หลังจากที่ได้ techsauce ได้เผยสถิติตัวเลขสถิติการลงทุนตลอด 5 ปีที่ผ่านมาไปเมื่อช่วงต้นเดือน คราวนี้เราลองมาพูดคุยแบบเจาะลึกกับนักลงทุนชั้นนำในไทยกันบ้าง ว่ามองทิศทางการเติบโตและการลงทุนในไทยนั้นจะเป็นเช่นไร โดยวันนี้เราได้รับเกียรติจากคุณธนพงษ์ ณ ระนอง จาก InVent มาพูดคุยถึงมุมมองและทิศทางการลงทุนที่มีต่อวงการ Startup ไทยในปี 2017
แน่นอนครับช่วงนี้เราก็จะเห็นข่าวของ FinTech กันเยอะมากและทาง InVent เองก็มีความสนใจที่จะลงทุนในสตาร์ทอัพที่ทำทางด้านนี้ด้วย อย่างไรก็ตาม FinTech เป็นเทคโนโลยีที่จำเป็นต้องมีกฏหมายรองรับและต้องสอดคล้องกับกฏเกณฑ์ในการทำธุรกรรมทางการเงินมากกว่าภาคธุรกิจอื่นๆ ดังนั้นหลายๆธุรกิจที่ให้บริการด้านธุรกรรมการเงินยังคงต้องรอใบอนุญาตจากหน่วยงานภาครัฐก่อน ซึ่งคาดว่าเร็วๆนี้เราก็อาจจะได้เห็นความคืบหน้าของธุรกิจ Peer-to-Peer Lending ในขณะเดียวกันการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี อย่าง Blockchain เราก็เริ่มได้เห็น Startup ไทยนำมาประยุกต์ใช้มากขึ้น และหนึ่งในบริการที่น่าสนใจที่จะได้เห็นกันในไทยก่อน คือ Smart Contract นอกจากนี้ยังมีอีก sector นึงของ FinTech ที่น่าสนใจคือ InsurTech ก็กำลังได้รับความสนใจ ไม่ใช่แค่ในภูมิภาคนี้แต่รวมไปถึงทั่วโลกด้วย
ส่วนเทคโนโลยีอื่นๆ นอกเหนือจาก FinTech ที่น่าสนใจคือ อีก 9 new industries ที่อยู่ในแผนตามนโยบาย Thailand 4.0 ตัวอย่างเช่น Healthtech, Smart Car, AgriTech เป็นต้น
อีกสองเทรนด์ที่เริ่มเห็นคือ Startup รายเล็กจะเริ่มควบรวมกัน เพื่อให้มีศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้นและเห็นบริษัทยักษ์ใหญ่จากต่างประเทศเริ่มที่จะเข้ามาเป็นพาร์ทเนอร์หรือเข้าซื้อกิจการ Startup ในเมืองไทย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ Ookbee จับมือกับ Tencent ในการทำธุรกิจในประเทศไทย
ปีที่ผ่านมา Startup ใน Portfolio ของเรามีความเคลื่อนไหวหลายอย่างเลย ที่เด่นๆ ก็เช่น Ookbee จับมือร่วมทุนกับ Tencent ได้มีการทำ Joint Venture และจัดตั้งเป็นบริษัทชื่อ Ookbee U ขึ้นเพื่อดำเนินธุรกิจคอนเทนต์แบบ User Generated Content (UGC) เต็มรูปแบบ ในส่วนของ Wongnai ได้จับมือทำพาร์ทเนอร์กับ LINE ในการทำธุรกิจจัดส่งอาหาร ภายใต้ชื่อ LINEMAN ซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูง มีผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมากและสามารถขึ้นอันดับหนึ่งของผู้ให้บริการจัดส่งอาหารได้ในระยะเวลาไม่ถึงปี ในด้านของเกมอย่าง Infinity Levels ก็ได้มีการออกเกมใหม่ร่วมกับ LINE และ Startup ใน Portfolio ของเราล่าสุดอย่าง Social Nation ที่ทำด้าน Virtual Reality ก็กำลังได้รับความสนใจ และมีลูกค้าที่เป็นบริษัทขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
