Skootar Startup ผู้จะมาพลิกโฉมบริการแมสเซ็นเจอร์ไทย | Techsauce

Skootar Startup ผู้จะมาพลิกโฉมบริการแมสเซ็นเจอร์ไทย

Skootar หนึ่งในผู้พลิกโฉมวงการแมสเซ็นเจอร์จากเดิมของไทย ที่เราจะโทรเรียกใช้บริการ ให้เป็นการใช้งานผ่านแอปพลิเคชันแทน แน่นอนว่าเราคงคุ้นชินกับการทำงานของแมสเซ็นเจอร์แบบเก่า แต่มาวันนี้ Skootar นำเสนอประสบการณ์ใหม่ให้กับ SME ทุกท่าน เรื่องราวของพวกเขาจะเป็นอย่างไร วันนี้เรามีบทสัมภาษณ์มาให้อ่านกัน

IMG_6772

ทีมบริหาร Skootar ประกอบด้วย

  1. คุณสุวัฒน์ ปฐมภครันต์ (บอย) co-founder
  2. คุณกมลพฤทธิ์ ชุมพล (โก้) co-founder
  3. คุณธีภพ กิจจะวัฒนะ (นุ) co-founder - CTO

ทำความรู้จัก Skootar กันก่อน

Skootar คือแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ที่ให้บริการมอเตอร์ไซค์หรือแมสเซ็นเจอร์สำหรับธุรกิจ SME โดยใช้ Collaborative economy แปลว่าเป็น freelance หรือ crowdsourcing ของแมสเซ็นเจอร์ โดยผู้ใช้สามารถใช้บริการผ่านเว็บไซต์หรือแอปฯ ทั้งแอนดรอยด์และ iOS สำหรับงานธุรกิจเช่น เก็บเช็ค วางบิล เป็นต้นครับ

มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการแข่งขันในเรื่องออนไลน์แมสเซ็นเจอร์อย่างไร

ในมุมมองของคนนอกอาจจะมองว่ามีการแข่งขันที่สูงในตลาดแมสเซ็นเจอร์ สาเหตุมาจากจำนวนของผู้ให้บริการที่มีอยู่หลายเจ้า แต่ทว่าต่างเจ้าก็เน้นการให้บริการที่แตกต่างออกไป อย่างของ GrabBike ก็จะเน้นไปที่รับส่งผู้โดยสารเหมือนวินมอเตอร์ไซค์เสียเยอะ ส่วนของ Lalamove ก็จะโฟกัสหลายอย่าง เพราะเขามีรถให้บริการหลายขนาดเช่น รถตู้ รถกระบะ ซึ่งจะเน้นไปที่ส่งอาหาร แต่ถ้าเป็นในส่วนที่เน้นด้านแมสเซ็นเจอร์จริงๆ ที่ทำพวกเก็บเช็ค วางบิลต่างๆ ก็จะมีเราเป็นเจ้าหลัก โดยแมสเซ็นเจอร์ของเราจะถูกฝึกมาให้รู้เรื่องของเอกสารเช่น เซ็นต์ชื่อตรงไหน เอาเอกสารตัวไหนกลับ หรือ เอกสารขาดไหม ส่งเช็คเงินเข้าธนาคาร ส่งพัสดุ เลือกจุดส่งของได้หลายที่

จำได้ว่าคุณคือทีมชนะเลิศงาน Angel Hack ด้วย คุณเริ่มต้นฟอร์มทีมกันมาอย่างไร

พวกเรา 3 คนมาเจอกันที่ Disrupt University ที่พี่กระทิงเป็นคนจัด หลังจากนั้นก็รวมตัวกันคิดไอเดียขึ้นมา ซึ่ง Skootar ก็เป็นไอเดียแรกๆ ที่เข้ามา จึงได้ลองเอาความคิดนี้ไปแข่งที่งาน Angel Hack เดือนกรกฎาคม ปีที่แล้ว ปรากฏว่าชนะการแข่งขัน เราเลยคิดว่าไอเดียนี้น่าจะเอาไปทำธุรกิจได้จริงๆ

เราเริ่มทำกันช่วงเวลาเย็นๆ นัดเจอกันในวันเสาร์อาทิตย์ เพราะตอนนั้นแต่ละคนต่างก็มีงานประจำอยู่ เป็นแบบนี้อยู่ประมาณ 3 เดือนได้ คุณ นุ ธีภพ (CTO) เป็นคนแรกที่ลาออกจากงานและมานั่งเขียนโค้ด เว็บไซต์แบบเต็มเวลา หลังจากนั้นไม่นาน คุณ บอย สุวัฒน์ (co-founder) ก็ออกจากธุรกิจส่วนตัวที่ดูแลอยู่เพื่อมาทำ Skootar แบบเต็มตัวเช่นกัน สุดท้ายที่ตามมาทีหลังจะเป็นคุณ โก้ กมลพฤทธิ์ (co-founder)

ความท้าทายและล้มเหลวมีอะไรบ้าง แล้วเราแก้ไขปัญหาอย่างไร

ความท้าทายในธุรกิจนี้ก็คือการสร้างความสมดุลระหว่าง demand และ supply สองสิ่งนี้ต้องค่อยๆ โตไปด้วยกัน ส่วนความล้มเหลว พวกเราก็เจอกับมันอยู่ทุกวัน แต่มันคือปัญหาที่เล็ก ซึ่งทำให้เราเรียนรู้และปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ อีกอย่างก็คือการเปลี่ยนพฤติกรรมคน จากที่โทรเรียกแมสเซ็นเจอร์ เป็นใช้แอปพลิเคชัน โดยคนส่วนมากจะมองว่าเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งความท้าทาย

ได้ยินว่าจะมีข่าวดีเรื่อง funding เร็วๆ นี้ คุณคิดว่านักลงทุนเห็นอะไรใน Skootar

ตอนนี้เรากำลังอยู่ในช่วงระดมทุน seed funding ซึ่งคาดว่าจะตกลงกันได้เร็วๆ นี้ อย่างไรก็ตามคงต้องรอการประกาศอย่างเป็นทางการอีกที ถ้าให้พูดว่านักลงทุนเห็นอะไรใน Skootar จึงได้มาลงทุนกับเรา ผมคิดว่าคงจะเป็นเรื่องของการเติบโต ตอนนี้ตัวเลขการเติบโตของผู้ใช้งานที่เป็น SME กำลังอยู่ในทิศทางที่ดี  อีกอย่างหนึ่งผมคิดว่าที่นักลงทุนเห็นใน Skootar ก็คือเรื่องของทีมงาน พวกเรา 3 คนมีพร้อมในเรื่องของทักษะและประสบการณ์ โดยแต่ละคนก็จะมีความสามารถที่แตกต่างกันออกไปครับ

คาดว่าจะขยายธุรกิจในทิศทางไหน หลังจากได้รับเงินทุน

จริงๆ แล้วพูดถึงการขยายธุรกิจในประเทศ เราก็คงมองถึงการขยายไปในเมืองหรือจังหวัดอื่นๆ ส่วนเรื่องการออกนอกประเทศ เราจะมองเป็นบางประเทศที่คู่แข่งยังไม่เยอะมาก รวมไปถึงเราอาจจะเพิ่มฟีเจอร์ในการใช้งาน ที่ไม่ใช่แค่เอื้ออำนวยต่อ SME แต่ยังสามารถสะดวกต่อการใช้งานของคนอื่นๆ อีกด้วย

ฝากอะไรถึง startup ไทย

อยากให้ทุกคนเมื่อมีไอเดียแล้วก็เริ่มลองทำดูเลย พยายามลงทุนไปทีละขั้น ไม่ต้องเสียเวลาเรามาก แต่ให้รู้ว่าเรากำลังมาถูกทางแล้ว อาจจะลองถามความคิดเห็นจะคนอื่นๆ ว่าเขาคิดอย่างไร เริ่มทำตัวต้นแบบมาแล้วลองเอาไปให้คนอื่นใช้ดู ผมเคยเจอคนเก่งหลายคนที่มีไอเดียน่าสนใจ แต่ปัญหาของเขาก็คือไม่ลงมือทำ แน่นอนว่าเราล้มเหลวร้อยเปอร์เซ็นต์อยู่แล้วถ้าไม่ได้เริ่มทำ แล้วที่สำคัญก็คืออย่างเพิ่งไปทำผลิตภัณฑ์ของเราให้สมบูรณ์ เราต้องทำให้รู้ว่าสิ่งนี้สามารถไปต่อได้ ไม่งั้นจะเสียเวลาของเรา

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...