คุยกับอริยะ พนมยงค์ หัวเรือใหญ่ของ LINE Thailand กับมุมมองด้านการบริหารคนในองค์กรและคนที่อยากออกมาทำ Startup | Techsauce

คุยกับอริยะ พนมยงค์ หัวเรือใหญ่ของ LINE Thailand กับมุมมองด้านการบริหารคนในองค์กรและคนที่อยากออกมาทำ Startup

ariya-line-startitup

นอกจากเป็น 1 ใน Speaker จากงาน Start it Up Conference 2015 แล้ว Techsauce ได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณอริยะ พนมยงค์ กรรมการผู้จัดการ LINE ประเทศไทย เพิ่มเติมเกี่ยวกับมุมมองด้านการบริหาร รวมถึงได้พูดคุยเกี่ยวกับการทำ Startup ด้วย

คุณอริยะเป็นหนึ่งในผู้บริหารระดับสูงขององค์กรใหญ่ธุรกิจด้านออนไลน์ และคุมทีมงานมามากมาย มองเห็นว่าอะไรที่เป็นทักษะที่คนไทยที่ทำงานในสายธุรกิจออนไลน์ควรต้องปรับหรือเรียนรู้เพิ่มมากๆ เพื่อแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้ อยากให้แยกเป็น 2 กรณีของ คนที่ต้องการเติบโตในองค์กรใหญ่ และ คนที่ต้องการออกมาทำธุรกิจ Startup

ไม่ว่าจะเป็นองค์กรใหญ่หรือองค์กรเล็ก อยากให้มองที่ attitude โดยภาพรวมคนไทยควรปรับในส่วนไหนถ้าจะไปแข่งในตลาดโลก

อย่างแรกเลยคือเรื่อง ความกล้า กล้าที่จะแสดง กล้าที่จะพูด กล้าที่จะ challenge ต้องยอมรับว่าประเทศไทยของเราถูกสอนมาให้เคารพผู้ใหญ่ คนที่มีอายุมากกว่า คนที่เราเรียกว่าเด็ก ที่อายุน้อยกว่า ก็อย่าพูด พูดอะไรก็ไม่ถูก คนเป็นผู้ใหญ่ถูกเสมอ เราต้องเคารพด้วยความสามารถ ไม่ใช่อายุ อยากให้สิ่งนี้เกิดการเปลี่ยนแปลง คนที่ถนัดเรื่อง startups เรื่องเทคโนโลยีคือคนรุ่นใหม่ ไม่ใช่คนที่อยู่ในธุรกิจเดิมๆ มาสามสิบสี่สิบปี ไม่รู้เรื่องกับโลกใหม่ที่กำลังเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่คนที่เป็นผู้ใหญ่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ แต่เราต้องยอมรับว่ามันจะลำบากมากกว่า เราอยู่ในยุคที่เราต้องฟังคนที่คุณเรียกว่าเด็ก

สิ่งที่ตามมาคือการถาม การ challenge ไม่ใช่ผู้ใหญ่ผิด ทุกคนก็บอกว่าเออใช่ โอเค ถูกต้อง เราต้องกล้าบอก กล้าถาม เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ผมมอง

สิ่งที่มันรองลงมา แต่ควรจะเป็นเรื่องแรกคือ ภาษาอังกฤษ มันเป็นพื้นฐานที่เราควรต้องมี แต่เรายังไม่มี ต้องยอมรับ เราพูดถึง scale ถ้าเราจะขยายไปที่ SEA หรือระดับโลก คุณจะไม่พูดภาษาอังกฤษเหรอ มันเป็นไปไม่ได้

อีกเรื่องคือ อย่ากลัวเสียหน้า ส่วนใหญ่สิ่งที่คนไทยกลัวคือ กลัวเสียหน้า กลัวถามอะไรที่โง่ พูดอะไรที่ผิดพลาด กลัวพูดภาษาอังกฤษสำเนียงแย่ๆ แล้วคนจะมาล้อ ลืมจุดนี้ไป ถ้าเราไม่เปลี่ยนแปลง เราจะไม่มีทางออกไปบุกตลาดนอกประเทศไทย ตราบใดที่เราสื่อสารได้นั่นโอเคแล้ว เรื่องสำเนียงมันปรับเอาทีหลังได้

เรื่องที่สาม “อย่าบอกว่าเป็นไปไม่ได้”

ในฐานะที่เราเด็ก เราก็ต้องมีลูกเล่นลูกชน มีวิธีการสื่อสารแบบที่ไม่ก้าวร้าว มันทำได้ ถ้าเราเชื่อในสิ่งที่เราจะทำ เราต้อง build case ที่มัน convincing ขึ้นมา มีข้อมูล มีตัวเลข มีข้อมูลการวิจัยมา เอาไอเดียมา pitch มาขายไอเดีย ไม่ใช่แค่บอกว่าเราจะทำการเปลี่ยน ต้องบอกว่า เราจะทำอะไร ทำได้ไหม ผลที่ได้คืออะไร สิ่งนี้คือสิ่งที่จะทำให้เราซื้อใจผู้ใหญ่ได้ เพราะ อายุน้อยแต่หลักการความคิดเราเจ๋ง มันก็ไก่กับไข่แหละ เรารู้อยู่แล้วว่าผู้ใหญ่ไม่ฟัง เราจะทำยังไง เพราะเค้าคงไม่เปลี่ยนในพรุ่งนี้หรอก สิ่งที่เรา control ได้ก็คือตัวเราเอง