ปีนี้การโฟกัสเราก็ยังคงอยู่ในส่วนของStartup ที่ทำทางด้าน FinTech และกลุ่ม Startup ที่พัฒนาทางด้าน IoT โดยเราอาจจะได้เห็นข่าวการลงทุนใน Startup ทางด้าน FinTechเร็วๆ นี้ ในขณะที่ IoT ที่เราให้ความสำคัญเพราะถือเป็นการร่วมผลักดันด้านกลยุทธ์ของกลุ่มบริษัทโดยที่ทาง AIS ได้ลงเครือข่าย NarrowBand IoT (NB-IoT) เอาไว้ เพื่อให้บริการร่วมกับผู้พัฒนา IoT โดยเฉพาะ
ผมว่าการที่ Startup ตั้งมูลค่าบริษัทไว้สูงนั้น ทางนักลงทุนเองก็มีความคาดหวังจากการลงทุนที่สูงว่า Startupจะสามารถทำตามเป้าที่ได้ตั้งไว้และสามารถสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูงเช่นกัน และยิ่งในตลาดที่มีการแข่งขันสูงแบบนี้ ทางนักลงทุนเองก็ได้เห็นและสามารถเปรียบเทียบได้ว่าในการลงทุนในธุรกิจเดียวกันนี้ บริษัทควรมีมูลค่าอยู่ที่เท่าไหร่ ดังนั้นการตั้งมูลค่าบริษัทควรอยู่บนพื้นฐานของความจริง และอยู่ในช่วงที่เหมาะสมไม่สูงจนเกินไป
ส่วนความท้าทายในเวลานี้มี 2 เรื่อง เรื่องแรกคือ Startup ไทยไม่ใช่แค่แข่งกันเองภายในประเทศ ตอนนี้ยังต้องแข่งกับ Startup ที่มาจากต่างประเทศด้วย เพราะมันเป็นวงจรของธุรกิจพอดี เช่น Startup เพื่อนบ้านเราเริ่มทำธุรกิจมาสัก 2-3 ปี ก็ถึงเวลาที่จะเริ่มขยายตลาด ซึ่งตลาดที่มีความน่าสนใจก็คงหนีไม่พ้นประเทศไทยกับประเทศอินโดนีเซีย ส่วนความท้าทายอีกอย่างคือ Startup ที่เริ่มเติบโตแล้ว ถ้าอยากระดมทุนในระดับ Series B ให้ได้ ก็ต้องขยายออกนอกประเทศ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องปกป้องตลาดเดิมในประเทศไทยให้ได้ด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตามจากสัญญาณที่มีนักลงทุนจากต่างประเทศเข้ามามากขึ้นนั้นถือเป็นเรื่องดี ไม่ว่าจะเป็นประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลีต่างก็ให้ความสนใจในตลาดไทยกันมากขึ้น ทำให้ Startup ไทยมีโอกาสได้รับการลงทุนมากขึ้น
ทางเรายังสนใจในตลาดไทยเป็นหลักอยู่ แต่จะโฟกัสในบริษัทที่เติบโตมาระดับหนึ่งแล้ว ถ้าธุรกิจนั้นมีผู้เล่นหลายราย เกิดขึ้นพร้อมๆกันเราอาจจะต้องรอดูก่อนว่าใครที่มีศักยภาพที่จะสามารถขึ้นมาเป็นผู้นำตลาดได้ สำหรับคำแนะนำของผมที่มีต่อ Startup คือ อยากแนะนำว่าไม่อยากให้ทำอะไรที่คล้ายๆ กัน ต้องพยายามจับแทรนด์ของตลาดให้ได้ก่อนคนอื่น แล้ว พยายาม acquire user ให้ได้ในเวลาอันสั้น เพื่อสร้าง Barrier to entry ให้กับธุรกิจคุณ
ได้รับเนื้อหาสาระที่มีประโยชน์กันไปมากมาย สำหรับใครที่สนใจต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัท InVent สามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่นี่
บทความนี้เป็น Advertorial
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด