์กร รวมถึงการ block การเข้าถึงเว็บไซต์ที่ไม่ปลอดภัย, การใช้เป็น Firewall เพื่อป้องกันการโจมตีแบบ Denial of Service Attack (DoS), การตรวจจับมัลแวร์และไวรัสที่ผ่าน เข้ามาในระบบเครือข่าย นอกจากนี้ยังมีความสามารถที่ช่วยป้องกันการรั่วไหลข้อมูลที่สำคัญๆ ขององค์กรออกสู่ภายนอกได้อีกด้วย  ซึ่งความสามารถทั้งหมดนี้องค์กรสามารถประหยัดค่าใช้จ่าย ในการจ้างพนักงานประจำที่มีความเชี่ยวชาญเพื่อมาดูแลระบบเครือข่าย เพียงแค่ติดตั้งอุปกรณ์ All@Secure นี้เท่านั้น

ศึกษาข้อมูล All@Secure เพิ่มเติมได้ที่ www.catcyfence.com/it-security/services/allsecure

สรุป Infographic FEB 2017_2

 

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...