LINE ตอนนี้เห็นทำหลายอย่างมากเลย คิดว่าหลังจากที่เข้าไปบริหารแล้ว เราจะได้เห็นอะไรที่เปลี่ยนแปลงบ้าง และทิศทางจะเป็นอย่างไร

LINE ผมเพิ่งอยู่มา 1 เดือน ผมจะไม่แตะอะไร จะไม่รื้ออะไรเลย เพราะตอนเราเข้าไป คนเค้าก็ต้องกลัวระดับหนึ่งอยู่แล้วว่าเราจะเข้าไปทำอะไร จะเปลี่ยนอะไร จะเอาคนออกไหม ถ้าเราเริ่มต้นแบบนี้มันก็จะไปต่อไม่ได้

การจะเปลี่ยนแปลงอะไร เราต้องเข้าใจธุรกิจของ LINE ก่อน ผมต้องรู้จักทีมก่อน ผมต้องได้คุยกับทุกคน ผมต้องได้ฟังเค้าก่อนจะทำ 1 2 3 เพราะเค้าอยู่ในธุรกิจนี้มานานกว่าผม สุดท้ายถ้าจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอะไร เราจะต้องทำด้วยกัน ทุกคนจะต้องเห็นด้วย ไม่ใช่สิ่งที่ผมบังคับให้เค้าทำ

“Empathy” ส่วนใหญ่โดยนิสัยธรรมชาติของคน คนจะอยากพูด อยากออกความเห็น แต่ไม่ค่อยฟัง

ผมโชคดีที่มี coach, mentor ที่คอยสอนผม มีคนนึงเคยสอนผมว่า คนนึงมีหู 2 หู มีปาก 1 ปาก นั่นหมายความว่า 2 ใน 3 คุณควรจะฟัง แล้ว 1 ใน 3 คุณค่อยพูด สิ่งหนึ่งที่คนไม่ค่อยทำคือ ไม่ค่อยฟัง หรือต่อให้ฟัง คุณก็ไม่ได้ฟังจริงๆ คุณคอยที่จะใส่ไอเดียของคุณแทรกเข้าไป คุณต้องฟังจริงๆ และเข้าใจว่า คนที่นั่งอยู่ตรงข้ามคุณเค้าคิดยังไง ต้องการอะไร รู้สึกอะไร เราจะ connected กับเค้าได้

ไม่ว่าจะอยู่ Google หรือ LINE ผมมี value ของผม มีในสิ่งที่ผมเชื่อ ไม่ใช่ว่าองค์กรไปทางไหน เราไปด้วย มันต้องไปคู่กันทั้งองค์กรและตัวเรา ตอนที่ไปทำ Google ผมคิดว่า culture ของเค้ามันตรงกับ value ของเรา ส่วนที่ LINE มีบางสิ่งที่ผมชอบ และเห็นว่ามันควรจะเปลี่ยนแปลง

Culture ที่ดีคือ ไม่ได้ตายตัว จะคอย adapt ไปเรื่อยๆ กับคนของเรา และ stage ของธุรกิจเรา (จำนวนคน) ตลอดเวลา คุณต้องปรับตัว โลกมันเปลี่ยนแปลงเรื่อยๆ เราจะอยู่นิ่งๆ ไม่ได้ สมัยก่อนที่ยังไม่มีอินเตอร์เน็ต มันเคลื่อนไหวช้า มันไม่ได้เปลี่ยนแปลงทันที best practice สามารถอยู่ได้หลายสิบปี แต่ปัจจุบัน best practice ของเมื่อวาน คือ average practice ของวันนี้ เราจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง culture ก็เช่นกัน

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

6 เทคนิคใช้ AI ยกระดับธุรกิจ SME ให้โดดเด่นและติดตลาดไว

ในโลกธุรกิจที่การแข่งขันกันอย่างดุเดือด การสร้างแบรนด์ที่โดดเด่นและเป็นที่จดจำไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะสำหรับธุรกิจ SME ที่ต้องเผชิญกับข้อจำกัดด้านทรัพยากรและงบประมาณ อย่างไรก็ตามป...

Responsive image

Startup Ecosystem จีน ถึงจุดต่ำสุด นักลงทุนหาย startup เกิดใหม่น้อย

‘จีน’ ประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของโลก เป็นตลาดส่งออกสำคัญของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นจุดหมายปลายทางที่ดีที่สุดของนักลงทุน…แต่ในตอนนี้ประเทศมหาอำนาจอย่างแห่งนี้กำล...

Responsive image

Gartner เผย! AI เป็นตัวการสำคัญ ทำค่าความปลอดภัยด้านข้อมูลทั่วโลกพุ่ง 15% ภายในปี 2025

Gartner เผยผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าองค์กรทั่วโลกกำลังเผชิญกับความท้าทายด้านความปลอดภัยข้อมูล (Information Security) ที่รุนแรงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการเติบโตของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์...